กลยุทธการบริหารงานที่ประสบผลสำเร็จ


สร้างศรัทธา พัฒนาทีมงาน ประสานการใช้ยุทธศาสตร์

        การจัดการศึกษาเป็นภารกิจหลักของสถานศึกษาที่จะต้องดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้กระบวนการไปพร้อมกันคือ การบริหารการศึกษา การจัดการเรียนการสอนและการนิเทศการศึกษา โดยเฉพาะกระบวนการบริหารสถานศึกษามีกระบวนการบริหารที่มีคุณภาพก็เชื่อได้ว่า การบริหารจัดการศึกษาจะประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคคลสำคัญที่จะทำให้กระบวนการบริหารการศึกษามีประสิทธิภาพ ในที่นี้จะ กล่าวถึงกลยุทธของผู้บริหารสถานศึกษาที่ทำให้ข้าพเจ้าประสบความสำเร็จคือ

สร้างศรัทธา

พัฒนาทีมงาน

ประสานการใช้ยุทธศาสตร์

1. สร้างศรัทธา เป็นกระประพฤติปฏิบัติตนดังนี้

1.1 มุ่งมั่นหมั่นทำดี

1.2 มีวิสัยทัศน์

1.3 ซื่อตรง

1.4 โปร่งใส

1.5 ให้ความเป็นธรรม

1.6 นำพัฒนา (นำคิด นำทำ)

1.7 วาจาสุภาพ

1.8 อดทนอดกลั้น

2. พัฒนาทีมงาน เป็นการสร้างทีมงานให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นคณะ มีคุณลักษณะดังนี้

2.1 มีความเป็นกันเอง

2.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม

2.3 ติดต่อสื่อสารกันอย่างเปิดเผย

2.4 ทุกคนรู้บทบาทของตนเองอย่างชัดเจน

2.5 ให้อภัยซึ่งกันและกัน

2.6 ประนีประนอมกัน

2.7 ไม่พยายามเอาเปรียบกัน

2.8 ทุกคนมีความสำคัญ

เมื่อพัฒนาทีมงานให้มีคุณลักษณะดังกล่าวแล้ว การพัฒนางานต่างๆ ของผู้บริหารสถานศึกษาก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ดังนั้นผู้บริหารควรพัฒนาบุคคลต่อไปนี้คือผู้บริหารสถานศึกษา ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน

แนวทางในการพัฒนาทีมงาน

1) จัดให้มีการประชุม อบรม สัมมนา

2) ส่งเสริมให้ครูศึกษาต่อ

3) ส่งเสริมให้ครูทำผลงานทางวิชาการ

4) ศึกษาดูงานโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ

5) การสร้างประสบการณ์โดยทำงานที่ท้าทาย

3. ประสานการใช้ยุทธศาสตร์ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องนำยุทธศาสตร์ การทำงานใหม่มาใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษา และส่งเสริมสนับสนุนประสานการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการนำนวัตกรรมหรือยุทธศาสตร์มาใช้ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีสามารถใช้เป็นที่ปรึกษาของทีมงานได้ ยุทธศาสตร์ที่นำมาใช้และทำให้ประสบผลสำเร็จ ขอยกตัวอย่างคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม

การบริหารแบบมีส่วนร่วม ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องให้ความสำคัญกับทีมงานของตนซึ่งประกอบด้วยครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนางาน เช่น กระบวนการการพัฒนาระบบครบวงจรของ Deming Cycle หรือ วงจร PDCA

1) Plan คือ การวางแผนในการดำเนินการ

2) Do คือ การลงมือทำตามแผนที่วางไว้

3) Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินการกับแผน

4) Action คือ การยึดถือปฏิบัติ หากการดำเนินการบรรลุตามแผนถ้าการดำเนินการ ยังไม่บรรลุตามแผนให้หาสาเหตุและวางแผนแก้ไขใหม่

 

วงจรสู่ความสำเร็จ(วงจรเดมมิ่ง)

กลยุทธในการบริหารที่ประสบผลทั้ง 3 อย่าง คือ สร้างศรัทธา พัฒนาทีมงาน ประสานการใช้ยุทธศาสตร์ หากผู้บริหารสถานศึกษาได้ปฏิบัติตนเองให้มีพฤติกรรมดังกล่าวเชื่อว่า จะทำให้ผู้ร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเกิดความ ชื่นชม ชื่นชอบ และช่วยเหลือ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้การบริหารจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

หมายเลขบันทึก: 61827เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

นี่เป็นฝีมือการบริหารของผู้บริหาร  เจ้าของรางวัลชอล์คทองคำ  ยอดเยี่ยมจริงๆ ทำได้ไม่ยากเลยขอบคุณ ผอ.ฉลวย  วงศ์ขวัญเมือง

ขอแสดงความยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ 

             องค์กรของท่านเป็นสมาชิกอยู่ในโครงการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการความรู้

วันนี้คณะนักวิจัยส่วนกลางได้ตามมาพบบล็อกของท่าน  จึงอยากจะเชิญชวนให้ท่าน

เขียนเล่าในบล็อกของท่านเกี่ยวกับเคล็ดลับ (tacit knowledge) ในการจัดการเรียน

การสอนของท่าน  เพื่อให้ผู้อ่านจากวงการอื่นๆได้ร่วมรับรู้ว่า

                ครูและบุคลากรการศึกษาดีๆ  มีถมไป  แล้วไฉนท่านจึงฟังแต่เรื่องร้าย
นายวัชริน ขวัญพะงุ้น

ชื่นชมผลงานของโรงเรียนท่านมากครับ

ขอบคุณครับที่ให้ความรู้ จะได้นำไปประยุกต์ใช้ครับ

เดมมิ่งคือใคร?

ดร. เอ็ดเวอร์ดส์ เดมมิ่ง คือผู้วางรากฐานวัฒนธรรมแห่งคุณภาพขึ้นในฟอร์ด ทำให้บริษัทฟอร์ดที่กำลังจะล่มสลาย กลับมาสามารถจ่ายค่าปันผลกำไรให้พนักงานได้ถึง 2000 เหรียญต่อคนในปี 1987

ดร. เดมมิ่ง วางรากฐานคุณภาพด้วยวงจร PDCA ซึ่งไม่ได้เป็นการควบคุมคุณภาพการผลิตเท่านั้น แต่ยังเป็นปรัชญาที่สามารถใช้ในการบริหารจัดการได้อีกด้วย ปัจจุบันการประกันคุณภาพการศึกษายังได้นำวงจร PDCA มาเป็นกลไก การประกันคุณภาการศึกษาอีกด้วย คุณภาพการศึกษาจึงมีที่มาจากการบริหารจัดการธุรกิจ อุตสาหกรรม

สถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพแบบเดมมิ่งควรเป็นอย่างไร

การจัดการคุณภาพการศึกษาต้องช่วยลดต้นทุนการจัดการศึกษา ไม่ใช่เพิ่มค่าใช้จ่าย

ข้อบกพร่องต้องเกิดจากระบบงาน ไม่ใช่เกิดจากคน

กระบวนการจัดการศึกษาทั้งหลายไม่มีจุดสูงสุด ทุกอย่างต้องปรับปรุงเสมอ ไม่ใช่รอคำสั่ง แนวปฏิบัติจากส่วนกลาง ทำแล้วจบกันไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรอีก

ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่มให้เกิดคุณภาพ ไม่ใช่เกิดจากคนภายนอก ผู้เชี่ยวชาญ หรือการอบรมเพียงอย่างเดียว

ความกลัวนำไปสู่ความหายนะในการจัดการศึกษา ไม่ใช่ ความกลัว การคาดโทษ เป็นแรงกระตุ้นการจัดการศึกษา

จากhttp://www.oknation.net/blog/ANEK/2007/03/29/entry-2

พอดีอ่านผ่านๆรู้สึกสดุดตานิดๆน่ะครับ  พอดีเห็นชื่อโรงเรียน  สมัยก่อนย้อนหลังเกือบ20ปีเห็นจะได้สมัยเรียนมัธยมต้นมีเพื่อนจบจากโรงเรียนนี้เยอะอยู่เหมือนกันครับ  ได้อ่านบทความของท่าน ผอ. แล้วชอบมาก  ถ้าบุคลากรทางการศึกษาภาครัฐสามารถปฏิบัติได้อย่างที่ท่าน  ผอ.   เขียนมานี่สัก50%ของประเทศ  คงจะดีมาก!  เพราะปัจจุบันครู/อาจารย์  บ้านเราไม่ค่อยจะถือหนังสือพกชอล์คหรือไวด์บอร์ดกันแล้ว  เพราะครู/อาจารย์ปัจจุบันพกกันแต่กล้องดิติตอลเพื่อสร้างภาพว่าตัวเองทำงานและพูดคุยกันแต่เรื่อง คศ.3 โดยละเลยหน้าที่หลักของตัวเองคือการสอนหนังสือ! ให้ดีและให้นักเรียนมีคุณภาพมากที่สุด  ส่วนตัวมีความเชื่ออยู่อย่างว่าครูที่ดี  บุญกุศลก็จะส่งผลให้ตัวเองและครอบครัวเจริญรุ่งเรือง  เป็นกำลังใจให้ท่าน ผอ.  ปลูกฝังครูไทยให้ทำงานเต็มอุดมการณ์  ครับ

 

ขอเรียนถามว่าเราจะทราบได้อย่างไรคะว่าในารบริหารงานแต่ละปีได้บรรลุเป้าหมายไปแล้วในด้านใดบ้าง

เดินทางผ่านมา....ก็ได้พบเห็นแบบอย่าง แนวทางการพัฒนาโรงเรียนที่ดี

ขอขอบคุณที่ท่านผอ. จุดประกายความสว่าง ในแนวคิดการพัฒนาให้ค่ะ...จะประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด..ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท