การติดตั้ง Firewall ด้วย IPCop


ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ของหน่วยงานในภาคอีสาน มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กี่ยวกับการติดตั้ง UPCop เพื่อทำหน้าที่เป็น Firewall

การฝึกอบรม NETWORK และ Firewalls  รุ่นที่ 1 บุรีรัมย์   


 

       โครงการพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบงานสารสนเทศของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านการบริหารจัดการ website เครื่องข่าย และด้านสารสนเทศ ได้ดำเนินการฝึกอบรม รุ่นที่ 1 เสร็จเรียนร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่ ศนจ. บุรีรัมย์ โดยมีผู้ดูแลระบบจาก 10 หน่วยงานเข้าร่วมฝึกปฏิบัติการติดตั้ง Firewall และ Web Server ได้แก่  ศนอ. ศนจ.อุบลราชธานี ศนจ.บุรีรัมย์ ศนจ.ขอนแก่น ศนจ. มหาสารคาม ศนจ. ร้อยเอ็ด ศนจ.เลย และผู้ดูและระบบจาก ศนจ.ศรีสะเกษ สุรินทร์ และนครราชสีมา เป็นทีมวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติ 
   หลังจากการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลองแล้ว ทุกคนได้ร่วมฝึกปฏิบัติจริง กับระบบ Network ของ ศนจ.บุรีรัมย์ จนสามารถใช้งานได้ตามที่ออกแบบระบบไว้
    หลังจบการฝึกอบรมแล้ว แต่ละจังหวัดจะกลับไปติดตั้งและปรับระบบของตนเองให้สามารถใช้งานได้ต่อไป


      
   
    

   การฝึกอบรม NETWORK และ Firewalls    


เตรียมการอบรม Onsite Training กลุ่มที่ 1

 

          ก่อนการอบรมมีการเตรียมการในเรื่องต่างๆ ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงแผนการอบรม

          ตามกำหนดการเดิมจะจัดการอบรมรกลุ่มแรกระหว่างวันที่ 12-14 พ.ค. 2550 ที่ ศนจ. บุรีรัมย์ แต่ต้องเลื่อนโดยกระทันหัน หลังจากส่งหนังสือราชการไปแล้ว เพราะผู้ดูแลระบบของทุกจังหวัด จะต้องเข้าร่วมประชุมเชิงวิชาการเพื่อการบริหารจัดการระบบเครือข่าย MOENet ที่โรงแรมแอมยาสเดอร์ กรุงเทพฯ จึงต้องเลื่อการอบรมกลุ่มแรกออกไปเป็นวันที่ 19-21 มิ.ย.2550 ที่ ศนจ. บุรีรัมย์เหมือนเดิม ส่วนการอบรมกลุ่มอื่นๆ ดำเนินการไปตามกำหนดการเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง
          การเปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่งคือ คณะวิทยากรหลักได้ย้ายไปปฏิบัติงานที่อื่น 1 ท่าน ทำให้วิทยากรที่อบรมเพื่อเป็นวิทยากรหลัก ขาดไป 1 ท่าน

เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม

          วันที่ 15-17 ได้จัดซื้อ และเตรียมวัสดุที่จะใช้ในการอบรม โดยประชุมร่วมกัน แล้วช่วยกัย List รายการที่จะต้องใช้ แล้ว ขออนุญาตจัดซื้ออุปกรณ์ที่ยังไม่มี


อุปกรณ์ที่จะต้องนำไปอบรมนำมากองรวมกันไว้
ก่อนที่จะเดินทางวันพรุ่งนี้ (18 มิ.ย.)

          ตลอดเวลา ก็ค่อยๆ เตรียมอุปกรณ์ โดยเตรียมใส่กล่องเพื่อให้สะดวกสำหรับการเดินทาง ซึ่งอุปกรณ์ประกอบด้วย

1 Software  ติดตั้งระบบต่อไปนี้

          1.1 NFE-GDM ระบบการรายงานผู้จบหลักสูตร ทำงานบน Web Application ติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ Windows 2003 ใช้ Apache เป็น Web Server ใช้ฐานข้อมูล MySQL และ PHP เป็นตัวแปลภาษา  (ต้องเตรียมข้อมูลที่ Export จากโปรแกรม IT)
          1.2 IPCop ระบบ Firewall โดยเตรียมดังนี้

  • แผ่น CD-ROM โปรแกรม IPCop ที่สามารถ Boot ได้จากแผ่น
  • แผ่น Floppy Disk  ใช้ในกรณีที่บางเครื่องไม่สามารถ  Boot จากแผ่น CD-ROM ได้ ให้ ทำแผ่น Floppy Disk ที่สามารถ Boot โปรแกรม IPCop ได้ด้วย โดยทำทั้งหมด 5 ชุด ต่อการอบรม 1 รุ่น
                      

          1.3 School Website ระบบ Web Template โดยเตรียมต้นฉบับโปรแกรม Version ใหม่ล่าสุดพร้อมด้วยคู่มือ บันทึกลงแผ่น CD-ROM จำนวน 1 แผ่น


พิมพ์ภาพลงบนแผ่น CD-ROM (Web Template)
เพื่อนำไปใช้ในการอบรม

          1.4 ระบบ e-Learning  LearnSquare โดยเตรียมต้นฉบับ  Version ใหม่ พร้อมกับต้นฉบับเนื้อหาวิชาเพื่อใช้ทดลองเปิดเรียน และเอกสารคู่มือ บันทึกรวมกับแผ่น CD-ROM ของระบบ Web Template

2. เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่าย แต่ละหน่วยงานต้องเตรียมดังนี้

2.1 เครื่อง Server 1 เครื่อง ที่จะติดตั้ง (แนะนำให้ใช้เครื่อง Powell) แต่ในการทดลองอาจจะทดลองในเครื่อง PC ก่อนก็ได้ และ


เครื่อง PC ตัวเก่ง (pentiun IV 1.4 GHz) ที่ใส่
LAN Card 3 ใบ และทดลองติดตั้ง IPCop แล้ว

2.2 เครื่อง PC เพื่อใช้ในการทดสอบระบบ อย่างน้อย 2 เครื่อง จะใช้เครื่อง Note Book จาก ศนอ. 1 เครื่อง และ ศนจ. นครราชสีมาที่จะเตรียมมา 1 ชุด นำไปใช้เพื่อทดสอบระบบ IPCop โดยแทนเครื่อง คอมพิวเตอร์ใน Zone ต่างๆ
2.3 LAN Card 4 ใบ ต่อรุ่น และยี่ห้อตามที่กำหนดในรายการที่สามารถใช้กับ IPCop ได้ ซึ่งต้องใช้อย่างน้อยเครื่องละ 3 ใบต่อเครื่องหรือ 4 ใบ ถ้าต้องการต่อ Wreless ด้วย การอบรมครั้งนี้ นำไปใช้ในการอบรม เพื่อติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ฝึกปฏิบัติ รุ่นละ 4 ใบ รวมทั้งสิ้น 12 ใบ


LAN Card แกะกล่องใหม่ๆ Complex ราคา 350 บาท

2.4 Switch อย่างน้อย 2 ตัว เพื่อใช้ในการต่อเชื่อมเครือข่าย ใน Green Zone จำนวน 1 ตัว และ Orange zone จำนวน 1 ตัว (กรณีที่ มี web server มากกว่า 1 เครื่อง) ส่วนใน Red Zone จะต่อกับ Router โดยตรง ส่วนเครื่องที่จะต่อกับ IP จริง จะต่อผ่าน Orange Zone ทั้งหมด


Switch แกะกล่องเช่นเดียวกัน จำนวน 2 เครื่อง

2.5 สาย LAN ที่ต่อทั้งแบบตรง และ ไขว้ อย่างละ 6 เส้น แต่ส่วนมากจะใช้แบบตรง เพราะใช้ Switch ในการเชื่อมต่อ แต่บางครั้งอาจจะทดลองต่อตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้สายไขว้

      
เตรียมสาย UTP เป็นลัง และหัว RJ45 เป็นกล่อง พร้อมอุปกรณ์การเข้าหัว RJ45

2.6 ปลั๊กไฟ แบบสามขา 3 ชุด เพื่อใช้ในการเสียบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ควรใช้แบบที่มีมาตรฐาน และสามารถใช้กับปลั๊กแบบ 3 ขาได้
2.7 กระดาษกาวย่น สีแดง เขียว ส้ม และ น้ำเงิน อย่างละ 1 ม้วน เพื่อใช้พันสาย UTP เพื่อให้รู้ว่าสายใดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ใน Zone ใด

 

2.7 Access Point เพื่อใช้ในการฝึกปฏิบัติการใช้งานใน Blue Zone

 

2.8 กรรไกร หรือ Cutter ไขควง เพื่อใช้ในการตัดกระดาษกาว สายและอื่นๆ รวมทั้งการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อติดตั้ง LAN Card

3.เอกสารคู่มือการใช้งาน และ CD ประกอบเอกสาร    

            เอกสารที่ใช้ประกอบการอบรม จำนวน 3 เล่ม คือ
          1 การติดตั้งและใช้งาน IPCop
          2 คู่มือการใช้งาน NFE-GDM


เอกสาร 3 เล่ม และต้นฉบับบันทึกใน CD-ROM

          3 คู่มือการใช้งาน Web Template
          4. เอกสารงานธุรการ ต่างๆ และยืมเงินลดรองจ่าย เพื่อใช้จ่ายระหว่างการอบรม

          รวบรวมอุปกรณ์ต่างๆ ลงกล่อง เพื่อให้สะดวกในการเดินทาง


กล่องใส่อุปกรณ์จำนวน 3 กล่อง พร้อมที่จะเดินทาง

 

  ดำเนินการอบรม Onsite Training กลุ่มที่

          ออกเดินทางจากอุบล วันที่ 18 มิถุนายน 2550 โดยเดินทางไปพร้อมกัน 4 คน คือ คณะจาก ศนอ. 3 คน และ ศนจ.อุบลราชธานีอีก 1 คน พร้อมด้วยอุปกรณ์การอบรมและกระเป๋าเดินทาง เต็มท้ายรถ เดินทางออกจากอุบล แต่ออกเดินทางมาได้เพียงนิดเดียว ฝนตั้งเค้ามืด จึงแวะที่ Home Hub ซื้อผ้าใบคลุมรถ ปรากฏว่า ซื้อยังไม่ทันเสร็จ ฝนตกลงมาอย่างหนัก ดีแต่ว่าที่จอดใต้ที่จอดรถที่มีหลังคากันฝนอย่างดี ของท้ายรถจึงไม่เปียก ช่วยกันเอาผ้าใบคลุมท้ายรถกว่าจะเสร็จ ก็ใช้เวลาพอควร ออกเดินทาง ท่ามกลางสายฝน แต่ก็ตกไม่นาน พอเข้าเขต จังหวัดศรีสะเกษ ก็ไม่มีฝน จนถึง จังหวัดบุรีรัมย์ 
          ตลอดการเดินทาง มีโทรศัพท์เข้ามาตลอดเวลา จากผู้เข้ารับการอบรมทางไกล (e-Training) แต่ก็ช่วยแก้ปัญหาได้ไม่มาก เพราะไม่ได้นั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์
          เดินทางจากอุบลถึงบุรีรัมย์เวลาประมาณบ่าย 3 โมงครึ่ง เข้าพบรองผู้อำนวยการ และไปดูสถานที่ต่างๆ ที่จะใช้ในการอบรม ได้แก่ ห้อง Server และห้องที่จะใช้อบรม ซึ่งทางศนจ. ได้เตรียมที่ห้องประชุม ซึ่งคิดว่าไม่เหมาะ เพราะจะต้องเดินสาย LAN จาก Router ไปค่อนข้างไกล จึงไปดูที่ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความเหมาะสมมากกว่า จึงตัดสินใจเปลี่ยนมาที่ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ โดยช่วยกันยกอุปกรณ์ทั้งหมด ลงเก็บไว้ที่ห้องเรียน แล้วเดินทางไปเข้าที่พัก โรงแรมเทพนคร

      
   โรงแรมเทพนคร เป็นโรงแรมค่อนข้างใหม่ แต่ที่แปลกคือ ป้ายแสดงชื่อโรงแรมนี้ หันเข้าโรงแรม

          เมื่อกลับมาถึงโรงแรม ก็พบกับคณะจาก ศนจ. มหาสารคาม ที่มาเป็นคณะ จำนวน 3 คน Check in เข้าพัก โดยเรากับอาร์ พักห้อง 422 อาจารย์แสงจันทร์ พักกับอาจารย์จากมหาสารคาม อาจารย์ อดิศักดิ์ รอพักกับอาจารย์นิกร ห้อง 420 ตอน 6 โมง ไปกินข้าว คณะจากขอนแก่น มาเข้าพัก อีก 2 คน จากเมืองเลย 1 คน จาก สุรินทร์ 1 คน และจากศรีสะเกษ จะมาสมทบอีก 1 คน ส่วนจากร้อยเอ็ด น่าจะมาถึงพรุ่งนี้ รวมทั้งสิ้น มีวิทยากรและผู้เข้าอบรม  14 คน (ยังไม่รวมมหาสารคาม)          ข้อสังเกตเบื้องต้น ระบบ คอมพิวเตอร์ของ ศนจ. บุรีรัมย์ รองผู้อำนวยการเล่าว่า ไม่มีคนดูแลระบบที่มีความรู้ในการดูแลระบบ เพราะคนที่ดูแลอยู่เดิม ไปอยู่ที่ ศบอ. หมดแล้ว ส่วนคนที่ดูแลปัจจุบัน ก็ยังไม่มีความรู้เท่าไร          สภาพห้องที่เก็บ Server เป็นเหมือนกับห้องทำงาน โดยเครื่อง Server ทั้งหมด เก็บใส่ในตู้ RAC ที่มีขนาดใหม่มาก จึงทำให้ดูเหมือนว่า ภายในตู้ค่อนข้างว่าง สังเกตว่า มี Monitor  เข้าไปเก็บด้วย 1 เครื่อง ในห้องนี้ มีบุคลากรนั่งทำงานอยู่ด้วย  แต่รายละเอียดการใช้งานอื่นๆ ยังไม่ได้ซักถาม


ห้องเก็บ Server แลทำงานคอมพิวเตอร์
ถ่ายตรงหน้าประตูเป็นห้องขนาด 3x4 เมตร

          สภาพของห้องเรียนคอมพิวเตอร์ เป็นอาคารที่ดีมาก ทราบว่า เป็นห้องเรียนที่ใช้ร่วมกับวิทยาลัยชุมชน ซึ่งมี 2 ห้อง ห้องแรก มีเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 40 เครื่อง และอีกห้องหนึ่งเป็นห้องขนาดเล็กกว่า มีเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 20 เครื่อง แต่ใช้งานไม่ได้ สภาพไม่ได้ใช้งาน และขาดการดูแลเอาใจใส่ เช่น เมื่อเดินไปดู Switch อยู่ในสภาพใช้งานไม่ได้ หรือในห้องเรียนใช้ Internet ได้เพียงบางเครื่อง

       
ศูนย์อินเตอร์เน็ต                            ด้านหน้าอาคาร

          สิ่งที่น่าสนใจ คือพบว่าเครื่อง Powel ถูกตั้งทิ้งไว้ที่พื้นหน้าห้อง ไม่ได้ใช้งาน สอบถามผู้ดูแล ตอบว่า ยังใช้ได้ (แสดงว่า ผู้ดูแลไม่ได้ให้ความสนใจเครื่อง Server เครื่องนี้ แม้แต่ในตู้ RAC ก็ใช้ Server เพียงเครื่องเดียว จึงสรุปว่า Server 3 เครื่อง ใช้เพียงเครื่องเดียว)     Web ของ ศนจ. บุรีรัมย์ ไม่ค่อยมีการพัฒนา หรือ Update รองผู้อำนวยการปรารภว่า อยากจะเรียนรู้วิธีการสร้าง Webpage

การอบรมวันแรก วันที่ 19 มิถุนายน 2550

          ผู้เข้ารับการอบรมส่วนมาก พักอยู่โรงแรมเดียวกันคือโรงแรมเทพนคร ดังนั้น ตอนเช้าจึงเดินทางไปพร้อมกัน กว่าจะออกเดินทาง ก็เกือบ 9 โมงเช้า เมื่อถึง ศนจ. บุรีรัมย์ ต่างก็ตรงไปห้องอบรม (ศูนย์อินเตอร์เน็ต) ซึ่งเป็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ใช้เวลาในการจัดเตรียมสถานที่ จนถึงเวลาประมาณ 10 โมง โดยแบ่งออกเป็น 2 ห้อง ห้องแรก มีอุปกรณ์ การอบรมพร้อม จึงใช้เป็นห้องที่ใช้บรรยายในช่วงแรก ส่วนห้องด้านข้าง ปรับพื้นที่ให้เป็นห้องฝึกปฏิบัติ กิจกรรม Onsite Training ในวันแรกมีดังนี้

ลงทะเบียน เขียนรายงานการเดินทาง

          เริ่มลงทะเบียนเข้ารับการอบรม พร้อมกับการเตรียมการของคณะวิทยากร โดยอาจารย์แสงจันทร์เตรียมเอกสารรายงานการเดินทาง พร้อมทั้งลงชื่อลงทะเบียนรับเอกสารประกอบการอบรม และ CD-ROM การอบรมครั้งนี้ มีผู้ขอเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมจากที่กำหนด จำนวน 5 คน คือ ศนจ.มหาสารคาม เพิ่มเติม 2 คน ศนจ. ของแก่น เพิ่ม 1 คน และ ศนจ.บุรีรัมย์ เพิ่มเติม 1 คน ส่วน ศนจ.ร้อยเอ็ด ศนจ. เลย และ ศนจ. อุบลราชธานี มาจังหวัดละ 1 คน เมื่อลงทะเบียนแล้ว เขียนรายงานการเดินทาง ดังนั้น การอบรมครั้งนี้ มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวนทั้งสิ้น 18 คน จาก 10 หน่วยงาน ในจำนวนนี้ เป็นวิทยากร 5 คน

 

 

ชี้แจงวัตถุประสงค์และกระบวนการอบรม

  การอบรมเริ่มอย่างง่ายๆ อย่างไม่เป็นพิธีรองโดยนายศรีเชาวน์ วิหคโต กล่าวถึงความเป็นมา วัตถุประสงค์ และความต้องการในการอบรมครั้งนี้ ต่อจากนั้น เป็นการนำเข้าสู่เนื้อหาของเรื่อง IPCop โดยกล่าวถึง แนวทางการพัฒนา ICT ในอนาคต และสภาพปัญหาในปัจจุบัน ที่จะต้องแก้ไขเพื่อก้าวไปสู่อนาคตที่ต้องการ โดยเฉพาะในการใช้ ICT เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

          แนวทางการพัฒนา ICT จะมีเป้าหมายมุ่งไปสู่การการจัดการเรียนการสอน ผ่านช่องทาง Internet ในรูปแบบ e-Learning ซึ่งมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้ ศนจ. ทุกแห่ง มี Website ของ สถานศึกษา และ ทุก ศนจ. เปิดการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning ดังนั้น จึงต้องพัฒนา Hardware และ เครือข่าย ให้มีความพร้อม และมีประสิทธิภาพ ที่จะรองรับการพัฒนา ICT เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษานอกโรงเรียน

 

Firewall และการติดตั้ง IPCop

          อาจารย์นิกร เกษโกมล บรรยายสรุปเกี่ยวกับ Firewall และ IPCop ก่อนที่จะฝึกปฏิบัติ ตามเนื้อหาในเอกสาร โดยสรุปให้เข้าใจหลักการของ Firewall และ การใช้โปรแกรม IPCop เพื่อติดตั้ง เป็น Firewall ในการอบรมครั้งนี้ จะเน้นการฝึกปฏิบัติจริง มากกว่าการสาธิต ให้ดู การบรรยายจึงเป็นเพียงให้เข้าใจหลักการสั้นๆ เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะเป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง โดยผู้เข้ารับการอบรมจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มจะมีวิทยากรประจำกลุ่ม เพื่อคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือระหว่างฝึกปฏิบัติ

 

 

แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ

 

            กลุ่มที่1 ประกอบด้วย ศนจ. อุบลราชธานี (นายอดิศักดิ์ คำภีระ) และ ศนจ.ร้อยเอ็ด (นายวุฒิพล ทับธานี) โดยมี ศนจ. สุรินทร์ (นายวิทยา วิจิตร) เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ฝึกปฏิบัติ เครื่อง PC ของ ศนจ. อุบล และ Note Book จาก ศนจ. นครราชสีมา จำนวน 2 เครื่อง

 

          กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย  ศนจ. มหาสารคาม (จำนวน 3 คน) และ ศนจ. ขอนแก่น (จำนวน 2 คน) โดยมี ศนจ. ศรีสะเกษ (นายอดิศักดิ์ คำเสียง) เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ฝึกปฏิบัติ เครื่อง PC ของ ศนอ.และ Note Book จาก ศนจ. นครราชสีมา จำนวน 2 เครื่อง

กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วย ศนจ.เลย (นายกิตติพงษ์ โกษาจันทร์) และ ศนจ. บุรีรีมย์ (จำนวน  คน) โดยมี ศนอ. (นายสิทธา นาแพง) เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ฝึกปฏิบัติ เครื่อง Server ยี่ห้อ Powel  ของ ศนจ. บุรีรัมย์ (เครื่องที่จะใช้งานจริง) และ Note Book จาก ศนจ. นครราชสีมา จำนวน 2 เครื่อง

ติดตั้ง LAN Card

  
เครื่อง Server (Powel)                        เครื่อง PC (Pentium IV)

          แจก LAN Card ให้แต่ละเครื่องนำไปเพิ่มเติม ให้เพียงพอ จำนวนเครื่องละ 4 ใบ แต่เครื่องที่มีปัญหาคือเครื่อง Server Powel เพราะไม่มีช่อง PCI เหลือให้เสียบ จึงต้องเอา VGA ออก ให้ใช้ Onboard แล้วใช้ LAN Card เพิ่มเข้าไปอีก 1 รวมเป็น 4
ทำแผ่น Boot
          ให้แต่ละกลุ่ม ติดตั้งโปรแกรม IPCop โดยใช้ Version 1.4.11 เพราะสามารถลง AddOn ได้ทุกตัว แต่เนื่องจากไม่สามารถ Boot จาก CD-ROM ได้ จึงต้อง Boot จาก Flopy Disk แต่ละกลุ่มจึงต้องสอนการทำแผ่น Boot
ติดตั้งโปรแกรม IPCop
          แต่ละกลุ่มเริ่มติดตั้งโปรแกรมลงเครื่อง ที่ใส่ LAN Card ครบทั้ง 4 ใบ แล้ว โดยกระบวยนการเหมือนกันทุกกลุ่ม คือ วิทยากรประจำกลุ่ม สาธิต และแนะนำการติดตั้งในขั้นตอนต่างๆ ต่อจากนั้น ให้สมาชิกในกลุ่มทดลองติดตั้ง ทุกคน

   
ทดลองติดตั้งกันทุกคน                           เปิดตำรา และทำตามตำราทุกขั้นตอน

          ฝึกแล้ว ฝึกอีก จนกว่า จะทำได้ทุกคน คนหนึ่งฝึก ที่เหลือเรียนรู้ ช่วยกันบอก แนะนำ เป็นบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีมาก ถ้อยที่ถ้อยอาศัย และไม่ต้องกลัวเสียหน้าว่า ไม่รู้ เพราะแต่ละคนจะช่วยกัน จึงมีทั้งผู้ที่ทำได้เลย หรือบางคนต้องกางตำราหน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วทำตามไปทีละบรรทัด บางท่านจดขั้นตอนละเอียดยิบ ถึงแม้จะมีในเอกสารก็ไม่จุใจเหมือนกับจดลงสมุดโน้ตของตนเอง ใช้เวลาไม่นาน ก็ติดตั้งเสร็จ และได้ฝึกปฏิบัติกันทุกคน
          เริ่มสังเกตเห็นมาดของวิทยากรประจำกลุ่มแต่ละคนในลีลาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแนะนำ และขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตอบคำถามข้อซักถามต่างๆ  ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ดีกว่าการดำเนินการที่ผ่านมา ที่อบรมที่ภาค มีวิทยากรคนเดียว 
          สิ่งที่ประทับใจอีกประการหนึ่งคือ มีบางท่านที่ไม่ค่อยมีพื้นฐานในเรื่องนี้ แต่บอกว่า มาครั้งนี้ จะสู้และพยายามกลับไปทำให้ได้ และจะเห็นว่า มีความตั้งใจจริง พยายามฝึก จด และขยันที่จะซักถาม เรียนรู้

เชื่อต่อระบบ 
          หลังจากติดตั้งโปรแกรมได้แล้ว ก็ถึงขั้นตอนที่จะตรวจสอบ เพื่อที่จะแบ่ง Network ออกเป็น Zone ต่างๆ ซึ่งจะต้องตรวจสอบว่า LAN Card ใบไหน เป็น Zone อะไร

 

สภาพปัญหา
          1 Switch มีจำนวนไม่เพียงพอ เพราะต้องใช้กลุ่มละ 2 ตัว และ เชื่อมกับ Router อีก 1 ตัว รวมเป็น 7 ตัว แต่เตรียมมาจาก ศนอ.2 ตัว และ ศนจ. นครราชสีมา 2 ตัว ทำให้ต้องทำ LAN เข้าหัวแบบไขว้ เพิ่มเติม มีผลต่อการเชื่อต่อ และการ Set ระบบ แต่ข้อดีคือ ผู้เข้ารับการอบรม ได้เรียนรู้การเข้าหัว RJ45 กับสาย UTP แต่ก็เสียเป็นจำนวนมากเพราะใช้งานไมได้เนื่องจากฝึกเข้าหัวกันใหม่
          2 เดินสายไม่ดีทำให้เกะกะทางเดินของผู้เข้ารับการอบรม

เข้าหัว RJ45

    

เรียนรู้ และฝึกปติบัติการเข้าหัว RJ45 กันอีกครั้ง

ทดสอบเพื่อหา LAN Card แต่ละ Zone

 

หลังจากได้สาย LAN เรียนร้อยแล้ว พร้อมทั้งเครื่อง Notebook กลุ่มละ 2 เครื่อง จาก ศนจ. นครราชสีมา ก็เริ่มต่อเชื่อมเข้ากับเครื่อง Server ที่เราเรียกกัยติดปากว่า เครื่อง IPCop แล้วเริ่มตรวจสอบว่า LAN Card ใบไหน อยู่ใน Zone อะไร เริ่มจากหา LAN Card สีเขียวก่อน เมื่อพบแล้ว ก็นำกระกาษกาวสีเขียว ไปแปะไว้ที่ Card ด้านหลังเครื่อง

 



สภาพของกระดาษกาวที่ปิดไว้หลังครื่อง

สภาพปัญหา

1 เข้าสายไม่ดี
2 การทำเครื่องหมายที่ LAN Card โดยเอากระดาษกาวติด อาจจะมีปัญหาภายหลัง เพราะกระกาษกาวหลุด อาจจะต้องเขียนไว้ที่ฝาครอบเครื่อง หรือทำเป็นกระดาษ เขียนเป็นแผมภูมิ ติดไว้

 

          การตรวจสอบหา แต่ละ Zone เป็นไปด้วยดี ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกันได้หลายวิธี และจากการสังเกต พบว่า เครื่อง Server ค่อนข้างจะมีปัญหาในการติดตั้งมากกว่าเครื่อง PC 
          หลังจากตรวจสอบแล้ว ขั้นต่อไป ก็ทดลองใช้งาน Internet ซึ่งพบว่า มีปัญหากันพักใหญ่ เพราะบางทีก็ออก Internet ได้ บางทีก็ไม่ได้ ปัญหาที่พบคือ
          1 เสียบสายผิด เพราะจากในช่วงของการฝึกปฏิบัติ ที่ทุกคนต้องฝึก จึงมีการถอดสายเปลี่ยนไปมาและเสียบไว้ผิด
          2 ต่อสาย LAN ผิด โดยเฉพาะการต่อสายไขว้
          3 ยังไม่ทราบสาเหตุว่า เกิดจากอะไร     

            ข้อสังเกต 
          1 การตรวจสอบครั้งนี้ ใช้งานการตรวจสอบแบบมีอุปกรณ์ครบ คือ มีเครื่อง Note Book ต่อเข้าไป 2 เครื่อง จึงตรวจสอบได้ง่าย เพราะต่อเข้าไปพร้อมกัน แต่ถ้าใช้เครื่องตรวจสอบเพียงเครื่องเดียว จะยุ่งยากขึ้น
          2 การตรวจสอบใน Blue zone ซึ่งเป็น Access Point บางกลุ่มไม่ได้ต่ออุปกรณ์จริง เพราะไม่มีอุปกรณ์พอ ในการอบรมกลุ่มต่อไป ควรจัดเตรียมให้พร้อม
          3 ไม่ได้ตรวจสอบว่า Blue Zone ทำงานได้จริงหรือไม่

ติดตั้งโปรแกรม เพื่อติดต่อกับ IPCop จาก Green Zone (WinScp และ PuTTy)

ติดตั้งโปรแกรม เสริม (Add On)

เชื่อมต่อ Internet

ใช้งานและ Set ค่า แต่ละเมนู

ข้อสังเกตจากการอบรมวันแรก

          การเตรียมอุปกรณ์ฝึกปฏิบัติ มีความพร้อมค่อนข้างมาก โดยวัสดุฝึกและอุปกรณ์ได้เตรียมมาจาก ศนอ. และ ศนจ.นครราชสีมา โดยเฉพาะ Note Book จำนวน 6 เครื่อง ที่นำมาจาก ศนจ. นครราชสีมา ช่วยให้แต่ละกลุ่มสามารถตรวจสอบและจำลองการใช้งาน ใน Zone ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
          ระบบ ของ ศนจ. บุรีรัมย์ ยังมีปัญหาหลายประการ จึงทำให้การฝึกปฏิบัติครั้งนี้ เหมือนกับการเริ่มต้นการ Set ระบบใหม่ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ โดยเฉพาะเครื่อง Server ที่ยังไม่มีการใช้งาน จึงทำให้สถานการณ์การฝึกปฏิบัติเหมือนกับสถาพจริง
          ผู้เข้ารับการอบรมส่วนมากมีความตั้งใจจริง ต้องการที่จะนำประสบการณ์กลับไปใช้ปรับปรุง Server ของตนเอง ให้สามารถใช้งานได้

การอบรมวันที่สอง วันที่ 20 มิถุนายน 2550

สรุปประสบการณ์ วันที่ผ่านมา

 

ฝึกปฏิบัติต่อเนื่อง

  • การ Set ค่าต่างๆ
  • ทดสอบการทำงานใน Orange Zone
  • ปรับระบบ Network ในห้องฝึกอบรม โดยดำเนินการดังนี้
              1 ใช้เครื่อง IPCop ที่ฝึกปฏิบัติมาทำเป็นเครื่อง Firewall จริง แล้วใช้ Note Book เป็นเครื่อง ทดสอบ ใน Orange Zone ส่วนเครื่องใน Green Zone ใช้เครื่องในห้องเรียน ซึ่งใช้เวลาปรับพอสมควร

  
          ติดตั้ง Web Server ในเครื่อง Server ที่อยู่ใน Orange Zone ซึ่งได้จำลองเครื่อง Note Book เป็นเครื่อง Server

การติดตั้งระบบรายงานผู้จบหลักสูตร (NFE-GDM)

การติดตั้ง Web Template

เก็เครื่องมือ อุปกรณ์

ข้อสังเกตจากการอบรมวันที่ 2
          1 ผู้เข้าอบรม ส่วนมากมีความเข้าใจมากขึ้น และเริ่มมีการฝึกปฏิบัติในขั้นตอนที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ก็ยังมีบางคน ที่ยังปฏิบัติเหมือนกับทำตามตำรา โดยยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร 
          2 สิ่งที่ยังละเลย และยังไม่ให้ความสำคัญเท่าไร คือ การออกแบบระบบ และเขียนไว้อย่างเป็นทางการ จึงพบปัญหาในการตรวจสอบ ว่า Zone ไหน เลข IP อะไร การอบรมครั้งนต่อไป ควรจะต้องเขียนผังของระบบ อย่างจริงจัง
          3 Orange ไม่ได้มีการฝึกปฏิบัติแต่ละกลุ่มอย่างจริงจัง เพราะ หมายเลข IP ไม่พอให้แต่ละกลุ่มฝึก ดังนั้น จึงนำมาสาธิตในห้องประชุมใหญ่ ทำให้ไม่ได้ลงมือปฏิบัติ
          4 ไม่ได้ทำการทดสอบใน Blue Zone ว่า เมื่อต่อ Access Point แล้วจะทำอย่างไร หรืออนุญาตให้คนใช้ Wireless อย่างไร

         

การอบรมวันที่สาม วันที่ 21 มิถุนายน 2550

สรุปประสบการณ์ วันที่ผ่านมา

          ทบทวนการอบรมวันที่ผ่านมาว่าทำอะไรไปบ้าง และยังขาดอะไรบ้าง

 

          ส่วนที่ยังบกพร่อง ต้องเก็บตกในการอบรมวันที่ 3 มีดังนี้
          1 การฝึกปฏิบัติการทำงาน ใน Blue Zone หรือการทำงานจาก Wereless ยังไม่ได้ทดลองใช้งานในบางกลุ่ม ว่ามีการตรวจสอบ และ set อย่างไร
          2 การฝึกปฏิบัตติดตั้ง Web Server ใน Orange Zone ซึ่งได้แต่ดูการสาธิต (เนื่องจากหมายเลข IP ไม่พอให้ปฏิบัติทุกเครื่อง) ไม่ได้ปฏิบัติจริง
          3 ระบบของ Network ของ ศนจ. ยังไมได้ปรับให้ใช้งานตามการออกแบบที่อบรมครั้งนี้
          การฝึกปฏิบัติในวันนี้จึงฝึกใน 3 ข้อ ที่กล่าวมา

ปรับระบบ Network ให้ ศนจ. บุรีรัมย์
          กิจกรรมวันนี้ จะเป็นการฝึกปฏิบัติจริง กับของจริง คือ ระบบ Network ของ ศนจ.บุรีรัมย์ เพื่อให้ทุกคน ได้วิเคราะและพัฒนาจากสภาพพื้นฐานที่เป็นอยู่จริง เพื่อให้เป็นไปตามทฤษฎีและหลักการที่ได้ฝึกปฏิบติจากสถานการณ์จำลองในห้องอบรม โดยมีขั้นตอนในการฝึกปฏิบัติจริง ดังนี้

ตรวจสอบสภาพการใช้งาน

            1 ระบบ Network

          สภาพ Network ของ ศนจ. บุรีรัมย์ยังค่อนข้างสับสนและใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนี้

          ลักษณะ Network มีการเชื่อมต่อดังภาพ และมีการใช้งานดังนี้
          ใช้ Wireless (สามารถทำ broadband Router) เป็นตัว Share การใช้งาน Network โดยเชื่อมต่อกับ Router  โดยตรง
          การเชื่อมต่อสัญญารต่อจาก Wireless จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
          Œ เชื่อมต่อผ่าน Switch โดยนำเอา Switch 24 port มาต่อออกจาก Wireless แล้วมีสายเชื่อมต่อออกไปจาก Wireless อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งผู้ดูแลระบบไม่ทราบว่า ต่อไปไหนบ้าง แต่จำได้เฉพาะสายที่ใช้งานเท่านั้น เครื่องที่จะใช้งานได้ จะต้อง Set หมายเลข IP ให้เป็นหมายเลข IP จริงเท่านั้น
           เชื่อมต่อผ่าน Port ของ Wireless โดยเชื่อมไปยังห้องบริหาร 1 เส้น ห้องรองผู้อำนวยการ 1 เส้น และภายในห้อง ICT 2 เส้น เครื่องที่จะใช้งาน Internet ได้ ต้องใช้หมายเลข IP จริง เช่นเดียวกัน
          Ž เชื่อมต่อผ่านสัญญาณ Wireless ไปยังห้องการเงิน เครื่องที่จะใช้งาน Internet ได้ ต้องใช้หมายเลข IP จริง เช่นเดียวกัน
          สภาพการใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ภายใน ศนจ. ที่สามารถใช้งาน Internet ได้ จะต้อง กำหนดหมายเลข IP ให้เป็นหมายเลข IP จริง ซึ่งทาง ศนจ. บุรีรัมย์ ได้มา 8 หมายเลข จึงเหลือใช้งานจริงได้เพียง 4 หมายเลข (หมายเลขที่ใช้ไปแล้ว คือ หัวท้าย 2 หมายเลข router 1 หมายเลข และ web server 1 หมายเลข)
          เครื่องที่ ใช้งาน Internet จึงใช้หมายเลข IP จริง คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องผู้บริหาร ห้อง ICT ห้องบริหาร และ การเงิน
          ส่วนห้องาเรียน ศูนย์อินเตอร์เน็ต ไม่สามารถใช้งาน Internet ได้ แต่การใช้งาน จะต้องต่อผ่าน port ของ wireless แล้วแจก IP ไปยังเครื่องที่จะใช้งาน Internet

          2 สภาพ Hardware ยังใช้งานได้ไม่เต็มที่ หรือยังไม่ได้ใช้งาน เช่น เครื่อง Server จำนวน 3 เครื่อง ตั้งไว้โดยไม่ได้ใช้งาน 2 เครื่อง คือ เครื่อง Powel ตั้งทิ้งไว้ในห้องเรียนโดยไม่ได้ใช้งาน เครื่อง IBM หลังจากยกไปอบรมที่ ศนจ. นครราชสีมา เมื่อเกือบ 2 ปี ที่ผ่านมา ก็ตั้งทิ้งไว้ในตู้ RAC โดยไม่ได้ใช้งาน เครื่องที่ทำ Web server ติดตั้งและเผยแพร่ Website แต่ก็ไม่ได้ Update เท่าที่ควร ระบบ Network ไม่ได้วางระบบตามที่ ควรจะเป็นที่ได้อบรม คือ การนำเอา Server มาทำ DHCP และ ทำ NAT เพื่อให้สามารถใช้งาน Internet ได้อย่างมีประสิทฑิภาพ
          การจัดวางอุป

คำสำคัญ (Tags): #ict#ipcop
หมายเลขบันทึก: 105512เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 06:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ท่านที่สนใจรายละเอียดคู่มือการติดตั้งและใช้งาน IPCop สามารถ Download ที่ website ของ ศนจ.นครราชสีมา

http://korat..nfe.go.th

ชื่นชมครับ ในความทุ่มเทของพี่  อยากไปร่วมเรียนรู้ด้วยจังเลย และเกิดความอิจฉาทุกสถานศึกษาที่มีหรีดลายน์  เพราะที่สถาบันฯสิรินธรยังไม่มีเลย  ใช้แต่ ADSL ..

ตอนนี่กำลังปรับปรุงคู่มือการติดตั้งและใช้งาน IPCop ที่เป็นคู่มือที่เขียนจากประสบการณ์การปฏิบัติจริง เสร็จเมื่อไร จะบริการให้ Download ไปศึกษา

   ขอเริ่มต้น นำเอาประสบการณ์ จากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากการอบรมแบบ Onsite Training มาแลกเปลี่ย กันนะครับ โดยจะเริ่มไปทีละเรียนก่อนครับ

ตอนที่ 1 ทำไม่ต้องติดตั้ง IPCop

คู่มือการติดตั้ง IPCop

 

โดย ศรีเชาวน์ วิหคโต
ครูชำนาญการพิเศษ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดอุบลราชธานี

      จากประสบการณ์ที่ได้เข้ารับการอบรมการติดตั้งและใช้งานโปรแกรม IPCop จำนวน 2 ครั้ง และร่วมเป็นคณะวิทยากร ให้การอบรมในรูปแบบ Onsite Training แก่ผู้ดูแลระบบ (Administrator) ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีก 3 รุ่น รวมทั้ง ได้ปฏิบัติการจริงในการใช้ IPCop ติดตั้งเป็น Firewall สำหรับระบบ Network ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่อง Firewall และ IPCop จาก website ต่างๆ และจากเอกสาร ทำให้ได้รับประสบการณ์พอสมควร เกี่ยวกับการใช้งาน IPCop จึงได้พยายามรวบรวมความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ที่มี ถ่ายทอดลงใน คู่มือฉบับนี้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า น่าจะก่อให้เกืดประโยชน์ต่อการศึกษาหาความรู้ และนำไปปฏิบัติจริงได้พอสมควร
      ภายในเอกสารเล่มนี้ ได้พยายามเขียนด้วยภาษาง่ายๆ ที่ไม่อิงคำศัพท์ที่เป็นวิชาการ หรือศัพทฺเทคนิคมากนัก รวมทั้ง ไม่ได้อธิบายในส่วนที่เป็นเรื่องทางเทคนิค หรือเชิงทฤษฎี แต่จะเน้นการนำไปใช้งานจริงเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้ภาพประกอบเพื่อให้เห็นป็นรูปธรรมมากขึ้น และสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย
      เนื้อหาภายในเอกสาร แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่ 1 เป็นเรื่องของการติดตั้ง โปรแกรม IPCop และส่วนที่ สอง เป็นเรื่องมของกรใช้งานโปรแกรม IPCop เพื่อทำหน้าที่เป็น Firewall ซึ่งหวังว่า เนื้อหาทั้งสองส่วนนี้ จะเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ดูแลระบบ และผู้สนใจทั่วไป นำไปศึกษาและใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์ ต่อการพัฒนางานด้าน ICT ต่อไป

(นายศรีเชาวน์ วิหคโต)
ครูชำนาญการพิเศษ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สิงหาคม 2550

Introduction

    ก่อนอื่นต้องขอแจ้งให้ทราบวัตถุประสงค์ของการเขียนเอกสารเล่มนี้ก่อน ว่า เป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการอบรม ในรูปแบบ Onsite Training ตาม โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีงบประมาณ 2550 ซึ่งมีกิจกรรมย่อย 3 กิจกรรม โดยการอบรม Onsite Training อยู่ในกิจกรรม การพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบงานสารสนเทศของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านการบริหารจัดการ เว็บไซต์ เครือข่าย และระบบงานสารสนเทศ ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จัดการอบรมขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน เพื่อให้สามารถพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน ให้สามารถให้บริการการศึกษานอกโรงเรียนแก่กลุ่มเป้าหมาย และประชาชนทั่วไปได้ ในรูปแบบของการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย Internet ดังนั้น เนื้อหาในเอกสาร จึงครอบคลุมเฉพาะในส่วนที่มีความจำเป็นต่อการใช้งาน และสอดคล้องกับ อุปกรณ์ (Hardware) ที่มีอยู่ในหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน
     เนื้อหาสาระในเอกสารเล่มนี้ แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
    ตอนที่ 1 สภาพพื้นฐานทางด้าน ICT ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการปูพื้นฐานให้เห็นสภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวทั้งกระบวนการพัฒนา การบริหารจัดการ ว่า มีความเป็นมาอย่างไร เกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่การอบรมแบบ Onsite Training ในครั้งนี้ ว่า จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างไร
    ตอนที่ 2 การติดตั้งและใช้งาน IPCop เป็นเนื้อหาส่วนที่เป็นหลักของเอกสารเล่มนี้ จะประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วนย่อยคือ
       2.1 ระบบ Firewall เป็นการปูพื้นฐานเล็กน้อยเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย
       2.2 การติดตั้ง IPCop จะกล่าวลึกลงไปในรายละเอียดของการติดตั้ง ระบบ Firewall ด้วยโปรแกรม IPCop ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการของ LINUX
       2.3 การใช้งาน IPCOP เป็นเนื้อหาที่กล่าวถึงขั้นตอนภายหลังที่ได้ติดตั้ง IPCop เรียนร้อยแล้ว ว่าจะนำไปใช้งานได้อย่างไรบ้าง
 ตอนที่ 3 การติดตั้งและใช้งาน IPCop
      เรื่องราวต่างๆ ที่เขียนในเอกสารฉบับนี้ เขียนมาจากประสบการณ์โดยตรง ที่ได้จากการจัดการฝึกอบรมแบบ Onsite Training ให้กับหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน ในจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 19 จังหวัด ผนวกกับการค้นคว้าหาความรู้ วึ่งส่วนมากมาจาก Internet จึงทำให้เนื้อหา และข้อความที่ใช้ในเอกสารเล่มนี้ อาจจะไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง

 

ตอนที่ 1.
สภาพพื้นฐานทางด้าน ICT

    ก่อนที่จะกล่าวถึงการติดตั้ง IPCop คงจะต้องให้ข้อมูลสภาพพื้นฐานที่มีความจำเป็นจะต้องติดตั้งระบบ Firewall ด้วย IPCop เสียก่อนว่า เพราะเหตุใด จึงต้องกำหนดเป็นนโยบาย  ที่ต้องดำเนินการติดตั้งทั่วทั้งประเทศ
    การนำเสนอสภาพพื้นฐาน จะเริ่มต้นด้วยเป้าหมายของการพัฒนา ICT ว่า ต้องการพัฒนาอะไร ให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง และการพัฒนานั้น ติดขัดตรงไหน และจะแก้ไขได้อย่างไร ซึ่งเป็นที่มาของการ นำเอา IPCop มาใช้
     ดังนั้นเนื้อหาในส่วนนี้ จะได้เห็นภาพของ ICT ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนที่จะติดตั้ง IPCop และเหตุผล ความจำเป็นที่จะต้องนำเอา IPCop มาใช้


ยุทธศาสตร์การพัฒนา ICT

      ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือการสื่อสาร ไว้ เป็น 4 ขั้นตอน หรือเรียกว่า บันได 4 ขั้น ในการพัฒนา ICT โดยเริ่มดำเนินการพัฒนาในปีงบประมาณ 2538 ในการพัฒนา ได้ยึดเอาองค์ประกอบของ ICT เป็นจุดเน้นในการพัฒนา ICT ดังนี้
      บันไดขั้นที่ 1 คือการพัฒนา Hardware เพื่อพัฒนาให้สามารถนำเอาคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่าย มาใช้งานและให้บริการได้ โดยได้ดำเนินการในปีงบประมาณ 2548
      บันไดขั้นที่ 2 การพัฒนา Software เพื่อพัฒนาโปรแกรมที่จะนำมาใช้งานเพื่อการให้บริการในลักษณะ Web Application ดดยได้ดำเนินการในปีงบประมาณ 2549
      บันไดขั้นที่ 3 การพัฒนา People ware เพื่อพัฒนารูปแบบ และวิธีการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT โดยอยู่ในระหว่างการดำเนินการในปีงบประมาณ 2550
      บันไดขั้นที่ 4 การพัฒนา Data และ Information เพื่อพัฒนาให้มีข้อมูล และสารสนเทศ ให้บริการใน website ต่างๆ โดยจะดำเนินการในปีงบประมาณ 2251
      การพัฒนา Hardware ซึ่งหมายถึงระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ถือว่า เป็นบันได ขั้นแรกที่ได้ดำเนินการพัฒนามาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 และดำเนินการแก้ปัญหาและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ถึงแม้ว่า ปีงบประมาณ 2550 จะไม่ใช่เป็นปีที่เป็นจุดเน้นของการพัฒนา Hardware แต่ปัยหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับ Hardware ก็ทำให้ต้องมีการพัฒนา Hardware อย่างต่อเนื่อง

   พัฒนา Hardware
      อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครือข่าย หรือบางครั้งเราจะเรียกว่า Hardware เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันดับแรกของการพัฒนา ICT เพราะถ้าไม่มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่าย (network) Internet ก็ดูเหมือนว่า กระบวนการต่อไปของการพัฒนา ICT แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะการบริการ ICTเพื่อการศึกษา จะต้องทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือเครื่อง Server และต่อเชื่อมกับเครือข่าย ทั้งเครือข่ายภายใน และเครือข่ายภายนอกเพื่อให้สามารถบริการข่าวสารข้อมูล ทั้งบุคลากรภายในหน่วยงาน และภายนอกหน่วยงาน
 


 ดังนั้นยุทธศาสตร์แรกของการพัฒนา ICT จึงมุ่งมาที่การพัฒนา Hardware โดยการจัดหา Hardware ให้เพียงพอต่อการใช้งาน และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย Hardware ที่กล่าวถึงนี้จะประกอบด้วย
 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งอุปกรณ์ต่อพ่วง และอุปกรณ์เครือข่าย ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวนั้น จะต้อง
      มีจำนวนเพียงพอต่อการใช้งาน
      สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 ดังนั้น จะต้องมาวิเคราะห์ถึงภารกิจของงาน ICT ว่า ต้องการทำอะไรบ้าง เพื่อจะได้กำหนดได้ถูกต้องว่า ต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง จึงจะถือว่าเพียงพอ โดยมองไปที่ภารกิจที่สำคัญในการใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการศึกษาในอกโรงเรียน ใน 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ
      สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
      สารสนเทศเพื่อการเรียการสอน
 ตามแนวคิดดังกล่าว จะเป็นการใช้ ICT ผ่านเครือข่าย Internet โดยเชื่อมต่อ โครงข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนเข้าด้วยกัน ผ่าน Network ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ MOENet ดังนั้นการใช้งาน ICT จึงเป็นการใช้งานในรูปแบบ Web Application โดยมีสถานศึกษาต่างๆ ของ กศน. ในระดับภาค จังหวัด และ อำเภอ เป็นทั้งผู้ให้บริการ และรับบริการ สารสนเทศ


 

      เมื่อทราบภารกิจหลักดังกล่าวแล้ว จึงมาวิเคราะห์ Hardware ที่จะใช้ในการสนับสนุนภารกิจดังกล่าว ซึ่งสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดสรรอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง และอุปกรณ์เครือข่าย ให้กับหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนดังนี้ 

 1 คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server)
     สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ได้จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือเครื่อง Server ให้กับหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนในระดับภาค และจังหวัด หน่วยงานละประมาณ 2-3 เครื่อง เพื่อใช้เป็นเครื่องให้บริการ (Server) การใช้งานคอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน

  


    เครื่อง Server ที่ได้รับนี้ ได้นำมาให้บริการสารสนเทศ สำหรับหน่วยงาน กศน. ดังนี้
         บริการ Internet  โดยเครื่อง Server จะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครือข่าย แล้วเชื่อมต่อกับระบบ LAN ภายในหน่วยงาน ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อ Internet ผ่านเครือข่าย MOENet ซึ่งสามารถสืบค้นข้อมูลจาก Website ต่างๆ จากทั้งภายในเครื่อข่าย MOENet และเครือข่ายอื่นๆ รวมทั้งเชื่อมต่อกับเครือข่ายต่างประเทศ

      ผลที่คาดหวังคือ หน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนสามารถให้บริการ Internet แก่กลุ่มบุคคลต่อไปนี้

  • บุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน กศน.
  •  นักศึกษา กศน. ผ่านทางห้องเรียนคอมพิวเตอร์ หรือห้องสมุด
  •  ประชาชนทั่วไป

      บริการ Website โดยติดตั้ง ระบบ Web Server ลงในเครื่อง Server แล้วจัดทำ Webpage บันทึกลงบนเครื่อง Server ทำการเผยแพร่ Website ผ่านเครือข่าย Internet เพื่อให้บริการข้อมูลสารสนเทศ ผ่านทาง World Wide Web (www)
      บริการสารสนเทศ ด้านอื่นๆ โดยติดตั้ง Software ประเภท Web Application คือ ทำงานผ่าน Web Browser เพื่อให้บริการข้อมูลสารสนเทศในด้านต่างๆ

 2 เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) และ โน๊ตบุ๊ด (Note Book)
  แต่ละจังหวีดจะได้เครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ จำนวน 4 เครื่อง และ Notebook จำนวน 1 เครื่อง

 4 อุปกรณ์เครือข่าย
  เครื่องแม่ข่ายที่กล่าวถึงมาแล้วนั้น จะไม่สามารถทำงานตามบทบาทหน้าที่ตามที่กล่าวถึงมาแล้วได้เลย ถ้าไม่มีอุปกรณ์เครือข่าย ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายภายในหน่วยงาน และเครือข่ายภายนอกหน่วยงานเข้าด้วยกัน

 4.1 Router เป็นยี่ห้อ Cissco รุ่น 1700

 

 4.2 NTU เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณ โทรศัพท์ ที่ส่งมาทาง Leased line ให้เป็นสัญญาณ Digital แล้วเชื่อมต่อเข้ากับ Router ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขององค์การโทรศัพท์ ปัจจุบัน เชื่อมต่อสัญญาณด้วยความเร็ว 512 Kbps


 4.3 Switch เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อต่อ Network แบบ 24 Port ซึ่งส่วนมากจะมีหน่วยงานละอย่างน้อย 2 ตัว

 4.4 เครื่องสำรองไฟ

 

     อุปกรณ์ หรือ Hardware ที่ได้รับมานี้ เมื่อนำมาเชื่อมต่อกัน ทำให้สามารถใช้งานเครือข่ายได้ทันที และขณะเดียวกัน แต่ละหน่วยงานก็ได้รับการจัดสรรหมายเลข IP มาให้หน่วยงาน ละ 16 หมายเลข หรือ 8 หมายเลข ซึ่งมีผลทำให้สามารถใช้งาน เครือข่ายได้ดังนี้
 
 การให้บริการ Internet ภายในหน่วยงาน

 ระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มต้นของการใช้ระบบ Network ในปีงบประมาณ 2547 โดยได้รับการจัสรรค เครืองคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่าย ประกอบด้วย Router และเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) พร้อมทั้ง Switch

 ในการติดตั้ง จะมี 2 หน่วยงานมาดำเนินการติดตั้งให้ คือ บริษัทที่ประมูลเครื่อง Router ได้ (บริษัทสงขลาฟินิชชิ่ง) จะมาติดตั้ง Router และ Switch ลงในตู้ RAC โดยมีเครื่องสำรองไฟ 1 ตัวทำหน้าที่จ่ายไฟ ส่วนบริษัท TOT จะนำเอา  NTU มาติดตั้งพร้อมทั้งเชื่อมสาย Leased line ต่อจากนั้น บริษัทสงขลาฯก็จะดำเนินการ Config Router ตามหมายเลข IP ที่ได้รับการจัดสรร แต่ละหน่วยงาน ก็ถือว่าการดำเนินการติดตั้งเสร็จ ที่เหลือเป็นหน้าที่ของหน่วยงาน ว่า จะเอาไปใช้งานอย่างไร
 สภาพการใช้งานแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
    ลักษณะที่ 1 เก็บอุปกรณ์ทุกอย่างไว้เฉยๆ ไมได้เชื่อมต่อ Internet แต่มีการนำเอาเครื่อง server ไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน ใน Office (แต่บางจังหวัด จะไม่ได้รับการจัดสรร เครื่อง Server)
    ลักษณะที่ 2 มีการเชื่อมต่อ Internet ดังภาพ โดยนำเอาเครื่อง PC มาต่อกับ Switch แล้วใช้งาน Internet จากหมายเลข IP จริง
    ลักษณะที่ 3 นำเอา Server มาใช้โดยติดตั้งระบบปฏิบัติการ LINUX แล้วทำหน้าที่ให้บริการ Internet

 ระยะที่ 2 พัฒนาระบบเครือข่ายให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 มีการฝึกอบรมบุคลากรผู้ดูแลระบบ ให้สามารถใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 2003 มาใช้กับเครื่อง Server แล้วต่อเชื่อมกับ Router เพื่อให้บริการ Internet โดยการทำ NAT แล้วติดตั้ง Web Server ในเครื่อง Server โดยพัฒนาบุคลากรผู้ดูแลระบบ ของหน่วยงาน กศน.ทุกหน่วยงาน

 การพัฒนาระบบ Network ใหม่นี้ มีหลายหน่วยงานนำไปปรับปรุงระบบของตตนเอง ขณะที่หลายหน่วยงานไม่สามารถดำเนินการได้ จึงยังคงใช้วิธีการแบบเดิม คือการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อกับ Router โดยตรง โดยใช้หมายเลข IP จริง ดังนั้น การใช้งาน Internet จึงใช้ได้อย่างจำกัด ตามจำนวนหมายเลข IP ที่ได้รับ และเป็นการต่อกับภายนอกโดยตรงทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง Security อย่างมาก

 ระยะที่ 3 ได้รับอุปกรณ์เพิ่มเติม
  แต่ละหน่วยงานจะได้รับเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายเพิ่มเติมประกอบด้วย
      เครื่อง Server จำนวน 2 เครื่อง
      Switch 1 ตัว
      เครื่องคอมพิวเตอร์ PC จำนวน 4 เครื่อง
      เครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook จำนวน 1 เครื่อง
      เครื่องส่งสัญาณ Wireless (Broadband wireless) จำนวน 1 เครื่อง

      หลังจากได้รับอุปกรณ์เพิ่มเติมดังกล่าวแล้ว ได้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่อง Server ทั้ง 3 เครื่อง ให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้งาน

      การให้บริการ Internet ภายในหน่วยงาน ดำเนินการโดยใช้เครื่อง server จำนวน 1 เครื่อง ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 2003 และเปิดการใช้งาน NAT เพื่อให้บริการ Internet ภายในหน่วยงาน โดยมีการอบรมผู้ดูแลระบบอย่างจริงจัง ผลที่ได้รับคือ หน่วยงาน กศน. ระดับจังหวัด ส่วนมากสามารถให้บริการ Internet ภายในหน่วยงาน ผ่านบริการของเครื่อง Server ได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายจังหวัด ที่ยังใช้วิธีการเดิมคือ การเชื่อมต่อการใช้ Internet โดยตรงกับเครือข่ายภายนอก

 ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่าย
       เมื่อได้อุปกรณ์ทั้งหมดตามที่กล่าวมาแล้ว แต่ละหน่วยงานก็ต่อเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน แล้วเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) โดยไม่ได้เชื่อมต่อเฉพาะเครือข่ายภายในหน่วยงาน (LAN) เท่านั้นแต่ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายภายนอก (WAN)  หรือเครือข่าย อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใช้ประโยชน์จากเครือข่าย ในลักษณะการสืบค้นข้อมูลและอื่นๆ ผ่านทาง WWW หรือใช้ประโยชน์ในด้านการติดต่อสื่อสาร
 ผลที่ตามมาภายหลังจากการเชื่อมต่อกับเครือข่าย Internet คือความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในหน่วยงาน ที่เกิดจากผู้บุกรุกจากเครือข่ายภายนอก และการป้องกันการใช้งานจากเครือข่ายภายใน ที่จะไปกระทำผิดกฎหมายกับเครือข่ายภายนอก หรือมักจะเรียกกันว่าระบบการรักษาความปลอดภัยนั่นเอง
 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน ก็ประสบกับปัญหาความปลอดภัยดังกล่าว โดยเกิดผลกระทบทั้งอย่างรุนแรง เช่น ทำลายระบบข้อมูลต่างๆ ภายในระบบ หรืออาจจะไม่รุนแรง เช่น ทำให้ระบบการทำงานช้า ไม่มีประสิทธิภาพ


สภาพปัญหาในการใช้ Hardware
     จากการติดตามผลการดำเนินงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้รับผิดชอบ ในโอกาสต่างๆ และจากรายงาน พบว่าปัญหาการใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย รวมทั้งอุปกรณืต่อพ่วง หรือที่เราเรียกว่า Hardware มีปัญหาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
 
 1. ไม่ได้ใช้งาน หรือไม่ทราบว่า จะเอาไปทำอะไร


   ไมได้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่มีอยู่ สังเกตจากเครื่อง Server บางเครื่องไม่ได้เปิดใช้งาน หรือเอาไปใช้งานอย่างอื่น เช่น ไปใช้ในการให้ความบันเทิง โดยการติดตั้งโปรแกรม Karaoke เพื่อใช้ร้องเพลง หรือนำไปใช้งาน Office หรือแม้กระทั่งนำไปใช้ในงาน Multimedia เช่น ตัดต่อ Video
 สาเหตที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากไม่ทราบว่า จะใช้เครื่อง Server ทำอะไรบ้าง หรือต้องการจะนำไปใช้ประโยชน์ตามบทบาทหน้าที่ แต่ทำไม่เป็น ดังนั้นจึงเกิดสภาพการใช้งานใน 2 ลักษณะคือ
      ลักษณะที่ 1 มีการใช้งานเครื่อง Server ทุกเครื่อง แต่นำไปใช้ผิดประเภท
      ลักษณะที่ 2 ตั้งทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ได้ใช้งานอะไร
 2 ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ มีหลายลักษณะดังนี้
        การเชื่อมโยงเครือข่าย มีปัญหา โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
               การเชื่อมโยงเครือข่ายภายใน มีปัญหาต่างๆ เช่น การเดินสาย LAN ภายในหน่วยงาน ขาดอุปกรณ์การเชื่อมต่อภายใน
               การเชื่อมโยงเครือข่ายภายนอก มีปัญหาในการเชื่อมโยงเครือข่ายกับองค์การโทรศัพท์ในเขตพื้นที่ เช่น ไม่สามารถเชื่อมโยงได้ ความเร็วต่ำ กว่าความเป็นจริงมาก การใช้งานไม่ต่อเนื่องสายหลุดบ่อย

3 ไม่สามารถติดตั้ง Software เพื่อใช้งานและให้บริการได้
     บริษัท หรือร้านคอมพิวเตอร์มาดำเนินการไว้ให้ เมื่อเกิดปัญหา ไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะไม่ทราบว่าวางระบบไว้อย่างไร
4 ไม่มีผู้ดูแลและพัฒนาระบบหรือผู้ดูแลระบบมีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาการใช้ ICT เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนการเรียนการสอนได้ หรือ ไม่สามรถแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้
5 ระบบความปลอดภัย เนื่องจากระบบการเชื่อมต่อเครือข่าย ติดต่อกับภายนอกโดยตรง ส่งผลให้ถูกโจมตี จากผู้ไม่หวังดีจากภายนอก หรือผู้ไม่หวังดี แอบเข้ามาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ในด้านอื่น โดยที่เราไม่ทราบ

  6 สถานที่ตั้งไม่เหมาะสม เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะต้องใช้ทำหน้าที่ให้บริการ WWW จะต้องเปิดบริการ 24 ชั่วโมง ทำให้เครื่องทำงานหนัก และถ้าเก็ยฃบไว้ในสถานที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่มีระบบระบายอากาศ หรือ อุณหภูมิ สูงเกินไป จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเครื่อง Server 


      ถ้าพิจารณาสถานที่ตั้งของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และอุปกรณ์เครือข่าย ที่มีความจำเป็นต้องเปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง พบว่า ในบางแห่งยังจัดวางไว้ในสถานที่ไม่ค่อยเหมาะสมนัก ซึ่งถ้าแยกแยะ จะเป็นว่า มี 3 ลักษณะคือ
           ลักษณะที่ 1 จัดเก็บไว้ในตู้ ที่มีระบบการระบายความร้อนที่ดี และตู้ดังกล่าว ตั้งอยู่ในห้องที่มีการปรับอุณฆภูมิให้เหมาะสมด้วยเครื่องปรับอากาศ ตลอด 24 ชั่วโมง

 

      ตัวอย่างเช่น ที่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
      ลักษณะที่ 2 จัดเก็บเครื่อง Server และอุปกรณ์ต่อพ่วงไว้ในตู้ที่มีการระบายอากาศอย่างดี แต่ตั้งไว้ในห้องขนาดใหญ่ ที่ไม่ได้เปิดเครื่องปรับอากาศในเวลากลางคืนหรือช่วงวันหยุดราชการ ทำให้ใช้วีธีแก้ปัญหาโดยการปิดเครื่อง Server ในเวลากลางคืน หรือช่วงวันหยุด เช่น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครพนม
    ลักษณะที่ 3 ตั้งเครื่อง Server ไว้ที่พื้น หรือโต๊ะคอมพิวเตอร์ภายในห้องทำงาน ที่มีเครื่องปรับอากาศ และเปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงเวลาที่ทำงาน ซึ่งหน่วยงานส่วนมาก จะใช้วิธีการดังกล่าวนี้ เช่น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดชัยภูมิ ยโสธร มหาสารคาม เป็นต้น

 นอกจากนนั้น ระบบการจ่ายไฟ ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ส่วนมากจะมีเครื่องสำรองไฟ แต่บางแห่งก็ไม่มี หรือมีไม่พอ

 

 

 

 

ภารกิจ ของ ยุทธศาสตร์ Step’1
     จากสภาพ และปัญหาดังที่ได้กล่าวมานี้ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อาจจะมีบางจังหวัด ที่สามารถพัฒนาระบบการใช้งานได้อย่างดี แต่เมื่อนำมาเชื่อมโยงกับจังหวัดที่ยังบกพร่อง ก็ทำให้ การเชื่อมโยงข้อมูล สารสนเทศ ไม่สามารถกระทำได้ในภาพรวมทั้งหมดดังนั้น แนวทางที่จะต้องดำเนินการคือ
 สร้างความเข้มแข็งให้แก่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายเพื่อให้สามารถ
         ใช้งานได้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง
         ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      ดังนั้น ขั้นแรกของการพัฒนาระบบ ICT คือ ต้องทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และ อุปกรณืเครือข่าย สามารถใช้งาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำงานได้อย่างต่อเนื่อง หรือพัฒนาเพื่อ “สร้างความเข้มแข็งให้แก่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่าย” โดยมีแนวทางดังนี้
      1 การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ครบทุกเครื่อง
  เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในหน่วยงาน จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะของเครื่อง และการใช้งาน คือ
  เครื่องคอมพิวเอร์แม่ข่าย (Server) แต่ละจังหวัดจะมีจำนวนแตกต่างกัน ตั้งแต่ 2 เครื่อง ถึง 4 เครื่อง (จังหวัดที่ได้ในกลุ่มแรก จะมี 3 เครื่อง โดยรุ่นแรกจะเป็นเครื่องยี่ห้อ POWEL กลุ่มที่ 2 จะได้เพิ่มอีก 2 เครื่อง ทุกจังหวัด ส่วนจังหวัดที่มีห้องเรียน
      2 การเชื่อมโยงเครือข่ายที่ถูกต้อง
      3 การติดตั้งและใช้งาน Software เพื่อให้ระบบการบริการต่างๆ ใช้งานได้
      4 ระบบรักษาความปลอดภัย

คอยติดตามตอนที่ 2  เร็วๆ นี้ครับ เป็นขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม

ท่านที่สนใจรายละเอียดคู่มือการติดตั้งและใช้งาน IPCop สามารถ Download ที่ website ของ ศนจ.นครราชสีมา

http://korat..nfe.go.th

 

เข้าไม่ได้ครับ พอดีอยากได้ แผ่นโปรแกรม และคู่มือการติดตั้ง

ตอนนี้เอกสารคู่มือเสร็จแล้ว และเมือได้รับอนุมัติให้เผยแพร่ ก็จะนำมาเผยแพร่ต่อไป คาดว่าจะเร็วๆ นี้ หรือท่านจะติดตามได้จาก website ของ ศนจ. นครราชสีมา

ผมโหลดได้แล้ว

ขอบคุณมากครับ 

คู่มือการติดตั้งและใช้งาน IPCop Download ยังไม่ได้ครับ

Install IPCop on Raid 1

ทีมงาน OpenSource ของ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ได้ทำการทดสอบ IPCop

ให้ทำงานบน Raid 1 โดยทดสอบจาก Mainboard Asus P5Q deluxe DDR2 , P5K Deluxe , P5B Deluxe

และ M4A79T Deluxe DDR3 ปรากฏว่า M4A79T Deluxe DDR3

สามารถติดตั้ง IPCop 1.4.20 ลงบน Raid 1 ได้ ประทับใจมาก

ถ้าที่ไหนมีงบ แนะนำใช้

Spec ที่ใช้

Asus M4A79T Deluxe

AMD phenom II

DDR3 Corsair 2 GB 2 แถว

Lancard 2 ใบ Complex 10/100/1000 (RL1000T) 1 ใบ และ Complex 10/100 1 ใบ

HDD seagate ES 500 GB 2 ก้อน

ASUS EAH 3450 512 mb

สุดยอดมากครับ ลง IPCop เร็วมาก ใช้เสถียรด้วย น่าลอง

ผู้ทดสอบ ไกลสน แตงโสภา

ตอนนี้จะเปิดร้านเน็ตและเกมส์ แต่ที่บ้านมีเน็ตเส้นเดียว ยังหาคนทำเครื่องเซอเวอร์ไม่ได้เลยค่ะ อยากได้แบบแยกเน็ตแยกเกมส์ค่ะ ใครพอจะให้คำปรึกษาได้บ้างค่ะ เปิดร้านแถวจังหวัดบุรีรัมย์ค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท