วันแรกของสัปดาห์ที่น่าเรียน....โดยนักเรียน


ครูอ้อยลาหยุดโรงเรียนเพราะมีภารกิจที่สำคัญที่ต้องทำ จึงขาดการสอนนักเรียนมา 3 วันแล้ว วันนี้เป็นวันจันทร์ วันแรกของสัปดาห์ ได้เข้าสอนในชั้น ป4/4 ครูประจำชั้นชื่อ ครูชนิษณ์ภาณ์ ไชยพรหม
 

นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่เสริมกำลังใจให้ครูผู้สอนได้มีวิธีการสอนแบบใหม่ๆๆที่เหมาะสมกับนักเรียนไปเรื่อยๆจนกว่าจะค้นพบวิธีการสอนที่ดีที่สุดในช่วงเวลาหนึ่ง

วันนี้เป็นวันจันทร์  ครูอ้อยสอนในชั้นเดียวกันแต่คนละห้อง  นักเรียนที่เป็นส่วนของการป้อนกลับนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ในอีกห้องหนึ่ง  การบ้านไม่ทำมาเลย มีทำมาเพียง 5-6 คนเท่านั้น  นอกนั้นไม่ทำการบ้าน  ถามเหตุผลก็ตอบไม่ได้  ทั้งๆที่ก็สั่งการบ้านตั้งเป็นสัปดาห์กว่าแล้ว  งานนี้ การสอนแบบนี้ใช้ไม่ได้เลยกับนักเรียนห้องนี้

แต่ตอนบ่าย  อากาศร้อนๆ  แต่ครูอ้อยเข้ามาสอนห้องนี้  บรรยากาศร้อนกลับเป็นเย็นสบาย  เพราะความน่ารักของเหล่านักเรียนห้อง ป4/4 นั้นน่ารักมาก  พวกเขากระตือรือร้นเสียจน  ครูอ้อยต้องขอเวลาไปหยิบกล้องถ่ายรูปมาบันทึกภาพ  แล้วมาคุยกันที่นี่

ภาพแรกเป็นชิ้นงานที่ให้นักเรียนจับกลุ่ม 4 คน  นักเรียนจับกลุ่มกันเองด้วยความสมัครใจ  ครูอ้อยคอยดูว่าใครไม่มีกลุ่มเท่านั้น  เพราะมีนักเรียนบางคนเท่านั้นที่เป็นนิ่ง  ไม่รู้ร้อนหนาว  และจัดการตัวเองไม่ได้

       

ภาพซ้ายสุดนั้น.....เป็นกลุ่มที่สนุกสนานมาก   แสดงถึงความพร้อมเพรียง  มีการซักซ้อมความเข้าใจกันและกัน  ช่วยกันทำงานเป็นทีม  ร่าเริงแจ่มใส  เห็นบรรยากาศของนักเรียนที่ชอบการนำเสนอแบบนี้

ภาพที่สอง......เป็นกลุ่มเด็กผู้หญิงที่มีผลงานเนี้ยบกว่ากลุ่มแรก  มีการซักซ้อมพร้อมใจกันรวมกันทำงานมาเป็นอย่างดี  พูดภาษาอังกฤษด้วย  ครูอ้อยให้คะแนนกลุ่มนี้ 10 เต็มเลย

ภาพที่สาม......รู้สึกจะภาพเดียวกับกลุ่มภาพซ้ายสุด  สงสัยเกิดความผิดพลาดทางการลำดับภาพ เจ้าหน้าที่ทำงานผิดพลาดแล้วค่ะ  ครูอ้อยเองล่ะค่ะที่เป็นเจ้าหน้าที่  ทำทุกอย่างในงานนี้

ภาพสุดท้ายทางขวามือ....ผิดพลาดจริงๆค่ะ  ภาพนี้สมควรเป็นภาพแรกของการนำเสนอ  เพราะนักเรียนในกลุ่มนี้นำเสนอเป็นกลุ่มแรก  น่ารักมาก  ผลงานมีความคิดสร้างสรรค์  และนำเสนอได้ดี  เสียงดังฟังชัด  กล้าแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดเจน 

สรุปเลยนะคะ....นักเรียน 42 คน  แบ่งกลุ่มได้ 10กลุ่ม   มีนักเรียนที่มีความพร้อมในการนำเสนอผลงานวันนี้ 5 กลุ่ม  หมายถึงร้อยละ 50 ที่มีความพร้อมในการนำเสนอ

บรรยากาศของนักเรียน  ชี้ชัดเลยว่า  นักเรียนห้อง ป4/4  ชอบวิธีการเรียนแบบนี้  และรับได้ในการจัดการเรียนรู้ของครู  มีการตอบรับด้วยการนำเสนอผลงาน  วิธีการสอนแบบนี้จึงยังคงใช้กับนักเรียนห้องนี้ต่อไป

และนักเรียนห้อง ป.4/4  นี้  จะได้เป็นกลุ่มทดลองในการทำวิจัยในชั้นเรียน  เรื่อง  การจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design  ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 59459เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
1)การที่นักเรียน 5-6 คนไม่ทำการบ้านทั้งๆที่สั่งมากว่า 7 วัน ครูอ้อยได้ค้นพบหรือเปล่าว่า การบ้านยากเกินไปหรือเปล่า หรือว่า มันมากเกินไปจนนักเรียนรู้สึกขี้เกียจ บางทีนักเรียนอาจจะเก็บการบ้านไว้ รอจนไฟลนก้น คือวันสุดท้าย แล้วค่อยมาทำ ทีนี้ อาจจะทำไม่ทัน เลยไม่มีคำตอบให้ครูอ้อย

2)การสอนแบบนี้ใช้ไม่ได้กับนักเรียนกลุ่มนี้  เคยเห็นเพื่อนที่เป็นครู ไม่ให้การบ้าน เพราะกลับบ้าน นักเรียนไม่ทำ ก้เลยให้การโรงเรียน  ให้ทำแบบฝึกหัดมาส่งหลังเลิกเรียน ก่อนกลับบ้าน ไม่งั้น ไมได้คะแนน

3) บรรยากาศและความร่วมมือในการเรียนของนักเรียนมีผลต่อความรู้สึกของผู้สอนหรือเปล่าครับ ที่ว่า ตอนบ่ายอากาศร้อนแต่เจอความน่ารักกลับเย็นสบาย ถ้าไปสอนหนังสือที่ห้องที่สอนตอนเช้า จะเกิดความรู้สึกแบบนี้หรือไม่

- ถ่ายภาพแต่ห้องเรียนตอนบ่ายนี่นา...

4) ภาพถ่ายที่นำเสนอ ถ้าไม่มีคำบรรยายภาพ แทบจะดูไม่ออกเลยนะครับว่า ภาพที่สองเนี๊ยบกว่าภาพแรก

5) ห้องที่สอนตอนบ่าย คือ ป.4/4 แล้วตอนเช้า ป.4/ อะไรครับ  / มากกว่าหรือน้อยกว่า 4
ที่ว่า การสอนแบบนี้ใช้ไม่ได้เลยกับนักเรียนห้องนี้ เลยไม่อยากระบุ / แสดงว่า.... / มากกว่าหรือครับ

คุณบอนคะ

ขอบคุณมากค่ะที่แสดงความคิดเห็นที่เปิดประเด็นให้ครูอ้อยนำไปแก้ไขข้อบกพร่องท้งในเรื่องการจัดการเรียนรู้  การให้การบ้าน  และการนำเสนอใน G2K

ครูอ้อยจะตอบเป็นข้อๆไปเลยนะคะ

ข้อ1  การบ้านที่ให้นักเรียนนั้นเหมือนกันเปี๊ยบ  เวลาที่ให้ทำเท่ากันเปี๊ยบ  เพราะครูอ้อยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เดียวกันค่ะ  พอครูอ้อยถามนักเรียน  ครูประจำชั้นก็นำเสนอว่า  " พี่ให้การบ้านนิดเดียวนะน้องอ้อย "  แล้วก็หยิบการบ้านยื่นให้ครูอ้อยดู  ครูอ้อยว่า  ห้องนี้ไม่มีแรงจูงใจในการเรียนเลย

ข้อ 2  เมื่อให้เป็นการบ้านแล้วไม่ทำ  ครูอ้อยก็จะไม่ให้การโรงเรียน  ครูอ้อยต้องเปลี่ยนการสอนเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง  จะไม่ฝืนใจนักเรียนหรอกค่ะคุณบอน

ข้อ 3  นั่นนะสิ  ครูอ้อยลืมถ่ายรูปบรรยากาศตอนเช้า  แต่ครูอ้อยมายืนตั้งนานแล้ว  นักเรียนยังไม่ทำความเคารพเลย  ต้องให้ครูอ้อยทวง 

ข้อ 4  การเรียงภาพครูอ้อยทำผิดหมดเลยค่ะ  ภาพสุดท้ายเป็นขั้นตอนแรก  เรียงมาทางขวาไปซ้ายค่ะ  ขออภัยค่ะ

ข้อ 5  ห้องตอนเช้า  ห้องต้นๆกว่าค่ะ  บอกไม่ได้  อะไรที่เป็นลบ  ขอปิดไว้ค่ะ เพื่อมิตรภาพที่ดี  เพราะ มีเพื่อนๆและบุคลากรที่โรงเรียนอ่านด้วยค่ะ

คุณบอนยังไม่แสดงความคิดเห็นว่า  " การนำเสนอบันทึกเกี่ยวกับการเรียนการสอน แบบนี้  ตรงกับประเด็นที่คุณบอนเคยเสนอว่า  ดีกว่า  บันทึกครูอ้อยในแนวบันเทิง  ใช่หรือไม่ " 

ขอบคุณอีกครั้งค่ะคุณบอน

1) ทำไมตรงกันข้ามไปเลยล่ะครับ สมัยนายบอนเรียนชั้นประถม  ไม่ว่าครูจะให้การบ้านมากหรือน้อย หลายคนมักจะทำตอนใกล้วันส่ง ส่วนแรงจูงใจในการเรียนของโรงเรียนต่างจังหวัดนั้น รู้สึกว่าจะอยู่ที่ตัวผู้สอนครับ การถ่ายทอดความรู้ที่ผู้เรียนเข้าใจ เป็นแรงจูงใจในการเรียน ไม่ว่าห้องเก่งมาก หรือเก่งน้อย เพราะนักเรียนที่มาโรงเรียน ก็อยากจะเรียนให้รู้เรื่องกันทั้งนั้น เมื่อเรียนไม่รู้เรื่องวิชาไหน ก็ไม่อยากเรียนวิชานั้น (ในัทศนะเฉพาะนักเรียนรุ่นนายบอนเท่านั้นนะครับ)

2) ที่กาฬสินธุ์ การให้การบ้าน ดูเหมือนจะเนียนครับ ไม่ดูเป็นการบังคับเลย อย่างการสั่งให้ไปอ่านหนังสือก่อนจะเข้าชั้นเรียนในคาบต่อไป ก็สร้างบรรยากาศเหมือนเกมการแข่งขันตอบปัญหา อันที่จริงเป็นการสอนไป แล้วเรียกให้ตอบคำถามแบบธรรมดานี่เอง แต่เป็นอุบายที่ยั่วให้นักเรียนไปอ่านหนังสือ โดยไม่ต้องรอให้ถึงช่วงใกล้สอบ

3) คราวหน้าอย่าลืมถ่ายนะครับ ไม่ต้องให้ทักท้วง และทวง

4) คราวหน้าก็ค่อยๆรวบรวมสมาธิเรียงให้ดีๆนะครับ คุณภาพสำคัญมากกว่า ปริมาณและความถี่  หากมัวแต่จับจ้องอยู่ที่จำนวนตัวนับสถิติที่พุ่งสูงขึ้น แต่เกิดความผิดพลาดกับเนื้อหาที่เป็นส่วนสำคัญ สถิติที่สูงขึ้น และการยอมรับที่เพิ่มขึ้นของผู้ชม ไม่ได้ทำให้ผู้เขียนบันทึกมีการพัฒนาตัวเองขึ้นมาเลย

5) การนำเสนอบันทึกแนวนี้ เมื่อเทียบกับแนวบันเทิงแล้ว ดีครับ แต่ยังไม่ประณีตเท่ากับบันทึกในแนวนั้น

คุณบอนคะ 

  • เวลาที่คุณพูดเป็นงานเป็นการก็ดูเท่นะคะ

ข้อ1  นักเรียนยังเล็ก  และมีการบ้านหลายวิชา ประกอบกับครูอ้อยเป็นครูพิเศษ  ไม่มีเวลามากระตุ้นเตือน  สงสัยข้อนี้ด้วย  อย่างไรครูอ้อยก็จะเริ่มต้นใหม่เผื่อว่าจะดีขึ้น  ไม่ลองไม่รู้นะคะคุณบอน

ข้อ 2  การบ้านที่นี่ไม่ได้พูดคุยกันเท่าไรว่า   ฉันให้เท่านี้  เธอควรจะให้เท่าไร  เราไม่ได้ปรึกษากัน  ต่างคนต่างให้เลย  สับสน  ผลตกกับนักเรียนค่ะ

ข้อ 3  แน่นอน  ถ้าลืมจะไม่โพสต์  คุณบอนจะตำหนิออนไลน์

ข้อ 4  ตอนที่ครูอ้อยเขียนบันทึกนี้  รู้สึกว่าตั้งใจ  แต่เทคนิคการโหลดภาพนั้นจำกัด  ความจำให้น้อยมาก  ครูอ้อยต้องกลับไปลบภาพที่ไม่ใช้ทิ้งไป  เลยรับว่าสับสนคะ  ยอมรับผิดค่ะ  ให้ตี 1 ที

ข้อ 5  ดีใจที่ชมว่าดี  จะปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่อไปค่ะ

ขอบคุณนะคะคุณบอน 

  • มีครูจากจังหวัดอุบลราชธานี  ติดต่อมาหาครูอ้อยโดยตรง  เพราะเข้าไปใน google  และเรียนเชิญให้ครูอ้อยไปเป็นวิทยากรให้ความรู้ เรื่อง  แผนการจัดการเรียนรู้ การสอนภาษาอังกฤษเด็กเล็ก  และเขียนบันทึกในบล็อกด้วย

ครูอ้อยปฏิเสธเพราะติดเรียนค่ะ

ขอบคุณนะคะ

1) ขออภัย นายบอนไม่ได้พูดครับ พิมพ์ทั้งดุ้นเลย (เท่ตรงไหนเนี่ย บันทึกอื่นๆก็เขียนแนวนี้ทั้งนั้น แต่ไม่คลิกอ่านเอง)

2) ครูพิเศษนี่แหละครับ ที่มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย เพราะไม่ใช่ครูประจำชั้น มีเวลาสอนน้อยกว่า เลยต้องหาแนวทางให้นักเรียนเข้าใจให้เร็วที่สุด


3) เสียดายจัง ไม่มาที่อุบล นายบอนจะได้ไปดู

good night

คุณบอนคะ

ข้อ1  ตอนที่ครูอ้อยพิมพ์ว่า พูด นั้นก็คิดว่าต้องถูกคนอย่างคุณบอนตีกลับมาแต่ก็ปล่อยออกไป  แสดงว่าครูอ้อยวิเคราะห์คนอย่างคุณบอนได้ถูกต้อง .............ครูอ้อยชนะ

ข้อ2  ฮา...เข้าใจครูพิเศษกับครูประจำชั้น...ในเรื่องของการดูแลนักเรียนติดตามทวงการบ้าน...ไม่ใช่การสอน..ฮา...ครูอ้อยชนะ

ข้อ3  ไม่ต้องเสียดาย ตามมาดูที่โรงเรียนได้เลย หากอยากดู  ไม่ต้องรอให้ไปที่อุบล.....ครูอ้อยชนะ

อย่างไรก็ตาม  คุณบอนควรจะรู้จักครูอ้อยให้มากกว่านี้  ขอบคุณค่ะ

อรุณสวัสดิ์คะครูอ้อย 

  • ปัจจุบันการเรียนการสอนจะใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลางใช่ไหมคะ
  • ครูอ้อยได้ถามเด็ก ๆ ที่ไม่ทำการบ้านไหมคะว่าต้องการเรียนแบบไหน  หรือต้องการให้เป็นอย่างไร  เมื่อตกลงการเรียนการสอนร่วมกันแล้ว ถ้าไม่ทำตามกติกา  ก็ต้องมีการใช้กติกาในการตัดสิน ใช่ไหมคะ
  • หนูคิดว่าจะเป็นไปได้ไหมที่ว่าเด็กเมื่อรับรู้การเรียนการสอนได้ไม่เท่ากัน แล้วเกิดความรู้สึกว่าไม่กล้าคิด ไม่กล้าทำ ทำแล้วกลัวจะไม่ดี ทำแล้วกลัวที่จะนำเสนอไม่ดี เพราะเห็นเพื่อนกลุ่มอื่น ๆ ทำดี หรือว่า.....
  • มันน่าจะมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ทำให้นักเรียนไม่ทำการบ้าน (เพราะจริง ๆ แล้ว นักเรียนระดับชั้นเล็ก ๆ จะกลัวคุณครู (มาก) และไม่กล้าทำอะไรให้ขัดใจ (กลัวครูไม่รักด้วย อิอิ....หนูจึงไม่อยากขัดใจเหมือนคุณบอน.....ล้อเล่น)

อรุณสวัสดิ์ค่ะน้องอ๊อบ

  • ครูอ้อยได้นำผลงานนักเรียนของปีที่แล้วมาให้นักเรียนปีนี้ดู  เท่านี้ก้แย่แล้วที่ครูอ้อยบล็อคความคิดของนักเรียน  ถามด้วยว่า ดีใหม  เปรียบเทียบกับการเรียนที่ทำแบบฝึกหัดอย่างเดียว  นักเรียนก็เลือกแบบนี้ด้วย  ก็นับว่าเป็นศูนย์กลางแล้วนะคะ.........น้องอ๊อบเก่งจัง
  • นักเรียนไม่กล้าคิด...ไม่กล้าทำ..ไม่กล้านำไปใช้..ครูอ้อยยอมบล็อคความคิดของนักเรียนด้วยหวังว่า  มีแนวทางการดำเนินงานให้แก่นักเรียนแล้ว  นักเรียนต้องร้อง  อ๋อ  แต่ตรงกันข้าม  เขาพอใจกับการเรียนแบบทำแต่แบบฝึกหัดที่ลอกตามครู  ....ไม่น่าเป็นอย่างนั้นนะคะ
  • แต่ถามว่า...รักครูอ้อย  อยากเรียนกับครูอ้อย  ..ก็น่าจะใช่..นะคะ
  • อิอิ  ขัดใจได้ค่ะ  ชอบคนขัดใจ  เวลารักก็รักขึ้นใจค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ 

สวัสดีค่ะน้องอ๊อบ 

  • เมื่อคืนนี้ครูอ้อยไม่ได้เซกู๊ดบายก่อนขาก  ขออภัยด้วย 
  • ครูอ้อยอาการไม่ค่อยดีเลย ขอกินยานอนพัก
  • แต่ก็ตื่นมาตอนตีหนึ่ง นั่งเขียนงานจนเสร็จตีสี่พอดีค่ะ
  • นอนเล่นสักครู ลุกขึ้นอาบน้ำแต่งตัวมาโรงเรียน 
  • ลืมแว่นตา  ลืมโทรศัพท์  แต่ไม่ลืมคิดถึงน้องอ๊อบค่ะ

ครูอ้อย 

ดูแลสุขภาพ(มากถึงมากที่สุด)นะคะ

เป็นห่วง  เป็นห่วง

เอ......เราจะฝากถึงกะปุ๋มด้วยดีไหม  เพราะน้องต้องสอบดุษฎีนิพนธ์วันที่ 16 พย.  เรา  ช่วยส่งกำลังใจให้ดีกว่านะคะ

ผู้ถูกพาดพิงรับทราบด้วย

น้องอ๊อบ ครูอ้อยเพิ่งรู้ค่ะว่ากะปุ๋มจะสอบ  เราช่วยกันส่งพลังใจไปดีกว่าค่ะ  เร็วๆ  ช่วยกัน ฮึด.....
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท