บทกวีแห่งบ้านหนังสือ กศน.แปลงยาว ฉะเชิงเทรา


              บ่ายวันนี้ยังคงอยู่ในบรรยากาศของการประชุมผู้

บริหารกศน.ทั้วประเทศที่โรงแรมมิราเคิล กทม. ยามเบรค

บ่าย ผมไม่สนใจไยดีกับขนมเบรคเพราะพลังงานในตัวยัง

มีมากอยู่ไม่จำเป็นต้องเพิ่มพลังงานแต่อย่างใด จึงเขียน

คำรับรองสถานีบริการความรู้กศน.ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

แห่งหนึ่งซึ่งสร้างชื่อ คือ บ้านหนังสือ ที่กศน.แปลงยาว

ดังนี้

                   บ้านหนังสือ : กศน.แปลงยาว

       บ้านหนังสือ สื่อเรียนรู้ อยู่ในบ้าน
   เชิญมาอ่าน ในบ้านนี้ มีคุณค่า
   เจ้าของบ้าน ทั้งยินดี และปรีดา
   มีวิชา หามาให้ ไว้แบ่งปัน
    
       กศน.แปลงยาว จ้าวความคิด
   ชวนญาติมิตร ในชุมชน คนสร้างสรรค์
   โดยชุมชน จุนเจือ เกื้อกูลกัน
   ในบ้านนั้น บริการหนังสือ คือน้ำใจ

                     ดิศกุล เกษมสวัสดิ์
                  ผอ.กศน.จังหวัดฉะเชิงเทรา
                     ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๐
  

หมายเลขบันทึก: 102799เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2007 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีค่ะ

มาเยี่ยมค่ะ

บ้านหนังสือ สื่อเรียนรู้ อยู่ในบ้าน
   เชิญมาอ่าน ในบ้านนี้ มีคุณค่า
   เจ้าของบ้าน ทั้งยินดี และปรีดา
   มีวิชา หามาให้ ไว้แบ่งปัน

สถานีบริการความรู้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้บริการได้ทุกหนแห่ง
ห้องสมุดประชาชนจ.ฉะเชิงเทรา

บ้านหนังสือ อีกหนึ่งบริการที่ตั้งใจมอบให้กับประชาชน กศน.สู้ ๆ

นางสาววราภรณ์ ทรัพย์ศฤงศิริ
        แนวความคิดที่ดี  สำหรับบุคลากรของ  กศน.แปลงยาว  เพื่อเสริมปัญญาให้สำหรับผู้ใฝ่รู้
ผอ.อนันต์ ตันไล้ กศน.พนมสารคาม

รากฐานของตึกคือเขาเข็ม

รากฐานการเติมเต็มคือการศึกษา

รากฐานการพัฒนาคือการศึกษานอกโรงเรียน

นลินทิพย์ สังข์เจริญ ศบอ.แปลงยาว
ขอบคุณพี่น้องกศน.ทุกท่านที่ส่งแรงใจให้กับ กศน.แปลงยาว นี่ก็คือ "โครงการบ้านหนังสือ" คือชุมชนแห่งการเรียนรู้ค่ะ....

ดีจังเลยค่ะ เป็นบทกวีที่ได้อ่านแล้วรู้สึกว่าอยากเข้าไปสัมผัสกับบ้านหนังสือแห่งนี้จังเลย

กศน.รุกให้โอกาสการศึกษาพื้นฐานเล็งผู้ด้อยโอกาสทุกคนได้เรียน

จากการประชุมสัมมนาผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษานิเทศเรื่องการดำเนินงาน กศน.ในรอบ3เดือน ที่โรงแรมมิลาเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น วันที่ 12 มิถุนายน 2550 ดร.สมบัติ สวรรณพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน(กศน.) กล่าวถึงผลการปฏิบัติงานรอบ 6เดือน กศน.ปีงบประมาณ 2550 ว่า กศน.เน้นการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดหลักคุณธรรมนำความรู้ตามนโยบายรัฐบาล โดยเริ่มที่ผู้บริหารที่ต้องทำด้วยใจที่มีคุณธรรมยึดถือประโยชน์ของบุคคลอื่นและส่วนรวมเป็นหลัก ซึ่งเท่าที่ประเมินในภาพรวมก็สามารถทำได้ในระดับที่ดีแล้วแต่สิ่งที่ตนอยากเห็นต่อไปคือการบูรณาการเนื้อหาของคุณธรรมให้เข้าไปในทุกหลักสูตร ของการศึกษานอกระบบ มีการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดเป็นทักษะชีวิตในขณะเดียวกันต้องมีการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่รุกเข้าไปในกลุ่มเป้าหมาย 3กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่คนยากจนที่สุดซี่งเป็นกลุ่มที่เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้ยาก 2. กลุ่มคนที่อยู่ในชุมชนแออัดซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่อพยพเคลื่อนย้ายมาอยู่ในเมือง ที่ดูเหมือนจะมีโอกาสแต่ไม่มีโอกาส 3. กลุ่มชนที่อยู่ตามชายแดน หรือกลุ่มชนเผ่า นอกจากนี้ยังเน้นย้ำเรื่องของตำบลเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อส่งเสริมให้คนเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยมีหลักคิดว่าเราต้องจัดโอกาสให้คนเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ใครอยากเรียนต้องได้เรียน แต่ถ้าใครไม่อยากเรียนก็หาวิธีกระตุ้นให้อยากเรียน และในปีการศึกษา 2551 ก็จะมีการขยายแนวคิดเรื่องของตำบลเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ได้อย่างน้อย 50% ของตำบลทั่วประเทศหรือทุกตำบลที่มีครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนอยู่ ส่วนเรื่องคูปองเรียนรู้ตลอดชีวิตก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ กศน. พยายามให้ผู้อื่นหรือหน่วยงานอื่นๆ จัดการศึกษาโดย กศน. พร้อมที่จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ การจัดการศึกษาเพื่อยกระดับประชากรวัยแรงงานก็เป็นอีกงานหลักของ กศน. ซึ่งตามเป้าหมายในปี 2548-2551 กศน.ต้องจัดให้ได้ 11 ล้านคน แต่ในความเป็นจริง กศน.ได้รับเงินสนับสนุนให้จัดได้เพียงปีละ 1.2 ล้านคน ดังนั้นหากจะทำให้ได้ตามเป้าหมายจะต้องได้รับงบฯเพิ่มอีกอย่างน้อย 3 เท่า  เพื่อจัดให้ได้ปีละประมาณ 4 ล้านคน อย่างไรก็ตาม รมว.ศึกษาธิการก็ยอมรับว่าเป้าหมายนี้เป็นไปได้ยาก จึงได้มอบหมายให้ทางสภาการศึกษาไปทบทวนปรับเป้าหมายใหม่เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไปผอ.กศน.กล่าว(เอกสารอ้างอิง หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หน้า 23 การศึกษา ฉบับวันที่ 13 มิถุนายน 2550 )

ห่วง ธรรมาภิบาล ในการทำงานชาว กศน. ติดลบ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2550 ที่ ร.ร. มิราเคิ้ลแกรนด์ ดร.จรวยพร  ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ) กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมสัมมนา ผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน(กศน.) และศึกษานิเทศก์ทั่วประเทศ เรื่องการขับเคลื่อนงาน กศน. ในรอบ 3 เดือน ว่าอยากเร่งให้ กศน. ทำหลายเรื่อง เรื่องแรกคือพ.ร.บ. การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เรื่องที่สอง การขยายโอกาสทางการศึกษาให้สูงขึ้นทั้ง 2กลุ่มเป้าหมาย ไดแก่กลุ่มอายุ 15-39 ปี และกลุ่มอายุ 39-59 ปี นอกจากนี้อยากให้ กศน.ยกระดับคุณภาพมาตรฐาน โดยดึงชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มได้เข้าถึง อย่างไรก็ตามได้ยอมรับว่าที่ผ่านมาการเพิ่มสัดส่วนการจัดการศึกษามีปัญหาในเรื่องของบประมาณ ดังนั้นจะมีการต่อสู้เพื่อเพิ่มงบประมาณ อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัด ศธ.พบว่า ธรรมาภิบาลในการทำงานของข้าราชการสังกัด กศน.มีการร้องเรียนหรือมีบัตรสนเท่ห์มากที่สุด ดังนั้นชาว กศน.จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ หากยังนิ่งเฉยอาจจะกระทบในเรื่องของโบนัสที่รัฐบาลจะจัดสรรให้ก็ได้ ด้าน นายสมบัติ  สุวรรณพิทักษ์ ผอ.กศน.กล่าวว่าการดำเนินงานของกศน.ในรอบ6เดือนที่ผ่านมา พบว่าประสบความสำเร็จหลายเรื่อง โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาที่ยึดคุณธรรมนำความรู้ มีการนำนิทานคุณธรรม 80 เรื่องมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ มีการขยายโอกาสทางการศึกษาโดยใช้ยุทธศาสตร์ ลุยถึงที่ รุกเข้าไปจัดการเรียนการสอนในทุกพื้นที่ในที่ยังไม่เข้าถึง ทั้งยังส่งเสริมตำบลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และใช้คูปองส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย (เอกสารอ้างอิง หนังพิมพ์ไทยรัฐ  ฉบับวันที่ 13 มิถุนายน 2550 หน้า 15 การศึกษา-ศาสนา-สาธารณสุข)
บ้านหนังสือ อีกหนึ่งบริการที่แปลงยาวตั้งใจมอบให้กับประชาชน เพราะโครงการบ้านหนังสือ" คือชุมชนแห่งการเรียนรู้ค่ะ....และเป็นสิ่งหนึ่งที่กศน.แปลงทำ เพื่อเสริมปัญญาให้สำหรับผู้ใฝ่รู้

การอ่าน-การเขียน เป็นกิจกรรมที่มีบทบาทต่อการสร้างสรรค์กิจกรรมทางปัญญาของมนุษย์มาช้านาน. มนุษย์ เขียน สิ่งที่รู้และประสบการณ์เก็บสะสมไว้เป็นความรู้มากมาย.  มนุษย์ อ่าน ทุกสิ่งที่เก็บไว้และถ่ายทอดสู่กันฟังอยู่เสมอ. ชีวิตมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับการการอ่านและการเขียนอย่างแยกไม่ออก.

ผู้จัดทำหนังสือย่อมยินดี และรู้สึกเป็นสุขที่ได้พบเห็นหนังสือมากมาย
ทะยอยเดินหน้าออกมาอวดโฉมอยู่บนแผง. เหตุการณ์ทำนองนี้ย่อมแสดงให้เห็นไปพร้อมๆ กันว่า ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างไร คนในสังคมของเราก็ยังมีเวลาส่วนหนึ่งสำหรับ
อ่านหนังสือและแน่นอนว่า หนังสือย่อมเสริมสร้างให้ใครก็ตามที่อ่านได้มีความรู้ความเข้าใจโลกและชีวิตมากขึ้นไม่มากก็น้อย

เมื่อยังมีคนอ่านหนังสือ  หนังสือก็ย่อมเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิต
และเป็นส่วนหนึ่งในความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์อย่างแน่นอน เราเชื่อเช่นนี้.  "
เมล็ดพันธุ์ความคิด"

แค่ได้อ่านคำว่า "บ้านหนังสือ" ก็รู้สึกอบอุ่น  ไม่ใช่เป็นบ้านของหนังสือ  แต่เป็นบ้านที่รวบรวมความรู้ไว้มากมาย เข้าไปแล้วสมใจนึก อยากรู้อะไรได้รู้ดังใจปรารถนา  มีความทุกข์เข้าไปบ้านนี้ก็สามารถคลายทุกข์ได้  ทั้งให้ความบันเทิง  ให้ข้อคิด  แถมยังเป็นโรงพยาบาลรักษาผู้ไม่รู้ให้รู้ได้  รักษาผู้มีปัญหาให้หายสงสัย  ไม่ต้องใช้ยา  ไม่ต้องพักพื้น  หายสนิดเชียว  คิดเล่นๆ  นะคะ  ขอเป็นกำลังใจต่อผู้สร้างบ้านหนังสือทุกๆ  ที่  ขอเป็นกำลังใจให้ผู้แต่ง สร้างสรรค์ผลงานต่อๆ  ไปค่ะ  "ความคิดสร้างสรค์มีพรสวรรค์พัฒนาได้"
  • ชาวกศน.แปดริ้ว ฝากบอกคุณสุรศักดิ์ให้ทำอิงค์เจท รับรองบ้านหนังสือเพื่อมอบให้กศน.แปลงยาวอีกแห่งด้วยครับ

 

  • ขอบคุณทุกท่านที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

คุณสายน้ำครับ

        คุณสายน้ำคิดเล่น ๆ แต่มีความหมายเข้าใจ concept การพัฒนาบ้านหนังสือได้มากเลยทีเดียวครับ ขอบคุณครับ

ปรบมือให้กับชาว กศน.แปลงยาว นะคะ แล้วหาไอเดียดีดีมาฝากอีกนะ

นายเสน่ห์ อุ่นนาวงษ์ ศบอพนมสารคาม

        นับเป็นกลยุทธที่ดึงกลุ่มเป้าหมายที่พลาคและขาดโอกาสทางการศึกษา ได้เข้ามาหาความรู้อีกหนึ่งวิธี ครับ ที่ควรศึกษาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปครับ

บ้านหนังสือนี้ดีหนักหนา    

 มีเนื้อหาตำรานานับประการ

เหนี่อยนักพักอ่านยามว่างงาน  

ทุกคนในบ้านล้วนบริการดี

     บ้านคือสถานที่ที่ให้ความสุขกับเรามากที่สุดหากเข้าใจถึงหัวใจของบทกวีเราจะพบว่า บ้านหนังสือคือการนำทั้งความรู้และความสุขมาสู่บ้านนั่นเอง   .......    ขอให้ใช้เวลาของความรู้อย่างมีความสุขในบ้านของคุณ   .......
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท