สาระน่ารู้สำหรับครูอนุบาล
เก่ง - ดี - มีสุข คำว่า "เก่ง - ดี - มีสุข" เป็นคำที่เริ่มต้นจากฝ่ายการศึกษา ต่อมาได้มีผู้นำไปใช้อย่างแพร่หลายเพราะเป็นคำพูดง่ายติดปาก ต่อไปนี้เป็นความหมายของเก่ง-ดี-มีสุขในแง่ต่าง ๆการศึกษา คำว่าเก่ง - ดี - มีสุข มีความหมายดังนี้
เก่ง หมายถึง ความสามารถทางพุทธิปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที่แจ่มแจ้งสามารถนำไปใช้ได้ วิเคราะห์เป็น สังเคราะห์ได้ประเมินได้อย่างเข้าใจ และรู้แจ้งตามศักยภาพ
ทักษะปฏิบัติ คือ มีความรู้แจ้งแล้วยังมีความชำนาญปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ทั้งที่เป็นทั้งทักษะฝีมือและทักษะทางปัญญา
ดี หมายถึง เป็นผู้มีเจตคตินิยมที่ดีทั้งต่อการเรียน ความเป็นอยู่ต่อบุคคล ต่อสังคมชุมชน และประเทศ
มีสุข หมายถึง สนุกกับการเรียนและใคร่เรียนรู้ตลอดชีวิต
สุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขให้ความหมายของคำว่า เก่ง - ดี - มีสุข กับความฉลาดทางอารมณ์ไว้ดังนี้
ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถทางอารมณ์ในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข โดยมีองค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ดังนี้
เก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ป้ญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ประกอบด้วยความสามารถดังต่อไปนี้
1. รู้จักและมีแรงจูงใจในตนเอง
- รู้ศักยภาพตนเอง
- สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้
- มีความมุมานะไปสู่เป้าหมาย
- รับรู้และเข้าใจปัญหา
- มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา
- มีความยืดหยุ่น
- สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
- กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
- แสดงความคิดเห็นขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
1. ควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง
- รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง
- ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้
- แสดงออกอย่างเหมาะสม
- ใส่ใจผู้อื่น
- เข้าใจและยอมรับผู้อื่น
- แสดงความเห็นอย่างเหมาะสม
- รู้จักให้ / รู้จักรับ
- รับผิด/ให้อภัย
- เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
1. ภูมิใจในตนเอง
- เห็นคุณค่าในตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
- มองโลกในแง่ดี
- มีอารมณ์ขัน
- พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
- มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข
- รู้จักผ่อนคลาย
- มีความสงบทางจิตใจ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขให้ความหมายเก่ง ดี ในแง่ของสุขภาพ (จากคู่มือพ่อ-แม่ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2539)
เก่ง หมายถึง แข็งแรง รู้จักคิดรู้จักช่วยตนเอง แก้ปัญหาและปรับตัวได้อย่างสร้างสรรค์
ดี หมายถึง จิตใจดี มีเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักควบคุมตนเองให้กระทำในสิ่งที่ถูกต้องอย่างมีความสุข
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นางสาว ณัฐฐา ศรีสนิท ใน NattaSrisanit