ประทับใจ...กับไตที่บริจาค (เพื่อ...ผ่าตัดเปลี่ยนไต)


....การยินยอมให้ตัดอวัยวะของตนออกไป...ทั้งๆที่มันยังทำงานได้ดี....เพื่อแบ่งปันให้ใครสักคนหนึ่ง...มิใช่เรื่องง่ายเหมือนการหยิบของออกจากกระเป๋าส่งให้ผู้อื่น แต่...ผู้เป็นแม่รายนี้ทำได้.....

วันนี้ฉันได้ดมยาสลบผู้ป่วยตัดไต (Nephrectomy)   คงเป็นเรื่องปกติถ้าผู้ป่วยนั้นเป็นโรคไตที่ต้องรักษาด้วยการตัดออก .....  แต่รายนี้เป็นผู้ป่วยที่มีไตเป็นปกติ .....แล้วทำไมต้องตัดไตออก....

 

....การยินยอมให้ตัดอวัยวะของตนออกไป...ทั้งๆที่มันยังทำงานได้ดี....เพื่อแบ่งปันให้ใครสักคนหนึ่ง...มิใช่เรื่องง่ายเหมือนการหยิบของออกจากกระเป๋าส่งให้ผู้อื่น    แต่...ผู้เป็นแม่รายนี้ทำได้.....  

 

ผู้ป่วยเพศหญิง  อายุ 48 ปีผู้เป็นแม่  แข็งแรงดี....และยินดีบริจาคไตข้างซ้ายให้บุตรชายอายุ 25 ปี ที่ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ( End stage renal disease : ESRD )ให้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต(Kidney   transplantation)  

 

โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ( End stage renal disease : ESRD ) เป็นโรคที่ไตสูญเสียหน้าที่อย่างถาวร  ไม่มีทางรักษาได้หายขาด   ผู้ป่วยจะเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยวิธีทดแทนไต ( Renal replacement therapy : RRT )   ซึ่งการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยวิธีทดแทนไตมี 3 วิธี ได้แก่

  1. การฟอกเลือด  (Hemodialysis : HD ) 
  2. การล้างช่องท้องถาวร ( Continuous ambulatory peritoneal dialysis : CAPD ) และ
  3. การผ่าตัดเปลี่ยนไต ( Kidney   transplantation  :  KT ) 

  

 

  <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> Kidney  transplantation  การปลูกถ่ายไต  เป็นการนำเอาไตที่ดีปลูกลงไปใต้ผนังหน้าท้องบริเวณเชิงกรานของผู้ป่วย   โดยต่อเส้นเลือดดำและแดงของผู้ป่วยตามลำดับ แล้วต่อท่อปัสสาวะไตใหม่เข้ากับกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วย </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> ฉันดมยาสลบผู้เป็นแม่  ส่วนห้องผ่าตัดติดกันเตรียมดมยาสลบลูกชาย    </p>

ฉันได้มีโอกาสเพียงคุยกับแม่....เธอสงสารลูกชายซึ่งป่วยมาเพียง  5  เดือน...ฉันไม่กล้าซักถามมากนักก่อนเริ่มดมยาสลบเนื่องจากเธอได้รับยาคลายกังวลก่อนมาห้องผ่าตัด   ดูเธอสงบนิ่ง   ผ่อนคลาย   เธอได้รับการเตรียมพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจอย่างดีจากทีมผู้ดูแลค่ะ  

เราดมยาสลบเธอด้วยความนิ่มนวล   อาจารย์วิสัญญีแพทย์เลือกใช้ยาที่มีผลต่อไตน้อยที่สุด  การผ่าตัดเป็นไปด้วยความนิ่มนวลเพื่อให้ไตที่ถูกนำออกไปได้รับความบอบช้ำน้อยที่สุดเพื่อให้สามารถทำงานได้ดี  ใช้อาจารย์แพทย์ผ่าตัดทีมละ 2 คนและผู้ช่วยแพทย์อีก 2 คน 

การดมยาสลบต้องมีจุดประสงค์ คือ รักษาระดับการไหลเวียนโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ    มีปัสสาวะออกดี    สัญญาณชีพปกติ    และเมื่อเสร็จผ่าตัดผู้บริจาคต้องฟื้นตัว ตื่นดี และสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้อย่างปลอดภัย โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ

  <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">……ฉันได้ยินอาจารย์พูดถึงขนาดเส้นเลือดของไต  ที่ใหญ่ดีพอในการทำงาน…..</p>

   

เมื่อนำไตออกมาจากผู้เป็นแม่แล้ว  จะมีการเตรียมนำไปใส่ให้ลูกชายโดยอาจารย์แพทย์อีกทีมหนึ่ง  และต้องใช้เวลาเตรียมไตไม่นานนัก 

 

 

 ฉันไม่กล้าถ่ายภาพมากนักเนื่องจากต้องดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด  ทำให้ภาพออกมาไม่ชัดและไม่มีโอกาสซ่อม  

 

 

   

อาจารย์นายแพทย์ อนัน ศรีพนัสกุล ยิ้มอย่างยินดี...กับการนำภาพเผยแพร่...ท่านแซวว่า...ทำไมฉันไม่ถ่ายภาพแพทย์ที่กำลังผ่าตัด  แต่มาถ่ายภาพอาจารย์แพทย์ที่มารับไต...ฉันบอกว่าขอเลือกคนหล่อไปลง website…

ทีมงานหัวเราะกัน....จริงๆแล้วฉันเกรงว่าจะเป็นการรบกวนสมาธิของทีมงานผ่าตัด  ซึ่งอาจจะทำให้การผ่าตัดไม่ราบรื่นเท่าที่ควรได้

 

 

   

 การผ่าตัดสำเร็จด้วยดีทั้งแม่และลูก  …… 

........ที่รอลุ้นคือการที่ร่างกายของลูกชายสามารถรับไตได้ดี  ....

ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเช่น  

  - Infection (ภาวะที่มีการติดเชื้อ)

 - Rejection ( ภาวะที่ร่างกายปฏิเสธต่อไตที่นำมาปลูก), 

 - Ultrafiltration  failure (ผู้ป่วยมีน้ำในร่างกายมากเกินไปโดยที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มน้ำมากเกินไป )

 - UTI (การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ)

 - Metabolic  complications  ได้แก่  ภาวะขาดสารอาหาร   ภาวะขาดความสมดุลของเกลือแร่  ความผิดปกติของไขมัน หรือภาวะที่มีของเสียคั่งมาก  จนทำให้เกิดอาการทางสมอง

- ภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด และอื่นๆ เป็นต้น

 

 

……ฉันได้แต่ภาวนา   ให้ความตั้งใจอันเป็นกุศลยิ่งใหญ่นี้ของผู้เป็นแม่...ที่ยอมมอบไตข้างหนึ่งของเธอให้แก่ลูก....จงดลบันดาลให้ได้ผล  บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการอย่างไร้ปัญหาใดๆค่ะ

 

 

ขอประชาสัมพันธ์....

ศูนย์บริการโรคไต โรงพยาบาลศรีนครินทร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

 ท่านสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้โดยตรงค่ะ

 

 

 ( ขอขอบคุณ :

- ทีมงานปลูกถ่ายอวัยวะ  รพ.ศรีนครินทร์  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

http://www.med.nu.ac.th/chem/research

http://www.md.chula.ac.th/rcat/handout0502/organ.htm  )

 

หมายเลขบันทึก: 93961เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2007 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (74)

สวัสดีค่ะ

ถ้าเป็นดิฉัน ก็ทำได้ค่ะ เพื่อลูกสุดที่รัก ทำไมจะช่วยไม่ได้ จริงไหมคะ

มาเยี่ยมค่ะ

ใช่ค่ะพี่ติ๋ว  คนเป็นแม่  ทำอะไรเพื่อลูกได้เสมอ

ตามมาให้กำลังใจคุณแม่ ผู้มีเมตตาที่ยิ่งใหญ่ และภาวนาให้ไตของแม่และของลูกเข้ากันได้ดี  และขอให้ลูกใช้ชีวิตกับไตของแม่ที่ได้เสียสละเพื่อลูก อย่างคุ้มค่าที่สุด

ขอบคุณคนดี ๆ สังคมดี ๆ ที่ยังอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุขค่ะ

เรียนท่านอ.
P

ค่ะ.....

  • อาจารย์นอนดึกจังเลยค่ะ...
  • ดิฉันก็ด้วยคนนึงที่มีความรู้สึกเหมือนอาจารย์...และทรมานใจทุกครั้งที่เห็นภาพพ่อ-แม่ ตีลูก...รู้สึกมันไม่ยุติรรมที่ผู้ใหญ่ทำร้ายเด็ก...ดิฉันคิดผิดไหมคะ
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาคุยด้วยดึกๆค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณหนิง

  • แม่คือผู้ยิ่งใหญ่สำหรับลูก...และแม่เองก็ยินดีทำทุกอย่างเพื่อลูกเสมอจริงๆค่ะ...แม้จะลำบาก  เจ็บปวด...ทรมาน....
  • ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะ น้องอึ่งอ๊อบ

  • ปีนี้...จะมีการทำผ่าตัดเปลี่ยนไตจำนวนมากค่ะ....ถวายเป็นพระราชกุศล...คงมีบันทึกเรื่องนี้ออกมาอีกไม่น้อยค่ะ....
  • ...สังคมไทยนี้...ยังมีผู้ใจบุญ  จิตกุศลอีกมากค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ
คิดถึงจังค่ะ...คุณติ๋ว ครูอ้อย...เจ็บไตค่ะ...ช่วยด้วย..

พี่ติ๋วคะ

  • มีพี่ชายซึ่งได้รับการฟอกไตมา 5 ปีกว่า
  • ได้รับการเปลี่ยนไต (จากไตบริจาค)
  • และอยู่ได้อีก 2 ปีกว่า ๆ
  • และจบชีวิตลงจากไวรัสตับอักเสบบี (คาดว่าได้รับจากการให้เลือด) ประกอบกับการใช้ชีวิตที่ไม่ระวัง เพราะคิดว่าได้รับไตใหม่แล้ว
  • สุดท้ายก็พลาดเพราะเรื่องการใช้ชีวิตหลังผ่าตัด
  • อยากให้ รพ.ให้ความรู้เรื่องการใช้ชีวิตหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต(อย่างเข้ม) เพราะจะเป็นวิทยาทานอย่างดียิ่งสำหรับผู้ได้รับการเปลี่ยนไตแล้ว และใช้ไตที่ได้รับการเปลียนอย่างคุ้มค่า.....เป็นห่วงจริง ๆ ค่ะ.....

หนิงมีประสบการณ์ค่ะ 

พี่สาวหนิงขับรถยนต์โดยมีคุณแม่เดินทางด้วย(ไปเป็นเพื่อน) แล้วประสบอุบัติเหตุรถชนกันแรงพอสมควร    พยาบาลเวร ER และกู้ภัยเล่าให้ฟังว่า  คุณแม่เลือดเต็มหน้าและตัว  แต่คุณแม่ยังมีสติ  จะบอกว่า "ลูกสาวดิฉันอีกคนค่ะ  ช่วยลูกสาวก่อนนะคะ  เขาอยู่ไหน"  แล้วคุณแม่ก็จะเรียก "พี่ปุ๊กๆ"  อยู่ซ้ำๆ  พี่สาวหนิงซะอีกมัวแต่ตกใจ ทั้งๆที่ไม่เจ็บมากเท่าคุณแม่เลย  แต่ก็ไม่ได้ขานรับคุณแม่

เหตุการณ์นี้  คุณแม่ต้องเย็บแผลบนใบหน้ารอบๆดวงตา 52 เข็ม ต้องทำศัลยกรรมต่อๆมาและมีรอยถลอกที่แก้วตาด้วยค่ะ  มิน่าคุณแม่ถึงร้องเรียกหาแต่ลูกสาวเพราะท่านมองไม่เห็นนี่เอง   ท่านเจ็บมากแต่ห่วงว่าลุกสาวจะเจ็บกว่า

ตอนหนิงประสบอุบัติเหตุ สมัยเรียนโทที่มช. คุณแม่ก็ไปเฝ้าพยาบาลที่นู่นค่ะ  จนหนิงต้องdropเพราะรักษาตัวนาน   พอสามารถเดินทางกลับมารักษาต่อที่มหาสารคามได้ 

ลูกๆจะโตเท่าใด  ยามเจ็บไข้ก็มีแม่อยู่ข้างๆเสมอ 

ทุกวันนี้หนิงจะเดินทางไปไหน  ถ้าไม่ติดอะไรคุณแม่จะนั่งรถไปเป็นเพื่อนด้วยเสมอค่ะ  หนิงรู้ค่ะว่าคุณแม่เป็นห่วง

หนิงรักคุณแม่ค่ะ  ดีใจที่ได้เป็นลูกแม่

ครูอ้อยพูดจริงหรือพูดเล่นค่ะ...ที่ว่าเจ็บไตน่ะ....

คุณอ๊อบขา

  • เพิ่งทราบว่าประสบการณ์นี้ใกล้ตัวคุณอ๊อบเหลือเกิน....เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยนะคะ
  • การให้ข้อมูลผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญค่ะ   บางครั้ง ความไม่ครบถ้วนของข้อมูลที่ให้  หรือข้อมูลที่มากๆอาจจะลืมได้ในระยะยาว   น่าจะมีการนำมาทบทวนเพื่อเตือนความจำเป็นระยะ   หรือหาวิธีให้ผู้ป่วยและญาติระลึกได้อยู่เรื่อยๆค่ะ  จะได้ไม่เสียผู้ป่วยไป
  • จะนำข้อมูลนี้ของคุณอ๊อบไปบอกกับทีมดูแลนี้ค่ะ
  • .......ขอบคุณแทนผู้ป่วยที่ได้รับทราบมุมสะท้อนจากชีวิตจริงค่ะ..........
  • ขอบคุณค่ะ
  • พี่ติ๋วอ่านเรื่องราวของคุณหนิงแล้วประทับใจเหลือเกินค่ะ
  • ตอนนี้คุณแม่คุณหนิงอายุเท่าไหร่แล้วคะ  ท่านยังแข็งแรงดีใช่ไหม  พักอยู่ด้วยกันหรือเปล่าคะ
  • มีโอกาสจะไปบอกว่า...ลูกสาวคนนี้รักท่านเหลือเกินค่ะ
  • ขอบคุณคุณหนิงค่ะที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน...ขอบคุณค่ะ
  • คุณแม่อายุ 60 แล้วค่ะพี่ติ๋ว  แต่ยังดูสาวมาก  ไปไหนๆด้วยกันมีแต่คนบอกว่า พี่สาวหนิงอ่ะ 
  • สงสัยอยู่เหมือนกันว่า...หนิงแก่ทันคุณแม่  ^__*  หรือ คุณแม่ดูสาวกว่าอายุจริง  อิอิ

คุณหนิง ขา

  • พี่ติ๋วเคยพบคุรหนิงก้ไม่เห็นว่าจะแก่สักนิด
  • ความสุขที่อิ่มเอมในใจ  ทำให้หน้าตาดูสวยและสาวดังเช่นคุณแม่ค่ะ...น้องหนิงต้องทำได้อย่างที่คุณแม่ทำแน่ๆค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะพี่ติ๋ว  แต่หนิงว่าพี่ติ๋วอ่ะสาวมากค่ะเจอกันครั้งแรกที่ UKM แล้วเด็กกว่าที่คิดเยอะเลยค่ะ 
  • ดูจากในรูปครอบครัวที่ไปเที่ยวสวนสัตว์โคราชแล้ว  พี่ติ๋วเหมือนไปกับน้องๆเลย  ยกเว้นกีต้าร์ที่ห่างหน่อย เลยพอดูได้ว่าเป็นลูกสาว  อิอิ

อีกหน่อยเขาก็จะมองแล้วพูดว่า..."คุณยาย...มางานรับปริญญาหลานเหรอคะ"......อิ..อิ...ขอบคุณน้องหนิงที่ให้กำลังใจ...ใส่น้ำหอมค่ะ....ชอบค่ะ..ชอบ...

  • สวัสดีครับ
  • ผมแวะมาชื่นชมและให้กำลังใจต่อคณะทำงานที่เต็มไปด้วยศักยภาพ
  • รวมถึงการมาดื่มด่ำความงดงาม, เรื่องดี ๆ  ของคนดี ๆ ในสังคมที่ถ่ายทอดผ่านบันทึกนี้
  • การให้ยิ่งใหญ่เสมอ...ผมเคยไปบริจาคร่างกายที่ รพ.ศรีนครินทร์   แต่ทางโรงพยาบาลไม่รับ  โดยแจ้งว่ามีผู้บริจาคไว้มากแล้ว  ขาดแต่เฉพาะร่างกายของเด็กเท่านั้น
  • (ผมตัวเล็ก แต่ไม่ใช่เด็ก  จึงถูกเมิน....)
  • แต่โชคดีได้บริจาคดวงตาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว....
  • ......
  • การยินยอมให้ตัดอวัยวะของตนออกไป...ทั้งๆที่มันยังทำงานได้ดี....เพื่อแบ่งปันให้ใครสักคนหนึ่ง...มิใช่เรื่องง่ายเหมือนการหยิบของออกจากกระเป๋าส่งให้ผู้อื่น    แต่...ผู้เป็นแม่รายนี้ทำได้.....
  • .....
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ คุณแผ่นดิน

  • คุณเป็นผู้ที่มีจิตใจงดงามโดยแท้ค่ะ   กุศลที่ยิ่งใหญ่นี้จงดลบันดาลให้คุณและครอบครัวประสบความสุขตลอดไปค่ะ.....
  • ขอบคุณอย่างยิ่งค่ะ....เพื่อนผู้มีเมตตา....
สวัสดีครับ.. อ่านแล้ว.. ซึ้ง มากเลยครับ.. มาเยี่ยมและ ให้กำลังใจครับ.. และรบกวนสอบถามหน่อยครับ ในส่วนของถุงน้ำดีที่โดนตัดทิ้งไปเนี่ยอันตรายไหมครับ ..

สวัสดีค่ะ คุณนิรันดร์

  • ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ 
  • ส่วนของถุงน้ำดีที่ถูกตัดทิ้งไปแล้ว...ไม่น่าจะอันตรายค่ะถ้าดูแลสุขภาพดีๆ...ทานอาหารที่เหมาะสม....ก็สามารถใช้ชีวิตได้ปกติสุขค่ะ....
  • ดิฉันไม่ใช่แพทย์จึงไม่อาจจะแนะนำได้มากกว่านี้...แต่จะขอแนะนำให้อ่าน ที่นี่ที่นี่  หรือ ที่นี่ ก็ได้ค่ะ...อาจจะช่วยคลายความข้องใจได้มากขึ้นค่ะ.
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ
สวัสดีครับ คุณพี่ นาง กฤษณา สำเร็จ ขอบพระคุณครับสำหรับคำแนะนำและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ขอบคุณครับ

มาเรียนรู้ครับ

ขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่อุทิศตนเพื่อชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

 

ขอบคุณด้วยความจริงใจครับ

ขอบคุณพี่บางทรายค่ะ  ที่ให้กำลังใจทีมบุคลากรทางการแพทย์

ขอบคุณด้วยความจริงใจ(แทนทีมรักษาทุกท่าน)...เช่นกันค่ะ

เรียน คุณ ชัยสิทธิ์

  • เนื่องจากปัญหาของท่านในเบื้องต้นนั้นเป็นการรักษา ดิฉันอาจจะให้คำแนะนำได้ในเชิงพยาบาลนะคะ...โดย....
  • ประการแรก จะขอลบข้อคำถามของท่านมาใส่ในข้อคิดเห็นของดิฉันเนื่องจากท่านใส่หมายเลขโทรศัพท์มาให้ด้วย  อันอาจเป็นข้อมูลส่วนตนของท่านที่ควรเป็นความลับค่ะ
  • ประการต่อมา  กรุณาส่ง mail ของท่านไปที่ http://gotoknow.org/email/140700 แล้วจะช่วยให้คำแนะนำโดยส่งไปทาง mail จะเหมาะกว่านะคะ

26. ชัยสิทธิ์

เมื่อ พฤ. 17 ก.ค. 2551 @ 08:19

745625 [ลบ]

เรียน อ.กฤษณา

ผมมีข้อสงสัยเกียวกับการผ่าตัดไต ซึ่งเป็นข้อกังวลของผมมาหลายปี เกิดจากประมาณปี 34-35 ผมประสพอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ รถกู้ชีพนำส่ง รพ.วชิระ ผมหมดสติ จนกระทั่งเช้าตื่นขึ้นมาอยู่บนเตียงเข็น อยู่นอกห้องผู้ป่วย(น่าจะเป็นทางเดินในรพ.) มีพยาบาลเข้ามาถามเป็นคำถามที่เข้าใจภายหลังว่าผมมีสติปกติหรือไม่ โดยผมมีแผลที่ปลายขาข้างขวา ที่ฝ่าเท้า และหลังด้านขวา (ช่วงเอว)มีแผล ซึ่งรู้สึกว่าเป็นโพลง โดยทุกๆวัน ต้องไปที่ รพ.วชิระ ให้พยาบาลใช้เข็มฉีดยาสูบน้ำเหลืองออก ที่แรกเข้าใจว่าเกิดจากแรงกระแทกของอุบัติเหตุ แต่ก็แฝงด้วยความกังวลว่าเป็นแผลจากอะไร ผ่านมาหลายปี ได้ยินบทความต่างๆ รวมถึงมาเปรียบเทียบกับตัวเอง รู้สึกว่าเรามีอาการอ่อนเพลีย บ่อย ถ้า อดนอน หรือดื่มเหล้า และได้มาเห็นกระทู้ บทความนี้ จึงใคร่ขอเรียนสอบถามว่า มีความเป็นไปได้มั้ย ในเบื้องต้นที่เราจะรู้ว่าเราถูกตัดไตไป ก่อนจะไปเอ็กซเรย์ และ/หรือต้องทำอย่างไรเพื่อให้หายข้อสงสัย ขอเรียนสอบถามมายัง อ.กฤษณา ครับ

ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ชัยสิทธิ์

........

รบกวน อ.กฤษณา ช่วยตอบด้วยนะครับ ทางเมล์ หรือโทรศัพท์ครับ

ผมก็เพิ่งเปลี่ยนไตมาครับ ตอนนี้ไม่กินเค็มเลยครับ แต่ก็พยามไม่ใช้ชีวิตอย่างประมาทครับ อยากบอกว่า ใครที่ได้ไตมาแล้ว พยามรักษาไว้ให้ดีที่สุดนะครับ ยังมีคนอีกมากที่ไม่มีโอกาสได้เปลี่ยนไต เป็นกำลังใจให้ทุกคนครับ

สวัสดีค่ะ คุณตู๋

  • ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะกับไตที่ได้รับจากผู้ใจบุญ...และขอชื่นชมกับความตั้งใจจริงในการดูแลสุขภาพตนเองภายหลังได้รับไตใหม่ด้วยค่ะ...
  • ...มีคำแนะนำการปฏิบัติตนหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต อ่านได้ที่นี่ ค่ะ
  • และความรู้เพิ่มเติมเรื่องโรคไตวายเฉียบพลัน อ่านได้ที่นี่ค่ะ
  • ขอบคุณคุณตู๋และขอให้สุขภาพดี มีความสุขนะคะ

ขอบคุณครับ

เปลี่ยนมาก็ไม่ดีเท่าไรครับ เครตินิน 2.1 ครับ ปัสสาวะ ไข่ขาวรั่ว 2 บวก ครับ

มีคำแนะนำให้ผมบ้างมั้ยครับ

สวัสดีค่ะ ดาวเป็นคนหนึ่งที่รักแม่มาก แม่เป็นโรคไตเหมือนกัน หมอบอกว่า แม่มีสิทธิ์เป็นไตวายได้ เราไม่รู้ต้องทำยังไง พี่ๆ พอจะมีคำแนะนำมั๊ยค่ะ ตอนนี้เป็นหว่งแม่มากค่ะ ร้องไห้ตาบวมเลย ตอนนี่อยู่ที่ อุดรธานี ค่ะ

ถ้าพี่ๆ พอแนะนำได้ช่วยกรุณาบอกหน่อยนะค่ะ ตอนนี้ทุกร์ใจมากค่ะ

หรือโทรที่ 087-3070930 ค่ะ หรือจะให้โทรกลับก็ได้ค่ะ

ลูกคนนี้รักแม่ที่สุดเลย

สวัสดีค่ะ คุณ ศศิประภา [IP: 61.19.65.161]

  • ทำใจดีๆไว้ก่อนนะคะ
  • ดิฉันเขียนบันทึกเรื่องที่คุณอยากทราบเป็นเบื้องต้นไว้ก่อน ที่นี่ ค่ะ
  • โชคดีนะคะ

ความรักของแม่ยิ่งใหญ่เหลือเกิน แม่ให้ชีวิตแก่ลูกถึงสองครั้ง ขอให้ไตที่เปลี่ยนให้ลูกทำงานได้ดีนะคะ รพ.ศรีนครินทร์ สามารถเปลี่ยนไตได้แล้ว เก่งจัง

พระณรงค์ศักดิ์ สุ่มจินดา ป่วยโรคไต ฟอกเลือดที่ ร.พ สงฆ์ เลือดกรุ๊ป โอ มีไตข้างเดียว และใช้การไม่ได้ ขอความเมตตาผู้ใจบุญช่วยเหลือด้วยครับ ทรมานมากที่สุด นึกว่าสงสารผมเถอะ เงินก็ไม่มี ไม่ได้กลับวัดนานแล้ว วัดจินดาาม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ตอนนี้รักษาตัวที่ร.พ สงฆ์ เบอร์ 081 0071841

นมัสการพระคุณเจ้า

ยินดีที่ได้ใช้บันทึกนี้เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารถึงกันและกันค่ะ  และขอภาวนาให้พระคุณเจ้าได้พบกับผู้ใจบุญที่มีความเข้ากันได้ของไตที่ต้องการเร็วๆนี้ค่ะ

ขอประชาสัมพันธ์....

ศูนย์บริการโรคไต โรงพยาบาลศรีนครินทร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ท่านสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้โดยตรงที่นี่ค่ะ

ได้อ่านเรื่องราวแล้วซาบซึ่งมากถึงความรักและเข้าใจหัวอกคนเป็นแม่ได้ดีว่ามันทนทรานแค่ไหนที่เห็นลูกป่วย

ตอนนี้ดิฉันมีคน คนหนึ่งซึ่งเป็นโรคไตเหมือนกัน ดิฉันเห็นเขาใช้ชีวิตที่2วันใน1 สัปดาห์ที่ต้องตื่นแต่เช้าไปฟอกเลือดหรือบางวันก็เป็นช่วงค่ำที่เวลาเหล่านั้นบางคนกำหลังนอนหลับแต่เขาต้องไปร.พ มันเป็นอะไรที่เศร้ามาก ชีวิตที่ต้องรอคนใจบุญมาเปลี่ยนชีวิตให้ หากมีผู้ใจบุญจะหยิบยื่นความเมตตาได้ช่วยติดต่อมาทางเราด้วยค่ะ ผู้ป่วยอายุ25ปี เลือดกรุ๊ปเอ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected] โทร 084-8945514

ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่บริจาคไตให้น้องชาย ผ่าตัดไปเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 55 ที่ศิริราช ตอนนี้น้องก็กำลังปรับยาอยู่ค่ะ อยากทราบวิธีปฏิบัติตัวด้วยค่ะ

เรียน คุณน้ำใจ...

ซาบซึ้งใจกับความเมตตาที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันค่ะ

ไม่ทราบว่าตอนนี้ได้ไตที่บริจาคหรือยังนะคะ

...ลองติดต่อที่นี่ค่ะ http://www.kidneykhonkaen.org/contact.php

เรียน คุณลัดดาวัลย์ ค่ะ

ดิฉันชื่นชมกับจิตใจที่งดงามของคุณมากๆค่ะ เชื่อว่าการที่คุณหมอยอมให้คุณบริจาคไตข้างหนึ่งได้ นั่นน่าจะหมายถึงคุณสามารถใช้ไตข้างที่เหลือได้อย่างปลอดภัย...ทางที่ดีลองศึกษารายละเอียดโดยตรงจากผู้ชำนาญการที่นี่นะคะ

มี website ศูนย์บริการโรคไต โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่นี่ค่ะ สามารถสอบถามรายละเอียดทุกอย่างที่ต้องการได้เลยค่ะ

โชคดีค่ะ

ขอนำรายละเอียดช่องทางการติดต่อของ รพ.ศรีนครินทร์ มาฝากบันทึกไว้ค่ะ เผื่อฉุกเฉิน website รพ.ศรีนครินทร์ล่ม ก็ยังมีช่องทางนี้ให้เห็นค่ะ

ศูนย์บริการโรคไต ชั้น 3 อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อนุสรณ์ (สว.1) 
โรงพยาบาลศรีนครินทร์  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
123 ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
โทร. 043-366915-6 (ในเวลาราชการ)
โทรสาร. 043-366912
e-mail address ศูนย์บริการโรคไต: [email protected]
เลขานุการสาขาวิชาโรคไต: [email protected] 
พยาบาลประสานงานผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไต: [email protected]  
 
คลินิกชะลอไตเสื่อม  (CKD clinic)
กรณีเลื่อนนัดโปรดติดต่อ ศูนย์บริการโรคไต   เบอร์โทรศัพท์ : 043-366906 (ในเวลาราชการ)
 
ผู้ป่วยล้างไตช่องท้องชนิดถาวร(CAPD) ศูนย์บริการโรคไต
เบอร์โทรศัพท์ : 043-366915-6 (ในเวลาราชการ) หรือ
เบอร์โทรศัพท์ : 089-7111229 เวลา 08.00-20.00น. ทุกวัน
*** นอกช่วง เวลาดังกล่าวให้ติดต่อในวันต่อไป
***หากมีกรณีฉุกเฉินให้พบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือมาทำการตรวจที่ห้องตรวจฉุกเฉิน ตึกผู้ป่วยฉุกเฉิน รพ.ศรีนครินทร์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
 
คลินิกโรคไตทั่วไป
กรณีเลื่อนนัดโปรดติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ : 043 – 363022 – 5
 
ผู้ป่วยคลินิกฟอกเลือด
- รายละเอียด ข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทรหมายเลขโทรศัพท์ : 043 – 366905
 
ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนไต (Post-KT clinic)
1. กรณีเจ็บป่วยที่รีบด่วน เช่น ไข้สูง หนาวสั่น เหนื่อย หอบ แน่นหน้าอกให้ส่งไปแพทย์ที่ตึกอุบัติเหตุฉุกเฉินด่วน
2. กรณีมีอาการผิดปกติที่ไม่รีบด่วน และไม่รุนแรงให้มาก่อนนัดในวันที่มีคลินิก 
ได้แก่ วันอังคาร และวันพฤหัส( เวลา 16.00-19.30 น.) 
ส่วนวันพุธ(เวลา 13.00 น.-19.00 น.) 
และให้โทร.ปรึกษาได้ที่เบอร์ 083-0066486 เวลา 08.30-20.00 น. 
หรือโทร.แจ้งเลื่อนนัดได้ที่เบอร์โทร. 043-366906, 043-366915
3. การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยที่เบอร์โทร. 083-0066486 เวลา 08.30-20.00 น.
4. การให้คำปรึกษาทางอิเลคทรอนิกส์สามารถปรึกษาได้ที่ 
e-mail-address: [email protected] รับผิดชอบโดยคุณ อุบลรัตน์ ต้อยมาเมือง
 
คลินิกฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม มูลนิธิจิตตานุเคราะห์ 4จ.
สนใจ โปรดติดต่อ 
คุณหลอม นาสุริวงษ์ ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. หมายเลขโทรศัพท์ 043 - 363526
 
หมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ทุกเรื่อง ศูนย์บริการโรคไต
เบอร์โทร : 043-366906, 043-366915 ในเวลาราชการ
คมศักดิ์ วงษ์เจริญผล

ผมเป็นผู้ป่วยโรคไต ระยะสุดท้ายครับ และได้รับชีวิตไหม่จากพี่ชาย ที่บริจาคไตให้ครับ ตอนนี้ก็สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ แต่ต้องระวังเรื่องการทานยา กดภูมิครับ ต้องตรงเวลา ผมอยากให้กำลังใจทุกท่านที่ประสบกับเหตุการณ์เช่นนี้อยู่นะครับ ขอให้มีกำลังใจสู้ต่อไปนะครับ อย่าได้ท้อถอย กำลังใจที่ดีที่สุดต้องมาจากภายในตัวของเราเองครับ สู้ๆครับ

เรียน คมศักดิ์ วงษ์เจริญผล ค่ะ

ขอบคุณมากๆนะคะที่นำประสบการณ์ตรงที่ได้รับมาแบ่งปัน และเป็นกำลังใจเพื่อนๆ 

เห็นด้วยอย่างมากกับประโยคนี้ค่ะ "กำลังใจที่ดีที่สุดต้องมาจากภายในตัวของเราเองครับ"

ขอกุศลผลบุญนี้ดลบันดาลให้ท่านมีสุขภาพที่สมบูรณ์นะคะ

ขอรายละอาดเพื่อเป็นวิทยาทานด้วนนะค่ะ พี่ชายน้อง เพิ่งตรวจเจอว่าเป็นไตระยะ4,ตอนนี้ต้องฟอกเลือดอาทิตย์ละ2ครั้งค่ะ น้องอยากทราบว่าถ้าพี่ชายจะมาขอลงชือเพื่อขอรับไตจากการบริจากที่ขอนแก่นได้ปะค่ะ แล้วต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ ขั้นตอนการขอรับค่ะ ตอนนี้ทุกคนในบ้านเศ้รามาก ค่ะ

ลองติดต่อเบอร์นี้นะคะ

หมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ทุกเรื่อง ศูนย์บริการโรคไต
เบอร์โทร : 043-366906, 043-366915 ในเวลาราชการ
การให้คำปรึกษาทางอิเลคทรอนิกส์สามารถปรึกษาได้ที่ 
e-mail-address: [email protected] รับผิดชอบโดยคุณ อุบลรัตน์ ต้อยมาเมือง

รายละเอียดมากกว่านี้อ่านข้อคิดเห็นด้านบนนะคะ

คมศักดิ์ วงษ์เจริญผล

หน้าจะทำหน้า แฟนเฟจใน เฟสบุคนะครับ เชื่อมีหลายคนที่ต้องข้อมูลด้านนี้ครับ ขอบคุณครับ

 

ดิฉันได้แบ่งไตข้างหนึ่งให้คุณน้ามาประมาณสามเดือนแล้ว ทุกวันนี้ไม่มีความกังวลแต่อย่างไร อยากแบ่งปันความรู้สึกดีๆให้กับคนที่คิดบริจาคไตให้ญาติว่า มันไม่น่ากลัวอย่างที่คิด หมั่นออกกำลังกายกินอาหารให้ถูกสุขลักษนะ กินให้พอดี ก็ใช้ชีวิตตามปรกติได้ ทีมีความสุขใจกว่านั้นคือเห็นญาติของเรามีชีวิตที่ดีขึ้น ดีใจค่ะที่กล้าตัดสินใจตอนนั้น

เรียน คุณคมศักดิ์ วงษ์เจริญผล

ขอบพระคุณที่ให้ข้อแนะนำที่ดีมากๆ ค่ะ คาดไม่ถึงว่าบันทึกนี้ ที่เขียนเมื่อ 6 ปีก่อน จะเกิดประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปได้

คงตัดสินใจทำเร็วๆ นี้  เพื่อเป็นเวทีให้กลุ่มผู้คนที่เกี่ยวข้องได้พบปะ พูดคุยกัน

ขอบคุณมากค่ะ

ขอประชาสัมพันธ์ website ศูนย์บริการโรคไต โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ค่ะ

http://www.srinagarind.md.kku.ac.th/sri/service_2.php

ขอประชาสัมพันธ์งานของหน่วยนี้ ไว้ที่นี่เพื่อสะดวกสำหรับท่านที่สนใจค่ะ เผื่อ website คณะแพทย์ มข.มีปัญหา กรณีฉุกเฉินท่านจะได้อ่านได้เลย (ที่มา :http://www.srinagarind.md.kku.ac.th/sri/service_2.php)

...

 ศูนย์บริการโรคไต โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดให้บริการผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต โดยให้บริการทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก เช่น การตรวจวินิจฉัยภาวะผิดปกติทางไต ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนและงานวิจัยที่เกี่ยวกับไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาล (in-hospital peritoneal dialysis) การบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่อง (CRRT) และการฟอกเลือดแยกพลาสมา (Apheresis) เป็นต้น

(ที่มา :http://www.srinagarind.md.kku.ac.th/sri/service_2.php)

ทางศูนย์บริการโรคไต ได้ให้บริการแบบครบวงจร โดยจัดเป็นคลินิกต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  • คลินิกชะลอไตเสื่อม (CKD clinic)
  • คลินิกล้างไตทางช่องท้องหรือคลินิกซีเอพีดี (CAPD clinic)
  • คลินิกโรคไตทั่วไป (General Kidney clinic) และ
  • คลินิกผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนไต (Post-KT clinic)

(ที่มา :http://www.srinagarind.md.kku.ac.th/sri/service_2.php)

คลินิกชะลอไตเสื่อม  (CKD clinic)เพื่อให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยไตเสื่อมเพื่อป้องกันและชะลอการเสื่อมของไต กลุ่มผู้ป่วย ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรังและผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, เก๊าท์ เป็นต้น
สถานที่ให้บริการ ศูนย์บริการโรคไต ชั้น 3 อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ทุกวันอังคาร เวลา 9.00 – 12.00 น.

ติดต่อสอบถาม โทร. 043-366915-6 ในเวลาราชการ

(ที่มา :http://www.srinagarind.md.kku.ac.th/sri/service_2.php)

คลินิกล้างไตทางช่องท้องหรือคลินิกซีเอพีดี (CAPD clinic) เพื่อให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องและเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมคุณภาพชีวิต กลุ่มผู้ป่วย ได้แก่ เป็นผู้ป่วยไตวายเรื้องรังระยะสุดท้ายที่ต้องการบำบัดทำแทนไตที่ผ่านการประเมินจากคลินิกคลินิกโรคไต และผ่านการรับคำปรึกษาเพื่อเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตจากพยาบาลหน่วยไตและไตเทียม
สถานที่ให้บริการ ศูนย์บริการโรคไต ชั้น 3 อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 12.00 น. (ยกเว้นวันอังคาร)

ติดต่อสอบถาม โทร. 043-366915-6 ในเวลาราชการ หรือ 089-7111229 เวลา 8.00 – 20.00 ทุกวัน

หมายเหตุ *** นอกช่วงเวลาดังกล่าวให้ติดต่อในวันต่อไป***

        *** หากมีกรณีฉุกเฉินให้พบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือมาทำการตรวจที่ห้อง ตรวจฉุกเฉิน ตึกผู้ป่วยฉุกเฉิน รพ.ศรีนครินทร์ได้ตลอด 24 ช.ม.

 

(ที่มา :http://www.srinagarind.md.kku.ac.th/sri/service_2.php)

คลินิกโรคไตทั่วไป (General Kidney clinic)เพื่อให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไต และเตรียมความพร้อมและให้ข้อมูลผู้ป่วยที่ต้องการผ่าตัดเปลี่ยนไตที่มีญาติบริจาคไตให้ หรือรอรับไตจากผู้ป่วยสมองตาย กลุ่มผู้ป่วย ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตทุกชนิดที่ส่งปรึกษาจากแผนกต่างๆ  และผ่านการประเมินจากอายุรแพทย์โรคไต
สถานที่ให้บริการ ห้องตรวจอายุรศาสตร์ เบอร์ 8 

ทุกวันพุธ เวลา 13.00 – 16.00 น. 

ติดต่อสอบถาม หรือมีกรณีเลื่อนนัด โทร. 043-363022-5 ในเวลาราชการ

(ที่มา :http://www.srinagarind.md.kku.ac.th/sri/service_2.php)

คลินิกผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนไต (Post-KT clinic) เพื่อให้บริการให้บริการผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่ได้รับการปลูกถ่ายไตที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ กลุ่มผู้ป่วย ได้แก่ ได้รับการปลูกถ่ายไตที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์
สถานที่ให้บริการ ศูนย์บริการโรคไต ชั้น 3 อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ติดต่อสอบถาม   ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนไต

 1.กรณีเจ็บป่วยที่รีบด่วน เช่น ไข้สูง หนาวสั่น เหนื่อย หอบ แน่นหน้าอกให้ส่งแพทย์ที่ตึกอุบัติเหตุฉุกเฉินด่วน

 2.กรณีมีอาการผิดปกติที่ไม่รีบด่วน และไม่รุนแรงให้มาก่อนนัดในวันที่มีคลินิก

 วันอังคาร และวันพฤหัส( เวลา 16.00-19.30 น.) วันพุธ(เวลา 13.00 น.-19.00 น.)

 โทร.ปรึกษาได้ที่เบอร์ 083-0066486 เวลา 08.30-20.00 น.

 โทร.แจ้งเลื่อนนัดได้ที่เบอร์โทร. 043-366906, 043-366915

 3.การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์เกี่ยวกับการเจ็บป่วย

โทร. 083-0066486 เวลา 08.30-20.00 น.

4.การให้คำปรึกษาทางอิเลคทรอนิกส์สามารถปรึกษาได้ที่

e-mail-address: [email protected]

(ที่มา :http://www.srinagarind.md.kku.ac.th/sri/service_2.php)

คลินิกผู้ป่วยรอไต (Waiting list clinic)เพื่อให้บริการดูแลผู้ป่วยและเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ ของผู้ป่วยรอเปลี่ยนไต กลุ่มผู้ป่วย ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตวิธีใดวิธีหนึ่ง ที่ขึ้นทะเบียนรอเปลี่ยนไต
สถานที่ให้บริการ คลินิกนอกเวลาราชการ

ทุกวันเสาร์ เวลา 08.00 – 12.00 น.

ติดต่อสอบถาม โทร. 043-366906, 043-366915 ในเวลาราชการ

(ที่มา :http://www.srinagarind.md.kku.ac.th/sri/service_2.php)

คลินิกฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เพื่อให้บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มผู้ป่วย ได้แก่ ผู้ป่วยที่รอปลูกถ่ายไต และรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
สถานที่ให้บริการ ศูนย์บริการโรคไต ชั้น3 อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อนุสรณ์

วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

และให้บริการนอกเวลาราชการในวันอังคาร เวลา 16.20น.

วันเสาร์ เวลา 8.00 – 12.00 น.

ติดต่อสอบถาม โทรศัพท์. 043 – 366915-6

(ที่มา :http://www.srinagarind.md.kku.ac.th/sri/service_2.php)

คลินิกฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม มูลนิธิจิตตานุเคราะห์ 4จ. ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิจิตตานุเคราะห์ เพื่อให้บริการดังนี้
(1) เป็นบริการเสริมของ รพ.เพื่อผู้ป่วยที่ด้อยโอกาส

(2) ให้บริการผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายด้วยเครื่องไตเทียมโดยทีมแพทย์ และพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต

(3) เป็นผู้ป่วยบัตรประกันสุขภาพ หรือประกันสังคมที่สิทธิ์ไม่ครอบคลุมกรณีฟอกเลือด

(4) เป็นหน่วยงานตั้งขึ้นใหม่ อยู่ภายในรพ.ศรีนครินทร์ แต่แยกบริหารจัดการ

(5) เป็นมูลนิธิเอกชน ทำเพื่อการกุศล ไม่หวังผลกำไร

กลุ่มผู้ป่วย ได้แก่ - ใช้สิทธิ์บัตรประกันสุขภาพ หรือประกันสังคม แต่ยังไม่ได้สิทธิ์ชดเชยกรณีฟอกเลือด

             - เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 15 – 55 ปี มีโอกาสเปลี่ยนไต ช่วยเหลือตนเองได้

             - มีผลการตรวจไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และไวรัสเอชไอวี เป็นลบ

             - สามารถร่วมจ่าย 500 บาท ต่อหนึ่งการรักษา หรือในจำนวนที่คณะทำงานดูแลโครงการกำหนด หรือตามสิทธิที่ได้รับจากภาครัฐ

สถานที่ให้บริการ หอผู้ป่วย 4จ

วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 07.00 – 22.00 น.

ติดต่อสอบถาม ที่คุณหลอม นาสุริวงษ์ ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น.

โทร.043 – 363526 

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าชมได้ที่ http://home.kku.ac.th/kidneykk/service2.php 

@ คุณคมศักดิ์ วงษ์เจริญผล ค่ะ

ดิฉันกำลังจัดทำ แฟนเพจ ไตที่บริจาค ตามคำแนะนำของคุณ

ขอบคุณมากๆนะคะ ที่สร้างคุณค่าของบันทึกนี้

เรียน คุณวิภา ค่ะ

ดิฉันชื่นชมในคุณงามความดีของคุณมากๆค่ะ อยากขออนุญาตนำสิ่งดีๆ นี้ออกเผยแพร่ใน แฟนเพจ เพื่อผู้ป่วยโรคไต นะคะ

วิภา
5 วันที่แล้ว
 

ดิฉันได้แบ่งไตข้างหนึ่งให้คุณน้ามาประมาณสามเดือนแล้ว ทุกวันนี้ไม่มีความกังวลแต่อย่างไร อยากแบ่งปันความรู้สึกดีๆให้กับคนที่คิดบริจาคไตให้ญาติว่า มันไม่น่ากลัวอย่างที่คิด หมั่นออกกำลังกายกินอาหารให้ถูกสุขลักษนะ กินให้พอดี ก็ใช้ชีวิตตามปรกติได้ ทีมีความสุขใจกว่านั้นคือเห็นญาติของเรามีชีวิตที่ดีขึ้น ดีใจค่ะที่กล้าตัดสินใจตอนนั้น

สวัสดีค่ะ เปิ้ลขอรบกวนสอบถามนะค่ะ แฟนเปิ้ลอายุ42ปี เลือดกรุ๊ปโอ ปัจจุบันฟอกไตอาทิตย์ละ3ครั้งค่ะ เปิ้ลอายุ32ปี เปิ้ลคบกับพี่เค้ามา8ปี แต่เพิ่งมาแต่งงานกันเมื่อ 8 กันยายน 2555 (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส) เปิ้ลกรุ๊ปเลือดบี ต้องการบริจาคไตให้พี่เค้า เปิ้ลต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ ช่วยแนะนำนู๋ด้วยค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

เรียน คุณเปิ้ลค่ะ

พี่ได้ยินเรื่องเล่าสั้นๆของคุณแล้ว "ขนลุกซู่" ด้วยความรู้สึกประทับใจยิ่ง...

คอยนิดนะคะ... พรุ่งนี้พี่จะนำเรื่องของคุณไปสอบถามในรายละเอียด แล้วพี่จะรีบนำมาบอกเล่าทันทีที่เรียบร้อยค่ะ

แล้วคุยกันอีกทีค่ะ

เรียน คุณเปิ้ล ค่ะ ไม่ทราบว่าคุณอยู่ไกลมั้ยนะคะ

มีคำตอบเบื้องต้นค่ะ

ให้แพทย์ส่งตัวและขอผลการตรวจเลือดที่เกี่ยวข้อง มาตรวจในวันพุธเช้าที่รพ.ศีรนครินทร์ ห้องตรวจเบอร์ 8 อายุรกรรม เพื่อดำเนินการเจาะเลือดต่อไป หากมีผู้ที่จะให้ไตให้พามาตรวจด้วย   ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายจะมีทีมพยาบาลเข้ามาตอบนะคะ  หรือยังไงก็มาสอบถามเพิ่มเติมได้ที่โรงบาลเลยค่ะ

และ...

มี กระดานถาม-ตอบ ของศูนย์โรคไต รพ.ศรีนครินทร์ มข. ขอนแก่น ที่นี่ค่ะ

หากทราบรายละเอียดเพิ่ม จะมานำเรียนให้ทราบเพิ่มเติมค่ะ

ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ

เรียน คุณเปิ้ลค่ะ

มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายสำหรับผู้จะบริจาคไตให้กันค่ะ เช่นจากคำบอกเล่าทราบเบื้องต้นว่า 1) ต้องจดทะเบียนสมรสกัน.....  2) ถ้าไม่จดทะเบียน ต้องมีลูกด้วยกัน...... แต่อย่างไรเสีย อยากให้ศึกษารายละเอียดจาก ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ค่ะ น่าจะทราบอะไรมากขึ้น

และในส่วนของ รพ.ศรีนครินทร์

1) รพ.ศรีนครินทร์ยังไม่รับบริจาคไต ของผู้รับและผู้ให้ที่ต่างกรุ๊ฟกันค่ะ 

2) จะมีที่กรุงเทพฯ  ปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือด ได้ที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ ค่ะ 

แต่หากใกล้ รพ.ศรีนครินทร์ สามารถมาตรวจสุขภาพกันก่อนได้ค่ะ คลีนิควันพุธ ที่ให้รายละเอียดไว้ข้างบน แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปดำเนินการต่อ... ยังไงเสีย อยากให้โทรศัพท์มาที่หน่วยไตก่อนก็ดีค่ะ จะได้ทราบข้อมูลที่ถูกต้อง และวางแผนได้ถูก

 

ขอให้กำลังใจคุณและคนที่คุณรัก ให้สามารถผ่านวิกฤตชีวิตช่วงนี้ไปได้ด้วยดี เข้มแข็งไว้นะคะ

ขอให้โชคดีค่ะ

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ชั้น 5 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2256-4045-6
โทรสาร 0-2255-7968
E-mail : [email protected]

http://www.organdonate.in.th/?page_id=60

ขออนุญาต นำมาประชาสัมพันธ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ค่ะ

 

แผนที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทยmap

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

การเดินทาง

สายรถเมล์ที่ผ่าน ถ.พระรามที่ 4: สาย 4, 25 (ปากน้ำ-สามแยก), 46, 47, 50, 67, 109, ปอ.507, ปอ.177
สายรถเมล์ที่ผ่าน ถ.อังรีดูนังต์ : สาย 16, 21, 162, ปอ.141, ปอ.21

 

รถไฟฟ้าสถานีศาลาแดง??รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสามย่าน

...

ศูนย์บริการโรคไต รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

(ในเวลาราชการ)

043-366905

043-366906

เป็นคนหนึ่งที่ป่วยเป็นไตวายเฉียบพลันพึ่งตรวจพบสัปดาห์ที่ผ่านมานี่เอง อาการหนักมากน้ำท่วมปวดและหอบเข้ารับการรักษาที่ รพ กรุงเทพเกาะสมุย รู้สึกเศร้ามากท้องฟ้ากลายเป็นสีเทาแต่ตอนนี้ทำใจได้แล้วอ่านหนังสือธรรมะก็ช่วยได้ถึงเราจะป่วยแต่ก็ยังไม่ตายซักหน่อย ก็ยังใช้ชีวิตได้ปรกติครอบครัวก็มีส่วนสำคัญที่ให้กำลังใจสามีเป็นต่างชาติสัญชาติออสเตรเลียและเพื่อนเขาฝรั่งชาวอังกฤษเขาทั้งคู่ยินดีจะแบ่งไตให้เราเขาบอกว่าเราเป็นคนดีถ้ามีชีวิตที่ยืนยาวเราคงทำประโยชน์ให้กับสังคมอีกมาก เรารู้ว่ามันยากทั้งกรุ๊ปเลือด ไหนจะฝรั่งกับเอเชียให้ไตกันได้เหรอ แต่นั่นมันไม่สำคัญหรอกเพราะเจตนาที่เขาทั้งคู่อยากจะทำให้เราทำให้รู้สึกตื้นตันใจที่สุดแล้ว เราเป็นคนขอนแก่นค่ะเดือนหน้าจะกลับไปอยู่บ้านขอนแก่นไปลงทะเบียนเป็นคนไข้ที่ รพ ศรีนครินทร์  สำหรับคนที่ป่วยเหมือนเราอย่าท้อนะคะ

สวัสดีค่ะ ขอเรียนถามนะค่ะ   คือมีแม่อายุ 45 ปี ป่วยเป็นไตระยะที่ 4 แต่เมื่อเดือนที่แล้วหมอบอกว่า ใกล้จะได้ล้างไตแล้ว  ก็เลยอยากถามว่า หากไม่ล้างไต แต่ขอเปลี่ยนไตเลยได้ไหมค่ะ ดิฉันจะบริจาคให้แม่เอง  อยากตรวจว่าเข้ากันได้ไหมหากได้ก็อยากมอบไตให้แม่เลยค่ะ รบกวนด้วยนะค่ะ

เรียน คุณปราณีค่ะ

ขอขอบคุณแทนเพื่อนๆนะคะ ที่กรุณานำประสบการณ์ตรงมาร่วมแชร์ เมื่อใดที่เรารู้สึกเป็นทุกข์ เราจะพบความสุขจากกัลยาณมิตรได้เสมอๆ ค่ะ ยินดีด้วยนะคะที่พบเส้นทางแห่งความสุขจากการปรับมุมมองวิธีคิด... "พลิกมุมคิด ชีวิตเปลี่ยน" จริงๆค่ะ ... "คิดบวก จะได้พลังบวก" 

ขอให้กำลังใจ และขอให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ นะคะ

โชคดีค่ะ

เรียน คุณไพลิน ค่ะ

ดิฉันเป็นเพียงผู้เชื่อมต่อให้ท่านเข้าถึงผู้ช่วยแก้ปัญหาโรคนี้ได้ง่ายขึ้นน่ะค่ะ ต้องขอประทานโทษที่ไม่สามารถตอบปัญหาโดยตรงได้ทันที เพราะเกรงว่าจะไม่ทราบข้อมูลที่ทันสมัยและให้ข้อมูลผิดน่ะค่ะ

กรุณาติดต่อที่เบอร์นี้นะคะ

ศูนย์บริการโรคไต รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

(ในเวลาราชการ)

043-366905

043-366906

...

ขอให้สามารถพ้นช่วงวิกฤตของชีวิตไปได้ด้วยดีนะคะ

... โชคดีค่ะ

คุณแม่เป็นโรคไตวายระยะสุดท้าย ทราบจากคุณหมอโรงพยาบาลเลย วันที่ 12 มกราคม 2558 กลัวแม่จะอยู่ด้วยไม่ได้นาน..ดิฉันอยากเอาไตข้างนึงเปลี่ยนให้คุณแม่ แต่ใจยังรู้สึกกลัว...ๆ กลัวทั้งเจ็บ..กลัวทั้งถ้าเปลี่ยนแล้วแม่จะอายุยืนขึ้นอีกนานไหม แต่ก็ห่วงแม่มากๆไม่รู้จะตัดสินใจยังไงดีคะ


สวัสดีค่ะ ชื่อเนยค่ะ อายุ 21 ปี

เป็นไตวายระยะสุดท้าย ฟอกเลือดได้ 5 เดือน

ระหว่างฟอก มีภาวะความดันสูงถึงสองร้อยกว่าเลยเปลี่ยนมาล้างไตทางช่องท้อง ทรมานมากค่ะ บางครั้งก็จิตตก บางทีนอน ๆอยู่ ก็ขาดอากาศหายใจ กลัวตายมากเลยค่ะ แม่จะให้ไต ก็ให้ไม่ได้ แม่เป็นไวรัสตับอักเสบ ลูกก็ยังเล็ก กลัวตายก่อนลูกจะจำหน้าได้ อยากมี กลุ่มแชทกับผู้ป่วยโรคไต อยากมาแชร์ประสบการณ์ จะได้ไม่รู้สึกเคว้งคว้าง

สวัสดีค่ะ ขออนุญาตปรึกษาเพื่อคลายความกังวลค่ะ ตอนนี้หนูมีลูกสาวอายุเพียง 2 ขวบมาทราบว่ามีไตข้างเดียวเนื่องจากไตฝ่อเมื่อตอน 8 เดือน รวมทั้งมีท่อปัสสาวะ 2 ท่อข้างเดียวกับที่ไตฝ่อ และได้รับการติดตามอาการมาเรื่อยๆจนถึงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ว่าค่าไตของข้างที่มีเหลือทำงานลดลงจาก 103% เป็น 66% ภายในระยะเวลา 1 เดือน แล้วหมอแจ้งว่ามีแนวโน้มที่ต้องเจาะหน้าท้อง ตอนนี้กังวลมากเลยค่ะ เพราะน้องยังเล็กอยู่ และเราก็ดูแลเป็นอย่างดีเลยเรื่องอาหารการกินและการใช้ชีวิต จนตอนนี้ได้ตัดสินใจย้ายมารักษาที่ศรีนครินทร์ แต่ยังรอพบหมอเฉพาะทางอยู่ แต่ผลเลือดที่ตรวจล่าสุดค่าไตเพิ่มขึ้น จึงไม่ทราบว่าผลการตรวจทั้งสองที่มีความคลาดเคลื่อนกันหรือเปล่า แต่ในฐานะแม่ สงสารลูกมากค่ะที่ต้องมามีข้อจำกัดในชีวิตตั้งแต่เกิด ตอนนี้รอความหวังที่จะเจอคุณหมอเพื่อคุยแนวทางการรักษา และตอนนี้ก็พยายามดูแลตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อที่จะสามารถบริจาคไตให้กับลูกสาวได้ จึงอยากขอข้อมูลการดูแลลูกสาวหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อใช้เป็นแนวทางเพื่อคลายความกังวลให้ด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ ขออนุญาตปรึกษาเพื่อคลายความกังวลค่ะ ตอนนี้หนูมีลูกสาวอายุเพียง 2 ขวบมาทราบว่ามีไตข้างเดียวเนื่องจากไตฝ่อเมื่อตอน 8 เดือน รวมทั้งมีท่อปัสสาวะ 2 ท่อข้างเดียวกับที่ไตฝ่อ และได้รับการติดตามอาการมาเรื่อยๆจนถึงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ว่าค่าไตของข้างที่มีเหลือทำงานลดลงจาก 103% เป็น 66% ภายในระยะเวลา 1 เดือน แล้วหมอแจ้งว่ามีแนวโน้มที่ต้องเจาะหน้าท้อง ตอนนี้กังวลมากเลยค่ะ เพราะน้องยังเล็กอยู่ และเราก็ดูแลเป็นอย่างดีเลยเรื่องอาหารการกินและการใช้ชีวิต จนตอนนี้ได้ตัดสินใจย้ายมารักษาที่ศรีนครินทร์ แต่ยังรอพบหมอเฉพาะทางอยู่ แต่ผลเลือดที่ตรวจล่าสุดค่าไตเพิ่มขึ้น จึงไม่ทราบว่าผลการตรวจทั้งสองที่มีความคลาดเคลื่อนกันหรือเปล่า แต่ในฐานะแม่ สงสารลูกมากค่ะที่ต้องมามีข้อจำกัดในชีวิตตั้งแต่เกิด ตอนนี้รอความหวังที่จะเจอคุณหมอเพื่อคุยแนวทางการรักษา และตอนนี้ก็พยายามดูแลตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อที่จะสามารถบริจาคไตให้กับลูกสาวได้ จึงอยากขอข้อมูลการดูแลลูกสาวหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อใช้เป็นแนวทางเพื่อคลายความกังวลให้ด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท