การวัดและประเมินผลทางภาษา(12)


เฮ้อ! ยากจริงๆค่ะ ขั้นตอนก็เยอะ ยุ่งยากมากๆ แต่ถ้าเราทำเป็นนิสัยแล้ว คงไม่ยากเกินความสามารถเราไปได้หรอกค่ะ ลองดูก่อนนะคะ
บันทึกที่แล้วครูอ้อยได้เขียนถึงแบบทดสอบมาตรฐานวัดผลสัมฤทธิ์  ครูอ้อยรู้สึกว่า  เขียนบันทึกในแนวนี้เขียนยากมากเลยที่จะต้องถ่ายทอดความรู้  ที่คิดว่ายากต่อการนำไปปฏิบัติ  เขียนเพื่อโน้มน้าวให้คนนำไปปฏิบัตินี่ยากจริงๆ 
แต่ครูอ้อยก็จะพยายาม  เพราะครูอ้อยเล็งเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นมาในไม่ช้านี้  ไม่ว่าท่านผู้อ่านที่เป็นครู  ผู้ปกครอง  ต่างก็มีความสำคัญมากที่จะต้องรู้
รู้ไว้ใช่ว่า  ใส่บ่าแบกหาม
หากท่านยังไม่เข้าใจ  เรียนเชิญอ่านบันทึกครั้งที่แล้วเรื่อง  การวัดและประเมินผลทางภาษา(11)   ก่อน  จะได้ทำความเข้าใจกันก่อนที่จะอ่านบันทึกต่อไป
การประเมินทางเลือก  มีหลายทาง  ดังที่  ครูอ้อยได้นำเสนอไปแล้ว  เช่น  การประเมินการปฏิบัติจริง  การประเมินตามสภาพจริง  แฟ้มผลงาน
แต่วันนี้  ครูอ้อยจะนำเสนอ  แบบประเมินที่สร้างขึ้นโดยผู้สอน  เพื่อใช้ประเมินตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้  โดยแบ่งเป็น
1.   การประเมินก่อนเรียน  ก่อนที่จะเริ่มต้นการสอน  ผู้สอนที่มีประสิทธิภาพ (มีทุกคน)  จะดำเนินการทดสอบก่อนเรียน  เพื่อประเมินความรู้ในปัจจุบันของนักเรียน  ทั้งนี้  มีเหตุผลอย่างน้อยที่สุด  3  ประการ  คือ
          -  การทดสอบดังกล่าวบอกได้เลยว่า  นักเรียนคนใดไม่มีความรู้พอที่จะเรียนเรื่องใหม่  ดังนั้น  ครูจะต้องให้งาน  หรือ  กิจกรรมที่จำเป็นแก่นักเรียน
          -  การประเมินความรู้ทั่วๆไปที่มีอยู่ก่อนของนักเรียนจะช่วยให้ผู้สอนกำหนดได้ว่า  จะเริ่มต้นสอนที่จุดใด  และจะสอนอะไร
         -  คะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนที่มีความตรงและความเชื่อมั่น  จะสามารถใช้เป็นจุดพื้นฐานในการวัดความก้าวหน้า  ซึ่งขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และเนื้อหาที่สอน  ทั้งแบบทดสอบปรนัยที่เป็นตัวเลือก  และแบบทดสอบการปฏิบัติจริง  สามารถใช้เป็นประโยชน์ในการทดสอบก่อนเรียนได้
2.   การประเมินระหว่างเรียน  จะช่วยให้ผู้สอนได้ตรวจสอบพัฒนาการของนักเรียนว่าบรรลุเป้าหมายตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนการสอน  หรือไม่  และนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนปรับปรุงแก้ไขนักเรียนเป็นรายบุคคล  โดยจัดหากิจกรรมเสริมสำหรับนักเรียนเก่ง  และแบบฝึกหัดเสริมความรู้สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียน
3.  การประเมินหลังเรียน  เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบว่า  นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือไม่  เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินก่อนเรียน  จะช่วยให้ผู้สอนได้ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้  ความสามารถ  และทักษะของนักเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้  สามารถจัดกิจกรรมพัฒนา  และแก้ไขนักเรียนเป็นรายบุคคลต่อไป
เฮ้อ!  ยากจริงๆค่ะ  ขั้นตอนก็เยอะ  ยุ่งยากมากๆ  แต่ถ้าเราทำเป็นนิสัยแล้ว  คงไม่ยากเกินความสามารถเราไปได้หรอกค่ะ ลองดูก่อนนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 70313เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2006 12:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ว้าว..มาเจอบันทึกของตนเอง...การวัดผลประเมินผล..เป็นเรื่องที่สำคัญ..ไม่ควรสอนเพื่อสอบ  หรือสอบเพื่อสอน  แต่เพียงอย่างเดียว  ควรปฏิบัติไปพร้อมๆกัน  ให้เป็นกิจปฏิบัติ

ขอบคุณค่ะ

นี่กำลังทบทวนเรื่องน้อยู่   อบรมปลายเดือนนี้ต้องเจอกับเรื่องนี้แน่ๆค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท