ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ... AAR (23) กรมธนารักษ์ + กรมอนามัย (shot 3)


การทำ KM ของกอง ของศูนย์ฯ มีหลายวิธีย่อย เพราะฉะนั้น การแข่งขันอะไรที่ว่านี้ก็เกิดขึ้นภายในกองฯ ด้วย ไม่ใช่แค่ระหว่างกองฯ เท่านั้น

 

  1. สายงานประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ ... วันนี้มาได้หลายสิ่งไปใช้ประโยชน์ต่อครับ ผมไปอบรม KM เมื่อประมาณ 2-3 อาทิตย์ที่แล้ว วิทยากรได้พูดมาถึงความจริงของ KM ว่า หลายๆ หน่วยงานเห็นการทำ KM เป็นภาระ แต่ที่มาวันนี้ กรมอนามัยทำ KM ได้อย่างเนียนมาก เพราะว่าเกิดการแข่งขันอย่างชัดเจน เป็นการเอาสิ่งดีดีมาแข่งขันกัน อย่างเมื่อกี้ด้านหน้าบอกว่า เกษียณแล้วค่อยมาให้ความรู้ ข้างหลังก็บอกว่า ไม่ต้องเกษียณก็ได้ อันนี้มันเกิดการแข่งขันในสิ่งดีดี ผมอยากให้เกิดบรรยากาศอย่างนี้กับทุกกรม ทุกหน่วยงาน ไม่อยากให้รู้สึกว่า เป็นภาระ และก็ผลักภาระให้ทางกองทำกันเอง และทางกองก็ทำกันอยู่ 2-3 คน ก็เลยกลายเป็นภาระไป บรรยากาศนี้นับว่า เพราะว่าเกิดการแข่งขันความรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ สิ่งต่างๆ ออกมาจากภูมิปัญญา ความรู้ในส่วนของทักษะ มันเป็นประโยชน์อย่างมาก และต้องขอบคุณกรมอนามัยที่ให้สิ่งที่คาดไม่ถึง ว่าจะได้ขนาดนี้
  2. คุณยุพา กองอนามัยการเจริญพันธุ์ ... ตัวเองเป็น CKO ที่อาวุโสแล้วเพราะ 1) ไม่ได้เป็นหัวหน้าฝ่าย 2) ไม่ได้เป็นแพทย์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่สามารถทำ KM ได้ ... อยู่ที่จุด start เรา start ที่อาสาสมัคร เราได้ใจจากหลายๆ ฝ่าย ที่สมัครใจเข้ามาร่วมทีม KM ทำให้เริ่มได้ พอเริ่มได้ปั๊บ เขาก็มีใจ เราเป็นพี่คนโตของกอง ก็ทำงานอย่างพี่อย่างน้อง มีการร่วมทำร่วมวางแผน ก็ทำให้สามารถทำงานไปได้ และต้องยอมรับว่า ส่วนหนึ่งเป็นการทำงานเหมือนกับการกระจายอำนาจ แต่ละฝ่ายเขาจะมีความพร้อม มีศักยภาพ มีธรรมชาติ ไม่เหมือนกัน เราก็ปล่อยให้แต่ละฝ่ายเขา design ในขณะเดียวกัน action plan ที่อยู่ในกองประกอบด้วยกิจกรรมหลักๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่เราอยากให้เป็น และสิ่งที่เรานำเสนอจะมีเครื่องมือที่หลากหลายมาก แต่เรานำเสนอ AAR เพราะว่า AAR จะเป็นเครื่องมือ KM อันหนึ่งที่สามารถผนวกเข้ามาใช้ในกิจกรรมของโครงการได้ เพื่อนำไปสู่ประเด็นปฏิบัติในกิจกรรมอื่น เราก็ยินดีที่ได้ ลปรร. และถ้าจะถามว่า ทำงานเหนื่อยไหม ท้อไหม ก็สนุก และเหนื่อย ผสมกัน แต่ก็ได้กำลังใจจากน้องๆ เพราะว่าน้องมีความเข้มแข็งพอสมควร
  3. ทพญ.ปราณีต ศูนย์อนามัยที่ 6 ... เรื่องของบารมี ก็คิดว่า ไม่ได้เป็นหัวหน้า เป็นทันตแพทย์มาใหม่ มาอยู่แค่ 3 ปีที่กรมอนามัย ... ทำยังไงเขาจึงจะทำ ก็มาจากประสบการณ์การทำงาน บางครั้งการประชุมไม่ได้บอกแนวทาง คือ ประชุมแล้วก็เถียงกัน ก็เลยไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร เลยไม่มีใครทำ ความรู้จากการทำงานที่ผ่านมา ก็ได้นำมาพัฒนาศูนย์ 6 และได้ทำเองด้วย ก็คือ เราจะต้องมีแนวทางคร่าวๆ หลังจากที่ประชุมแล้วว่าเขาควรจะทำอะไร ให้เขาก็ทำจริง แล้วตามไปสอบถาม ปัญหาอุปสรรค ถามกลับเรื่องความเข้าใจ ความไม่มั่นใจ ก็ต้องมีการจัดประชุมพัฒนาในเรื่องของการเชื่อมความรู้ และความมั่นใจในการทำ และมีการแลกเปลี่ยนกัน ในเชิงหน่วยไหนทำได้ และหน่วยไหนทำไม่ได้ และช่วยเหลือกันต่อไป

Shot 3 : นพ.สมศักดิ์ ... ประเด็นนี้ผมเข้าใจว่า หลายหน่วยงานทำกัน คือ การทำ KM ของกอง ของศูนย์ฯ มีหลายวิธีย่อย เพราะฉะนั้น การแข่งขันอะไรที่ว่านี้ก็เกิดขึ้นภายในกองฯ ด้วย ไม่ใช่แค่ระหว่างกองฯ เท่านั้น ผมเข้าใจว่า ในกองที่มีภารกิจหลากหลาย เช่น สำนักฯ ทำในหลายๆ domain ถ้า อ.วิจารณ์ก็ต้องว่า มีหลายหัวปลาย่อยในหน่วยงาน ไม่จำเป็นต้องหัวปลาเดียว และก็สลับไปมาบ้าง และก็ทำพร้อมๆ กันได้ อันนี้มีการแข่งขันได้ดีกว่า เป็น group เดียว กระบวนการเดียว หัวข้อเรื่องก็เปลี่ยนไปเรื่อย ผมเห็นว่า หลายหน่วยก็สร้างงานไปอย่างนั้น

 

หมายเลขบันทึก: 42785เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2006 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท