KM ประเทศญี่ปุ่น
ทีมงานสภาพํฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รายงานการเดินทางไปดูงาน "การจัดการความรู้ ( Click) " ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือน กันยายน ๒๕๔๘ ผมคัด บทสรุป สำหรับผู้บริหารมาให้พวกเรา ศึกษาครับ จะได้นำมาบูรณาการกับการจัดทำแผนปี ๒๕๔๙ ซึ่งส่วนราชการ ต้องจัดส่ง ก.พ.ร. ภายในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๙ นี้ครับ
บทสรุปสำหรับผู้บริหารบางส่วนมีดังนี้ครับ
จากการศึกษาดูงานพบว่าองค์กรชั้นนำต่างๆมีจุดเด่นในการพัฒนาระบบที่แตกต่างกันโดยมีปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารจัดการความรู้ขององค์กรได้อย่างยั่งยืนโดยสรุปดังนี้
(1)
การพัฒนาระบบKM เป็น“กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง(Change Management)” ที่ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาและต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง<p> </p>(2) การพัฒนาคนเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบKM ขององค์กร<p> </p>(3) การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาระบบKM<p> </p>(4) ความมุ่งมั่นจริงจังของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน(Top Management Commitment)เป็นปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันการพัฒนาระบบบริหารความรู้ขององค์กรให้ประสบความสำเร็จ<p> </p>(5) การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบKM ในองค์กรต้องเริ่มจากจุดเล็กๆก่อนแล้วจึงขยายวงกว้างขึ้น<p> </p>(6) ต้องมีทีมงานที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาระบบKM อย่างจริงจังโดยต้องเลือกคนที่มีความชอบและความสนใจ(Passion) มาเป็นทีมงาน<p> </p> <p> </p><p>JJ</p><p> </p>