นักกฎหมายมหาชนคิดอย่างไรกับสิทธิในหลักประกันสุขภาพ : ตอนที่ ๑ ผศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ


ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นของคนทุกคนเป็นสิ่งที่มีติดตัวมาแต่เกิด ใครจะมาพรากไปจากเราไม่ได้ และไม่ขึ้นอยู่กับพรมแดนของรัฐ ดังนั้นพรมแดนของรัฐจึงไม่ใช่ตัวจำกัดสิทธิเหล่านี้ ซึ่งต่างจากสิทธิทางการเมืองที่รัฐเป็นผู้ให้จึงมีความชอบธรรมที่จะกำหนดว่าจะให้ใคร แค่ไหน เพียงใด

   <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ตอนที่ ๑  ผศ.ดร. บรรเจิด สิงคะเนติ[1]   </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">                           </p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เมื่อวานนี้ ( ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑  ) ตอน ๕ โมงเย็นคณะผู้วิจัยในโครงการ…..(พี่ด๋าว พี่ชล และข้าพเจ้า) มีนัดสัมภาษณ์ท่านอาจารย์บรรเจิด สิงคะเนติ ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ </p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เราเริ่มบทสนทนาด้วยการแนะนำตัวสั้นๆ แล้วเกริ่นถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมถึงประเด็นที่จุดประกายให้พวกเราต้องมาสัมภาษณ์อาจารย์ในวันนี้ ซึ่งหนีไม่พ้นประเด็นที่ว่า สิทธิในหลักประกันสุขภาพเป็นสิทธิของ คนทุกคน หรือ คนสัญชาติไทย ? และปัญหาการตีความว่า บุคคลทุกคน ตามมาตรา ๕ แห่งพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ นั้น หมายเฉพาะคนสัญชาติไทยเท่านั้น ชอบด้วยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ หรือไม่ ?</p><p>                                        </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แท้จริงแล้วรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ มีเจตนารมณ์ให้สิทธิในหลักประกันสุขภาพเป็นสิทธิของ คนทุกคน หรือ คนสัญชาติไทย ?</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify; tab-stops: 234.5pt" class="MsoNormal">ในประเด็นนี้ อ. บรรเจิด อธิบายว่าปัญหาของรัฐธรรมนูญไทยมี ๒ มิติ </p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify; tab-stops: 234.5pt" class="MsoNormal">มิติแรก ปัญหาของรัฐธรรมนูญไทย แต่เดิมในทางตำราของไทยตีความรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพว่าบุคคลที่อยู่ในหมวด๓ นั้นหมายถึงคนไทยเท่านั้น (แนวคิดที่เคยเป็นมาโดยตลอด) แต่อาจารย์เห็นว่าแนวคิดนี้ควรถูกเปลี่ยนแปลงเนื่องจากตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมาได้เพิ่ม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เข้ามาในรัฐธรรมนูญมาตรา ๔ โดยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นี้ก็คือคุณค่าที่ตกได้เพียงคุณเป็นมนุษย์</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify; tab-stops: 234.5pt" class="MsoNormal">ดังนั้น หากบอกว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในหมวดว่าด้วยสิทธิเสรีภาพตกแก่คนไทยเท่านั้นจะเป็นการขัดแย้งในตัวเองเนื่องจากสิ่งที่เอาเข้ามารับรองในหมวด ๓ นั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีพรมแดน เป็นมิติที่เปลี่ยนแปลงไปจากรัฐธรรมนูญเดิม จึงมีประเด็นว่าจะเอาตำราเก่ามาอธิบายได้หรือไม่</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify; tab-stops: 234.5pt" class="MsoNormal">โดยสรุปก็คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่ได้มีเฉพาะคนไทยเท่านั้น </p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify; tab-stops: 234.5pt" class="MsoNormal">มิติที่สอง รัฐธรรมนูญของต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญของประเทศแถบยุโรปจะจำแนกผู้ทรงสิทธิไว้อย่างชัดเจน ว่าสิทธิใดเป็นสิทธิของคนทุกคน โดยจะใช้คำว่าสิทธิของคนทุกคน ทุกคนมีสิทธิ แต่หากสิทธิใดเป็นสิทธิของพลเมือง ก็จะระบุเฉพาะลงไปเช่นในกฎหมายเยอรมันที่ระบุว่าคนเยอรมันทุกคนมีสิทธิ ซึ่งจำแนกชัดเจนว่าใครเป็นผู้ทรงสิทธิในเรื่องไหน อย่างไร นี่เป็นมิติเรื่องผู้ทรงสิทธิที่คำนึงถึงคนทุกคนรวมถึงต่าวด้าว</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify; tab-stops: 234.5pt" class="MsoNormal">ข้อพิจารณาว่าสิทธิใดเป็นสิทธิของคนทุกคน ก็คือต้องเป็นสิทธิที่บุคคลนั้นมีมาตั้งแต่เกิดโดยไม่ขึ้นอยู่กับพรมแดนของอำนาจรัฐ สิทธิในร่างกายเป็นสิทธิมนุษยชนเพราว่าเป็นสิทธิที่ได้มาจากพระเจ้าไม่ใช่รัฐให้ ดังนั้นพรมแดนของรัฐจึงไม่ใช่ตัวจำกัดสิทธิเหล่านี้ ซึ่งต่างจากสิทธิในทางการเมืองซึ่งเป็นสิทธิที่รัฐเป็นผู้ให้ รัฐจึงมีความชอบธรรมที่จะกำหนดว่าจะให้ใครแค่ไหน และเพียงใด</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify; tab-stops: 234.5pt" class="MsoNormal">นอกจากนี้อาจจำแนกสิทธิโดยแนวคลาสสิคของเยอรมันได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ </p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify; tab-stops: 234.5pt" class="MsoNormal">กลุ่มแรก status negativus เป็นสิทธิที่ปฏิเสธอำนาจรัฐ ได้แก่ สิทธิส่วนบุคคล สิทธิในชีวิตร่างกาย รัฐมีหน้าที่อยู่ห่างๆ ปัจเจกบุคคลสามารถใช้สิทธิของเค้าได้เองโดยรัฐไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยว </p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify; tab-stops: 234.5pt" class="MsoNormal">กลุ่มที่สอง status positivus[2] เป็นสิทธิที่บุคคลไม่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายได้ด้วยตัวของปัจเจกบุคคลเอง รัฐต้องเข้ามาดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้สิทธินั้นบรรลุเป้าหมายได้ เช่น สิทธิของคนพิการที่จะต้องได้รับการอำนวยความสะดวก เช่น รถไฟฟ้าต้องจัดลิฟท์ให้คนพิการ สิทธิในการเรียนฟรีที่รัฐต้องเข้าสร้างโรงเรียนให้เรียน สิทธิในสุขภาพที่รัฐต้องเข้ามาสร้างโรงพยาบาลให้ เป็นสิ่งที่ปัจเจกบุคคลไม่อาจบรรลุเองได้หากรัฐไม่เข้ามาดำเนินการ </p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify; tab-stops: 234.5pt" class="MsoNormal">กลุ่มที่สาม status activus เป็นสิทธิทางการเมือง เป็นสิทธิที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองของรัฐซึ่งรัฐมีหน้าที่ต้องอำนวยให้ทุกคนได้ใช้อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน </p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify; tab-stops: 234.5pt" class="MsoNormal">โดยกลุ่ม status negativus นั้นชัดเจนว่าเป็นสิทธิมนุษยชน ส่วนกลุ่ม status activus ก็ชัดเจนว่าเป็นสิทธิพลเมือง แต่ที่มีปัญหาก็คือกลุ่ม status positivus ซึ่งอยู่ระหว่างกลางที่ปัจเจกบุคคลไม่สามารถบรรลุได้เอง และรัฐต้องเข้ามาช่วยดำเนินการให้</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify; tab-stops: 234.5pt" class="MsoNormal">จึงมีประเด็นว่าคนต่างด้าวมีสิทธิเรียนฟรี สิทธิในการรักษาพยาบาลหรือไม่ และมีพรมแดนเรื่องเชื้อชาติในเรื่องนี้หรือไม่ </p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify; tab-stops: 234.5pt" class="MsoNormal">ดังนั้น จะเห็นว่าปัญหาสิทธิในหลักประกันสุขภาพถือเป็นหนึ่งในกลุ่ม status positivus ที่มีประเด็นว่า –เฉพาะคนไทยเท่านั้น หรือคนต่างด้าวเองก็มีสิทธิ ???– ในเมื่อเรื่องนี้ไม่มีความชัดเจนเหมือนสิทธิอื่นจึงต้องแก้ไขโดย</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 81pt; text-indent: -27pt; text-align: justify; tab-stops: list 81.0pt left 234.5pt" class="MsoNormal">๑.        ถ้าเป็นกรณีมีสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในเรื่องนี้ ก็ให้เอาสนธิสัญญาทั้งหลายที่ไทยเป็นภาคีเข้ามาอธิบายว่าประเทศไทยมีพันธกรณีต้องผูกพันตามสนธิสัญญาใดบ้าง แค่ไหน เพียงใด</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 81pt; text-indent: -27pt; text-align: justify; tab-stops: list 81.0pt left 234.5pt" class="MsoNormal"></p><p>                  ๒.       แต่ถ้าเป็นกรณีที่ไม่มีสนธิสัญญา ก็ต้องใช้การอธิบายจากตัวเนื้อแห่งสิทธิ ให้เห็นว่าสิทธินี้เป็นสิทธิที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์ และเป็นสิทธิที่บุคคลพึงจะมีในฐานะที่เป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดบุคคลจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไรหากปราศจากสิทธิในทางสุขภาพ ดังนั้นจึงต้องอธิบายว่าสิทธินี้เป็นสารัตถะสำคัญของการดำรงอยู่ของชีวิต สิทธินี้จึงไม่ควรขึ้นอยู่กับการจำแนกแยกแยะคน    </p><p> การตีความว่า บุคคลทุกคน ตามมาตรา ๕ แห่งพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ นั้น หมายเฉพาะคนสัญชาติไทยเท่านั้น ชอบด้วยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ หรือไม่ ?   </p><p> </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ในประเด็นนี้ก็ต้องใช้หลักในการพิจารณาเช่นเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งต้องย้อนกลับใปดูถึงจุดเปลี่ยนผ่านจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๓๔ มาสู่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา ๔ โดยได้เพิ่ม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เข้ามา (อันนี้ต้องขอแปะโป้งไว้ก่อน ขอเวลาไปค้นร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ เพิ่มเติม)</p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>                       นี่เป็นอีกครั้งที่พวกเราทุกคนรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันนี้ สถาบันซึ่งไม่มีการแบ่งชนชั้น สถาบันซึ่งยังยึดมั่นอุดมการณ์อันแรงกล้าที่จะธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนทุกคน </p><p></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>                “ ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน และต่อไปนี้คงต้องเปลี่ยนเป็น ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน และสอนให้ฉันรักในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน  </p> ************************************** <div>
<hr width="33%" size="1"><div id="ftn1">

[1] ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

[2] อาจารย์ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความแตกต่างระหว่าง stutus negativus กับ status positivus ไว้ว่า <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 54pt; text-align: justify; tab-stops: 234.5pt" class="MsoNormal">กลุ่ม status negativus ต่างจากกลุ่ม status positivus ในแง่ของการใช้สิทธิเรียกร้อง กล่าวคือ ในกรณีที่รัฐเข้ามาละเมิดสิทธิของปัจเจกในกลุ่ม status negativus นั้นประชาชนมีสิทธิฟ้องและเรียกร้องให้รัฐยุติการแทรกแซงทั้งเรียกร้องค่าเสียหายได้ทันที ส่วน status positivus นั้นมีการบังคับตามสิทธิที่ต่างออกไปกล่าวคือ ศาลไม่มีอำนาจพิพากษาบังคับให้รัฐต้องดำเนินการเพราะศาลไม่อยู่ในสถานะที่รู้งบประมาณของแผ่นดิน แต่ศาลจะพิพากษาในเชิงคุ้มครองบุคคลว่าจะทำอย่างไรให้บุคคลนั้นๆได้รับความคุ้มครองซึ่งเป็นการคุ้มครองเชิงปัจเจกเป็นรายๆไป</p>   </div> </div>



ความเห็น (15)

ขอขอบคุณท่านอาจารย์บรรเจิด สิงคะเนติ ที่ได้กรุณาสละเวลาให้พวกเราเข้าสัมภาษณ์

ขอบคุณพี่ด๋าวหัวหน้า(โครงการฯ) & พี่ชล(นักวิจัย A1) ที่มาร่วมสัมภาษณ์ โดยเฉพาะพี่ชลต้องขอขอบคุณที่เสียสละเป็นตากล้องจำเป็นในการเก็บภาพบรรยากาศวันนั้น

ที่สำคัญขอขอบคุณอาจารย์แหวว (ที่ปรึกษาโครงการฯ)  ที่หนับหนุนกำลังใจและขนมประกอบฉาก (เอ๊ย ประกอบการสัมภาษณ์) ค่ะ

ข้าพเจ้าคาดว่าเร็วๆนี้จะได้สัมภาษณ์ความเห็นในประเด็นเดียวกันจากนักกฎหมายมหาชนอีกสองท่าน คือ อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และ อาจาย์ คมสัน โพธิ์คง
ยินดีด้วยนะคะ แหะๆ อยากไปจังเเต่ระเห็จมาอยู่ระนองเเล้ว

โชว์รูปฝีมือชลฯ หน่อยจิ..

รออ่านตอนสอง อ่ะ

กลับไปถามว่า "สิทธิพลเมือง" ในความคิดของ อ.บรรเจิดนั้น หมายถึงสิทธิของใคร ?

"พลเมือง" ของอาจารย์ แปลว่า อะไร ?

น่าจะไล่ถามให้แปลกันเลย

citizen ?

people ?

population ?

civilian ?

อย่าลืมล่ะ ฝากถาม

โดยเฉพาะ Civil Rights = Rights of Nationals จริงหรือ ?

คำถามนี้ เราได้ถามกันแล้วนะคะในวันนั้น เยอรมัน เขามีคำสองคำค่ะ "คนเยอรมัน"(อ.บรรเจิด พูดเป็นภาษาเยอรมัน) กับ .. ".." อ.บรรเจิดใช้คำว่า อะไรนะไหม..พี่ลืมเอาไฟล์เสียงกลับมาบ้านด้วยอ่ะค่ะ ไหมตอบหน่อยยยยย

ต้องขออภัยที่ตอบล่าช้าค่ะ เนื่องจากไม่ได้เจอะกับท่าน อ.บรรเจิด เลย จึงลองกลับไปค้นดูจากหนังสือที่ท่านได้เขียนเกี่ยวกับหลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ โดยสำนักพิมพ์วิญญูชน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๗ ในบทที่ ๒ ว่าด้วยหลักทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ ก็ปรากฎท่าน อ.บรรเจิดได้เขียนถึงแนวคิดในการแบ่งประเภทของสิทธิเสรีภาพโดยพิจารณาจาก "ผู้ทรงสิทธิ" โดยจำแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ สิทธิมนุษยชน หรือสิทธิของทุกๆคน กับ สิทธิพลเมือง

           (๑) สิทธิมนุษยชนหรือสิทธิของทุกๆคน  มีชื่อเรียกในภาษาเยอรมันว่า "Menschenrechte หรือ Jedermannrechte" สิทธิประเภทนี้ได้แก่ สิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่ทุกๆคน โดยไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็นคนชาติใด เชื้อชาติใด หรือศาสนาใด หากบุคคลนั้นเข้ามาอยู่ในขอบเขตอำนาจรัฐที่ใช้รัฐธรรมนูญของประเทศนั้น ย่อมได้รับความคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นด้วย

           สิทธิมนุษยชนถือเป็นสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติที่เป็นของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเหล่านี้ตั้งแต่ ก่อนที่จะมี "รัฐ" เกิดขึ้น โดยกฎหมายมักจะบัญญัติว่า "ทุกๆคนมีสิทธิ..." หรือ "บุคคลมีสิทธิ" สังเกตได้ว่าสิทธิเหล่านี้ผูกพันอยู่กับความเป็นมนุษย์ จึงมิใช่กรณีที่รัฐบัญญัติให้สิทธิแก่บุคคล แต่เป็นการรับรองสิทธิไว้ในบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น สิทธิในชีวิตร่างกาย เสรีภาพทางความเชื่อเป็นต้น

           (๒) สิทธิพลเมือง มีชื่อเรียกในภาษาเยอรมันว่า "Buergerrechte"(หมายถึงคนเยอรมัน) ได้แก่สิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครองเฉพาะบุคคลที่เป็นพลเมืองของรัฐเท่านั้น ซึ่งมักจะเป็นสิทธิและเสีรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมือง สิทธิในการตั้งพรรคการเมือง นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงสิทธิที่เกี่ยวกับสถานะความเป้นบุคคลของชาตินั้นด้วย เช่น การคุ้มครองไม่ให้มีการถอนสัญชาติของบุคคลชาติ หรือห้ามเนรเทศคนชาติออกนอกประเทศ

 

              ส่วนปัญหาความเป็นผู้ทรงสิทธิของคนต่างด้าว ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ หมวด ๓ ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มีแนวคิดจากนักวิชาการด้านกฎหมายมหาชนกล่าวถึงเรื่อง ดังกล่าวไว้ดังนี้ 

               แนวคิดของท่าน ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย  เห็นว่า "ชนชาวไทย" ตามหมวด ๓ นี้ไม่ได้หมายความรวมถึงคนต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทยเนื่องจากถ้ารัฐธรรมนูญจะให้สิทธิและเสรีภาพแก่คนต่างด้าวจะต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจง แต่ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติไว้ คนต่างด้าวจะมีสิทธิเพียงใดย่อมเป็นไปตามสนธิสัญญา และกฎหมาย ซึ่งไม่ใช้เรื่องของรัฐธรรมนูญ

(หยุด แสงอุทัย,คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.๒๕๑๑)เรียงมาตรา และคำอธิบายรัฐธรรมนูญทั่วไปโดยย่อ,พระนคร ,กรุงสยามการพิมพ์ ,๒๕๑๑)

               แนวคิดของท่าน ผศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ เห็นว่ามีข้อพิจารณาเกี่ยวกับการเป็นผู้ทรงสิทธิของคนต่างด้าว ดังนี้

               (๑) บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ หมวด ๓ นั้นคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเฉพาะต่อชนชาวไทยเท่านั้น โดยไม่ได้แยกแยะสิทธิมนุษยชน"Menschenrechte หรือ Jedermannrechte"  กับสิทธิพลเมือง"Buergerrechte"ออกจากกัน และเมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของต่างประเทศแล้วจะเห็นว่าชื่อหมวดนั้นไม่ใช่ข้อจำกัดของเนื้อหาของสิทธิและเสรีภาพ  แต่จะต้องพิจารณาจาก"เนื้อแห่งสิทธิ" ว่าสิทธินั้นมีลักษณะเป็นสิทธิของบุคคลทุกคนหรือไม่

               (๒) ถ้าคนต่างด้าวไม่อาจอ้างสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยตามหมวด ๓ ได้ อย่างน้อยที่สุด คนต่างด้าวก็อาจอ้าง"สิทธิเสรีภาพในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา" ตามรัฐธรรมนูญได้ เพราะ สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนั้นมีลักษณะเป็นสิทธิมนุษยชน ที่พึงจะตกได้แก่บุคคลทุกคนโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าบุคคลนั้นเป็นคนต่างด้าวหรือไม่

               (๓) บุคคลต่างด้าวจะอ้างมาตรา ๔ ของรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ?

               เนื่องจาก มาตรา ๔ บัญญัติว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" ซึ่ง"บุคคล" ย่อมหมายความรวมถึงคนต่างด้าวด้วย ซึ่งหากพิจารณารากฐานอันเป็นสาระสำคัญของศักดิ์ศรีควมเป็นมนุษย์แล้ว ประกอบด้วยสิทธิและเสรีภาพ ๒ ประการ คือ ๑.เสรีภาพในชีวิตร่างกาย ได้แก่ สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (หมวด ๘) แต่ยังขาดความชัดเจนว่าสิทธิบางประการที่อยู่ในหมวด ๓ จะได้รับความคุ้มครองหรือไม่? และ ๒.สิทธิในความเสมอภาค  โดยเห็นว่าการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนต่างด้าวไม่อาจได้รับความคุ้มครองอย่างสมบูรณ์ หากหลักความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมายของคนต่างด้าวได้รับการปฏิเสธ (หลักนี้บัญญัติไว้ในหมวด ๓ มาตรา ๓๐)

                  อย่างไรก็ดี เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าบุคคลต่างด้าวมิอาจได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกับพลเมืองของชาตินั้นได้ หากแต่อย่างน้อยที่สุดคนต่างด้าวก็พึงได้รับสิทธิที่เรียกว่า "สิทธิมนุษยชน" หรือสิทธิของคนทุกๆคน

(บรรเจิด สิงคะเนติ,หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ,พิมพ์ครั้งที่ ๒,วิญญูชน ,กรุงเทพ,๒๕๔๗,หน้า ๗๓-๗๖.)

              

หลังจากทำการบ้านเพิ่มเติมโดยไปค้นความหมายของศัพท์ต่างๆจาก Black's Law Dictionary  (เป็นดิกชันนารีที่มีเฉพาะศัพท์กฎหมาย จัดทำขึ้นโดยนักกฎหมายในสหรัฐอเมริกา จึงไม่ต้องแปลกใจว่าโดยมากแล้ว จะนิยามศัพท์ตามความหมาย และยกตัวอย่างตามแบบ common law)พบว่า

                                               Citizen[1]

 

Citizen--- “A person who, by either birth or naturalization, is a member of a political community, owing allergiance to the community and being entitled to enjoy all its civil rights and protections ; a member of the civil state, entitled all its privileges

Natural –born citizen “A person born within the jurisdiction of a national government”

Naturalized citizenA foreign –born person who attains citizenship by law



[1] Bryan A. Garner ,Black’s Law Dictionary 8th edition ,2004, p.261.

จากข้างบนจะเห็นได้ว่า "คนต่างด้าว" ก็ถือเป็น citizen ค่ะ เป็นพวก Naturalized citizen นั่นเอง

People[1]  หมายถึง The citizens of a state as represented by the prosecution in a criminal case” ออกจะฟังดูแปร่งๆหูไปซักนิด แต่ก็ยังรวมถึงคนต่างด้าวด้วยค่ะ (เป็นการย้อนส่งให้กลับไปดูความหมายของ citizen อีกครั้งนั่นเอง)



[1] Bryan A. Garner ,Black’s Law Dictionary 8th edition ,2004, p.1171.

ส่วน Civilian[1] หมายถึง “ A person not serving in the military.” อันนี้ก็ฟังดูแปร่งๆเช่นกัน

แต่เมื่อดูควบคู่กับ Civil rights[2] ซึ่งหมายถึง .“ The individual rights of personal liberty guaranteed by the Bill of Rights and by the  13th ,14th ,15th  and 19th  Amendments, as well as by legislation such as the Voting Rights Act. Civil Rights include esp. the right to vote, the right of due process, and the right of equal protection under the law ”  (อันนี้เป็นนิยามแบบอเมริกันจ๋ามากๆ เพราะ อิงกับบทบัญญัติกฎหมายอเมริกัน)

พอจะจับใจความได้ว่า เป็นสิทธิของปัจเจกบุคคล อาทิ สิทธิทางการเมือง สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในการได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย ซึ่งสิทธิเหล่านี้ถูกรับรองไว้ในกฎหมาย (เอ...ดูๆไปแล้ว ก็คล้ายกับสิทธิที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติรับรองไว้เหมือนกันนะนี่ )

นอกจากนี้ civil rights ยังหมายถึง  civil liberty –freedom from undue governmental interference or restraint

เมื่อประมวลดูแล้ว "คนต่างด้าว" ก็น่าจะมี civil rights ด้วย



[1] Bryan A. Garner ,Black’s Law Dictionary 8th edition ,2004, p.262.

[2] Bryan A. Garner ,Black’s Law Dictionary 8th edition ,2004, p.263.

สงสัย แบบว่าไม่ใช่นักกฎหมาย

Naturalized citizenA foreign –born person who attains citizenship by law

law ในที่นี้หมายถึงกฎหมายอะไรเหรอครับ หรือหมายถึงเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติเท่านั้น

เพราะในนิยามนี้

Citizen--- “A person who, by either birth or naturalization, is a member of a political community,

มันกินความแค่ไหนกับคำว่า member of a political community โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลัง ๆ มามันมีความเปลี่ยนแปลงในนิยามและการเป็นสมาชิกชุมชนทางการเมืองไปค่อนข้างเยอะ และอาจจะไปไกลกว่า Nation-State เยอะครับ (คือผมเข้าใจว่านิยามนี้มันอยู่บนฐานของ Nation - State ใช่ไหม)

สมมติว่ามีกฎหมายสักตัวที่สามารถทำให้คนคนหนึ่งกลายเป็นสมาชิกของชุมชนทางการเมืองแห่งนั้นได้ ก็เท่ากับว่าคนคนนั้นจะกลายเป็น citizen เลยไหม 

ผมเข้าใจว่าคำถามนี้คงไม่เป็นคำถามในเชิงกฎหมายหรือเป็นข้อถกเถียงที่เถียงกันในทางกฎหมาย แต่ผมติดใจครับ

ซึ่งถ้าไม่เป็นประเด็นถือว่าผมถามชวนงง เล่น ๆ ก็ได้

naturalized citizen หมายถึง การแปลงสัญชาติค่ะ
ดังนั้น จะเข้าถึงกระบวนการแปลง/ได้มาซึ่งสัญชาติ ก็เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง/ที่เขียนว่า คนๆ หนึ่งจะแปลงสัญชาติได้ยังไง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท