วิเคราะห์อยู่ดีมีสุข(เมืองคอน) ปี 50 ตอนที่ 3 แลหน้า


“เวทีเหลียวหลังแลหน้า การพัฒนาเมืองนครเชิงบูรณาการ”

แลหน้า

 

เมื่อจุดบอดของอยู่ดีมีสุข50 คือเรื่องของของกลไก ที่ว่า เราจะต้องทำอย่างไร ให้ทุกฝ่ายเข้าใจได้ตรงกันและเป็นไปแนวทางเดียวกันหมด

 

ข้อเสนอก็คือ

 

-          ให้จัดแบ่งพื้นที่ ซึ่งในที่ประชุมก็มีคณะทำงานที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ นั้นบ้างแล้ว อย่าให้ซ้อนทับกันและข้ามเขตกัน

 

-          ชี้ทางให้ชัดเจนถึงจุดประสงค์ของโครงการอยู่ดีมีสุข อย่าพุ่งประเด็นไปที่การให้ได้มาของงบประมาณเพียงอย่างเดียว

 

-          วิธีการ สร้างกลไกที่ว่า คือ การใช้สื่อ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุชุมชน / เผยแพร่ผ่านทางทีวีท้องถิ่นทางช่อง 11/ การสร้างเวทีชุมชน/เวปไซต์ของหน่วยงานต่างๆหรือกลุ่มงานต่างๆ ทำอย่างไรก็ได้ที่จะสร้างความเข้าใจในเรื่องยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะมากำหนดอนาคตของชุมชนเอง ทำให้เกิดการตื่นตัวและพูดถึงกันในวงกว้าง สร้างเป็นกระแสที่ใครๆก็รู้จักให้ได้

 

-          ปรับปรุงรูปแบบของการเชื่อมต่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้ระดับอำเภอเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการคิดและความเข้าใจให้มากกว่าเดิม(เพราะการรับทราบจากคำสั่งเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ และอยากที่ทุกคนจะอ่านแล้วเข้าใจได้ตรงกันทั้งหมด) เพื่อที่จะประสานไปยังกำนันและผู้ใหญ่บ้าน อย่างครบถ้วนและถูกต้อง (ยังไงก็ยังเชื่อว่า หน่วยของกำนันและผู้ใหญ่จะสามารถสร้างความเข้าใจเข้าถึงประชาชนได้ดีอยู่)

 

-          สร้างคณะกรรมการกลั่นกรองในระดับอำเภอที่มีความรู้ความสามารถในแต่ละด้านอย่างแท้จริงมาร่วมพิจารณาอาจมาจากผู้รู้ที่ทำจริง อยู่แล้วในชุมชนมาร่วมพิจารณาด้วย

 

-          สร้างความเชื่อมโยงของโครงการที่แตกหน่อมาจาก ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ได้แก่ โครงการความร่วมมือฯ โครงการโรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอน หรือโรงเรียนคุณเอื้ออำนวยกิจ (หรือในชื่ออย่างเป็นทางการคือ โครงการโรงเรียนเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานในหน้าที่คุณอำนวยตำบล) โดยจะนัดหารือกันเพื่อที่สร้างความเชื่อมโยงกันของงานที่ทำอยู่ โดยไม่ซ้อนทับกัน

 

-          จากการประเด็นปัญหาที่ถูกพูดถึงกันมากที่สุดคือ กลไก ดังนั้นที่ประชุมคาดว่าจะใช้โครงการโรงเรียนคุณอำนวยที่มี พช.นศ. รับผิดชอบหลัก สร้างกลไกดังกล่าวโดยอาศัยวิถีทางของ คุณเอื้ออำเภอ ของคุณอำนวยตำบลที่จะเข้าไปทำความเข้าใจในเรื่องนี้กับคุณกิจ

  โดยในที่ประชุมเสนอว่าจะหารายชื่อบุคคลที่สมควรจะเข้าไปเรียนรู้อยู่ในโรงเรียนคุณอำนวยดังกล่าว ตามที่ฝ่ายต่างๆพิจารณาแล้วว่า มีความเหมาะสมทั้งในเรื่องของความมุ่งมั่นตั้งใจและการเขาถึงประชาชนในด้านต่างๆ เสนอต่อทีมงานโรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอน เพื่อที่จะได้ทำงานไม่ทับซ้อนกันและได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยจะนัดหารือกัน(อย่างไม่เป็นทางการ)ในวันที่ 29 ตุลาคม 2550
หมายเลขบันทึก: 136945เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2007 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 09:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • อ่าน 3 ตอน จบแล้ว อย่างตั้งใจมากๆเพราะดูความตั้งใจของคนเขียนบันทึกแล้วเห็นว่าตั้งใจเหลือเกิน
  • ขออภัยที่ไปร่วมด้วยไม่ได้เพราะมีปัญหาเรื่องการประสานงานนิดหน่อย
  • ประชุมกันไม่กี่คนก็จริงแต่รู้สึกว่าได้รายละเอียดได้เนื้อได้หนังเห็นถึงกระบวนงานที่พัฒนาการมาโดยลำดับ เป็นที่พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ในแต่ละเรื่องแต่ละประเด็น ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของการทำงาน
  • ท้าวความที่เป็นประวัติศาสตร์ KM เมืองนครฯเล็กน้อย เราเริ่มงาน KM มาแต่การทดลองนำร่องในพื้นที่ 3 ตำบล ของอำเภอเมืองนครศรีฯ เมื่อ ปี 2548 ในประเด็นการจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน ตอนนั้นมุ่งให้ทีมงานเข้าใจ KM จากการปฏิบัติจริงเป็นสำคัญ หลังจากนั้นขยายพื้นที่ปฏิบัติการเต็มทั้งจังหวัด ทำเป็นโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร (ชื่อเป็นทางการยาวมากจำไม่ได้) โดยทะยอยทำเป็นปีๆไป เริ่มปี 2549 จำนวน 400 หมู่บ้าน 2550 จำนวน 600 หมู่บ้าน และปี 2551 จำนวน 2551 หมู่บ้าน รวมทั้งหมด 1,551 หมู่บ้าน ทำร่วมกับหลายหน่วยงานแบบบูรณาการ หน่วยงานหลักแต่ละภาคีผลัดกันเป็นเจ้าภาพขับเคลื่องานเด่นสร้างรูปธรรมในแต่ละปี จนเมื่อปลายปี 2549 ได้เปลี่ยนชื่อโครงการใหม่ให้เหมาะสมมากขึ้น ชื่อว่าโครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์ ชุมชนอินทรีย์หมายถึงชุมชนเรียนรู้นั่นเอง เรียกโครงการนี้กันติดปากว่าโครงการชุมชนอินทรีย์ท่านผู้ว่าวิชม
  • เมื่องบจังหวัดซีอีโอหมดลง แต่โชคดีได้มีงบอยู่ดีมีสุข และ คพพ.เกิดขึ้นตามมา ตรงนี้เป็นโซ่ข้อกลางที่น่าจะเชื่อมต่อให้ชุมชนอินทรีย์ดีดตัวไปข้างหน้าได้ดี แต่กลับกลายคล้ายๆกับว่ามีการนับหนึ่งใหม่ นับหนึ่งจากกรอบวัตถุประสงค์ของโครงการอยู่ดีมีสุขอย่างที่คุณวัชรี สำนักงานจังหวัดท่านว่า  ทำไมที่ไม่ต่อเนื่องไปจากแก้จนเมืองคอน ชุมชนอินทรีย์เสียเลย ทำไม่ที่ต้องนับหนึ่งใหม่ที่โครงการอยู่ดีมีสุขด้วย  หรือเพราะเราใช้เงินงบประมาณโครงการใหม่อยู่ดีมีสุขเขาแล้วจะต่อยอดภารกิจจากของเก่าไม่ได้ ซึ่งหากมองว่าได้ตั้งต้นที่แก้จนเมืองนครหรือชุมชนอินทรีย์ ตรงนี้เปรียบเหมือนโอ่งใบใหญ่ที่เราได้สร้างร่วมกันไว้แล้ว ต่อให้อยู่ดีมีข คพพ. หรือจะมีอะไรต่อมิอะไรอีกต่อไป ก็จะลงสู่โอ่งใบใหญ่ใบนี้ จะไม่มีการนับหนึ่งใหม่ คิดงานใหม่ อีกต่อไป ไม่งั้นแล้วเหนื่อยกับการที่จะต้องนับหนึ่งใหม่
  • การทบทวนตนเองแบบเหลียวหลังมองหน้าอยู่เสมอแบบนี้ก็คือทางหนึ่งนะครับที่จะทำให้เราได้รู้ตัวตนเข้าใจตนเองแบบที่น้องเล็กพยายามจะสื่ออยู่นี่ ไม่งั้นแล้วเราจะลืมรากเหง้าประวัติศาสตร์ความเป็นมา
  • โมเดลชุมชนอินทรีย์ที่เรียกว่า "หยดน้ำเพชรโมเดล" อย่างที่ท่านผู้ใหญ่โกเมศวร์ท่านว่า เราต้องนำมาคลี่และถอดรหัสกันใหม่แล้วละ
  • ยาวไปแล้วนะ....ขอบคุณที่ถ่ายทอดเรื่องราว คนที่ไม่ได้เข้าประชุมก็ได้รู้เรื่องไปด้วย
  • ขอบคุณ ครูนงPมากค่ะที่ติดตามและยังเล่าที่มาที่ไปให้ด้วย เพราะเล็กเพิ่งมาทีหลัง ยอมรับค่ะว่า ปะติดปะต่อเรื่องราวยังได้ไม่ดีพอ ครูนงเล่ามาก็เข้าใจมากขึ้นเยอะเลยค่ะ
  • ขอบคุณพี่ณัทธรPด้วยค่ะ ที่คอยติดตามอยู่เป็นกำลังใจได้ดีทีเดียวค่ะ
นายสุรศักดิ์ สีนนลี

ผมอยากทราบวัตถุประสงค์ของโครงการอยู่ดีมีสุข กรุณาอธบายให้ชัดเจนหนอ่ยครับ ขอบคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท