สิ่งที่ต้องระวัง เมื่อนำคอมพ์มาใช้กับการเรียนภาษา


คอมพ์ช่วยได้ ก็ทำลายการเรียนรู้ได้เช่นกัน

" จำไว้นะ หมดเวลาที่เราจะมาเถียงกันเรื่องควรใช้คอมพิวเตอร์เรียนภาษาหรือไม่ เพราะไม่ว่าจะอย่างไร พวกเขาก็จะไม่หยุดยั้งการพัฒนาการใช้คอมพ์เรียนรู้ ภาษา สิ่งที่เราต้องทำคือนำมาใช้ประโยชน์ และระวังสิ่งที่ก่อให้เกิดความผิดพลาดและล้มเหลว"   นี่เป็นคำพูดของอาจารย์ฝรั่งที่ก้องอยู่ในความทรงจำของผม   คอมพิวเตอร์ นวัตกรรมที่เป็นที่สุดจริงๆ ของมนุษยชาติ  ผมเคยโดน malware จู่โจมเครื่อง มีโปรแกรมหนึ่งที่ใช้ clean ช่างมีชื่อประขดประชันอย่างได้ใจ คือ peace of mind (สงบเถิดใจ) ก็ใจมันสงบหรือเปล่าละครับเมื่อเครื่องคอมพ์ ป่วนขนาดนั้น   ในด้านการเรียนภาษาเราผ่านนวัตกรรมต่างๆ มากมาย ทั้ง CAI แบบธรรมดา (ชนิดถามตอบ)  บันทึกเสียงได้ จนมาถึงการมี interactive แบบแปลกๆ จนกระทั่ง ถามตอบกับมนุษย์ได้ (แต่จำสคริปนะครับ ) และที่สุดยอดคือแสดงอาการไม่เข้าใจคำพูดของเราได้ แต่ยอมรับเถิดว่า ยังไม่มี ตัวไหน ที่จะยังไม่ต้อง integrate เข้ากับการสอนของมนุษย์เลย เราก็ alert กับ innovation ใหม่ๆ อยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆหรือเปล่าและผลลัพธ์สองอย่างคือมีความหวัง และบางทีก็ผิดหวัง คงต้องใช้ peace of mind software ควบคู่กับการ ทำงานเกี่ยวกับคอมพ์ 

Computer is considered as a tool.

คำสำคัญ (Tags): #computer
หมายเลขบันทึก: 102865เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2007 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ

การเรียนรู้ภาษา ควรต้องใช้ทั้งคนและอุปกรณ์ค่ะ ไม่ทักกันนาน คิดถึงออกค่ะ

 

 สวัสดีครับ

 

P

คิดถึงเช่นกันครับ หวังว่าหลานพี่คงจะน่ารักนะครับ

ปัญหาคือ เขาให้เป็น CAI    (computer assisted instruction ) แต่ส่วนมากคิดจะเอาเป็นตัวจริง (เป็นตัวแทนครู) แต่ครูก็ไม่ตกงานซักที ครับ เพราะแทนไม่ได้

 

สวัสดีค่ะคุณฉัตรชัย

บันทึกนี้ของคุณฉัตรชัยมาในจังหวะที่ดิฉันต้องเรียนรู้การใช้โปรแกรมเรียนภาษาโปรแกรมหนึ่ง     เพื่อไปสื่อสารให้เด็กๆ "กรุณา" สนใจอีกต่อหนึ่ง     งบประมาณของมหาวิทยาลัยจะได้ไม่สูญไปเฉยๆ.....   จะออกหัวหรือออกก้อยก็ไม่ทราบนะคะ   ตอนนี้อยู่ระหว่างการทดลองใช้

แต่ดิฉันชอบแวะไป Chat with Joey  ปลาโลมาสมองกลกวนๆ ที่มีคนไทยเป็นทีมร่วมพัฒนาโปรแกรม   โจอี้เลยรู้คำไทยหลายคำ    ขำที่บางครั้งปลาโลมาตัวนี้ถามย้อนกลับเชิงปรัชญาด้วย   สงสัยฐานข้อมูลคงใหญ่น่าดูอะค่ะ : )

สวัสดีครับ  คุณ ดอกไม้ทะเล

P

โปรแกรมที่ว่าถ้าเป็น interactive ต้องมีการวางแผนที่รัดกุม เพราะปัญหาคือตอนแรกก็ตื่นเต้นกันดี ต่อมาห้องคอมพ์ จะโล่ง เพราะ exercise ก็จะซ้ำๆ ทำให้เด็กเบื่อ หรือถ้าเป็น game มากไป เนื้อหาการเรียนรู้น้อยลง อยากให้อย่าเชื่อว่ามันจะทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากจนหวังไว้เยอะ (ผมผิดหวังบ่อยมาก) แต่ให้คิดว่ามันช่วยมากกว่าและพวกนี้วัตถุประสงค์การใช้ต้องชัดเจนมากๆ ครับไม่งั้นจะเสียเวลาทั้งครูทั้งเด็ก ส่วนมากที่ได้ผลคือการทำ follow up หลังจากให้โปรแกรมเป็นกิจกรรมที่เป็นพื้นที่ ที่เด็กสามารถนำสิ่งที่ได้จากคอมพ์มาประยุกต์ใช้ครับ

chat with Joeyใช้ได้ดีครับ สามารถโต้ตอบได้ดี คิดว่าไม่ได้เข้าใจในสิ่งที่เราพูดจริงๆ แต่programmer คงจะคิดหลักการของ discourse เช่นเติมคำว่า Why หรือ ถ้ายากมากก็ Are you spamming me นับว่าน่าสนใจมากแต่อยากรู้ว่าถ้านักเรียนพูดผิด จะมี I do not understand หรือ you mean แก้ให้.....................ถ้าเป็นอย่างนี้จะขอกราบเลยครับ เพราะถ้าเด็กเขียนผิดๆถูกๆไปไม่แก้ให้ ก็เรียนรู้ไม่ค่อยเต็มที่จริงไหมครับ   

You: I do not know whether you are happy today.
Joey: Would you like to know? What do you have that is green?

You: I cannot describe what I want to ask you because it is not very interesting.
Joey: Why can't you do describe what you want to ask me because it's not interesting ?

You: since I am trying to find the answer of how can I learn English in the best way but I cannot know the right answer.
Joey: Why do you want the answer of how can you learn english in the best way but you cannot know the right answer ?

You: Because I think I do not believe that you can understand what I am asking to you; however, you just pretend that you understand what I have said to you
Joey: Are you spamming me?

คุณฉัตรชัยคะ

เห็นด้วยและขอบคุณมากเลยค่ะ  เรื่อง Follow up  เห็นด้วยจริงๆ   โปรแกรมเรียนภาษาหรือฝึกสนทนา   ไม่มีวันแทนที่การสนทนาด้วยตัวเป็นๆของมนุษย์ได้เลย  ต้องลองผิดลองถูกของจริง กับตัวเป็นๆ จึงจะเห็นผลจริง

เข้ามาบอกอีกทีว่าดิฉันหัวเราะแว่นเกือบหล่น  เพราะอ่านบทสนทนาข้างบน  ดิฉันขำตัวเองด้วยที่คุยกับปลา     แถมเผลอมีอารมณ์ร่วมเป็นตุเป็นตะอีกต่างหากอะค่ะ  : )

ต้องรอ AI   ( Artificial intelligence) ครับ  ถ้าเป็นเหมือนในหนัง AI  มีหวังหนาวแน่งานนี้   ยิ่งญี่ปุ่นพัฒนาหุ่นยนต์ เหมือนมนุษย์ แล้วกล้วเหลือเกิน

Chat with Joey น่าจะเรียกรวมๆ ว่า Chatbot? (ย่อมาจาก Chatting robot มั้ง) ซึ่งน่าจะเข้าข่าย AI  ถึงแม้ว่ามันจะไม่เหมือนในหนังก็ตาม ^_^

Domain specific เช่นเรื่อง เพศศึกษา เช่น

นักเรียน: ฉันควรจะมีเพศสัมพันธ์ที่ไหน
บอท: ปกติแล้วในห้องนอน แต่อาจจะเปลี่ยนบรรยากาศเป็นในครัวได้ แต่การมีเพศสัมพันธ์นอกห้องนอนต้องระวังคนที่อยู่ข้างล่างจะเจ็บเพราะพื้นแข็ง

อันนี้แปลมาจากที่เคยเล่นจริงๆ ของ Canada อาจจะมองว่าทำไมผมต้องยกตัวอย่างที่ แหมดูไม่ถูกกาลเทศะแบบนี้ด้วย ผมก็ขออภัยแล้วกันครับ แต่เราก็คงพอจะเห็นได้ว่าทำ คนถึงอยากจะคุยเรื่องพวกนี้กับ chatbot (หรืออีกมุมในทาง AI ระบบแบบนี้ เรียกว่า Expert system)

Chat with Joey นี่ผมว่าไม่แน่ใจว่าทำอย่างไร แต่มีโปรแกรมคล้ายๆกันในยุคบุกเบิก ชื่อ Aliza ใช้การ map pattern เอา ไม่ได้เข้าใจเนื้อหาอะไร

ไมโครซอฟต์เวิร์ด ก็ตรวจสอบไวยากรณ์ได้ (โดยเฉพาะในระดับวจีวิภาค วากยสัมพันธ์) เวลาพิมพ์อะไรไปผิดไวยากรณ์ก็จะมีเส้นเขียวๆ ขึ้นมา ซึ่งเราก็คงจะพอเห็นได้ว่ามันก็มีข้อจำกัด (แต่ว่าผมไม่เห็นเท่าไหร่เพราะใช้ OpenOffice.org)

การแก้ให้ bot อาจจะถามว่า Do you mean "......."? นักเรียนก็อาจจะจำเรื่องประโยคนั้นไปเอง? ลักษณะแบบนี้คล้ายๆ (งานเรื่อง dialog-based translation เวลาแปลงานไม่ได้มีปัญหาความคลุมเครือ โปรแกรมก็จะถามว่ามนุษย์ว่าตกลงหมายความว่าอย่างไร) เรื่องงี่เง่าผิดนิดผิดหน่อยก็ไม่เข้าใจ เดาเอาเองไม่ได้ คอมพิวเตอร์มันคงถนัดอยู่แล้ว  

ถ้าอยากจะตรวจสอบความถูกต้อง อาจจะต้องมาเก็บฐานข้อมูลหลายอย่างไว้ เช่น คำไหนใช้คู่กับคำไหน เช่น ฝนต้องตก[หนัก] ตก[แรง] ตก[หนา]ก็อาจจะเข้าใจแต่ชาวบ้านก็ไม่ค่อยพูดกัน เป็นต้น  โครงการแบบนี้ก็มีคนทำอยู่ ชื่อ "Jeux de mot" อาจจะลองๆหาจาก Google ได้   

หรือรูปแบบอื่นๆ เช่น เราไม่พูดว่าฉันมีหิว เป็นต้น ก็อาจจะต้องมาคิดว่าเป็นอย่างไรถึงจะไม่ถึกมากด้วย ไม่แน่ว่า parallel corpus ก็อาจจะช่วยได้ เพราะว่าส่วนมากที่พูดผิดก็อาจจะเพราะแปลเป็นคำๆ มา? สนใจเรื่องนี้หรือเปล่า? ที่โรงเรียนนักเรียนเล่น Internet ได้ใช่เปล่าครับ? (เพื่อมีโปรแกรมจะได้ลองเอาขึ้นเว็บดู :-P)

ในระหว่างที่มันใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็ต้องทำออกมาก่อน ไม่งั้นบริษัทอาจจะอยู่ไม่ได้ หรือถ้าเป็นหน่วยงานวิจัยก็อาจจะโดนตัดทุนวิจัย ทำออกมาเรื่อยๆ มันก็คงดีขึ้นไปเรื่อยๆ

ถ้ามันดีขนาดว่า เรียนกับคอมพิวเตอร์แล้ว นักเรียนพูด/อ่าน/เขียน คล่องกว่าให้ครูสอน แล้วโลกแบบนั้นจะเป็นอย่างไร จะดีจริงๆหรือเปล่า ผมก็ไม่แน่ใจ  มีบางคนอย่าง Bill Joy คิดว่ามันไม่มันไม่ควรไปถึงจุดนั้น ก็เลิกพัฒนาคอมพิวเตอร์ไปเลย

แต่ผมคิดว่ามันอีกไกลอะนะไว้มันเริ่มจะใกล้ๆ ช่วงที่คอมฯมันจะฉลาดเกินไปค่อยหยุดทำก็ได้(มั้ง) 

  Chat with Joey น่าจะมาจากการวิเคราะห์ discourse (คือรูปแบบจำเพาะ บังคับ ของ dialogue เช่นผมถาม Why ต้องตอบประมาณ because การให้ response ต่างๆ สามารถวิเคราะห์ได้ ในหลักการทางภาษา และนำมาใช้กำหนดรูปแบบ การสอนการพูดได้ เช่นการถาม Why เราจะตอบกว้างกว่า yes หรือ No ตอนเรี่ยนเรื่องนี้ยากมาก มันเป็นของละเอียดคิดว่าสามารถ programming ได้ แต่ก็คงเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลลักษณะ ที่ function ต่างๆ ให้ออกมาเป็นประโยคที่เป็นธรรมชาติ คนไทยน่าจะทำได้บ้างนะครับโดยเฉพาะภาษาไทย มีหวังไม่ดังก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร

microsoft จะตรวจประโยคที่มี syntax ที่ซับซ้อนสูงไม่ได้ บางที จะขึ้นว่า run on และ แกรมม่า บางจุดก็จำกัด เช่น จะบังคับให้เราใช้เป็นรูป pural ไม่เติม s การใช้ these หรือ those หรือบังคับ relative บางทีก็ไม่ผิดแต่มันจำกัดไง วิทยานิพนธ์ผมก็มีหลายจุดที่แดงแต่ไม่แก้  และที่น่าเกลียด คือบังคับให้ ใช้ ze

เช่น analyse ก็เขียนตามแบบอเมริกัน analyze

ปัญหาการแก้คือหลักการสำคัญที่สุดในการเรียนภาษาเพราะเด็กไม่รู้ว่าตัวเองผิดตรงไหน ถ้าเขียนที่ถูกมาแล้วขึ้นเส้นแดงด้วยเด็กจะ aware แล้วมันก็จะผิดน้อยลง และจำสิ่งที่ถูกมาก แต่อย่างที่บอกถ้าต้องการ accuracy จะไม่ได้ fluency ถ้าต้องการ fluency ก็ไม่ได้ accuracy ขึ้นกับ วัตถุประสงค์มากกว่า นะครับนแต่ dialogue แรกๆ ควรจะเป็น mechanic คือ ถามตอบกันไม่ ออกนอกลู่นอกทางนักไม่งั้นมันจะยากมาก อย่าง Joey ปัญหาคือ เด็กหรือผู้ใหญ่ที่ระดับ beginner จะทำไม่ได้

ช่วงนี้คู่สายที่บ้านมีปัญหาอาจตอบช้าหน่อยขอโทษนะครับคุณ V

area ที่น่าสนใจตอนนี้คือการวิเคราะห์ ความถึ่เสียงของคำทำให้คอมพิวเตอร์ นำข้อมูลความถี่แปลกลับเป็นคำแล้วก็ตอบเรากลับมาเป็นคำตอบ ผมเคยวิเคราะห์ เกี่ยวกับการสอนโดยใช้โปรแกรมนี้ แต่มันก็ไม่สามารถสอนเด็กได้เพราะเด็กเล่นคนเดียวแล้วไม่รู้ pace ของตนว่าจะเรียนเนื้อหาอะไรต่อ ต้องอาศัยครูในการกำหนด เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นมากตอนเห็นใหม่ๆ เพราะเราพูด มันก็ตอบกลับได้ แต่ต้องตาม dialogue

ปัญหาตอนนี้คนทำโปรแกรมไม่ใช่ครู และครูก็ไม่สนการเขียนโปรแกรม การกำหนดรูปแบบจึงไม่ match กับการเรียนรู้ เช่นการจัดระดับสิ่งที่นำเสนอ การ assimilate สิ่งที่ได้มา พูดง่ายง่าย จริงๆแล้วการสอนภาษาควรจะ เป็นสิ่งที่เสมือนจริงเหมือนเกมส์คอมพิวเตอร์ เพราะการเรียนภาษาคือการได้ประสบการณ์มากกว่าเป็นตัวหนังสือถึงจะเข้าถึงเด็กจริงๆ อย่างในเกมส์เขาสอนหมดเลยใช้ปืนอย่างไร ใช้พลังงาน cookies  เด็กจะ apply ทุกอย่างได้ แต่ยากเพราะยังไม่เห็นว่าจะมีโปรแกรมไหนที่จะทำได้ดีขนาดนั้น

ที่จริงคุณวีร์น่าจะทำโปรแกรมการสอนนะครับ ผมอยากทำก็เขียน โปรแกรมไม่เป็น คุณเห็นโปรแกรมที่ interactive นิดเดียวที่สอนอังกฤษใน pantip ไหมครับแค่นั้นก็ได้เงิน แถมไม่ต้องลงทุนอะไรสักบาทเดียว ทุกอย่างก็เป็นการ์ตูน แต่ถ้าเนื้อหาโดนๆ รับรองขายได้แน่เลย  ไม่ต้องรอให้เป็นถึง AI หรอกคับบบ เพราะ การสร้างของอย่างนั้นใช้คนเป็น พันๆ เราทำอะไรที่ ใช้ได้เลย และต้องการมาก เช่นโปรแกรมแนะนำข้อสอบ entrance  เด็กทั่วประเทศต้องการ เดี่ยวนี้เขาก็สามารถ block การ copy ได้ด้วย  หรือว่า โปรแกรมสอนวิเคราะห์โครงสร้างประโยค หรือเอาง่ายที่สุด สอนพาอ่านหนังสือ เพนกวิ้น ให้ออก ต้องการมากครับแต่ไม่มีคนทำ 

แค่นี้ก่อนนะครับ กำลังภาวนาไม่ให้สายหลุด

ผมเขียนคำตอบที่บ้าน ที่ไม่มี net ใน TextEdit (ประมาณ Notepad ของ Mac OS X) เช้ามาค่อยเอามา post :-P
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท