การเรียนภาษาอังกฤษในเมืองไทย...สำหรับน้องฟุง


ขอให้เด็กรู้สึกสนุกสนานกับภาษา อย่าเคร่งเครียดเอาไว้ก่อนน่าจะดีกว่านะคะ

เปิดเทอมมาได้สักพักแล้ว เมื่อปีที่แล้วเคยบ่นเรื่องการที่ต้องเซ็นในสมุดท่องศัพท์ให้น้องฟุง ซึ่งเป็นสมุดเล่มเล็กๆที่มีคำศัพท์ภาษาอังกฤษพร้อมด้วยคำแปล เอาไว้ให้เด็กท่องจำ แล้วก็ให้คุณครูและผู้ปกครองเซ็นต่อท้ายทุกหน้า หน้าละประมาณ 5-7 ลายเซ็นต่อคำศัพท์ประมาณ 10-12 คำ 44 หน้า เขียนบรรยายไปสักพักชักวุ่นวาย เอารูปมาให้ดูดีกว่านะคะ 

Vocabbooky4

น้องฟุงบอกว่า "ฟุงอ่านหมดแล้วแม่เซ็นได้เลยทุกหน้า" คุณแม่เชื่อค่ะ เพราะดูแล้วเป็นคำที่ง่ายๆสำหรับน้องฟุงทั้งนั้น ตั้งต้นเซ็นไปก็ถามย้อนกลับไปด้วยจากภาษาไทยให้น้องฟุงบอกภาษาอังกฤษ เราก็เลยได้ขำกับคำแปลที่มี เพราะหนังสือจะแปลตามความหมายในหนังสือเล่มใหญ่อีกที ซึ่งบางคำก็จะออกมาตลกๆ เช่น milk แปลว่า รีดนม, team แปลว่า กลุ่มคน, กอง แถมเรายังเจอที่แปลผิดความจังๆอีกด้วยเช่น stay up แปลว่า มากขึ้น คุณแม่บอกให้น้องฟุงหาคำที่แปลไม่ถูกออกมา แล้วคุณแม่จะได้เขียนไปบอกทางสำนักพิมพ์เขาได้ว่าเราคิดว่า คำพวกนี้น่าจะต้องเปลี่ยนให้ถูกต้องว่าอย่างไรกันได้บ้าง 

ได้ยินน้องฟุงพูดถึงคุณครูภาษาอังกฤษแล้วก็รู้สึกเลยว่า รู้สึกคุณครูจะทำให้เด็กเครียด นี่ขนาดน้องฟุงไม่มีปัญหาอะไรกับภาษาอังกฤษเลย (คงจะยกเว้นตอนที่ต้องแปลเหลือเกิน...แต่เท่าที่ดูน้องฟุงเป็นนักแปลที่ดีใช้ได้ค่ะ) ก็ยังสื่อได้ว่าลูกไม่รู้สึกสนุก รวมทั้งเพื่อนๆก็คงไม่สนุก แถมคุณครูยังทำไม่ได้ตามที่คุณครูสอน วันนี้น้องฟุงเล่าว่า คุณครูเน้นว่าต้องมีเสียงเอสให้ถูกต้อง แล้วคุณครูก็อ่าน Tomo's week ว่าโทโมวีคส ปกติน้องฟุงจะเป็นเด็กที่เชื่อคนที่สอนอะไรแล้วตัวคนสอนก็ทำอย่างนั้น ถ้าบอกน้องฟุงว่าต้องทำอะไร ปฏิบัติยังไง แล้วตัวเราต้องทำให้ได้จริงๆ เพราะน้องฟุงจะดูว่าเราบอก เราสอนแล้ว เราทำอย่างนั้นหรือเปล่าด้วย  

พอได้อ่านบันทึกครูอ้อยถึงวิธีการสอนที่เป็นนวัตกรรมแล้วชอบมากเลยค่ะ อยากให้ครูอ้อยนำออกมาเป็นผลงานเผยแพร่เร็วๆ จะได้เอาไปบอกต่อแบบเป็นวิชาการหน่อยให้คุณครูที่สอนภาษาอังกฤษทั้งหลาย เพราะการที่เราทำให้เด็กเรียนอย่างสนุกสนาน ก็จะทำให้เขาชอบสิ่งที่เรียน แต่ถ้าเคร่งเครียดต้องบังคับให้ท่องศัพท์เท่านี้เท่านั้น แทนที่จะสอนให้จำแบบเป็นเรื่องสนุกสนาน เด็กๆที่ไม่เคยรู้หรอกว่าภาษานี้สนุกสักแค่ไหนยังไง ก็เชื่อแน่ได้เลยว่า คงจะเกลียดไปเลยเสียมากกว่าอยากจะรู้ว่ามันสนุกหรือเปล่า น่าเสียดายและนี่คือพื้นฐานของปัญหานี้ที่เราเห็นในผู้ใหญ่หลายๆคนในปัจจุบันจริงๆ

หมายเลขบันทึก: 102627เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2007 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอให้เด็กรู้สึกสนุกสนานกับภาษา อย่าเคร่งเครียดเอาไว้ก่อนน่าจะดีกว่านะคะ

...........................

เห็นด้วยเลยคะ เด็กๆต้องสนุกเข้าไว้ การเรียนก็เป็นเรื่องง่ายๆ

Good morning Kah P'

P

ไม่ได้say Hello กับพี่นานมากแล้วค่ะ แต่ยังคงคิดถึงอยู่เสมอนะ...จากประสบการณ์ในการสอนภาษาอังกฤษของต้ามา 7 - 8 ปีนั้น ต้าสัมผัสได้ว่านักเรียนสนุกมาก...อาจเพราะว่า  ต้าไม่ยัดเยียดเรื่องไวยกรณ์ หรือการท่องจำแบบที่น้องฟุงเจอก็เป็นได้นะคะ....ส่วนใหญ่จะเน้นให้เด็กได้โต้ตอบ ออกเสียง มั่นใจ และเกิดความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในการเรียนภาษาอังกฤษ ที่สำคัญ ครูอังกฤษ โดยเฉพาะ ระดับประถมไม่ควรใจร้อนในเรื่องโครงสร้างไวยกรณ์ บางครั้งการใส่ไวยกรณ์ในกิจกรรม โดยที่นักเรียนไม่รู้ตัว อาจได้ผลมากกว่าค่ะ มีกิจกรรมหลายๆอย่างที่สามารถสอดแทรก grammar ให้เกิดความสนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษ ทั้งความสามารถ บุคลิก อารมณ์ครู และอื่นๆ ล้วนมีผลต่อความสนใจของเด็กทั้งสิ้น หลายๆโอกาสที่ต้าใช้กิจกรรม การคิดวิเคราะห์ คิดจำแนก และคิดสร้างสรรค์ บูรณาการกับการสอนอังกฤษ เด็กบ้านๆที่นี่ ก็สามารถทำได้ อยู่ที่ว่า วางแผน  ออกแบบกิจกรรมให้สนุก น่าคิด น่าทำ และมีไอเดียเข้าช่วย รับรอง นักเรียนจะตามให้ครูไปสอนภาษาอังกฤษทุกวันเลยค่ะ......ขอแสดงความเห็นแค่นี้ก่อนนะคะ

คิดถึงทั้งคุณดอกแก้ว P และน้องต้า P   อยู่เสมอค่ะ เป็นบุคคลแบบอย่างในหัวใจในแง่มุมต่างกัน แต่ชื่นชมและนึกถึงเสมอๆ รู้ว่าทั้ง 2 ท่านเป็นคนดีและเข้มแข็ง ความดีจะคุ้มครองแน่นอนอยู่แล้ว

ดีใจด้วยที่ทั้ง 2 ท่านเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนในแวดวงของตนเองได้ดีเหลือเกิน ขอให้ภูมิใจเถิดค่ะว่า ทั้ง 2 ท่านมีโอกาสดีกว่าอีกหลายๆท่านที่ได้มีส่วนโดยตรงในการสร้างภาพลักษณ์ดีๆแบบอย่างดีๆให้กับพลังของชาติและสังคมอย่างเด็กๆมากมายที่อยู่รอบๆชีวิตประจำวันของทั้ง 2 ท่าน พี่โอ๋ในฐานะคนทำงานอย่างอื่นก็จะพยายามทำงานของตัวเองให้ดีที่สุดและเป็นกำลังใจให้คนดีๆ แบบอย่างดีๆอย่างคุณดอกแก้วและน้องต้าให้ทำงานที่ทำอยู่อย่างมีความสุขนะคะ มีคนเห็นความดีงามและชื่นชมทั้งสองท่านอยู่เสมอตรงนี้ค่ะ 

เรียนพี่โอ๋ อโณ

เรื่องการเรียนภาษาแบบท่องจำคณุต้อยก็ยังเห็นมีความจำเป็นต้องจำนะคะ แต่ต้องไม่ให้น้องเครียด ค่ะ

การเรียนรู้คำศัพท์อาศัยเกม Hangman เด็กๆชอบมากค่ะ

อีกเกมคือใช้ตัวอักษรหลากสีแจกเด็กๆคนละ 5 ตัว

สร้างคำขึ้นมากลุ่มไหนสร้างคำได้มากกว่าได้รางวัล แต่ครูต้องฟังเสียงเจี๊ยวจ๊าวของเด็กๆให้เป็นเพลงนะคะ

เมื่อน้องมั่นใจแล้ว กล้าเรียงคำ ต่อคำแล้ว จึงแยกวงค่ะ แบบตัวใครตัวมัน ครูเก็บคะแนนให้ทันนะคะ เอาแต่คะแนนไปฝากทางบ้าน เด็กๆจะภูมิใจ และเล่าให้พ่อแม่ฟังเองว่าวันนี้เขาทำคะแนนได้เท่าไร อย่างไร มีคำอะไรบ้างที่เขาประทับใจ

บางครั้งครูต้อยใช้เพลงค่ะ ต่อเพลงฉ่อยกันเอง

และเรียนรู้จากนิทานภาษานะคะ น้องๆจะสามารถเข้าใจบริบทได้เองโดยอัตโนมัติค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ดีใจจังค่ะที่ครูต้อยเอาเทคนิคดีๆมาเล่าสู่กันฟัง หากมีการแลกเปลี่ยนเทคนิควิธีการสอนแบบนี้ในหมู่คุณครูได้สม่ำเสมอก็จะเป็นการดีมากเลยนะคะ เพราะฟังดูแล้วไม่ใช่แต่เด็กหรอกค่ะที่สนุก คุณครูเองก็คงมีความสุขกับการคิดดัดแปลงและการได้เห็นเด็กๆมีความสุขสนุกสนาน น่าดีใจที่ได้อ่านวิธีการของคุณครูต้อยและคุณครูต้าในบันทึกนี้ด้วย ขอบคุณมากๆค่ะที่มาเพิ่มเติมต่อยอดกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท