ทบทวนสถานการณ์ด้านปัญหาสังคมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


วันนั้น เร่มต้นคิดว่า แรกเร่มอาจจะไม่ต้องคิดถึงนิยามหรือความหมาย แต่ต้องคิดให้ออกว่า เราจะเอาจริยธรรมไปทำอะไร และนำไปใช้กับใคร

 

      หลังจากได้ผ่านเวทีวิชาการเรื่อง จริยธรรมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ที่ผ่านมา ซึ่งจัดโดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

      เวทีในครั้งนี้เป็นเวทีเพื่อสำรวจสถานการณ์ของปัญหาที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ เรียกว่า ICT

      หลังจากห่างหายไปจากเวทีวิชาการได้ระยะหนึ่ง เราจึงอยากรู้ว่า สถานการณ์ด้านปัญหาที่เกิดขึ้นจาก ICT เป็นอย่างไร ปัญหามากขึ้น ปัญหาน้อยลง ซับซ้อนมากขึ้น หรือว่ายังเท่าเดิม

       ครั้งนี้เอง ที่พบว่า สถานการณ์ของข้อเท็จจริงที่เป็นปัญหาไม่ได้กระโดดจากปัญหาที่เกิดขึ้นไปมากนัก แต่ทว่าปัญหาของการถ่ายภาพเด็กตีกันผ่านโทรศัพท์มือถือ สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ได้ทั่วไป และภาพเหล่านั้นถูกถ่ายโดยความจงใจและสนุกสนานของผู้ใหญ่

       ทางด้านสถานการณ์ของความพยายามในการสร้างกระบวนการการจัดการกันเอง เว็บไซต์ต้นแบบของการจัดการพยายามสร้างกฎเกณฑ์ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องของการสร้างชุมชนที่มีการปกครองกันเอง ดูแลกันเอง พยายามสร้างกฎระเบียบภายในเว็บไซต์ รวมไปถึงการสร้างระบบทะเบียนราษฎร์ของผู้ใช้เพื่อระบุตัวตนที่แท้จริงของประชากรภายในเว็บไซต์

       สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับ "จริยธรรม" หลายคนมองว่าเป็นเรื่องเดียวกับ ศาสนา ทั้งที่คงวามเป็นจริงแล้ว เป็นเรื่องที่มีความคาบเกี่ยวกัน แต่ก็ไม่ได้ถึงขนาดว่า เป็นเรื่องเยวกันเสียทั้งหมด

      ปัญหาที่ร้ายแรงที่สุด ก็คือ ปัญหาในการจัดการ ที่ดูเหมือนว่า เรายังขาดความรู้ในการจัดการ ขาดเครื่องมือในการจัดการ (เช่น กฎหมาย และนโยบาย) และร้ายไปกว่านั้น การไม่มีวิสัยทัศน์ด้านสังคมกับเทคโนโลยีในการจัดการ เพราะมุ่งเน้นให้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสนองตอบต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจนักที่เครื่องมือเกี่ยวกับเทคโนโลยีกับจริยธรรมในการจัดการปัญหาสังคมจึงไม่มี

      มีความพยายามพูดถึงเรื่องจริยธรรมกับการใช้ ICT  นับเป็นครั้งแรกๆในประเทศไทยที่พยายามพูดถึงเรื่องนี้

      แน่นอนที่สุด หลายคนคงจะต้องบอกว่าเป็นการยากอย่างยิ่งยวดที่จะหานิบามหรือความหมาย เพราะแค่เร่มต้นว่า จริยธรรมคืออะไร ทุกคนก็จะเร่มมีคำถามในใจว่า เอาอะไรมาวัด นั่นคือ เรากำลังถามหามาตรฐานของการชี้วัดจริยธรรม

      วันนั้น เร่มต้นคิดว่า แรกเร่มอาจจะไม่ต้องคิดถึงนิยามหรือความหมาย แต่ต้องคิดให้ออกว่า เราจะเอาจริยธรรมไปทำอะไร และนำไปใช้กับใคร

      หมายความว่า การตั้งต้นนึกถึงจริยธรรมกับการใช้ ICT คิดได้ ๓ ระบบ คือ ๑)ค้นหาจริยธรรมจากปัญหาของการใช้ ICT ในแต่ละเรื่อง ๒) ค้นหาจริยธรรมจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงจรของการใช้ ICT เช่น จริยธรรมของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  (ISP) เป็นต้น หรือ ๓) ค้นหาจริยธรรมจากส่งที่มุ่งหวังจะคุ้มครอง เช้น จริยธรรมด้านเศรษฐกิจ จริยธรรมด้านการเมือง

      หลังจากนั้นได้คุยกับอาจารย์แหววและอารยา ที่ได้รับผลร้ายจากการประกอบการของโทรศัพท์เคลื่อนที่ แล้วมาติดตามกันต่อว่า ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร เพื่อนำมาใช้ประกอบในการคิดค้นเรื่องของจริยธรรม

หมายเลขบันทึก: 48752เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
รออ่าน นึกว่า จะเขียนให้เสร็จเลย

นี่รูปอาจารย์ จิงๆหรือป่าวอ่ะคะ??!!!

อยากขอให้พิ่มเนื้อหาในส่วนของปัญหาจริยธรรมของเรื่องนี้ให้มากกว่านี้จะได้มั๊ยค่ะเพราะต้องการเนื้อหาไปทำรายงานน่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท