พบแล้ว! วิธี ลปรร. แบบ nF2F สำหรับชาวบ้าน


         วันที่ 18 พ.ย.49  ผมเห็นแสงสว่างของ "การจัดการความรู้ทุกหย่อมหญ้า" ในแผ่นดินไทย

         เราจะใช้วิธีคิดและเทคโนโลยีของ ผศ. ดร. เอื้อจิต  วิโรจน์ไตรรัตน์ ครับ   โดยมีหลักการว่า
1. ผู้สร้างความรู้ (จากการปฏิบัติ) เป็นผู้สร้างสาร (สาระ - เนื้อหาที่จะสื่อ) และร่วมผลิตสื่อ
2. ผู้ทำงานเพื่อสร้างความรู้  สร้างชุมชนเข้มแข็ง  สร้างสรรค์สังคม  เป็นผู้ผลิตสื่อและร่วมทำงานด้านการสื่อสารสาธารณะ   สื่อสารด้านบวก
3. ภาครัฐ  ภาคธุรกิจ  ภาคประชาสังคม  และภาควิชาการ  ร่วมกันสร้างช่องทางการผลิตสื่อและใช้สื่อโดยผู้ทำงาน
4. ผู้ผลิตสื่อคือ ผู้รับสาร   และผู้รับสารคือผู้ผลิตสื่อ   ซึ่งก็คือการ ลปรร. กันนั่นเอง   หรือกล่าวให้กว้างขึ้นอีก   คนทุกคนเป็นผู้สื่อข่าวและผู้สร้างสาร

เราจะใช้สื่อหลากหลายช่องทางครับ
 - สื่อวีซีดี จะเป็นเป้าหมายหลัก
 - สื่อวิทยุ  โทรทัศน์
 - สื่อหนังสือพิมพ์
 - สื่อสิ่งพิมพ์ : จดหมายข่าว  แผ่นพับ

         ดร. เอื้อจิต เสนอต่อ นพ. พลเดช  ปิ่นประทีป  เลขานุการ รมต. กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ว่า  ควรจัดให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนสื่อ (วีซีดี ฯลฯ) ประจำจังหวัด

         รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมฯ  ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม  บอกผมว่า  ต้องการใช้ KM เป็นเครื่องมือในการ ลปรร. ความสำเร็จที่ชาวบ้านรวมตัวกันพัฒนาความรู้เพื่อการทำมาหากินและการดำรงชีวิตร่วมกัน   จนเกิดชุมชนเข้มแข็งมากมายหลายพันกลุ่มหรืออาจจะเป็นหมื่น   เมื่อวานก็ไปจัดเวทีพัฒนายุทธศาสตร์สังคมแห่งชาติ   จุดประกายความคิด  กำหนดทิศ สู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน  ที่ทำเนียบรัฐบาล   โดยมี ศ. นพ. ประเวศ วะสี  เป็นผู้เสนอยุทธศาสตร์ 10 ข้อ  ได้แก่
1. ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคม
2. เศรษฐกิจพอเพียง  การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่
3. การรักษาดุลยภาพสิ่งแวดล้อม
4. ความมีน้ำใจ  ไม่ทอดทิ้งกัน
5. การพัฒนาจิตใจ
6. ระบบการสื่อสารที่ทำให้คนไทยรู้ความจริงโดยทั่วถึง
7. ระบบสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์
8. ระบบการศึกษาที่คุณธรรมนำความรู้
9. การพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งจังหวัด
10. การปฏิรูประบบความยุติธรรมและความเป็นธรรมทางสังคม

         ผมตีความว่า  ในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ด้งกล่าว  ผู้ปฏิบัติ ("คุณกิจ") และ "คุณอำนวย" จะร่วมกันสร้างความรู้จากการปฏิบัติในทุกหย่อมหญ้าและทุกภาคส่วนของสังคมไทย

         แล้วเราจะใช้ยุทธศาสตร์ที่ 6 และยุทธศาสตร์ "ผู้ปฏิบัติเป็นผู้ผลิตสื่อและผู้สื่อสาร"   ก็จะเกิดการ ลปรร. แบบ nF2F (non - Face to Face ซึ่งก็คือการสื่อสารโดยไม่ต้องพบหน้า) ขึ้นมาเสริมการ ลปรร. แบบ B2B และ F2F

         ก็จะเกิด KM ในทุกหย่อมหญ้าของแผ่นดินไทย

         เป็นขบวนการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมอุดมปัญญา  หรือสังคมที่มีความรู้เป็นฐานนั่นเอง

                          

ผศ. ดร. เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ กำลังเสนอแนวคิดในการใช้การสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม

                           

                             หลักการของ ดร. เอื้อจิต

                           

                                            สิ่งท้าทาย

                           

ตัวอย่างของการผลิตสื่อเพื่อประชาสังคม  สำนักข่าวเด็กและเยาวชน  จ. เลย มาถ่ายวิดีทัศน์การประชุม สำหรับนำไปออกรายการในท้องถิ่น  ผู้ถ่ายทำเป็นนักเรียนชั้น ม. ๑

                            

นายกรัฐมนตรี กำลังแสดงทัศนะและความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ ๑๗ พย. ๔๙

วิจารณ์  พานิช
 18 พ.ย.49

หมายเลขบันทึก: 61169เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

" ดีมากครับ....อาจารย์สะท้อนภาพลักษณ์นี้แหละช่องทางการทำสื่อ.... อาชีพเก่าผมล่ะ.... คาดหวังว่าจะเกิดจริงนะครับ

เพื่อเสริมแนวความคิดในเรื่องศูนย์แลกเปลี่ยนสื่อ เราสามารถทำ virtual media library ผ่านอินเตอร์เน็ตได้นะครับ โดยศูนย์แต่ละศูนย์ไม่จำเป็นต้องมี hard copy ของ media ทั้งหมด

ทำเช่นนี้เราจะมีต้นทุนในการจัดตั้งศูนย์ที่ต่ำกว่าและทำได้เร็วขึ้น รวมทั้งสามารถทำจำนวนศูนย์ได้มากขึ้นด้วยครับ คือแทนที่จะเป็นระดับจังหวัด เราสามารถทำศูนย์ระดับอำเภอได้เลย หรือตำบลก็ยังได้ สำหรับตำบลที่อยู่ในเขต high-speed internet

ต้นทุนในการบริหารจัดการก็ไม่ยากครับ สอนคนดูแลให้ download แล้ว burn CD เดี๋ยวเดียวก็ได้ครับ 

นอกจากนั้นคนอื่นที่มี high-speed internet ก็ไม่จำเป็นต้องมาที่ศูนย์ด้วยครับ

ผมว่า สคส. เริ่มตั้งต้นทำตัวอย่างก่อนได้เลยครับ เพราะ INET ก็สนับสนุนเราอย่างเต็มที่ในเรื่องนี้อยู่แล้วด้วยครับ

ได้อ่านการเล่าเรื่องของอาจารย์ผ่านทางweb

gotoknow ทำให้ได้มีโอกาสนำมาใช้ในการทำงาน

ได้มาก  ปัจจุบันกำลังทำโครงการการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างเสริมสุขภาพโดนเน้นการมีส่วนร่วมของ บ้าน วัน โรงเรียนและสาธารณสุข(  บวร สุข)

จากเดิมเน้นบวร  และหลังการทำกิจกรรมก็จะมีการทำ

AAR  โดยโครงการนี้ขอรับการสนุบสนุนจาก  สปสช.

โดครงการผ่านด่านที่1 แล้วจะมีการนำส่งรายละเอียดโครงการ เพื่อให้ทางที่ปรึกษาประเมินครั้งที่2  ต่อไป

ขอกำลังใจจากอาจารย์ด้วยนะค่ะ

 

  ตรงใจมากครับ
  ขอบพระคุณที่ท่านอาจารย์ได้ประมวลเรื่องดีๆมานำเสนอและเป็นเรื่องที่ผมพยามกระตุ้น ส่งเสริมมาโดยตลอดเช่นกันครับ ในฐานะ ผู้สอน และในฐานะวิทยากรอบรมครูด้านการผลิตและประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  ประเด็นที่ผมพูดมานานแต่ไม่ค่อยมีใครขานรับมากนักก็คือ "ผู้ปฏิบัติเป็นผู้ผลิตสื่อและผู้สื่อสาร" นี่แหละครับ ต่างกันก็ตรงที่ผมพูดว่า ขอให้พยายามหาทางให้ "ผู้เรียนเป็นผู้ผลิตสื่อและเป็นผู้สื่อสาร"แทนที่ครูจะเหมาไปทำเสียเอง  เนื่องจากเราทำอยู่กับ นักศึกษาครู และ ครูประจำการ ผมพยายามชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนความคิดจาก "ครูเป็นผู้ผลิตสื่อและใช้สื่อ" มาเป็น "ผู้เรียนเป็นผู้ผลิตสื่อและเป็นผู้ใช้สื่อ" มันมีคุณประโยชน์มากมาย ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เป็นการบูรณาการทักษะการเรียนรู้ ทักษะทางสังคม และคุณธรรมอีกหลากหลายประการ จากการปฏิบัติตามแนวนี้ แถมยังก่อให้เกิดความเชื่อมั่น ความภาคภูมิใจในตนได้เป็นอย่างดี ตลอดจนก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการ นำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดรอบๆตัวมาประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง  อยู่อย่าง พอเพียง พึ่งตนเองได้ ฯลฯ
   อ่านความเห็นของ ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์  แล้วก็เห็นจริงตามนั้นครับในเรื่อง virtual media library ผ่านอินเตอร์เน็ต  ซึ่งก็ต้องย้ำนะครับว่า สำหรับตำบลหรือท้องถิ่นที่อยู่ในเขต high-speed internet  เท่านั้น ส่วนพื้นที่ที่ไม่อยู่ในข่ายดังกล่าว รูปแบบของสื่อที่จะให้เขาร่วมคิด ร่วมทำ ร่วม นำเสนอ เพื่อการ ลปรร กันนั้น ให้เป็นไปตามธรรมชาติ ความเหมาะสม ทั้งในระดับสื่อพื้นฐานธรรมดาที่ไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามาเกี่ยวข้อง  สื่อเทคโนโลยีระดับกลาง และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่ที่เป็น Advanced Technology โดยไม่ต้องอาย ที่ไม่เหมือนใคร จะเก่า จะไม่ทันสมัย ขอให้เข้าข่าย " เหมาะสม และ พอเพียง " เป็นอันถือว่าสุดยอด
   พูดเรื่องสื่อที่ เหมาะสม แต่ ไม่ทันสมัยนี่ ผมคิดค้นและเผยแพร่บางเรื่องราวไว้ก็พอมีครับ มีคนสนใจมากด้วย สงสัยต้องปัดฝุ่นเขียนนำเสนอเป็นบันทึกมาแลกเปลี่ยนกันต่อไปแล้วล่ะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท