สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้


          สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

          เมื่อสังคมไทยพูดถึง การเรียน โดยทั่วๆไปมักจะมี  จินตนาการหรือ ภาพฝัน ที่ค่อนข้างเป็นไปในการบังคับให้เรียนหรือเป็นหน้าที่ของบุคคลที่ต้องเรียนโดยครูหรืออาจารย์   เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้  ทั้งนี้เพราะเรานำ การเรียน  ผูกติดกับการศึกษาในระบบจึงเป็นหน้าที่  ของ โรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัย ในการจัด การเรียน หรือก่อให้เกิด การเรียน 

          ในขณะเดียวกันที่ผ่านมา วิธีการเรียน ที่สังคมไทยใช้อยู่ก็ไม่ค่อยเอื้อให้เกิดการคิด  แลกเปลี่ยน  สักเท่าไรหรือกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมการศึกษาเป็นไปในลักษณะ จำได้หมายรู้ และ นิ่งเสียตำลึงทอง   ซึ่งแม้แต่ครูผู้สอนเองก็ได้รับการ บ่ม และ เพาะ จากวัฒนธรรมเดียวกันกับผู้เรียน  ถึงแม้จะมีความพยายามในการเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือยึดผู้เรียนเป็นสำคัญก็ตามเพราะนั่นเป็นเพียงรูปแบบของ การเรียน  แต่ยังไม่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ที่ฝังรากลึกในวิถีชีวิต         

          อาจารย์หมอวิจารณ์  พานิช  ได้ออกแบบ การเรียนรู้ เพื่อให้เกิด การเรียนรู้ ในรายวิชา      ยุทธศาสตร์การจัดการทางวัฒนธรรม  โดย การสอนแบบไม่สอน  เป็นทั้งคุณเอื้อและคุณอำนวยให้เกิด   การเรียน โดย การเรียนรู้    

             เรียนรู้ที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ซึ่งการที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างอิ่มเอมและเปิดพรมแดน        การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ต้องเรียนรู้ที่จะศึกษาด้วยตนเอง,คิด,ใคร่ครวญ  ในประเด็นศึกษา        เพื่อเป็นต้นทุนในการแลกเปลี่ยน  ในขณะเดียวกันการแลกเปลี่ยนเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะตรวจสอบความคิด  ความเข้าใจต่อประเด็นที่ศึกษา 

           เรียนรู้ที่เคารพทุกความคิดเห็น  ไม่มีถูก  ไม่มีผิด  เป็นประโยคที่เราได้ยินบ่อยเมื่อมี               การแลกเปลี่ยนรับฟังกันและกัน โดย คุณเอื้อ แสดงบทบาทเอื้อกระบวนการรับฟังและสกัดประเด็นร่วม

          เรียนรู้ที่จะคิดนอกกรอบ  ถึงแม้ว่าจะศึกษาประเด็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  แต่ถึงที่สุดก็ติดกับดักของกรอบความรู้เดิมหรือยึดติดวิธีคิดใดวิธีคิดหนึ่งเป็นสรณะ  กล่าวได้ว่ายังยึดติดวัฒนธรรมการคิดแบบเดิมๆที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือหาทางออกไม่ได้ในปัจจุบัน  ถ้าไม่เปลี่ยนวิธีการมองหรือวิธีการอธิบายปัญหา

          เรียนรู้ที่จะคิดและอธิบายแบบองค์รวม  ปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมมีความซับซ้อน    เกินกว่าจะใช้วิธีคิดหรือทฤษฎีใดอธิบายได้อย่างชัดเจนและปรากฏการณ์ไม่มีลักษณะเป็นเส้นตรง  หากมองอย่างแยกส่วนทำให้ได้ภาพที่พร่าเลือน 

          ดังกล่าวเป็นประเด็นข้าพเจ้าได้จากการเรียนรู้จากการสอนแบบไม่สอนของ  อาจารย์หมอวิจารณ์  พานิช  จึงนำมาเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 

ขอบคุณครับ

ธำรงค์  บริเวธานันท์

คำสำคัญ (Tags): #km01
หมายเลขบันทึก: 38078เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2006 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท