ได้รับประโยชน์จาก Blog "เรื่องเล่าจาก Lab Chem"


          เมื่อคืนอยู่เวรดึก ER-Lab  ได้กระทำการอย่างหนึ่ง (เล็กๆ) ที่เรียนรู้มาจาก blog  "เรื่องเล่าจาก  Lab Chem"    เกี่ยวกับเรื่อง    การแก้ปัญหาความยุ่งยากในการหาผลแล็บจาก print out  ของเครื่อง Hitachi  เนื่องจากบางรายการ เช่น รายที่ sample เป็น  urine  ระบบ interphase ไม่สามารถส่งผลจากเครื่องตรวจไปสู่คอมพิวเตอร์ออกผลโดยตรงได้   ต้องอาศัยดูผลจาก print out   ซึ่งกว่าจะหาเจอต้องใช้เวลานาน   ชาวเคมีได้แก้ปัญหาโดย    เวลา key ID sample  จะเพิ่มจำนวนตัว u  เข้าไป  เช่น  1122-04uuuuuu     ผลคือจะเห็นผล lab no. นี้เด่นเป็นสง่าอยู่บนกระดาษ print out    ตอนแรกที่อ่านบันทึกนั้น  ก็รู้สึกเฉยๆ  เพราะลักษณะงานของตัวเองที่ห้องแล็บ sero แตกต่างจากงาน chem มาก       ลืมไปว่าอันตัวเรานั้นทำงานลักษณะนี้ด้วย  ที่  ER-Lab   เพิ่งนึกได้เมื่อคืน  ตอนที่เปิดดูบันทึกเก่าๆ  ก่อนไปรับเวร

        ที่ ER-Lab   มีรายการที่ interphase ส่งผลไม่ได้เหมือนกันคือ Microbilirubin    ช่วงเช้าของเวรดึก   sample จะมาพร้อมกันเยอะมาก     ผลก็คือ  print out  ออกมาทีเดียวพร้อมกันหลายแผ่น  การหาผล bilirubin แค่รายสองราย   ซึ่งไม่รู้ว่าไปแทรกอยู่ตรงไหน   อาจหาได้ไม่ง่ายนัก  โดยเฉพาะเวลาที่ทำงานรีบๆ แล้ว  ตามันลาย    เมื่อเช้าก็เลยได้ฤกษ์ลองทำวิธีใหม่   (จริงๆ  คนอื่นๆ  อาจจะใช้วิธีนี้มานานแล้ว    แต่สำหรับตัวเองขอบอกว่าเพิ่ง get idea ค่ะ)    โดยเพิ่ม *  หลัง ID sample  เช่น  1122-04******   ผลก็คือ    ผลแล็บรายนั้น "เด่น"  สะดุดตามากๆ    ไม่ต้องควานหาอีกแล้ว

       ขอบคุณ  blog  และ  blogger  ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 23615เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2006 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 00:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีใจที่มีคนได้ใช้ประโยชน์จริงค่ะ

ต้องขอขอบคุณเจ้าของ idea เด็ดๆนี้คือ"คุณปรือ" - ถวิล ประสงค์ทรัพย์ ค่ะ

เป็นประโยชน์ของ blog ข้อหนึ่งที่มีการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ หรือต่อยอด อยากให้มีแบบนี้เยอะๆ คุณกิจทั้งหลายช่วยกันเผยแพร่เคล็ดลับกันนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท