เมื่อลูกสาวครูบาฯจะไปประชุมแทนพ่อ


ขอเรียนเชิญ พี่น้องผองเพื่อน กัลยาณมิตรทุกท่าน ร่วมส่องทางสว่างแก่ข้าผู้น้อย (แต่ตัวใหญ่) ด้วยเทอญ...

มาแล้วค่ะ มาแล้ว...หลังจากที่ตัวเองจัดการเวลา( Timing management )ไม่เป็นจังหวะ 

        Blog เรื่องเล่าฯโครงการฯตัวเองก็ไม่ได้เขียน  อิอิ  โชคดีที่ได้รับความเมตตาจากกัลยาณมิตรทุกๆท่าน เขียนถึงแล้ว  คลิกที่นี่   ขอบพระคุณค่ะ...  ^__*   ส่วนของหนิงเองก็คงรออีกนี๊ดดดดดด...

          แต่วันนี้  ได้โจทย์ของพ่อครูบา  มาค่ะ  เนื่องจากพ่อครูบา  ท่านมอบให้ไปประชุมแทนเพราะท่านติดภารกิจผู้บริหารในเครือปูนซีเมนต์จะบุกป่า  ( เจ้าสำนักไม่อยู่เดี๋ยวกลายเป็นป่าปูน  อิอิ )   หนิงเองก็ตกใจนะคะ ว่า เราจะทำหน้าที่นี้ได้หรือ  สมกับความไว้วางใจที่พ่อครูบามอบให้หรือไม่ เกียรตินี้ยิ่งใหญ่นัก   จะทำอย่างไรหนอ  คงต้องทำการบ้านอย่างหนักเชียวหละ  เราเองก็เพิ่งเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น  แบบครูพักลักจำ

 

         แต่เหมือนพระมาโปรด ( พ่อครูบา  เข้าใจลูกสาวคนนี้เสมอ  อิอิ )  จาก blog ของพ่อ  คลิกที่นี่  พ่อบอกว่า  ให้หนิงลองเอาหัวข้ออภิปรายมา  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  กับกัลยาณมิตรใน G2K  โอ..ปิ๊งส์  เลยค่ะ   

          ขอเรียนเชิญ  พี่น้องผองเพื่อน  กัลยาณมิตรทุกท่าน  ร่วมส่องทางสว่างแก่ข้าผู้น้อย (แต่ตัวใหญ่) ด้วยเทอญ...

         ขอบพระคุณค่ะ

      โครงการประชุมระดมสมองเพื่อทดสอบกรอบความคิดการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ณ.โรงแรมตักศิลา มหาสารคาม  จัดโดย หน่วยวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ ศูนย์คติชนวิทยา  คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         วัตถุประสงค์ของโครงการ               

  1.  เพื่อตรวจสอบความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย 
  2. เพื่อเสนอกรอบความคิดการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย 

         หัวข้อสำหรับการอภิปราย               

  1. ภูมิปัญญาไทยในความเห็นของท่านหมายถึงอะไร
  2.  ภูมิปัญญาไทยด้านใดบ้างที่ควรคุ้มครอง 
  3. เราสามารถแบ่งระดับของภูมิปัญญา เป็นระดับชุมชน   ระดับภาค ระดับชาติได้อย่างไร
  4. ท่านคิดว่าท่านจะสามารถแบ่งปันให้คนนอกมาใช้ภูมิปัญญาของท่านได้หรือไม่ ?       ระดับใด 
  5. หากมีกิจกรรมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าระดับชาติ   / ระดับนานาชาติ ควรมี           มาตรการในการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างไร 
  6.  การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรพันธุกรรม เช่น  การอนุญาต การกำหนดค่าตอบแทน การแบ่งปันผลประโยชน์ ฯลฯ ควรเป็นอย่างไร  มีรูปแบบอย่างไร

ชี้ทางสว่างแก่ลูกช้าง    ด้วยนะคะ 

ขอบพระคุณค่ะ 

 

หมายเลขบันทึก: 86856เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

โห....โจทย์เยอะจัง ให้เวลาคิดกี่วันค่ะน้องหนิงขา....

ภูมิปัญญาไทยในความเห็นของท่านหมายถึงอะไร ... เท่าที่เข้าใจคือ ความรู้/องค์ความรู้ ที่เกิดหรือมาจากบริบท แบบ/ของไทย... เช่น การผลิตข้าวหอมมะลิ การฝีมือต่างๆ ที่เป็นของไทย เช่น จักสาน การทอผ้า .... ประมาณนี้มังค่ะ

ข้อเดียวก่อนนะค่ะ

น้องหนิงถึงเวลาไปซ้อม ๆ ๆ ๆ กีฬาแล้ว แล้วค่อยมาใหม่นะคะ (รอดตัวไปที) อิอิ

ขอบพระคุณค่ะ paew ขา...   หนิงรอข้ออื่นๆอยู่น๊า...  อิอิ

พี่อึ่งอ๊อบขา...  อย่าลืมกลับมาช่วยลูกช้างตัวนี้ด้วยนะคะ ^__*

ลูกช้างขอขบคิดหนึ่งคืนครับ

วันนี้ลูกช้างมึน

  • เรื่อง ภูมิปัญญาไทยในความเห็นของท่านหมายถึงอะไร ไม่แน่ใจว่ามีใครสรุปไว้ที่ใดที่หนึ่งหรือยัง น่าจะมีนะครับ ในความคิดของผู้เขียนมองเบื้องต้นเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ
  • ส่วนที่เป็นสาระของภูมิปัญญา เช่น การค้นพบตัวยาสมุนไพรของคนโบราณในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ที่ได้พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริงจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ตัวยานี้คือภูมิปัญญาของไทยที่จะต้องดำรง รักษาไว้มิให้ใครมาอ้างสิทธิเป็นเจ้าของ และผู้ค้นพบสามารถนำไปจดทะเบียนลิขสิทธิได้ว่าเป็นเจ้าของ มีสิทธิตามกฏหมายทุกประการ อาจจะเรียกสาระของภูมิปัญญานี้ว่าเป็น "องค์ความรู้ของภูมิปัญญา"
  • อีกส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาไทยจะหมายถึงตัวบุคคล ผู้ค้นพบองค์ความรู้นั้นๆ ผู้เป็นที่ยอมรับกันในสาธารณะว่าเป็นผู้คิดค้น ค้นพบ และใช้ และเผยแพร่องค์ความรู้นั้น  เช่น "หมอนวดกระดูกโบราณ" มีหมอนวดโบราณท่านหนึ่งมีความรู้ หรือมีวิชา และมีประสบการณ์ในการนวดคนที่เป็นโรคภัยเกี่ยวกับกระดูก และสามารถทำให้หายจากโรคภัยนั้นได้จนเป็นที่ปรากฏ คนอื่นๆมาเรียนก็ยาก เพราะเป็นเทคนิคส่วนบุคคล  เป็นความรู้ส่วนบุคคล  นี่ก็เรียกว่าเป็นภูมิปัญญา แต่เป็นตัวบุคคล  สามารถไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้
  • อาจจะมีภูมิปัญญาที่เป็นองค์ความรู้ ที่เป็นแบบสาธารณะ ที่ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้คิด  แต่คนจำนวนมาก หรือสาธารณะทั่วไปก็ใช้กัน เป็นที่ยอมรับกัน ก็เรียกว่า ภูมิปัญญาสาธารณะ อาจจะจัดไว้อีกส่วนหนึ่งก็ได้
  • อยากจะยกกรณี สหายธีระ บ้านโพนสว่าง ต.หนองแคน อ.ดงหลวง ผู้คิดค้นวิธีขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยวิธีการตอน  ใครๆก็ตอนได้  แต่สหายธีระมีประสบการการตอนด้วยตัวเองและสามารถสรุปผลได้ว่าจะต้องมีขั้นตอน 10 ขั้นตอน(สมมุติ)เป็นต้น   นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆนี้ สหายธีระยังคิดค้นวิธีทำเตาเผาถ่านแบบมีประสิทธิภาพสูงด้วยตัวเอง โดยไม่ใช้เงินแม้บาทเดียว และได้ผลดี  อย่างนี้เราก็เรียกสหายธีระว่าเป็นภูมิปัญญาไทยในด้านการตอนผักหวานป่าและการทำเตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูงแบบประหยัด ทั้งบุคคลและองค์ความรู้เป็นภูมิปัญญาไทยครับ ดูเรื่องเล่าจากดงหลวง 57 นักประดิษฐ์ชาวบ้าน (The Local Inventor)
  • ภูมิปัญญาไทยด้านใดบ้างที่ควรคุ้มครอง 
  • ควรคุ้มครองทุกด้านแหละ ขอให้เป็นภูมิปัญญาจริงๆเถอะ
  • "เราสามารถแบ่งระดับของภูมิปัญญา เป็นระดับชุมชน   ระดับภาค ระดับชาติได้อย่างไร"
  • เบื้องต้นไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะแบ่งระดับ  ทำไมต้องแบ่ง แบ่งทำไม เพื่ออะไร
  • ภูมิปัญญาน่าที่จะเป็นเรื่องความดี ความงาม เป็นเรื่องสร้างสรรสังคม เป็นเรื่องจรรโรงสังคม จรรโรงโลก หากใครคิดวิธีฆ่าคนที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ เอาจะเรียกเขาเป็นภูมิปัญญาไหม  คนไม่นะ
  • หากคิดว่า เถอะน่า...ลองแบ่งสักหน่อยประไร ก็น่าที่จะมองในเรื่องของ ภูมิปัญญานั้นๆก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่สังคมระดับใด เช่น มีพ่อลุงคิดวิธีจับปลาอินทรีย์ทะเลแบบใหม่ล่าสุด โดยการผิวปากเป็นเพลง ของน้าเบิร์ด ธงชัย แล้วปลาอินทรีย์จะมาข้างเรือให้จับง่ายๆ ภูมิปัญญานี้ก็น่าที่จะใช้ได้กับท้องถิ่นชายทำเลเท่านั้น  จะไปใช้ที่ดอยอ่างขาง หรือ มมส.ก็คงไม่ได้แน่นอน อย่างนี้จะจัดให้เป็น "ภูมิปัญญาระดับท้องถิ่น" ได้ไหม อิ อิ
  • แต่ท่าน "พระพยอม กัลยาโณ" ท่านเทศนาธรรมมะ ในแบบอย่างของท่านจนคนทั้งประเทศติดกันงอมแงม และธรรมะของท่านก็ทันสมัย ใช้ได้ทั่วประเทศ ทั่วโลก เราจะจัดให้ท่านเป็น "ภูมิปัญญาระดับชาติ" ได้ไหม
  • อีก 2-3 เรื่อง ค่อยแสดงความคิดเห็นต่อนะครับน้องหนิง
  • หิวข้าวแล้ว เดี๋ยวพุงยุบ ต้องเติมซะหน่อยนะ
  • ไม่รู้ว่าความคิดเห็น "เข้าแก็ป" หรือเปล่านะ น้องหนิง หุ หุ..
พี่บู๊ทขา   ทานข้าวนานขนาดนี้  พุงโย้แล้วค่ะ   ^__*
น้องหนิงครับ พอกลับมาใช้เครื่องคอมส่วนตัวก็กลับมาพบข้อจำกัดเหมือนเดิม ไม่เป็นไรนะ "ท่านคิดว่าท่านจะสามารถแบ่งปันให้คนนอกมาใช้ภูมิปัญญาของท่านได้หรือไม่ ? ระดับใด" พี่คิดว่าภูมิปัญญาที่เป็นสาธารณะคงไม่มีปัญหาอย่างไร ใครใช้ก็ได้ แต่หากเป็นภูมิปัญญาส่วนตัว ก็แล้วแต่คนคนนั้น ซึ่งอาจจะไม่ยอมก็ได้ หรืออาจจะยอมก็ได้ เช่น ในชนบทมีคนหนึ่งค้นพบยาสมุนไพรรักษาโรคอัมพฤกษ์ ได้ดี ใครๆก็ชม หมอท่านนี้จะปกปิดความลับเรื่องของยาตัวนี้มาตลอดเวลา แม้ลูกชายตัวเองก็ไม่ทราบว่าเป็นสมุนไพรตัวใด เพราะมีความรู้ มีภูมิปัญญาเป็นทรัพย์ คือเอาไว้ขายเป็ยรายได้ส่วนตัว เข้าครอบครัว หากถามว่าส่วนตัวล่ะ ตอบตอนนี้ได้ว่าแบ่งปันแน่นอน ก็ระดับทั่วไป ที่ตอบเช่นนี้เพราะว่า ภูมิปัญญา น่าที่จะเปิดโอกาสให้ทุกคนเอาไปใช้ประโยชน์ได้ ทั้งเพื่อส่วนตัวหรือเพื่อสาธารณะก็ตาม อาจจะเกิดสิ่งที่ดีมากขึ้นก้ได้เมื่อมีการนำไปใช้ต่อเนื่อง คือ อาจจะมีการพัฒนาภูมิปัญญาให้ดีมากขึ้นก็เป็นไปได้ อะไรที่ใช้มากขึ้น มันก็พิสูจน์คุณค่าในตัวของมันเอง ในทำนองเดียวกัน ภูมิปัญญาที่เรามีอยู่ เมื่อถูกใช้มากๆ ก็อาจจะเป็นตัวต้นที่มีการต่อยอดไปสู่ภูมิปัญญาใหม่ๆเกิดเพิ่มขึ้นก็ได้ โดยหลักการแล้วควรที่จะแบ่งปันครับ ถามว่าระดับใด ตอบว่าทุกระดับ
  • ลูกช้างน้อยตามมาให้กำลังใจค่ะพี่หนิง
  • เก่งจังเลย..ไม่กล้าอยู่นานมีความผิดอยู่ทำให้คุณพ่อเศร้า แห่ะ แห่ะ..
"หากมีกิจกรรมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าระดับชาติ / ระดับนานาชาติ ควรมี มาตรการในการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างไร " ข้อนี้ไม่ค่อยเข้าใจคำถาม ดูเหมือนผู้ถามจะมีความหมายเฉพาะของเรื่องภูมิปัญญาอยู่นะ ซึ่งอาจจะเหลื่อมๆกับสิ่งที่พี่คิดอยู่ก็ได้ (เราเองก็ไม่ใช่ผู้รู้ในด้านภูมิปัญญานะ) หากไปจะต้องตอบ ก็ตอบว่า ภูมิปัญญาใดๆของไทย ถ้าจะเขาจะเกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ ก็จงใช้เขาเถอะ แต่จงฉลาดเพียงพอที่จะไม่ให้ผู้อื่นมาขโมย มา ขมาย ภูมิปัญญาของเราไปแอบอ้างเป็นลิขสิทธิของเขา แต่การแบ่งปันผลประโยชน์นั้น ไม่เข้าใจว่าจะแบ่งอย่างไร เท่าไหร่ ทำไมต้องแบ่ง ไม่แบ่งไม่ได้หรือ และมาตราฐานการแบ่งอยู่ที่ไหน น่าที่จะเป็นคนที่คลุกคลีในเรื่องนี้เป็นผู้ตอบ หรือนักกฏหมานเฉพาะด้านทางนี้โดยเฉพาะเป็นผู้ตอบ
  • ขอบพระคุณค่ะพี่บู๊ท
  • มาช่วยพี่ซะดีดี  ช้างน้อย(อ.ลูกหว้า)  นี่แหละ  คือโอกาสให้ ทำความดีชดใช้  แล้ว  555  (ถือโอกาสขู่ซะเลย ) ^__*
  • แต่ที่จริงไม่ว่า  ช้างหรือไม่ช้าง  เพียงแต่ท่านใดที่เมตตาลูกช้างครั้งนี้  ลูกช้างจะไม่ลืมพระคุณเลยค่ะ   (อ้อนๆ หน่อย ฮ่า..)
  • โอโหพี่หนิงโจทย์มากจังเลย
  • ภูมิปัญญาไทยในความเห็นของท่านหมายถึงอะไร
  •  ภูมิปัญญาไทยด้านใดบ้างที่ควรคุ้มครอง 
  • เราสามารถแบ่งระดับของภูมิปัญญา เป็นระดับชุมชน   ระดับภาค ระดับชาติได้อย่างไร
  • ขอหนังสือพ่อชื่อภูมิปัญญาไทยมาอ่านนะครับ
  • ของสกศ
"การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรพันธุกรรม เช่น การอนุญาต การกำหนดค่าตอบแทน การแบ่งปันผลประโยชน์ ฯลฯ ควรเป็นอย่างไร มีรูปแบบอย่างไร" ข้อนี้ก็เช่นกัน มันเป็นคำถามที่ผู้คลุกคลีเท่านั้นจะตอบได้ โดยเฉพาะ ค่าตอบแทน การแบ่งปันผลประโยชน์ รูปแบบการแบ่งผลประโยชน์... สมมุติว่าจะต้องตอบ ก็พอจะเคยได้ยินมาบ้างว่า เขาคิดเป็น % ของผู้ที่นำไปใช้ เช่น ฝรั่งมังค่าคิดยารักษาโรคเอดส์ได้ เขาก็ไปจดลิขสิทธิ นี่คือภูมิปัญญาอย่างหนึ่งแต่เป็น "ภูมิปัญญาเชิงธุรกิจ" หากใครซื้อยามาใช้เขาก็บวกค่าลิขสิทธิเข้าไปแล้ว ไม่รู้กี่ % นะครับ หากคิดเป็นเงินก็มหาศาลครับ แต่ยาสมุนไพรบ้านเราเจ้าของตำหรับไม่เห็นได้ค่าลิขสิทธิเลย ก็เพราะเราไม่ได้จดทะเบียน ลิขสิทธิ หรือไม่ได้ทำธุรกิจแบบนั้น ไม่แน่ในอนาคตอาจจะคิดก็ได้ ก็เตรียมไว้ก่อน พี่คิดว่าผู้จัดควรที่จะปูพื้นฐานเรื่อง ภูมิปัญญาก่อน ให้กว้างขวางที่สุดเพื่อผู้เข้าร่วมจะได้มีความเข้าใจร่วมกันก่อนครับ ผิด ตก ยกเว้น ขออภัยด้วยนะครับน้องหนิง

ทำไงหละ  อาจารย์ขจิตจ๋า...ไม่ทันแล้วค่ะ   จะประชุมแล้วอ่ะ    ขอระดมสมองในG2K แล้วกันนะคะ

เนี่ย...ยังอยู่ DSS ทำ VCD ( เถื่อน )  อิอิ

  • น่าสนใจ ครับ ไม่ทราบว่ามีวันไหน

 

แวะมาทักทาย ก่อนครับพี่หนิงครับ

จะช่วยหา และมาแนะนำด้วยครับ

ปล.ผมส่งเมล์ให้พี่ได้รับยังครับ 

  • เข้ามาชื่นชมลูกสาวพ่อครูบาฯ
  • คุณนายสายสมรดีกว่ามังคะ?
  • เก่งจริงนะ....ตัว...แค่เนี๊ย.....ย
  • มีคนถามหานะตัวเอง...........ค้นหาเอาเองนะ......จะบอกให้

ขอบพระคุณค่ะ P P P P ขอบพระคุณทุกท่านเลยนะคะ

เปิกกะโหลกกะลาแบบหนิงได้มากอย่างยิ่งเลยค่ะ  รักพี่ๆน้องๆ กัลยาณมิตรใน G2K ที่สุดเลย

วันนี้ขอกลับไวนะคะ  ไปทานข้าวกับคุณแม่บ้างดีกว่า... ^__*  อารมณ์ดีมากๆเลยค๊า...

ภูมิปัญญาไทยในความเห็นของท่านหมายถึงอะไรผมเคยทำงานวิจัยเกี่ยวกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพชาวลีซู และยิ่งค้นลึกลงไปก็ยิ่งภาคภูมิในความเป็นกลุ่มชาติพันธ์ ที่สั่งสมสิ่งดีๆจากบรรพบุรุษ

ในความเห็นของผม ภูมิปัญญา เทียบได้กับคำว่า องค์ความรู้ท้องถิ่น นะครับ คือ สิ่งใดที่ก็ตามที่เกิดขึ้นจากความคิด จากวิถีของบรรพบุรุษ ผ่านกาลเวลา มีประโยชน์ในหลายๆมิติ มีการสืบทอดสู่ลูกหลาน เป็นองค์ความรู้ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบสาน

ภูมิปัญญาไทยด้านใดบ้างที่ควรคุ้มครอง  หากจะตอบว่า ควรคุ้มครองทุกด้าน ก็เหมือนตอบแบบกำปั้นทุบดิน หากแต่เป็นเช่นนั้นจริงๆครับ สิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นภูมิปัญญาล้วนแต่มีคุณค่าทั้งหมดทั้งสิ้น 

หากไม่คุ้มครองกันแล้ว ก็จะเสียโอกาสให้กับต่างชาติ โดยเฉพาะสมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพคุณอเนกอนันต์ เราใช้กันมาตลอด พอเผลอก็มีการจดสิทธิบัตรโดยต่างชาติเสียแล้ว เป็นต้น

 

 

เราสามารถแบ่งระดับของภูมิปัญญา เป็นระดับชุมชน   ระดับภาค ระดับชาติได้อย่างไร

ผมคิดว่า การแบ่งระดับภูมิปัญญา น่าจะดูจาก ความเกี่ยวข้องของภูมิปัญญากับกลุ่ม/ระดับ หากเป็นภูมิปัญญาที่เกิดจากบรรพบรุษของคนส่วนใหญ่ (ยอมรับ) ก็ถือว่าเป็นสมบัติของชาติ แต่หากเป็นระดับชุมชนก็อาจจะเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันเฉพาะกลุ่ม สื่อความหมายได้ดีเฉพาะกลุ่มครับ

 

 

ท่านคิดว่าท่านจะสามารถแบ่งปันให้คนนอกมาใช้ภูมิปัญญาของท่านได้หรือไม่ ?           ระดับใด

ภูมิปัญญา และ องค์ความรู้ หากมีการนำไปใช้ จะถือว่าเป็นประโยชน์มากครับ อย่างน้อยเป็นการสืบสานต่อ อนุรักษ์ และผลิตซ้ำได้ ทำให้ภูมิปัญญาไม่ตาย  ดังนั้นการแบ่งให้คนนอก (นอก ในที่นี้ไม่ทราบความหมายโดยนัยนะครับ)  เป็นเรื่องที่ยอมได้ แต่ควรมีขอบเขต และคนนอกควรเคารพภูมิปัญญาด้วย

หากมีกิจกรรมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าระดับชาติ   / ระดับนานาชาติ ควรมี มาตรการในการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างไร

ต้องมีการจดสิทธิบัตรเป็นเบื้องต้น ...ส่วนเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ ผมมองในส่วนของการเชิดชูเกียรติเจ้าของภูมิปัญญา มากกว่าครับ

ให้ความเห็นเท่านี้ก่อนนะครับ....

ประเด็นนี้น่าสนใจครับ

  • ประเด็นน่าสนใจมากพอๆกับคำตอบค่ะที่บอกได้คำเดียวว่าตอบอืมมจะตอบว่าอะไรดี....
  • ความจริงดูเหมือนง่าย  ..อย่างภูมิปัญญาไทย  เรามักจะใช้บ่อยกันจัง อย่างใส่เสื้อผ้า กิน ใช้ ให้นึกถึงสินค้าไทยที่ผลิดโดยคนไทย ซึ่งได้มาด้วย "ภูมิปัญญาไทย"
  • ภูมิปัญญาไทย คืออะไรก็ตามที่สร้างขึ้นมาด้วยความรู้สึกนึกคิดและคนไทย  555 ง่ายดีไหมคะ

ขอบพระคุณค่ะ  น้องเอก  และน้องพิซซ่า 

วันนี้เหนื่อยมากค่ะ  แต่ภูมิใจค่ะ  อิอิ  วีซีดีออกมาดีมากค่ะ  ^__*  อยากดูกันแล้วใช่มั๊ย...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท