ธัญกร 24


เรียนรู้เรื่อง Photoshop กับพี่โต
  วันนี้เข้างานเวลา 8.20 น.วันนี้พี่โตสอนอะไรๆเกี่ยวกับ Photoshop เยอะมากเหมือนกัน เรียกได้ว่านั่งทำกันทั้งวันเลยก็ว่าได้ อันแรกเลย คือ พี่โตสอนหลักวิธีการประยุกต์ Pattern สร้างภาพจิ๊กซอ
เริ่มเลยละกันนะ
ขั้นตอนที่1.
  ให้ทำการ Save ไฟล์ที่ชื่อว่า pt_puzzle.psd ซึ่งเป็นไฟล์โปร่งใสไม่มีพื้นหลังมาแต่ลายเส้น ที่ทำต่อกันแบบจิ๊กซอ
ขั้นตอนที่2.
  เปิดโปรแกรม photoshop ขึ้นมาแล้วจากนั้นก็ทำการเปิดไฟล์ pt_puzzle.psd ขึ้นมาจากนั้นมาที่คำสั่ง Select ---> All เพื่อเลือกทั้งหมดแล้วก็ทำการ จัดการปรับให้เป็น Paatern โดยมาที่คำสั่ง Edit --> Define Pattern แล้วตั้งชื่อ pattern ตามที่เราต้องการแล้ว ok
ขั้นตอนที่3.
  พอเราได้ Pattern ที่เราทำการตั้งชื่อเสร็จแล้วให้ทำการเปิดไฟล์ภาพที่เราจะทำ จิ๊กซอ ขึ้นมาแล้วหลังจากนั้นให้ทำการสร้าง Layer ใหม่ให้อยู่บน Layer ไฟล์ภาพ
ขั้นตอนที่4.
  เมื่อทำการสร้าง layer ใหม่แล้วจากนั้นให้ทำการ Fill pattern โดยมาที่คำสั่ง Edit --> Fill แล้วเลือกเป็น Pattern ที่เราทำการสร้างมาจากไฟล์ pt_puzzle จากนั้นก็ทำการปรับค่า Opacity เพื่อทำดูเหมือนจิ๊กซอ
   เป็นไงคะขั้นตอนง่ายและรวดเร็วกว่าเดิมและสามารถประยุกต์เอาไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว หวังว่าเพื่อนๆ หลายคนที่ยังทำไม่ได้ พอมาทำตามแนวทางนี้ ก็น่าจะทำได้ไม่ยากนะคะ
ยังมีอีกนะ
เป็นเรื่องของหลักการยืม Selection มาทำโครงร่าง
  หลักวิธีการโดยรวมก็คือ การที่ทำโครงร่างลักษณะต่างๆ ขึ้นมาเรียงกันเป็นแถวๆ แล้วโหลด Selection โครงร่างนั้น แล้วก็เลือกกระทำลบส่วนที่ไม่ต้องการออกไป ใน Layer รูปภาพที่เราต้องการทำ Effects เอาหละสิบปากว่าไม่เท่าตาทำเอง เดี๋ยวเรามาดูวิธีทำกันเลยค่ะ
ขั้นตอนที่1.
  ทำการเปิดรูปภาพที่จะมาทำ Effects ขึ้นมา จากนั้นทำการ Copy แล้วสร้างไฟล์ใหม่ 
ขั้นตอนที่2.
  เสร็จแล้วให้ทำการสร้าง Layer ใหม่โดยคลิ๊กไอค่อนรูปกระดาษ แล้วสร้างวัตถุรูปทรงต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์ Shape Tool เมื่อทำการสร้างได้แล้วก็นำมาเรียงต่อกันเป็นแถว ให้เต็มรูปภาพ โดยทิ้งระยะห่างให้ดูสวยงาม
ขั้นตอนที่3.
  จากนั้นให้ทำการ Load Selection วัตถุที่เราสร้างใว้โดยมาที่คำสั่ง Select --> Load Selection หรือ กดปุ่ม Ctrl แล้วทำการคลิ๊กที่ Layer เมื่อเกิดเส้น Selection แล้วให้ทำการกลับ Selection เป็นข้างนอกโดยมาที่คำสั่งSelect --> Inverse แล้วทำการปิดตา Layer วัตถุ แล้วทำการเลือก Layer รูปภาพแล้วกดปุ่ม Delete แล้วทำการยกเลิก Selection โดยการกด Ctrl + D ก็จะได้ตาม Step
ขั้นตอนที่4.
  ถ้าเราต้องการเสริมมิติให้กับรูปภาพแล้วก็ทำการใส่เงาซ้อนลงไป โดยทำการ Load Selection รูปภาพขึ้นมาแล้วทำการสร้าง Layer ใหม่ให้อยู่ข้างใต้ Layer รูปภาพ แล้วมาที่คำสั่ง Edit --> Fill ,Use : black แล้วทำการเลื่อนเงาเฉียงมาหน่อย ก็จะทำ ให้ภาพดูมีมิติดังภาพ อย่าลืมลดความเข้มจางของเงาสีดำโดยปรับค่า Opacity ที่ Layer เพื่อให้ดูนุ่มยิ่งขึ้น ก็จะได้ภาพสำเร็จ
สรุปแล้ว
  ก็ไม่ยากเลยอย่างที่คิดเนอะสำหรับหลักการการยืม Selection มาทำโครงร่าง ที่พี่โตสอนมานั้นสรุปคือ ทำวัตถุโครงร่างขึ้นมาแล้วมาจัดเรียงกันให้เต็มพื้นที่ โดยเว้นระยะห่างให้สวยงาม แล้วใช้ Selection ของโครงร่างที่ทำ มาทำการเลือกลบส่วนข้างนอกของพื้นที่Selection กับรูปภาพ ก็จะได้มิติสวยงาม ซึ่งหลักการนี้สามารถนำไปประยุกต์ได้เลยค่ะ
  พอดีได้เวลาพักกลางวัน ก็ลงไปรับประทานอาหารตามปรกติ พอบ่ายก็ขึ้นมาทำต่ออีก เพราะเริ่มสนุกกับวิธีการของพี่โตซะแล้ว คราวนี้ได้เรียนเรื่อง Brush Effects Design
  พูดถึงอุปกรณ์ Brush เพื่อนๆที่เก่งๆหรือว่าเคยได้ทำ Photoshop คงได้ใช้ทำกราฟิกกัน พี่โตบอกว่าจะทำให้งานดูเด่นและละเอียดขึ้นกว่ามากเดิม ซึ่งลักษณะของ Brush ในการใช้จะมีหลายแบบด้วยกัน อย่างเช่น การลบ การป้าย การคัดลอก วันนี้เราจะได้รู้จักกับ Brushในลักษณะ Brush Effects มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบที่สวยงามยิ่งขึ้น พี่โตบอกว่าหัว Brush ที่ใช้กันมีหลายลักษณะ มีทั้งแบบที่มีในเครื่องและเราสร้างสรรค์ขึ้นเอง และอีกลักษณะพิเศษที่เพิ่มมาจากเวอร์ชั่น 7.0ที่เราเห็นกันก็คือ Brush ที่มีลักษณะการเกิดแบบ Rendom ก็คือ การเคลื่อนที่ไปมาหลากหลายลักษณะในการคลิ๊กที่ละครั้ง พอเรานำมาใช้กับอุปกรณ์ Stemp tool จะทำให้ภาพมีมิติปะติดปะต่อกันได้อย่างสวยงาม มาดูวิธีทำกันเลยนะ
ขั้นตอนที่1.
  เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการขึ้นมา 1 รูป
ขั้นตอนที่2.
  หลังจากนั้นให้ทำการสร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมานึ่งไฟล์ขนาดใดก็ได้ โดยมาที่ File ----> New แล้วกำหนดขนาดตามที่ต้องการ
ขั้นตอนที่3.
  จากนั้นการทำงานที่ไฟล์ภาพแล้วให้เลือกอุปกรณ์ Stemp tool แล้วทำการเลือก Brush Option เป็นแบบ Brush Effects หรือถ้าเกิดไม่เจอให้คลิ๊กที่ปุ่มลูกศรที่มุมของ Brush Option เลือกไปที่ Special Effects Brush
ขั้นตอนที่4.
  หลังจากนั้นกลับการทำงานมายังไฟล์ภาพ (ตอนนี้เรายังอยู่ที่อุปกรณ์ Stemp tool อยู่นะ) จากให้กดปุ่ม Alt พร้อมกับคลิ๊กที่ไฟล์ภาพหนึ่งครั้งลักษณะของ Mouse ก็จะเปลี่ยนไปเป็นลุกษณะแบบเป้าลูกศร
ขั้นตอนที่5.
  หลังจากให้กลับการทำงานมาที่ไฟล์เอกสารที่เราสร้างแล้วให้สร้าง Layer ใหม่โดยคลิ๊กไอค่อนรูปกระดาษ แล้วใช้ Mouse คลิ๊กที่พื้นที่ว่างก็จะเห็นว่าอุปกรณ์ Stemp tool ไดทำการ Copy พื้นผิวของรูปภาพมาใส่ที่ไฟล์เอกสารที่เราสร้างแล้ว Brush Effects มันจะทำการ Rendomหัว Brush เคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ เองตามที่เราคลิ๊ก Mouse เราก็จะได้ภาพ Effects ออกมาอย่างน่าสนใจ
  นี่เราก็เพิ่งจะเห็นจุดเด่นของ Brush Effects ก็วันนี้ เราสามารถนำมาใช้ได้หลายแบบเลยหละ พี่โตบอกว่าจุดเด่นของมันก็คือการ Rendomการเคลื่อนไหว ที่มีลักษณะต่างกันออกไปทำให้ภาพดูขาดๆ แต่ก็สามารถดูว่าเป็นรูปอะไร ซึ่งดูน่าสนใจกว่าเรา Stemp แบบธรรมดาที่เราทำกัน ...
พอหลังจากนี้พี่โตก็เลยลองให้เล่นไปเรื่อยๆเผื่อได้ผลงานเจ๋งๆมาโชว์พี่เค้า ก็ยังนั่งทำต่อไปเรื่อยๆจนถึง เวลากลับบ้าน แล้วก็ลงมาเซ็นต์ชื่อกลับบ้านตามปรกติ ตอน 16.35 น.ค่ะ


คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 10350เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2005 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท