สื่อสารผ่านเส้นใยนำแสง


โครงข่าย FTTH ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น มีผู้บริโภคใช้บริการกว่า 5,000,000 ครัวเรือน สำหรับค่าบริการรายเดือนของ FTTH นั้นมากกว่าค่าบริการ ADSL เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นที่คาดกันในประเทศญี่ปุ่นว่า ระบบ ADSL จะถูกแทนที่ด้วยระบบ FTTH ทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2552 และระบบ FTTH จะเป็นระบบที่ผูกขาดทางด้านการให้บริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงทั้งหมดในอนาคตอันใกล้

โลกาภิวัตน์ สื่อสารผ่านเส้นใยแสง


การกระจายหุ้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตตามนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการจดทะเบียนบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเพื่อใช้ประโยชน์ทางธุรกิจจากโครงข่ายเส้นใยแสง (Fiber-optic) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเอง นำมาซึ่งความสนใจของบุคคลทุกกลุ่มเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบสื่อสารผ่านเส้นใยแสง
    
ทราบมาว่าโครงข่ายเส้นใยแสงของการไฟฟ้าฯมีความยาวกว่า 8,000 กิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย แต่ละสายเคเบิลมีเส้นใยแสงอยู่ถึง 24 แกน (core) แต่ปัจจุบันถูกนำมาใช้แค่เพียง 4 แกน ยังคงเหลือไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือเรียกกันในนามของ Dark fiber อยู่ถึง 20 แกน โครงข่ายเส้นใยแสงส่วน Dark fiber นี้สามารถนำมาใช้สร้างมูลค่าและกำไรมหาศาลอย่างเหลือคณานับทางธุรกิจโทรคมนาคมได้
    
เนื่องจากปัจจุบันเส้นใยแสงซึ่งมีขนาดเท่าเส้นผมของมนุษย์เพียงเส้นเดียวนั้น สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลปริมาณมหาศาล อย่างเช่น คู่สายโทรศัพท์นับล้านคู่สาย สัญญาณโทรทัศน์และสัญญาณวิทยุหลายร้อยช่อง อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และบริการอื่น ๆ  ที่ต้องอาศัยการส่งข้อมูลความเร็วสูงได้พร้อมกัน ประเด็นหลักในการสร้างโอกาสของธุรกิจอันกำไรมหาศาลนี้คือทำอย่างไรที่จะนำเทคโนโลยีการสื่อสาร ความเร็วสูงเช่นนี้ ในรูปธุรกิจการบริการสู่ผู้บริโภคอย่างทั่วถึง
    
เทคโนโลยีที่รองรับการเข้าถึง (Access) โครงข่ายเส้นใยแสงของผู้ใช้บริการทั่วไปนั้นรู้จักกันในชื่อของ Fiber To-The-Home (FTTH) ประเทศที่มีการให้บริการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงดังเช่นประเทศญี่ปุ่นนั้นได้เปิดตลาดนำเทคโนโลยี FTTH โดยเชื่อมโยงเส้นใยแสงเข้าถึงบ้านของผู้ใช้บริการรายย่อยในราคาต่ำเป็นผลสำเร็จแล้ว FTTH ที่ให้บริการนั้นจะมีความเร็วถึง 100 Mbps ทั้ง Download และ  Upload ซึ่งเร็วกว่าเทคโนโลยีของโครงข่ายระดับ Access ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทยปัจจุบัน คือ ระบบ ADSL ถึงเกือบ 100 เท่า สิ่งที่น่าสนใจสำหรับความเร็วระดับนี้คือการสื่อสารแบบ “Real time” ดังนั้นจากบ้านของผู้ใช้บริการแต่ละรายจะสามารถใช้บริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์ผ่าน Internet  พร้อมเห็นภาพคู่สนทนาแบบ Real Time รวมถึง Video Conference ประชุมผ่านเครือข่ายแบบ Real time  ใช้บริการ Multi-media  communication แบบ Real time  Interactive video game การศึกษาทางไกลและการแพทย์ทางไกลแบบผ่านเครือข่าย รวมทั้งการขอรับบริการชมภาพยนตร์ด้วยคุณภาพระดับโรงภาพยนตร์ผ่านบริการ Video-on-demand
    
มีรายงานว่าโครงข่าย FTTH ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น มีผู้บริโภคใช้บริการกว่า 5,000,000 ครัวเรือน สำหรับค่าบริการรายเดือนของ FTTH นั้นมากกว่าค่าบริการ ADSL เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นที่คาดกันในประเทศญี่ปุ่นว่า ระบบ ADSL จะถูกแทนที่ด้วยระบบ FTTH ทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2552  และระบบ FTTH จะเป็นระบบที่ผูกขาดทางด้านการให้บริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงทั้งหมดในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น มีความเป็นไปได้สูงว่าผู้ประกอบการซึ่ง   เปิดให้บริการ FTTH ในประเทศไทยก่อนรายอื่นจะมีส่วนแบ่งสูงสุดในตลาดสื่อสารข้อมูลแบบ High speed การไฟฟ้าฯนั้นได้เปรียบกว่าผู้ประกอบการรายอื่นอย่างมาก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องลงทุนมากเพราะการไฟฟ้าฯมีโครงข่ายเส้นใยแสงเป็นของตัวเองอยู่แล้ว และยังไม่จำเป็นต้องเสียค่าเช่าเสาไฟฟ้าเพื่อพาดสายอีก เช่นเดียวกับการไฟฟ้าของเมืองโตเกียว หรือ TEPCO ซึ่งเปิดให้บริการ FTTH ในราคาค่าบริการที่ต่ำกว่ารายอื่น และมีผู้นิยมใช้มากที่สุดในประทศญี่ปุ่นปัจจุบัน
    
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงปฏิรูประบบสื่อสารจากระบบที่พึ่งสายทองแดงเป็นตัวกลางหลักไปสู่ระบบเส้นใยแสง ประเทศไทยนั้นมีปริมาณความต้องการส่งข้อมูลที่ต้องอาศัยการสื่อสารด้วยความเร็วสูงเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเพื่อรองรับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การสาธารณสุข รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่มั่นคงและยั่งยืน ทำให้โครงข่ายสื่อสารที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงสู่ระบบเส้นใยแสงแบบเต็มรูปแบบจากผู้ให้บริการสู่ผู้รับบริการอย่างทั่วถึง เพื่อรองรับความต้องการนี้เป็นที่แน่นอนในอนาคต  
    
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีบุคลากรและวิศวกรที่เชี่ยวชาญและเข้าใจระบบเส้นใยแสงจำนวนน้อยมาก  ซึ่งไม่น่าจะเพียงพอต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ รวมถึงต่อการรองรับธุรกิจการให้บริการใหม่ ๆ อีกมากมายที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งอุตสาหกรรมและการจ้างงานเพื่อการผลิตอุปกรณ์รองรับโครงข่ายเส้นใยแสงและระบบ FTTH การตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีเส้นใยแสง และการสร้างบุคลากรทางด้านนี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องรีบด่วน และ   มีความจำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย.


ข่าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 ธันวาคม 2548
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 10310เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2005 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท