แปลงโฉม!..การจัดอบรมฯ ให้เป็นการ ลปรร....


สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ให้ชาวห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา...
22 มิถุนายน 49 บริษัทเมดิทอปจำกัด ร่วมกับบริษัทเมดวันจำกัด ได้จัดให้มีการอบรมเพิ่มพูนความรู้ด้านโลหิตวิทยาให้กับลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเทคนิคการแพทย์และพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ปฏิบัติงานด้านโลหิตวิทยาในโรงพยาบาลแถวๆภาคใต้นี่เองค่ะ
บริษัทเชิญ ผศ.นพ.จิตวัต รุ่งเจิดฟ้า(หัวหน้าหน่วยงานของพี่เม่ยนี่เอง) ให้ช่วยบรรยายเรื่องการประยุกต์ใช้ผลการทดสอบทางโลหิตวิทยาในการดูแลรักษาผู้ป่วย และ พี่เม่ยบรรยายเรื่องการบริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา โดยให้เวลาทั้งวันในการบรรยาย พี่เม่ยประเมินคร่าวๆดูแล้ว..โห!..เห็นทีว่าก็ต้องรับผิดชอบการบรรยายกันอย่างน้อยคนละ 2.5-3 ชม.
พี่เม่ยลองทบทวนในใจ แล้วนำมาคิดดังๆในบันทึกนี้ก็พบว่า การจัดอบรมแบบที่มีการบรรยายยาวเหยียด แล้วเปิดให้ผู้ฟังซักถามหลังจบการบรรยาย ก็จะไม่ค่อยมีผู้ใดกล้าหาญชาญชัยลุกขึ้นถาม อย่างมากก็เขียนคำถามใส่กระดาษขึ้นมาส่งให้เราตอบ.... พอเสร็จสิ้นการอบรมก็ต่างคนต่างแยกย้ายกันไป  พกพาความรู้ที่ได้เพิ่มไปแบบอัดแน่นไปเต็มกระเป๋า แล้วก็อยู่ในกระเป๋าต่อไปเรื่อยๆ....
พอดีมีโอกาสได้ปรึกษากับผู้จัดการอบรม จึงขอเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เอาเป็นว่าบรรยายช่วงเช้าแบ่งกันคนละหนึ่งชั่วโมงก็พอ ช่วงบ่ายจัดเป็นวงเสวนาโต๊ะกลม  เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น และซักถามวิทยากร  หรือซักถามกันเองได้อย่างอิสระ น่าจะดีนะ! เนาะ!... ผู้จัดเห็นด้วยค่ะ
     บรรยากาศช่วงเช้าก็เป็นดังคาด ผู้พูดก็พูดไป ผู้ฟังก็ฟังไป ยังไม่มีคำถามใดๆเกิดขึ้นในช่วงเช้า   แต่พอช่วงบ่ายเท่านั้นเองค่ะ  เมื่อเริ่มคุ้นเคยกับคำถามและการตอบจากวิทยากรแบบง่ายๆสบายๆ  ประเด็นปัญหาอื่นก็ค่อยๆทะยอยเรียงแถวกันออกมา  บางคำถามก็มีเพื่อนๆกันเองช่วยตอบ แถมมีข้อสังเกตจากประสบการณ์มาฝากกันด้วย หน้าที่ของวิทยากรก็คือหาเหตุผลมาอธิบายจุดสังเกตนั้นๆให้สอดคล้องกับทฤษฏี 
     สนุกสนานและได้ประโยชน์มากค่ะ จนผู้จัดฯยิ้มแก้มปริ เดินมากระซิบบอกว่า "ติดใจ" การจัดการอบรมแบบนี้มากเลย ผู้เข้าอบรมก็ชอบ วันหลังจะทำแบบนี้อีกดีกว่า...
พี่เม่ยอมยิ้ม...ไม่ยอมบอกความลับให้รู้หรอกค่ะ...ว่าเรานำวิธีของการจัดการความรู้เข้าไปให้กลุ่มผู้เข้าอบรมได้ใช้แล้วโดยไม่ให้เขารู้ตัว นั่นคือจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปพร้อมๆกับ เพื่อนช่วยเพื่อนนั่นเองค่ะ
ได้ของแถมด้วยค่ะ คือพี่เม่ยก็ได้มีโอกาสฝึก อำนวย วงเสวนาในเนื้องานที่ตัวเองถนัด (ก็ hemato หรรษาไงคะ) ได้อีกครั้งหนึ่ง  นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ  
ดีใจจริงๆค่ะ ที่ได้มีส่วนสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ให้กับชาวห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา......
ในรูปแบบ...ธรรมชาติค่ะ..ธรรมชาติ!...
หมายเลขบันทึก: 35134เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2006 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

วิธีการนี้ชัวร์ ไม่มั่วนิ่มค่ะ ... สงวนลิขสิทธิ์ไหมคะ

Good morning ค่ะ คุณหมอนนท์
  • พี่เม่ยต้องพยายามเปลี่ยนตัวเองให้ตื่นเช้าๆในวันหยุด เพื่อมาเข้า Gotoknow ได้อย่างราบรื่น ไม่มี traffic Jam มากนัก จึงได้มีโอกาสอรุณสวัสดิ์กับหมอนนท์ด้วย ดีใจจังค่ะ
  • ไม่ได้จดลิขสิทธิ์ค่ะ  แต่พี่เม่ยว่าคุณหมอนนท์ก็ใช้วิธีนี้อยู่เป็นประจำแล้วแน่ๆเลยค่ะ เนาะ!
 วันก่อนผมไปอบรมเรื่องเครื่องของบริษัท PCL มีลักษณะเหมือนกับที่พี่เม่ยเขียนเลยครับ เป็นแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ทางบริษัทเขาบอกว่าผู้ใช้เป็นผู้ที่รู้ดีกว่าช่างเสียด้วยซ้ำ เพราะผู้ใช้อยู่กับเครื่องทุกวันสามารถรู้ได้เลยว่ามันมีปัญหาอะไร และแก้อย่างไร แต่เรื่องปัญหาลึกๆที่เกี่ยวกับระบบกลไกของเครื่อง ก็ต้องเรียกช่าง ครับ

ขอชื่นชมพี่เม่ยที่ได้ขยายวงวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการค่ะ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าวิธีการที่เราทำจนเป็นธรรมเนียมแล้วนี่ จะฝึกให้คนเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งในแต่ละช่วงเวลา คือเอาแต่"รับ" หรือเอาแต่"ให้" ซึ่งมนุษย์เราฉลาดกว่านั้น เราควรใช้ความฉลาดของเราให้ครบถ้วนกระบวนความ คือทั้ง"รับ"และ"ให้"ไปพร้อมๆกันเวลาดำเนินการปฏิสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะในเชิงงานวิชาการ

จะพยายามช่วยขายไอเดียนี้ทุกโอกาสที่ทำได้เลยค่ะ ทำไม่นาน รับรองใครๆก็ต้องชอบ เพราะมีแต่ win-win กันทุกฝ่าย 

คุณ..."นายดำ"...คะ (แหม! ต้องเว้นวรรคให้ดีๆ เดี๋ยวจะกลายเป็นหญิงสูงอายุที่มีนามว่า ดำ ไปพ้น...)
  • ต้องขอบคุณกับ คห.นี้มากๆค่ะ ที่ว่าผู้ใช้งานเครื่องอยู่ทุกวันน่าจะรู้ใจเครื่องได้ดีกว่าช่างค่ะ  แต่ก็นั่นแหละ เวลาเครื่องมีปัญหาเมื่อไรพวกเราก็มักจะ "ขอความช่วยเหลือจากช่าง" เพราะเดี๋ยวนี้ติดต่อกันได้รวดเร็ว สะดวก สบาย ไม่ต้องเป็นภาระ ไม่ต้องซ่อมเอง แถมไม่ต้องรับผิดชอบด้วยถ้าบังเอิญพลาดทำเครื่องเขาเจ๊ง
  • แต่ถ้ามาคิดย้อนดูก็จะพบว่าเรากำลังสลัดโอกาสแห่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุดทิ้งไปจริงๆ
  • เรื่องนี้ต้องขอชื่นชมพระเอกของชาวฮีมาโตเรา...พี่ทร..ค่ะ ที่มีหัวใจแห่งการเรียนรู้มานานแสนนานแล้ว พี่เม่ยได้เห็นพี่ทรพยายามแก้ไขปัญหาของเครื่องมือต่างๆด้วยตนเองให้ได้ (แบบพอดี พอดี ด้วยนะ) ก่อนที่จะติดต่อช่างเป็นประจำ เห็นแล้วปลื้มค่ะ
  • เรามาช่วยกันสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้แบบ "ต้องพึ่งตนเองก่อนที่จะคิดพึ่งคนอื่น" กันดีกว่าเนาะ
คุณโอ๋ คะ
   จริงด้วยนะ กิจกรรมใดที่มี "ทั้งรับทั้งให้ไปพร้อมๆกัน" พี่เม่ยว่าจะทำให้ แก่นความรู้ เกิดขึ้นได้แน่ๆ.....

คิดถึงพี่เม่ยและวิธีการเขียนที่น่าอ่าน สบายๆแต่ได้สาระแบบนี้จังเลยค่ะ เผอิญหลุดเข้ามาด้วยเหตุอันใดก็ไม่รู้ แต่ทำให้ได้มีโอกาสมาทำให้บันทึกดีๆกลับไปอยู่หน้าแรกอีกที นี่คือข้อดีของ GotoKnow และยังเป็นการส่งความคิดถึงไปถึงคนเขียนได้ด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท