อรุณสวัสด์ค่ะ คุณหนานวัฒน์
- คราวนี้กรอกแบบฟอร์มถูกต้องแล้ว เริ่มเรียนรู้ร่วมกันได้แล้วนะคะ
- สงสัยตั้งแต่เห็นชื่อแล้วค่ะ ว่า "หนาน" แปลว่าอะไร ว่าจะไปสืบค้นหาคำตอบเองก็ยังไม่ได้โอกาส จึงขอรบกวนเรียนถามเลยแล้วกันนะคะ "What does "หนาน" mean?"
- ดีจังเลยนะคะ ที่ "นักศึกษาจีนถูกบังคับให้สอบวัดระดับภาษาอังกฤษอยู่เสมอ หากไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะไม่ได้รับปริญญา" ที่มรภ.อุบลฯ กำหนดมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในด้านคุณภาพของผู้เรียนไว้ว่า "มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 2 ภาษา" ภาษาที่ 1 คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาที่ 2 เลือกตามความสนใจ แต่เวลาติดตามผล ทุกปีนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาก็จะให้ข้อมูลย้อนกลับว่านักศึกษาจากมรภ.อุบลจะต้องปรับปรุงด้านความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และนักศึกษาเองก็ให้ข้อมูลสอดคล้องกันว่า ตนเองมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับความสามารถด้านอื่น ไม่ว่ามหาวิทยาลัยจะใช้วิธีเพิ่มวิชาภาษาอังกฤษให้เรียน และจัดอบรมเสริม ผลก็ยังออกมาเหมือนเดิม จริงแล้วการหายุทธวิธีที่จะทำให้ผู้เรียนรักในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และมีพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเป็นกระบวนการตลอดชีวิต จากแหล่งเรียนรู้หลากหลายรอบตัว น่าจะเป็นคำตอบของการแก้ปัญหาดังกล่าว
- ที่มหาวิทยาลัยมีการสอนภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี และมีนักศึกษาชาวเวียดนาม จีน กัมพูชา และลาว มาเรียนในระดับปริญญาตรี เคยสอนทุกชาติยกเว้น จีน ในระดับปริญาโทก็เคยสอนนักศึกษาจากสปป.ลาวที่เป็นครูสอนภาษาอังกฤษแล้วมาเรียนปริญญาโทสาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา ในฐานะที่เป็นครูสอนภาษาอังกฤษก็เลยบอกให้สื่อสารกับอาจารย์ด้วยภาษาอังกฤษ เพื่อจะได้ฝึกทักษะการพูดทั้งสองฝ่าย แกก็ปฏิบัติตามแต่ใช้ภาษาอังกฤษอยู่คำเดียวที่เราฟังทีไรก็เซ่อไปเลย เพราะพอเห็นหน้าแกก็จะเรียก ทิซเซ่อ ทิซเซ่อ ต่อจากนั้นจะเป็นภาษาลาวทั้งหมด
- ตอนที่เรียนปริญญาตรีวิชาเอกภาษาอังกฤษ พวกเราชาวอีสานพูดตลกๆ ว่า เราเสียเปรียบเพื่อนจากกทม. เพราะต้องแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยแล้วแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอีสาน (แต่ผลการเรียนอันดับ 1-3 จะเป็นจากวค.อุบลฯ โดยมีเรารวมอยู่ด้วย)
-
บันทึกต่อไปจะว่าด้วยเรื่อง "การเลือกตั้ง"อย่าลืมมาร่วมเรียนรู้นะคะ ขอบคุณค่ะ