Job Description


คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง

การรับสมัครบุคลาเข้าทำงานในระบบราชการ เราจะต้องระบุคุณสมบัตเฉพาะตำแหน่ง ของตำแหน่งที่เราจะรับเข้าทำงาน  ในวันนี้มีข้อคำถามเกิดขึ้น และมีการวิเคราะห์ออกไปในหลายลักษณะ  ทำให้ไม่มีบทสรุป และจะต้องนำหารือมหาวิทยาลัยเพื่อวิเคราะห์ต่อไป  

จึงอยากนำคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง เป็นตัวอย่างให้เพื่อน ๆ เพื่อ ลปรร  ว่า การตีความในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตาม Job Description ดังกล่าว ตีความได้ว่าอย่างไรบ้าง 

ตัวอย่าง ตำแหน่งนักกิจการนักศึกษา

คณะมีตำแหน่งนักกิจการนักศึกษาว่าง 1 ตำแหน่ง รับสมัครผู้มีวุฒิปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตาม JD คือ
1. ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการศึกษา หรือสังคมศาสตร์ หรือทางอื่นที่ ก.ม.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ หรือ
2. ได้รับปริญญาโทหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการศึกษา หรือทางสังคมศาสตร์ หรือทางอื่นที่ ก.ม.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ หรือ
3. ได้รับปริญญาเอกหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการศึกษา หรือทางสังคมศาสตร์ หรือทางอื่นที่ ก.ม.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้


  • ข้อคำถาม

1) คณะสามารถรับผู้ที่จบปริญญาตรีสาขาทางการศึกษา หรือสังคมศาสตร์ได้เท่านั้น (เพราะระบุว่า  ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการศึกษา หรือสังคมศาสตร์ )

2) คณะสามารถรับผู้ที่จบวุฒิปริญญาโท หรือเอก สาขาการศึกษาหรือสังคมศาสตร์ ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องจบวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษา หรือสังคมศาสตร์ก็ได้  (เพราะใช้คำว่า "หรือ" ต่อจากข้อ 1)

ใครมีความรู้ หรือมหาวิทยาลัยใดมีแนวปฏิบัติอย่างไร รบกวนช่วยแนะนำด้วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 61840เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
  • ดีจังเลยครับ
  • เป็นการตีความที่เข้าใจง่ายดีครับ
  • ขอบคุณมากครับ
พี่จะให้ ผอ.พี่ช่วยตอบน้องนะคะ ท่านจะมีความคิดแตกฉานและ ดูแลงานที่ครอบคลุมกว่าพี่ค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณคุณขจิตที่เข้ามาแวะเยี่ยม(ดูแลด้วย...หรือเปล่า)

ขอบคุณคุณเมตตามากค่ะ

  • วันนี้มีประเด็นเพิ่มเติมอีกว่า "คำว่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทาง......."มีความหมายว่าอย่างไร
  • ไม่ทราบว่าคณะ/มหาวิทยาลัยอื่น เกิดประเด็นคำถามในลักษณะนี้บ้างไหม 
  • รบกวนช่วย ลปรร. ด้วยค่ะ

 

ในข้อ ๑ นั้น สาขาทางการศึกษา หรือทางสังคมศาสตร์ ให้ดูการจัดกลุ่มสาขา ที่สกอ. จัดกลุ่มไว้ ถ้าจัดอยู่ใกลุ่มก็สามารถ รับได้ครับ

ข้อ ๒ เข้าใจถูกต้องแล้วครับ

                                            เที่ยงจารุมณี

คุณ สมพรคะ

คุณ เที่ยง จารุมณี  คือ ผอ.กองการเจ้าหน้าที่ ม.อ.ค่ะ
เมตตา
  • ขอบพระคุณท่าน ผอ. และคุณเมตตาค่ะ
  • แต่มันก็ยังติดใจนิดหนึ่งว่า
  • ถ้าเราประกาศรับ(ลูกจ้างชั่วคราว/พนักงานเงินรายได้)ที่ฐานเงินดือนระดับปริญญาตรี 7,630 บาท  ในทางปฏิบัติเราควรจะยึดการประกาศรับสมัครตามกรอบของ JD และควรมองวุฒิการศึกษาที่จบในระดับปริญญาตรีเป็นพื้นฐานหรือไม่  ก่อนที่จะดูวุฒิปริญญาโท  อย่างเช่น ควรจบ ป.ตรีทางการศึกษา สังคมศาสตร์ก่อน  แล้วปริญญาโทจะเป็นทางการศึกษา สังคมศาสตร์  หรืออะไรก็ได้  (แทนที่จะเป็นวุฒิปริญญาโททางการศึกษา สังคมศาสตร์  แต่มีวุฒิปริญญาตรีอะไรก็ได้ เช่นทางเภสัชศาตร์ สัตวบาล เป็นต้น)
  • ปวดหัวกับการตีความมากค่ะ

- เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้= รับวุฒิสูงกว่าได้ เช่นพนักงานการเงินและบัญชี ระบุว่าจะต้องจบ ปวส.ทางบัญชีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้    กรณีนี้สามารถรับผู้จบ ปริญาตรีทางบัญชี บรรจุเป็นพนักงานการเงินและบัญชีได้ 
- ถ้าเราประกาศรับ(ลูกจ้างชั่วคราว/พนักงานเงินรายได้)ที่ฐานเงินดือนระดับปริญญาตรี 7,630 บาท  ในทางปฏิบัติเราควรจะยึดการประกาศรับสมัครตามกรอบของ JD และควรมองวุฒิการศึกษาที่จบในระดับปริญญาตรีเป็นพื้นฐาน  ส่วนวุฒิอื่นๆ  นับเป็นมูลค่าเพิ่มที่เป็นผลพลอยได้

เที่ยง  จารุมณี

 

ต่อยอดเพิ่มเติมกับ ท่าน ผอ.ได้ที่นี่ค่ะ ttp://gotoknow.org/portal/tieng 

ขอโทษค่ะเมื่อสักครู่ link ไม่ครบเปิดไม่ได้เอาใหม่นะคะ http://gotoknow.org/profile/tieng2714 

  • ต้องขออภัยคุณสมพร ด้วยที่ไม่ได้ร่วมตอบคำถาม
  • Gotoknow มีผู้รู้หลายท่าน และโชคดีที่ท่านผอ.เที่ยง และคุณเมตตาซึ่งมีความรอบรู้ด้านงานบุคคลเป็นอย่างดี
  • ช่วยตอบคำถามให้ครับ
ขอบพระคุณท่าน ผอ.  คุณเมตตา  คุณบอยมากค่ะ
  • สวัสดีครับคุณสมพรครับ
  • เป็นประเด็นที่ดีมากเลยครับที่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาครับ
  • แต่ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมในประเด็นที่แตกต่างจากท่านอื่นสักนิดนะครับ
  • คุณสมบัติทั้ง 3 ข้อนั้น หมายถึง บุคคลใดที่มีคุณสมบัตินั้นแล้ว สามารถทำงานในตำแหน่งที่ว่างลงหรือเปิดสอบคัดเลือกนั้นได้ คุณสมบัติที่ใช้คัดเลือกเพื่อระบุคนเข้าทำงานในตำแหน่งใด ๆ นั้นจึงเรียกว่า "คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Job Specification)"
  • ดังนั้นถ้าพูดถึงเรื่องงานกิจการนักศึกษา ทำไมถึงต้องเอาคนที่มีคุณสมบัติทางด้านการศึกษา "หรือ" สังคมศาสตร์ อันนี้เป็นประเด็นที่น่าคิดครับ
  • เอาคนที่มีคุณสมบัติหรือเรียนมาทางด้านบริหารศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์ หรือแม้กระทั่งวิทยาศาสตร์ไม่ได้หรือ อันนี้เป็นประเด็นที่น่าคิดมาก ๆ ครับ
  • เพราะสิ่งเหล่านี้จะนำมาถึงเรื่องของการจัดทำสิ่งที่ใช้วัดหรือคัดคนเข้ามาทำงาน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นข้อสอบทั้งการเขียนและการปฏิบัติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสอดคล้องถึงการกำหนดคำพรรณนาลักษณะงาน (Job Descripstion) ในตำแหน่งนั้น ๆ เพราะว่าคนที่เข้ามาถ้าเป็นทางด้านสังคมศาสตร์ หรือการศึกษาน่าจะปฏิบัติงานตาม Job Descripstion ที่กำหนดไว้ได้อย่างดี ซึ่งนั่นก็จะทำให้สิ่งที่องค์กรตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะได้ใครสักคนมาทำงานหนึ่งที่เรียกว่า "กิจการนักศึกษา" นั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด
  • สิ่งที่กล่าวมาข้างบนนี้ผมขออนุญาตลองตีความหมายตามพื้นฐานทางด้านบริหารธุรกิจนะครับ ตามความรู้และประสบการณ์ที่มีมาครับ
  • ถ้าคุณสมพรหรือท่านอื่น ๆ มีความคิดเห็นอย่างไรเชิญแลกเปลี่ยนและเติมเต็มได้เลยนะครับ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจในปัจจุบันมาก ๆ เลยครับ 

น้องอ๊อบ

เก่งจังค่ะ  น้องของพี่เก่งจัง  เป็นกำลังให้กันนะคะ

  • แวะมาขอบคุณ
  • ดีใจที่พี่เมตตา พี่อ้อยและอีกหลายๆท่านมาทักทายคุณsomporn ครับ
  • ขอบคุณมากครับผม

ขอบคุณคุณปภังกรมากค่ะที่มา ลปรร. กัน

จริง ๆ แล้วตามแนวปฏิบัติในฐานะเจ้าหน้าที่บุคคล เรายึดถือตาม JD อยู่แล้ว สิ่งที่คุณปภังกรได้กรุณาขยายความให้เกิดความเข้าใจในการนำเสนอ ซึ่งเริ่มแรกเราก็คุยประเด็นที่ว่า จบปริญญาตรีทุกสาขาไม่ได้เหรอ  หรือถ้าไม่ได้ เราจะเอาตำแหน่งไหนมาทำงานกิจการนักศึกษาได้ ฯลฯ เพราะตาม JD ค่อนข้างระบุแคบเกินไป

ประเด็นที่ทำให้คิดเพิ่มเติมคือ JD อันนี้เขียนไว้เมื่อปี 2526 (ถ้าจำไม่ผิด) และคิดว่าในสมัยนั้น ผุ้ที่จบทางการศึกษาหรือสังคมศาสตร์  น่าจะเป็นผู้ที่ได้เรียนเกี่ยวกับวิชาชีพความเป็นครู  และในตำแหน่งนักกิจการนักศึกษาน่าจะเกี่ยวข้องกับนักศึกษา  จึงทำให้การวิเคราะห์คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ระบุเช่นนั้น (ความคิดตัวเองนะคะ)

และได้ตามข้อความต่อไปว่า จบวุฒิปริญญาตรี ทาง.......  หรือตามที่ ก.ม. กำหนด (เวลาผ่านไป 20 กว่าปี ระบบการศึกษาเปลี่ยน แต่ JD เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการรับสมัครงาน ยังไม่เปลี่ยเลยค่ะ...ท่านผู้ชม)....

น่าคิด ๆ ๆ ๆ

  • แวะมาขอบคุณจากบันทึกฝนตกคุณคิดถึงอะไร
  • ทำไมคิดถึงบันทึกผมครับ

ครูอ้อยขา

ขอบคุณที่ให้กำลังใจ เราจะเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันนะคะ

คุณขจิตคะ

 

ขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมค่ะ

ก็คุณขจิตเป็นกัลยาณมิตรที่ดีท่านหนึ่งที่เข้ามาทักทายต่อบันทึก sompornp จากบันทึกครูอ้อยบ้าง ก็รู้สึกอบอุ่นคะ  แต่อ่าน blog เรียนภาษาอังกฤษของคุณขจิตแล้ว ไม่รู้จะตอบอบ่างไร จึงตาม blog อื่นที่เห็นว่าสามารถให้ความเห็นหรือ ลปรร เพิ่มเติมกันได้  ประกอบกับเมื่อวานฝนตก  ดังนั้น  เป็นเพราะฝนพาไปให้ถึงบันทึกคุณขจิตค่ะ

  • ขอบคุณมากครับ
  • ว่าจะไปนอนแล้วครับ
  • อ่านหนังสือได้นิดเดียว
  • ราตรีสวัสดิ์ครับ
  • good night ครับ พิมพ์ผิดครับ
  • แวะมาทักทายครับผม

คุณขจิตคะ

  • ต้องเข้าใจกันบ้าง
  • คบกับเด็ก ๆ
  • เวลาจะจากกันก็ต้อง good nite แบบนี้
  • อย่างไรต้องเข้าใจเด็กนะคะ
  • เผอิญรักเด็กค่ะ
  • เข้ามาขอบคุณครับที่เข้าไปเชียร์ใน Blog
  • บล็อกนี้คึกคักมากเลยนะครับ มีการ ลปรร. กันอย่างคับคั่ง
  • อย่างนี้ต้องขออนุญาตนำเข้าแพลนเน็ตครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท