เศษวัสดุมีค่า


สร้างสรรค์เศษวัสดุ
สร้างสรรค์เศษวัสดุให้ฟื้นคืนชีพ            ครูจะพูดย้ำตลอด   ให้นักเรียนเป็นคนช่างสังเกต   ไม่ว่าจะพบเห็นสิ่งใดที่ถูกใจให้จดบันทึกหรือวาดรูปร่างและโครงสร้างไว้ตามความเข้าใจของเรา   แล้วนำมาคิดวิเคราะห์เพื่อดัดแปลงนำสิ่งอื่นมาทดแทนใช้แทนกันได้   เป็นการลอกเรียนแบบรูปร่างและโครงสร้างเท่านั้น   เป็นการปลูกฝังให้นักเรียนเป็นคนช่างคิดช่างสังเกตและมีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำสิ่งอื่นมาใช้แทนกันได้   ครูคอยชี้แนะให้นักเรียนเห็นคุณค่าของเศษวัสดุว่ามีประโยชน์สามารถนำมาใช้ทดแทนในสิ่งที่นักเรียนพบเห็นมา   เมื่อนักเรียนนำผลงานมาส่งจะให้นักเรียนอธิบายว่าได้แนวคิดมาจากอะไรและนำเศษวัสดุอะไรมาประดิษฐ์บ้างซึ่งสิ่งประดิษฐ์มีประโยชน์อย่างไร   เช่น นำมาเป็นของใช้  ของเล่น  หรือของตกแต่ง         จากการปฏิบัติเช่นนี้ทำให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และสนุกต่อการทำงานที่เกิดจากความคิดและความสามารถของตนเองเป็นการสร้างความภูมิใจให้กับนักเรียน   เมื่อนำผลงานมาเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นการถ่ายทอดความรู้ของตนให้กับผู้อื่นด้วยความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ   ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำผลงานมาส่ง          ครูจะได้ผลงานจากนักเรียนทุกคนเนื่องจากครูไม่ได้กำหนดหรือตีกรอบตายตัวเพียงแต่กำหนดให้นักเรียนนำเศษวัสดุมาประดิษฐ์เพื่อให้เกิดเป็น ของเล่น  ของใช้ หรือของตกแต่ง             จากประสบการณ์ในการสอนของครูบังอร  กางกั้น โรงเรียนวัดท่าไชย (ประชานุกูล)
คำสำคัญ (Tags): #เศษวัสดุมีค่า
หมายเลขบันทึก: 61834เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
อ่านแล้วรู้สึกชอบวิธีสอนของครูบังอรมาก  ฝากขอให้นำไปเผยแพร่ทางเวบไซด์แมงมุม  สพท. สพ.2ด้วยนะคะ
เอ็มที่ค่ายกำแพงเพช

อะไรใหญ่ที่สุด บานที่สุด มีขนดำด้วย หน้าจะเอา?แทงกับ? หอใหญ่ หอบาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท