ความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่ได้เขียนในสังคมgotoknow


บันทึกนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว มีแนวความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ถูกใจท่านก็ผ่านเลย หากชอบใจเขียน เขียนถึงกันละกัน เพื่อพลังในการเขียนต่อไป

ปกติแล้ว  ครูอ้อยไม่ค่อยชอบการอ่านหรือเขียนเลย  เนื่องจากมีปัญหาทางสายตา  และเหมือนมีมนต์สะกดให้อยากนอนทุกทีที่อ่าน

ตั้งแต่เริ่มคิดที่เรียนต่อสาขาเทคโนโยลีการศึกษา  ระดับปริญญาเอก  ต่อมขยันในดวงตามันเริ่มทำงานอย่างสุดๆ  ตั้งแต่ต้นปีนี้ที่ผ่านมา  สนามแห่งการอ่านและขุมคลังแห่งความรู้  ก็คือ  อินเทอร์เนต

การเข้ามาในอินเทอร์เนต  ครั้งแรกก็มีจุดประสงค์เดียว  คือ  การสร้างบทเรียน e-Learning  ในวิชาภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 6

จุดประสงค์ที่สองในการเข้ามาอินเทอร์เนต  คือ  การเข้ามาดูผลการอนุมัติผลงานทางวิชาการที่ประกาศทางอินเทอร์เนต

ทั้ง 2 จุดประสงค์นี้ต้องใช้เวลาค้นคว้าหาข้อมูล  แหล่งเรียนรู้ที่จะนำมาใส่ในบทเรียนให้นักเรียนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น  สอดคล้องกับธรรมชาติวิชาของวิชาภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาที่ต้องมีรูปภาพที่น่ารักและเคลื่อนไหวได้  เป็นการเชิญชวนให้นักเรียนอยากรู้อยากเรียน

เมื่อบทเรียน e-Learning สำเร็จแบบกระท่อนกระแท่น  เพราะปัญหาของเครื่องมือและระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ครูอ้อยไม่มีความสามารถแก้ไขได้ จึงต้องเบนเข็มแห่งความสนใจไปเรียนรู้ในหน่วยงานที่สอนให้ฟรีโดยไม่คิดมูลค่า  ขึ้นอยู่กับความต้องการที่เรียนรู้  เรื่องนี้ครูอ้อยถนัดนัก  เรียน เรียน เรียน จนเข้าใจด้วยตนเอง

สามารถจัดทำเว็บไซต์ด้วยตนเอง  จากการเรียนรู้และเทียบเคียงกับผู้รู้ท่านอื่น  เมื่อจัดทำเสร็จแล้ว  ก็ตระเวนไปในยุทธจักรแห่งการเรียนรู้ออนไลน์  พูดคุยกับท่านผู้รู้แบบสารภาพว่าครูอ้อยยังไม่รู้อะไรเลย  เรียนเชิญท่านเหล่านั้นมาชมเว็บไซต์ของครูอ้อย   

ยังมีเด็กอาชีวะเข้ามาอ่านบันทึกและเว็บไซต์ของครูอ้อย  ชมว่าครูอ้อยมีอายุมากแล้ว  ยังมีความสามารถจัดทำได้ขนาดนี้ก็เก่งแล้ว

ทำไมครูอ้อยต้องทำถึงขนาดนี้

เพราะครูอ้อยชอบคิด  ชอบทำ  และชอบต่อยอดเสมอ  เมื่อได้ตรงนี้แล้วต้องทำอย่างไร  เป็นสิ่งที่ครูอ้อยคิดเสมอมา

มีคนถามว่า  ครูอ้อยมีอาชีพเป็นครู  มีเวลาว่างมากนักหรือ  ในช่วงเวลาของการทำงานตามปกติ  ครูอ้อยจะมีเวลาในตอนเช้า  เช็คเมลล์และตอบกระทู้ต่างๆอย่างสม่ำเสมอ  และทุกอย่างทุกสิ่งในการดำเนินชีวิต  ครูอ้อยจะนำมาเขียน  บางที่ดูแล้ว  จะไร้ค่าและเสียเวลา  แต่ละความคิดมีสิทธิ์ที่จะคิดอย่างนั้น

ปกติของความเป็นครู  คือ  การเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้  ก็ต้องเตรียมเป็นปัจจุบัน  เตรียมสื่ออุปกรณ์ ที่ต้องใช้  ระยะเวลานานเป็นยี่สิบกว่าปี  เครื่องมือเหล่านี้ในการประกอบอาชีพครูทุกคนต้องมีอยู่แล้ว

คนเราจะไม่มีเวลาว่างบ้างเชียวหรือ  คุยกับเพื่อน  สังสรรค์เฮฮา  ครูอ้อยก็มีเพื่อน  มีมากเสียด้วยสิ 

แต่สำหรับครูอ้อย  มีความสุขที่จะได้เขียน  ยิ่งมีผู้สนใจมาอ่านและทักทาย  ครูอ้อยก็จะมีพลัง  มีความคิดที่จะเขียนอีกต่อไป

มองดูนักเขียนบทความทางวิชาการ ครูอ้อยอยากเก่งแบบนั้น  อยากเขียนอะไรที่มีสาระ  มีประโยชน์  และครูอ้อยก็พยายามอยู่

อะไรดลใจให้ครูอ้อยชอบเขียนหรือ คุณบอนถามในบันทึกแห่งหนึ่ง  ต้องเดินตามรอยเท้าครูอ้อย

เมื่อเขียนแล้ว ถูกใจคนอ่าน 

ผู้คนมีหลายแนวคิด  บางคนชอบ  บางคนไม่ชอบ  ก็แล้วแต่ผู้บริโภคจะเลือก

แต่สำหรับครูอ้อยชอบการอ่าน  อ่านมากรู้มาก  และนำมาประยุกต์เป็นของครูอ้อยเอง  ไม่ซ้ำแบบใคร  กล้าเขียน  กล้านำออกมาแฉ

เรื่องของความกล้านำออกแฉ  นำความเดือดร้อนมาให้ครูอ้อยก็มี  แต่ความผิดนี้มันไม่มากมายเท่ากับโกงกิน  ไม่ซื่อสัตย์  และใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้อง 

ครูอ้อยกลัวมาก  กลัวจนต้องเขียนบันทึกออกมามากมาย  อย่าทำผิดให้เขียนอีกก็แล้วกัน  จะเขียนทุกเรื่องที่ผ่านเข้ามาที่ไม่ถูกต้องกับไม่เหมาะสม

ขอบคุณ  คุณบอนที่เข้าใจและรู้ถึงความรู้สึกที่ได้เขียน  และพยายามชักชวนให้ผู้อื่นได้เขียน  อย่าลืมอ่านบันทึกของผู้อื่นบ้างก็แล้วกันค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 54931เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)
  • แว๊บมาเยี่ยมค่ะ เพิ่งเสร็จจาก meeting อันระอุค่ะ

ครูอ้อย.....ทำให้รู้สึกว่าการเขียนไม่ยากเลย

อืม.....แล้วเมื่อไรจะเริ่มเป็นเรื่องเป็นราวซะทีล่ะเรา....

 

 

ผมเขียนจากความรู้สึกส่วนตัวนะครับ
  • เสน่ห์ของบันทึกครูอ้อย อยู่ที่ครูอ้อยสามารถเขียนอารมณ์ของครูอ้อยเข้ามาอยู่ระหว่างตัวอักษรในบันทึกของครูอ้อยได้ครับ ผมคิดว่าเราน่าจะรับรู้ได้ว่าขณะที่ครูอ้อยจรดปลายนิ้วไปบนแป้นพิมพ์ แล้วค่อยๆกดแต่ละแป้นนั้น ครูอ้อยกำลังรู้สึกอย่างไร
  • นอกจากนั้นครูอ้อยยังสามารถสื่อความรู้สึกของความสุขที่ได้เขียนบันทึกไว้ระหว่างบรรทัดของบันทึกได้อีกครับ ซึ่งเป็นความละเอียดอ่อนของการเรียบเรียงถ้อยคำ สื่อออกมาให้ผู้อ่านเข้าใจได้ตรงกับความต้องการของครูอ้อย
  • ส่วนเนื้อหา เป็นสิ่งที่ผมเฉยๆครับ เพราะไม่ใช่สิ่งแตกต่างจากหลายๆบันทึกบน G2K นี้
  • โดยสรุป ผมชอบส่วนที่เป็นความรู้สึกระหว่างตัวอักษร และสุขระหว่างบรรทัดของบันทึกครูอ้อยครับ นี่ไม่รวมถึงการตอบทักทายทุกความคิดเห็นที่ผ่านเข้ามานะครับ
  • เห็นด้วยมั้ยครับ  นายบอน!
  • แวะมาอ่านบันทึกดี ๆ ของพี่อ้อยค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ  สู้ สู้ สู้

สวัสดีค่ะคุณ Bright Lily 

เพิ่งกลับมาจากไหนคะ  ร้อนระอุ  อิอิ  พักหายเหนื่อยแล้วมาคุยกันอีกนะคะ  ขอบคุณค่ะที่มาทักทาย

  • ขอบคุณค่ะ  คุณ sompornp 
  • ที่เชียงใหม่ฝนตกหรือเปล่าคะ 
  • ที่กรุงเทพฯอย่างหนักเลยค่ะ  มีฟ้าร้อง  ครูอ้อยกลัวมากค่ะ 
  • ขอบคุณค่ะที่เข้ามาทักทาย  มาบ่อยๆนะคะ
  • วันนี้ฝนตกเหรอครับครูอ้อย
  • ลองเปิดเพลงให้ดังขึ้นสักนิด
  • หรือไม่ก็พยายามมีสมาธิกับงานของตัวเอง ครูอ้อยก็จะไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้องครับ
คุณไมโตคะ  ไม่มีใครรู้ข้างในมีอะไรค่ะ
  • มีคนรู้ครับ ครูอ้อย ผมเห็นคนงอนกันอยู่

ครูอ้อยงงค่ะ  ครูอ้อยผิดใช่ใหมนี่  ทำไมทำกันอย่างนี้

ดูการ์ตูนดีกว่า

  • ครูอ้อย ไม่ผิดหรอกครับ
  • ลูกสาวครูอ้อยก็ไม่ผิด
  • แล้วว่างๆ ผมจะอธิบายเรื่องนี้ให้ฟังครับ

ปิดหู ปิดตา แล้ว ไม่พูดและไม่ฟัง  แต่จะดูการ์ตูนอย่างเดียว  ก็ให้รู้กันว่า  ความอบอุ่น มันเริ่มจะระอุหรืออย่างไร

  • ใจเย็นๆครับ ครูอ้อยหาน้ำเต้าหู้เย็นๆ มาจิบก่อนซิครับ อ้อ ปาท่องโก๋ด้วยนะ สักตัว แล้วค่อยๆนั่งลง อย่าหันหลังซิครับ หันหน้ามาคุยกัน ใช่ครับ เริ่มต้นด้วยการจิบน้ำเต้าหู้เย็นๆก่อน อย่างนั้น ใช่เลย

น้าน...

คุณไมโต...กะปุ๋มน่ะไปตามหาท่านที่บันทึกอื่น..

ที่ไหนได้แอบมานั่งปลอบครูอ้อยอยู่ที่นี่เอง...

(^______________^)

ดีใจจัง...พี่ไมโตมาช่วยแล้ว...ฮา...

 

  • ลูกสาวมาง้อแล้วนะครับ ครูอ้อย
  • มีอะไรก็ค่อยๆพูด ค่อยๆจากัน
  • อย่าเอาแต่ซดน้ำเต้าหู้ซิ เอ้า ....เอื๊อก ๆ ดูซิซดเข้าไปจนพุงกระเพื่อมแล้ว....อิ อิ
  • เดี๋ยวผมไปหาผ้ามาเช็ดก่อน
  • แม่ลูกจะได้คุยกัน
  • ครูอ้อยรู้จักใบไม้นี้ไหมครับ แถวกรุงเทพไม่มี ผมเก็บมาจากบ้านคุณกะปุ๋ม

  • อย่ามาถามเลย  ไม่รู้จัก  ไม่รู้คิดด้วย 
  • และก็อยากรู้ว่า  นี่มันอะไรกัน 
  • เสียแรงคิดถึงทุกคน 
  • ไป 212 cafe หรือยังคะ
ใบไม้นี้ชื่อว่า ใบหัวใจกะปุ๋ม คะ คุณกะปุ๋มเขาตั้งใจเอามาฝากครูอ้อย
  • เหมือนจริงๆด้วยเนอะ 
  • มัวแต่โกรธเลยลืมคิดไป 
  • ขออภัยค่ะทุกคน
  • แล้วทำไม กะปุ๋มไม่เอามาให้เอง
  • คุณไมโตไปได้หัวใจกะปุ๋มมาได้อย่างไรล่ะ
  • สงสัย
  • เป็นความลับครับระหว่างผมกับคุณกะปุ๋ม
  • แต่เป็นหัวใจคุณกะปุ๋มที่ตั้งใจมอบให้ครูอ้อย
ผมไปบล็อก 212 cafe แล้วครับ
  • รู้สึกเหมือนหัวใจพองโตครับ
  • เป็นความรู้สึกที่อธิบายไม่ถูก เขียนเป็นตัวอักษรไม่ได้
  • เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตผม
  • ลำดับภาพต่างๆ ค่อยๆผ่านเข้ามาอีกครั้ง ด้วยความประทับใจ ซึ่งครูอ้อยเป็นผู้ทำให้เกิด ขอบคุณครับ ขอบคุณมากๆครับ ผมจะไม่ลืมความรู้สึกเหล่านี้เลย
  • ครูอ้อยดีใจที่คุณไมโตรู้สึกอย่างนั้น 
  • ที่ทำไป  ยังไม่ได้ครึ่งหนึ่งที่คุณไมโตได้ให้กับครูอ้อยเลยเสียด้วยซ้ำ 
  • ความอบอุ่น  พลังใจไงล่ะคะ 
  • ขอบคุณอีกครั้ง
  • ครับ ผมก็ต้องขอบคุณครูอ้อยอีกครั้งเช่นกัน

(^_______________^)

เย้!!!.....พี่ไมโตมาช่วยกะปุ๋มแล้ว...

กะปุ๋มคะ  ทีหลังจะให้หัวใจครูอ้อย ก็เอามาให้เอง  อย่าฝากใครเขามาสิคะ อิอิ

 คุณไมโต  กะปุ๋มคะ

ขอบคุณทั้งสองคนที่ให้ความสนใจ  รัก เคารพ ครูอ้อย  หยอกล้อ  ให้หายเหงา  อีกทั้งดูแลถามสารทุกข์  ช่วยเหลือเกื้อกูลให้กำลังใจ

ทั้งหมดนี้  ครูอ้อยไม่มีอะไรจะตอบแทน  มีแต่ความรัก  ความอบอุ่นที่จะให้กับทุกคนนะคะ

วันนี้  เพดานบ้านครูอ้อยมันจะพังค่ะ  มีคนแหงนดูมันบ่อยค่ะ  อิอิ

  • ทั้งหมดนี้ ก็เพราะครูอ้อยเป็นพี่สาวที่น่ารักไงครับ
  • คุยกับครูอ้อยแล้วสบายใจ
  • สงสัยครูอ้อยต้องเสริมหลังคาแล้วล่ะ เดี๋ยวมันจะพังเอา  อิ อิ

คุณไมโตคะ

  • หากครูอ้อยเป็นพี่สาว  ก็ดูแลกันต่อไป 
  • ถ้าคุยกันแล้วสบายใจก็คุยต่อไป 
  • แต่  เอ..วันหนึ่งบอกว่าจะเล่าเรื่องอะไรให้ฟังนะคะ 
  • ให้คุณไมโต journal เสร็จแล้ว  ต้องเล่าให้ฟังนะคะ

 ป้าย(คำหลัก): การเขียนบันทึก  การเรียนรู้  มุมมอง  ระหว่างทาง

สร้าง: พฤ. 26 ต.ค. 2549 @ 00:29   แก้ไข: พฤ. 26 ต.ค. 2549 @ 00:29

ขอเก็บการต่อยอดของบันทึกนี้ไว้ที่นี่  ไว้ด้วยกัน  เพื่อประโยชน์ในการอ่าน

จากบันทึก .ดอกไม้ดอกเล็กๆที่แสนสวยของครูอ้อย
(บันทึกเดียว หยิบมาบันทึกได้หลายตอน หลายแง่มุม อะไรกันนี่.....)
-พลังแห่งการบันทึกของครูอ้อย : ข้อคิดและบทเรียนจากดอกไม้ของครูอ้อย
-พลังแห่งการบันทึกของครูอ้อย กับประตูสู่สิ่งใหม่ๆที่ปลายนิ้ว..ยกกำลังสอง
-พลังแห่งการบันทึกของครูอ้อยกับการเชื่อมโยงสู่ gotoknow

มีข้อสังเกตถึงการศึกษาของเมืองไทยที่น่าสนใจเหมือนกัน เนื่องจากบันทึกนี้ ครูอ้อย ซึ่งเป็นครู ถ่ายทอดออกมานั้น

มีมุมมองที่ว่า การถ่ายทอดเรื่องง่ายๆ เรื่องใกล้ตัว ให้คนอื่นรู้เรื่อง และเข้าหัว คิดได้ เข้าใจง่าย ถ้าครูไทยทุกคนทำได้แบบนี้ เด็กไทยจะเก่งมากขึ้นเพียงใด

ทำไม เด็กชาติตะวันตก จึงคิดเป็น วิเคราะห์เป็น สังเคราะห์ข้อมูลได้
เมื่อไทยนำเนื้อหาของประเทศเหล่านั้น มาสอน ทำไมเด็กไทยหลายคน ถึงคิดไม่ได้ เหมือนเด็กชาติตะวันตก

ครูอ้อย เขียนบันทึก ทำให้ดู คนอ่านรู้เรื่อง ติดใจ จากเรื่องใกล้ตัวของครูอ้อยนี่เอง
ทั้งๆที่เป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องของครูอ้อยเอง แต่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้

หรือเป็นเพราะ
คิดเป็น...
สอนเป็น...
ถ่ายทอดเป็น...

ขอบคุณค่ะ  คุณบอน

26 ตุลาคม 2549

 ขอนำบันทึกการต่อยอกของคุณบอนที่ก่อเกิดมิตรภาพใน gotoknow มาไว้ในบันทึกนี้นะคะ

จากบันทึกธรรมดาๆของครูอ้อย เรื่อง ดอกไม้ดอกเล็กๆที่แสนสวยของครูอ้อย  เพื่อนหลายคนของนายบอนที่ได้อ่าน ได้ให้มุมมองที่หลากหลาย น่าสนใจทั้งนั้น จึงได้รวบรวมมาบันทึกไว้ในที่นี้

เสียดายที่เพื่อนๆไม่ได้เข้ามาเขียนแสดงข้อคิดเห็นเหล่านี้ไว้ ด้วยตัวของเขาเอง แต่สิ่งที่รวบรวมมานี้ คงให้อะไรได้หลายอย่างเช่นกัน

มุมมองต่อครูอ้อย
- ครูอ้อย ประชาสัมพันธ์เก่ง อยากให้ลูกสาวเข้าตากรรมการหลายคน
- กระตุ้นความสนใจในตัวของลูกสาว ลองดูผู้เป็นแม่บ้างว่า ทำไมถึงได้ติด gotoknow ยิ่งกว่าเด็กติดเกมออนไลน์
- อยากให้คนอื่นพูดถึงลูกสาวของตัวเองบ้าง จะได้เกิดความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
 - อยากให้ลูกสาวรู้จักคนอื่นๆมากขึ้นใน gotoknow
-  อยากให้ลูกเก่งเหมือนแม่ ขวนขวายหาความรู้เหมือนแม่
- อยากให้มีคนเรียกชื่อลูกผิดเพี้ยนไป เหมือนผู้เป็นแม่ เช่น เรียกอ้อย เป็นน้อย!!!!

มุมมองต่อนายบอน
- อยากให้จับประเด็นมาเขียนในแบบเปรียบเทียบ ให้ข้อคิดในแบบใกล้ตัวในแบบนี้ บันทึกถึงคนกาฬสินธุ์ใน gotoknow แบบที่ครูอ้อยบันทึก ให้รู้สึกใกล้ชิดกับ gotoknow มากขึ้น
- อยากให้เขียนเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆ อ่านรู้เรื่อง ใส่ข้อคิด ให้มุมมองใหม่ๆ
- อยากให้วิพากษ์ลูกสาวครูอ้อย เพื่อจะได้รู้ว่า ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้นจึงหรือไม่

ข้อสังเกตทั่วไป
- ผู้เป็นแม่เขียนบันทึก มีความสุขเผื่อแผ่คนอ่านอยู่ตลอด แล้วลูกสาวจะแสดงออกแบบนี้บ้าง
ไหม
- เมื่อผู้เป็นแม่บันทึก ผู้ลูกจะเข้ามาเสริม บันทึกขยายความสุขบ้างไหม เข้ามาเป็นแม่-ลูก ที่เขียนบันทึกแจกจ่ายความรู้สึกดีๆ คู่แรกของ gotoknow ได้หรือไม่
- ลูกสาว จะตามรอยเท้าผู้เป็นแม่ได้หรือเปล่า
- ลูกสาวจะสามารถแสดงออกถึงความมีชีวิตชีวา เหมือนผู้เป็นแม่ได้มากน้อยแค่ไหน
- ลูกสาวจะเป็นขวัญใจของคนอ่านบันทึก มีคนคอยติดตามอ่าน เหมือนผู้เป็นแม่ได้หรือเปล่า (ผู้เป็นแม่จะถ่ายทอดเคล็ดลับหรือไม่)


ป้าย(คำหลัก): การเขียนบันทึก  การเรียนรู้  มุมมอง  ระหว่างทาง

สร้าง: พฤ. 26 ต.ค. 2549 @ 00:25   แก้ไข: พฤ. 26 ต.ค. 2549 @ 00:25
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท