การศึกษาคือปัจจัยที่ 5 ของชีวิต


              ประเทศไทยมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจค่อนข้างรวดเร็ว ถ้าเปรียบเทียบกับ ประเทศอื่นๆ ในโลก   โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงหลายประเทศประชากรไทย มีรายได้เฉลี่ยสูงถึงปีละ 61,335 บาท*   หรือเดือนละประมาณ 5,100 บาท เป็นรายได้ ที่มากที่พอจะดำรงชีวิตได้อย่างมี
ความสุขพอสมควร แต่นี่เป็นเพียงค่าเฉลี่ยรวมระดับ ประเทศ ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไปก็พบว่ามีอยู่ถึง
63 จังหวัด ที่ประชากรมีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางนี้ และยังพบอีกว่ามีความแตกต่างระหว่างจังหวัด
สูงมาก จังหวัดที่มีรายได้ สูงสุดคือสมุทรสาคร มีรายได้เฉลี่ยถึง 248,216 บาทต่อปี    ส่วนจังหวัด
ศรีสะเกษมีรายได้ เฉลี่ยต่ำสุดเพียง 14,960 บาทต่อปี ความแตกต่างนี้สูงถึง 16.6 เท่า

               เศรษฐกิจของประเทศไทยที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นรวดเร็วนี้    เป็นผลเนื่องจากการขยายตัว
ภาคอุตสาหกรรมและบริการ ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมขยายตัวน้อยมาก รายได้ที่สูงขึ้นจึงเป็นของ
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและบริการ และผู้บริหารระดับสูงเสียเป็น ส่วนใหญ่ และเป็นการขยายตัว
ของเศรษฐกิจในเขตเมืองส่วนในชนบทนั้นไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนัก คนชนบทยังยากจน ต้อง
อาศัยการเกษตรที่มีผลตอบแทนน้อยเป็นพื้นฐานดำรงชีวิตส่วนที่อยากมีชีวิตที่ดีขึ้นก็มุ่งเข้าเมือง
หาอาชีพใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งบางคนก็ ประสบความสำเร็จบางคนก็ไม่ประสบความสำเร็จ บางคนก็ล้มเหลว
นำความเศร้าโศก เสียใจมาสู่ญาติพี่น้อง
               ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ มิได้หมายความถึงความเจริญรุ่งเรืองทาง เศรษฐกิจ
เท่านั้นและความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจก็มิได้ดูเพียงค่าเฉลี่ยของรายได้ประชากร เท่านั้น ความสงบ
ของสังคมเป็นดรรชนีบ่งบอกความเจริญของประเทศเช่นเดียวกัน ประเทศจะสงบสุขร่มเย็นได้ ชีวิต
คนในชาติต้องไม่มีความเหลื่อมล้ำกันมาก คนรวยจะรวยล้นฟ้าเพียงใดคงไม่มีปัญหามากนัก แต่ถ้า
คนจน มีมากและมีช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมาก ประเทศนั้นย่อมมีปัญหา และถ้าคนจนมีความ
เป็นอยู่ที่แร้นแค้น ขาดแคลนทุกอย่างในขณะที่คนรวยมีความสมบูรณ์เพียบพร้อมทุกอย่างปัญหาย่อม
เกิดขึ้นแน่นอน

               ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องรีบหาทางแก้ไขปัญหา คือลดช่องว่างระหว่าง คนรวยกับ
คนจนนี้ให้ได้โดยเร็ว วิธีการง่ายๆก็คือหาทางขจัดความยากจนให้หมดไป ช่วย ให้คนยากไร้มีฐานะ
ความเป็นอยู่ มีรายได้ที่สูงขึ้น มีปัจจัยพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจัย
พื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิตมี 4 ประการ คือ
การมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม 1 การมีอาหารการกินที่เพียงพอ
กับความเจริญเติบโตและเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดี 1
การมีเครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมกับสภาวะอากาศและ
ความมีระเบียบทางวัฒนธรรม 1
และการมียาป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บยามจำเป็นอีก 1
มนุษย์ที่มี
วัฒนธรรมมีความจำเป็นต้องมีปัจจัย พื้นฐาน 4 ประการนี้ แต่เราพบว่า ยังมีคนไทยนับล้านที่ขาดที่อยู่
อาศัยที่มีคุณภาพพอควรคนจำนวนมากต้องแออัดในแหล่งเสื่อมโทรม มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม
หลายคนต้อง อาศัยใต้สะพานเป็นที่อยู่อาศัย บางคนเป็นคนเร่ร่อนไร้หลักแหล่ง เด็กนับล้านเป็นโรคขาด
สารอาหาร ขาดภูมิคุ้มกันป้องกันโรค ขาดเสื้อผ้านุ่งห่มที่เหมาะสม

               คนไทยภาคภูมิใจว่าประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลาในนามีข้าวคนไทยไม่อดตาย
แต่มีคนไทยกว่าครึ่งประเทศยังอยู่ในฐานะยากจน มีคุณภาพชีวิตไม่เหมาะสม แม้ปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้น
ก็ยังมีไม่เพียงพอ ประเทศไทยจะเจริญได้ คนไทยทั้งมวลต้องมี ส่วนร่วม โดยต้องช่วยกันยกระดับ
คุณภาพชีวิตและแก้ปัญหาความยากจนให้ได้

               การช่วยคนหิวด้วยการให้อาหาร ไม่ช้าเขาก็กินอาหารนั้นหมดแล้วก็หิวต่อไป การแก้ความหิว
จึงต้องแก้ด้วยการให้เครื่องมือหาอาหาร ไม่ใช่ให้อาหารความยากจนเป็นต้นเหตุของความไม่เหมาะสม
เพียงพอของปัจจัยพื้นฐาน การแก้ปัญหาความยากจนของคน กว่าครึ่งประเทศจึงไม่ใช่การแจกเงินทอง
สิ่งของเครื่องใช้ แต่ต้องแก้ด้วยการให้ความรู้ ความสามารถที่จะไปประกอบงานเพื่อให้มีรายได้เพียงพอ
กับการดำรงชีวิตที่เหมาะสม

                การศึกษา คือการสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะ
นิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพ
ได้   การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความ
จำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยา
รักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิตและเป็น
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อย่าง รวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการศึกษา
ยิ่งมีบทบาทและความจำเป็นมากขึ้นด้วย การศึกษาที่จะช่วยให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี มีความสุข จะต้องมี
ลักษณะ ที่สำคัญดังนี้
               1. เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เช่น ความรู้และทักษะ
ทางด้านภาษา การคิดคำนวณ ความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น สภาพปัจจุบัน
มีความจำเป็นต้องสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี   จึงจะเพียงพอกับความ
ต้องการและความจำเป็นที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
              2. การศึกษาทำให้คนเป็นคนฉลาด เป็นคนมีเหตุผล คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น และ รู้จักวิธีแสวงหา
ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และเพื่อการงานอาชีพ
             3. การศึกษาต้องสร้างนิสัยที่ดีงาม ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยเฉพาะนิสัยรักการ เรียนรู้ และนิสัย
อื่น ๆ   เช่นความเป็นคนซื่อสัตย์ ขยัน อดทน รับผิดชอบ เป็นต้น
             4. การศึกษาต้องสร้างความงอกงามทางร่างกาย มีสุขภาพพลามัยที่ดี รู้จัก รักษาตนให้แข็งแรง
ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ และสารพิษ
             5. การศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวมให้
ความร่วมมือกับผู้อื่นในสังคม อยู่รวมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยสร้างสังคมที่สงบเป็นสุข   รักษา
สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน
            6. การศึกษาต้องทำให้คนมีทักษะการงานอาชีพที่เพียงพอกับการเข้าสู่การงานอาชีพ รู้จักการ
ประกอบอาชีพและรู้จักพัฒนาการงานอาชีพ

            ทั้ง 6 ประการเป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่จำเป็น ที่คนจะต้องได้รับรู้อย่างทั่วถึงทุกคน ถ้าทุกคน
ได้รับอย่างครบถ้วน เพียงพอก็จะทำให้เกิดทักษะลักษณะและนิสัยที่พึงประสงค์ได้ การศึกษาจึงไม่ใช่สิ่ง
จำเป็นเพียงสำหรับคนบางคน แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่ขาดความพร้อมในปัจจัย
ต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ ยิ่งมีความ จำเป็นมากที่สุด

            คนที่ขาดความพร้อมต้องการการศึกษามาก   มักเป็นกลุ่มคนที่ถูกลืมตลอดเวลา การศึกษา
ที่ได้รับก็มักเป็นบริการที่กระท่อนกระแท่น ไม่เพียงพอกับการเรียนรู้ที่เหมาะสม ไม่พอแม้เพียงเพื่อ
ดำรงชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย ตรงข้ามกับผู้ที่มีความพร้อมพอจะช่วยตนเองได้   กลับได้รับบริการที่มี
คุณภาพและปริมาณที่ดีกว่ามาก ดังจะเห็นได้จากสถานศึกษาในเมืองกับในชนบท ที่มีความแตกต่าง
กันอย่างชัดเจนในทุก ๆ ด้าน   ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ การศึกษานอกจาก จะไม่สามารถสร้างความพร้อมที่
เพียงพอกับผู้ต้องการแล้ว ยังส่งเสริมให้ช่องว่างระหว่าง คนรวยกับคนจนแตกต่างกันมากขึ้นด้วย

            เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างชาติ    จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับ
ยุทธศาสตร์การศึกษาเสียใหม่ให้หันมาให้ความสำคัญกับคนยากจนคนเสียเปรียบ   และคนด้อยโอกาส
ให้มากขึ้นทรัพยากรของรัฐต้องนำมาใช้จ่าย   เพื่อปรับปรุงบริการการศึกษา สำหรับคนยากจนให้ดีขึ้น
เป็นพิเศษ   ให้เพียงพอกับการสร้างลักษณะสิสัยและความพร้อมที่จำเป็น ถ้าคนยากจน คนเสียเปรียบ
คนด้อยโอกาสได้รับการศึกษาที่เหมาะสม และมีคุณภาพ แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ในบ้านเมืองก็จะลดน้อยลง
ไปโดยปริยายและยังทำให้เขากลายเป็นกำลัง สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดีด้วย

การศึกษานอกจากเป็นปัจจัยที่ 5 แล้ว ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิต และเป็นปัจจัย
เพื่อความรุ่งเรืองของประเทศชาติในอนาคตอีกด้วย เราจงฝากความหวังของชาติ
ด้วยการพัฒนาการศึกษากันเถิด

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 101128เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2007 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณที่เขียนนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ เป็นประโยชน์กะหนูมากเลยค่ะ

แน่นอนตามหัวข้อทุกประการคะ

ขอบคุณคะ จะแวะมาใหม่

ขออนุญาตนำไปใช้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท