2 มีนาคม 2550 วันประวัติศาสตร์ วันตั้งชุมชน KM Research


         ถ้าค้นด้วย tag KMR  คือเข้าใน http://gotoknow.org/post/tag/kmr   ก็จะทราบข่าวเรื่องราวของวันประวัติศาสตร์นี้

         เวที KM Research เวทีแรกนี้เราเน้น ลปรร. กันเรื่องแนวคิดในการตั้งโจทย์และแนวคิดในการตอบโจทย์วิจัยเกี่ยวกับ KM    แล้วก็เลยไปเรื่องการใช้ KM เป็นเครื่องมือทำวิจัย   แล้วก็เลยไปเรื่องนักศึกษาปริญญาเอก - โท   อาจารย์ที่ปรึกษา   และหลักสูตร - สถาบันที่จัดหลักสูตรปริญญาเอก - โท

         คนเข้าร่วมประชุมประมาณ 40 คน   ใช้เวลา 6 - 7 ชั่วโมง  สนุกแต่โอกาส ลปรร. กันน้อยไป

         ที่ประชุมตกลงร่วมกันตั้งชุมชน (CoP) KM Research แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประชุมการ 2 ด้าน   คือด้านการทำวิจัยปัจจัยต่าง ๆ ในการใช้ KM และด้านการนำ KM ไปใช้เป็นเครื่องมือวิจัย

         โดยจะ ลปรร. กันใน 2 เวที   คือเวทีเสมือน (B2B - Blog to Blog) ใน Gotoknow.org/post/tag/kmr  โดยสมาชิกทุกคนจะเล่า (หรือถาม) เรื่องราวด้าน KM Research ของตนในบันทึกในบล็อกของตนใน gotoknow.org แล้วใส่คำหลักหรือ tag ว่า kmr

         อีกรูปแบบหนึ่งของเวที   ก็เป็นเวทีพบหน้า (F2F - Face to Face) กัน 3 เดือนต่อหนึ่งครั้ง   หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ

         คราวหน้านัดกันที่คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ  โดยศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการความรู้  คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นเจ้าภาพ   ผอ. ของศูนย์นี้คือ รศ. ดร. อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง   นัดกันวันที่ 21 พ.ค.50  เวลา 08.30 - 16.30 น.   ผู้เข้าร่วมประชุมจะเป็นนักศึกษาหรืออาจารย์ก็ได้   แต่ต้อง register กับคุณธวัช  หมัดเต๊ะ  ที่ [email protected] ก่อน   โดยสมาชิกใหม่ที่ไม่เคยมาประชุมครั้งแรกต้องกรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับต้นสังกัด  สถานที่ติดต่อ  และกิจกรรม KM Research ที่ตนทำอยู่   เราเปิดกว้างให้คนมาร่วม  แต่ต้องการผู้มาร่วมที่มีคุณภาพ   ทั้งในด้านความตั้งใจจริงและในด้านมาทั้ง share & learn  ไม่ใช่มา learn ด้านเดียวย้ำว่าสมาชิกเก่าก็ต้อง register เข้าร่วมประชุมครั้งที่ 2 นะครับ  แต่ไม่ต้องกรอกประวัติ   เราต้องการรู้จำนวนคนที่จะเข้าร่วม

         ประชุมครั้งที่ 1 เราตกลงกันให้ปิดเสียงโทรศัพท์มือถือและถ้าจะพูดโทรศัพท์  ตกลงกันว่าให้ออกไปพูดนอกห้อง   ช่วยทำให้สมาธิของผู้เข้าประชุมดีมากครับ   ทำ deep listening ได้ง่าย   dialogue สนุก   ไม่ถูกรบกวนด้วยเสียงอื่น   ข้อตกลงนี้คงจะกลายเป็นกติกาของชุมชนนี้   เพราะเราประชุมกันแบบ KM

         ประชุมคราวหน้าเราจะประกาศรางวัล "KMR BlogStar" และแจกรางวัลกันตอนเปิดประชุม   เพื่อความครึกครื้น   โดยคณะกรรมการที่เราตั้งแล้วจะตัดสินล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ครับ   รางวัลนี้ได้แก่ blogger ที่เด่นที่สุดในรอบ 3 เดือนที่ ลปรร. เรื่องราวเกี่ยวกับ KM Research และใส่ tag ว่า KMR   คนที่ไม่ใส่ tag KMR จะไม่ได้รับการพิจารณานะครับ   และคนของ สคส. และกรรมการไม่มีสิทธิได้รับรางวัล  ซึ่งมีรางวัลเดียวในรอบ 3 เดือน

         ผลงานที่พิจารณาคือบันทึกของตนเอง   และ comment ในบันทึกของสมาชิกท่านอื่น   ไม่ใช่แค่บันทึกของตนเองนะครับ

         สมาชิกใหม่ที่เข้ามา ลปรร. โดยการเขียนบล็อกใน gotoknow.org และติดป้ายด้วยคำหลัก KMR ถือว่าได้ให้ประวัติตนเองไปแล้วโดยอัตโนมัติ   ดังนั้นเวลาลงทะเบียนเข้าประชุมเวที KM Research ครั้งที่ 2 ก็ไม่ต้องกรอกประวัติครับ

วิจารณ์  พานิช
 3 มี.ค.50

 

หมายเลขบันทึก: 82796เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอชื่นชมในกระบวนการการจัดการความรู้ของ สคส.ครับ ที่พยายามที่จะให้มีการนำ KM มาใช้เป็นเครื่องมือ (tools) ในกระบวนการวิจัย อันจะนำไปสู่การสร้างนวัตรกรรมใหม่ของการเรียนรู้

อย่างไรก็ตามในการที่เราจะทำวิจัยโดยใช้ KM เป็นเป็นเครื่องมือนั้น จะมีเทคนิคอย่างไรจึงจะเป็นกระบวนการวิจัย KM ที่มีชีวิตชีวา ไม่ใช่เป็นการทำ KM แบบแห้งๆ อยู่แต่ในกระดาษครับ

แต่ถามว่าการทำ KM แบบนี้มีประโยชน์ไหม ก็คงไม่ปฏิเสธความเป็นประโยชน์นะครับ หากแต่ว่าเมื่อใช้กระบวนการ KM แบบมีชีวิตชีวา หรือที่เรียกว่า การทำ KM ธรรมชาติ แล้วนั้นความเป็นประโยชน์จะเป็นทวีคูณของทุกฝ่ายในกระบวนการเรียนรู้

 ด้วยความเคารพ

อุทัย   อันพิมพ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท