10 ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี ครั้งที่ 5


สวัสดีลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

วันจันทร์นี้ (19 กันยายน 2554) ผมได้รับเกียรติจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 5 (ซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับผู้นำท้องถิ่นกลุ่มจังหวัดภาคกลาง) ในการบรรยายพิเศษ ให้กับ กลุ่ม อบต. อบจ. เทศบาล และบุคลากรของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในโครงการติดอาวุธทางการค้าแก่ ผู้บริหารกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น หลักสูตร “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รอบรู้ AEC”  โดยผมได้รับเกียรติให้กล่าวปาฐกถาพิเศษ และบรรยายหัวข้อ “10 ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี” ณ สถาบันพัฒนาบุคลการ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งบรรยายที่ผ่านแล้ว ทั้งหมด 4 ครั้ง มีราย

ละเอียดดังนี้

ครั้งที่ 1  บรรยายในวันที่ 5 กันยายน 2554

(http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/457772)

ครั้งที่ 2  บรรยายในวันที่ 8 กันยายน 2554

(http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/459160)

ครั้งที่ 3  บรรยายในวันที่ 12 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/459981

ครั้งที่ 4  บรรยายในวันที่ 15 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/460608

ผมจะนำสาระดี ๆ และภาพบรรยากาศมาฝากทุกท่านเช่นเคยครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

ภาพบรรยากาศ

หมายเลขบันทึก: 461450เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2011 04:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
กลุ่มจังหวัดกาญจนบุรี

กลุ่มจังหวัดกาญจนบุรี

ประธานกลุ่ม คุณไพบูลย์ พุทธิพงษ์

เลขานุการกลุ่ม คุณสุรภา รุ่งอุทัย

 1 กลุ่มจังหวัดกาญจนบุรีให้ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่นอยู่ในเกณฑ์ 8.5 เหตุผล

1.1 ระบบการขนส่งเป็นเมืองหน้าด่าน เป็นประตูพัทวาน (พม่า) ทำให้ย่นระยะทางและย่นระยะเวลา

1.2 ผู้นำ (โดยเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก)

2.  ในทฤษฎี 8k’s และ 5K’s

จุดอ่อน  ทุนมนุษย์

จุดแข็ง  นโยบายภาครัฐ นโยบายผู้นำท้องถิ่น ต้องสอดรับนโยบายภาครัฐ ทุนทางกายภาพ

3. โอกาสทางเศรษฐกิจ

- ท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นจากธุรกิจการบริการและการท่องเที่ยวจากเป้าหมายปี 53 5 ล้านคน 54 – 6 ล้าน ปี 58 อาจเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้าน

- โอกาสทางสังคมและวัฒนธรรม

4. ผลักดันให้ อ.ป.ท. ในจังหวัดกำหนดหลักสูตรการเรียนภาษาทั้ง 3 ให้มากกว่า 2 ภาษาที่มีอยู่ (ภาษาจีน – ภาษาอังกฤษ)

 

 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โครงการติดอาวุธทางการค้า แก่ผู้บริหารกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น

เรื่อง “บทบาทของผู้นำต่อการค้าเสรี”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 18 กันยายน 2554

• เราต้องการกระจายผลประโยชน์ให้แก่อาเซียนทุกท่าน

• ช่วงแรกหารือใช้ระบบ Buddy เป็นการหารือกัน ไม่ได้ใช้ระบบ Lecture

• ทุนมนุษย์เกี่ยวกับปัญญา จริยธรรม และคุณภาพของมนุษย์

• ถ้าเราจะพัฒนาภาษาเขมร พม่า ภาษาจีน ในระดับท้องถิ่นจะทำอย่างไร

• หน้าที่คือต้องถ่ายทอด มีโอกาสทำงานต่อให้ประชาชนได้รับทราบ ทำวิจัยร่วมกัน บางเรื่องทำวิจัยต่อ บางเรื่องมีการจัดสัมมนาต่อ

• จังหวัดแต่ละจังหวัดต้องมีโครงการของตัวเองที่จะยอมรับ

• โครงการคิดขึ้นมาเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน ทฤษฎีตัว V มาจาก Value หรือคุณค่า ,การสร้างคุณค่าใหม่ ๆ คิดโปรเจคร่วมกัน (Value Creation) และอีกอันหนึ่งคือ Value ที่เกิดมาจากความหลากหลาย (Value Diversity) กลายเป็นความเป็นเลิศ ความหลากหลายคือสิ่งที่ท่านทั้งหลายในห้องนี้ช่วยกันคิด

• อยากให้ผู้นำท้องถิ่นมีความใฝ่รู้

สรุป Quotation

• โลกเปลี่ยนแปลงเร็วและทายไม่ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น จุดอ่อนคือผู้นำท้องถิ่นอาจมีปัญญาไม่พอ เพราะฉะนั้นเราต้องฝึกให้คิดเป็น หลีกเลี่ยงปัญหาและจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ได้ ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง

• เราสามารถอยู่ในโลกแห่งการแข่งขันได้ กรมเจรจาการค้าต้องระมัดระวังที่โชวห่วย ถูกเทสโก้โลตัสยึดไปหมดแล้ว เราจะอยู่ได้ถ้าเรามีคุณภาพของคน ถ้าทรัพยากรมนุษย์ในห้องนี้รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของท่านมีความสามารถไม่แตกต่างกับต่างประเทศ ช่องว่างอันนี้ต้องเข้าใจ

• Productivity ใส่ปัจจัยการผลิตเยอะ ต้องลดต้นทุนการผลิตของเรา เนื่องจากคุณภาพของชาวนามองออกว่าเราต้องแข่งกับคนอื่น ดังนั้นต้องสนใจในประสิทธิภาพในการผลิตของเรา

• ที่สำคัญไม่ใช่ถนน แหล่งน้ำ ขยะเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของคน เรามีคุณภาพของคนในท้องถิ่นที่อ่อนแอ

• คนในห้องนี้สำคัญที่สุดสำหรับประเทศไทย การกระจายอำนาจที่ดีต้องกระจายมาจากแก่นของมัน ท้องถิ่นรู้จริง รู้แก่นของปัญหาจริง

• ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เงิน ไม่ใช่เครื่องจักร ประเทศอยู่ได้เพราะว่าเราต้องสนใจทรัพยากร การเปิดเสรีได้เราต้องมีความสามารถที่แข่งกับสิงคโปร์ อิสราเอล

• ผู้นำในห้องนี้ต้องคิดกว้าง แต่ปฏิบัติแคบ โลกแบนเนื่องจากทุกอย่างเชื่อมโยงกันหมด ปฏิบัติที่ท้องถิ่น และให้ท้องถิ่นรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก ให้ทัศนคติของเราเปิดกว้างไว้ จะได้ใส่แนวคิดต่าง ๆ แบ่งปันกัน

• โลกในอนาคตพอพูดถึงมูลค่าหรืออะไรแล้วแต่ไม่ได้วัดจากตึก หรือที่ดินเท่านั้น แต่วัดจากความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

• สิ่งที่ต่อสู้มาในชีวิตของท่าน ล้วนต่อสู้กับความไม่แน่นอนเท่านั้น

• เราต้องมีมูลค่าแข่งกับเขา เราส่งออกไปบาทหนึ่ง ถ้าเรานำเข้าบาท ห้าสิบ เราล้มละลาย ถ้าเราไม่สามารถเอาสินค้าไทยไปสร้างมูลค่าเพิ่มแล้วสินค้าไม่มาจากท้องถิ่นแล้วเราจะอยู่ได้อย่างไร ปัจจุบันนี้ท้องถิ่นมีแค่ข้าวอย่างเดียว อาจมาจากสินค้าบริการ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นของท่านเอง บางทีอาจมี Story เล็ก ๆ เกี่ยวกับเรื่องราวในจังหวัด สิ่งที่ท่านมีอยู่นี้คือวัฒนธรรม ข้าว ภูมิปัญญาท้องถิ่น ถ้าเกิดอาเซียนเสรีเปิดมาแล้วบ้าคลั่งสินค้าบริการของเรา เราก็อยู่ได้ อยู่ได้ดีด้วย ถ้าเรา + อาเซียน+6 อาจขึ้นเป็น 1,000 ล้าน ถ้าเรามีความสามารถใคร ๆ ก็ต้องการเรา ตลาดก็จะเกิดขึ้น

• เรายากจนแต่เราไม่ยากจนเฉพาะปัญญาเท่านั้น ปริญญากับปัญญามันคนละเรื่องกัน 95% ของความสำเร็จในอนาคตมาจากภูมิปัญญาของคน อเมริกาเน่า ความเจริญเกิดขึ้นที่อินโดนีเซีย จีน อาเซียน สมัยก่อนพึ่งพาญี่ปุ่น ปัจจุบันเราไม่พึ่งแล้ว

วัตถุประสงค์ในวันนี้ คือ

อยากให้ตัวตนของท่านค้นหาตัวเองว่าอยู่ตรงไหน แล้วดึงออกมา

1. เปิดโลกทัศน์ของผู้นำในท้องถิ่นให้เห็นการเปลี่ยนแปลง

2. สร้างแรงบันดาลใจ มาเรียนที่นี่ต้องมีความสุขที่เรียน อย่ามีความทุกข์ ค้นหาสิ่งที่เกิดขึ้น 3 ชั่วโมงที่อยู่กับผม อาจมีประเด็นใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาได้ ผู้นำท้องถิ่นต้องมองโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงแล้วสนุก

3. กระตุ้นให้ทุกท่านค้นหาตัวเอง ถามว่าตัวเองเป็นผู้นำเพื่ออะไร ถามตัวเองว่ามาที่นี่เราดีขึ้นหรือไม่ ความรู้แท้จริงเรื่องอาเซียนเสรี รู้แค่ไหน รู้จริงหรือเปล่า แล้วโจทย์อาเซียนเสรีจะรู้ไปทำไม เมื่อค้นหาได้แล้ว ก็จะไปใฝ่รู้เอง ค้นหาตัวเองว่าช่องว่างของเราอาเซียนเสรีอยู่ที่ไหน กว้าง หรือแคบ รู้ให้จริง ไม่ต้องขึ้นหิ้ง

4. แสวงหาโอกาส อาเซียนเสรีต้องสร้างรายได้ให้เรา ประโยชน์ต้องมีมากกว่าผลร้าย การเปิดเสรีไม่ได้หมายความว่าเราแพ้ แต่โอกาสมีมากขึ้น ตลาดกว้างขึ้น คนไทยนอกจากอ่อนภาษาอังกฤษแล้วยังไม่สามารถฟังภาษาอื่นได้ แต่พม่าสามารถฟังไทยได้เรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะมีลาว พม่า เขมร มา ต้องรู้ภาษาให้ดี

5. การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น สร้าง Networking ขึ้นมา

6. ลดปัจจัยทางลบของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น มีความเสี่ยงเรื่องความมั่นคง และการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มากกว่าเดิม ทุนนิยมในโลกปัจจุบันขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตของคนด้วย

7. มีการแบ่งกลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำมาพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไป

8. ทำให้ท่านเป็นผู้ถ่ายทอด แต่ไม่ใช่ถ่ายทอดแค่ไปสอน เราอาจแนะนำเขาด้วยให้เขาได้ประโยชน์จริง ๆ

…………………………………..

• ถ้าอบจ. อบต.รวมกันได้อย่าลืมผู้ว่า อย่าต่างคนต่างทำ ยิ่งรวมมากเรายิ่งได้เปรียบ

10ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริงเพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี “ฝึก Training for Trainers”

1. ใน10 ประเทศ ภาคกลางยึด 2 ด้านเลย คือ ไปทางอีสาน มีลาว พม่า เขมร เวียดนาม แต่ต้องเข้าใจเขาเนื่องจากเป็นคอมมิวนิสต์เก่า ดังนั้นต้องศึกษาวัฒนธรรมให้ดี อย่างเวียดนามเคยรบกับเรา ไทยมีสนามบิน อุดรฯ ตาคลี ไทยเคยเอา 52 ไปถล่มเขาเนื่องจากเราร่วมรบกับอเมริกา แต่ปัจจุบันเราต้องเป็นพันธมิตรกับเวียดนามแล้ว

เราต้องไปรวมกับกลุ่มภาคใต้ มีมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน แต่ไม่ค่อยมีภาคไหนที่อยากทำงานร่วมกับฟิลิปปินส์ เขาอยากมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศไทย ท่านทั้งหลายต้องลองไปคิดดู ประเทศไทยไม่ค่อยมีพรมแดน แต่ก่อนชาวบ้านติดต่อกัน ประเด็นคือการค้าอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีความลุ่มลึกในความหลากหลายทางวัฒนธรรม คนภาคกลางถือว่ามีวัฒนธรรมสูงสุด มีทั้งข้าว ภาษา

การเริ่มต้นของไทยเข้าอาเซียนเป็นการเริ่มต้นทางการเมืองคือกลัวคอมมิวนิสต์ ถ้าทำงานกับเวียดนามต้องพูดให้เป็น เราต้องรู้ประวัติศาสตร์ หรือเรียกว่ามีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

อดีตอาเซียนเริ่มที่ประเทศไทย คนทำสมัยนั้นคือ คุณถนัด คอมันตร์ เริ่มจริง ๆ คือเรื่องการเมือง คือ กลัวคอมมิวนิสต์ แต่ตอนนี้ เป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม

2. ข้อตกลงร่วมมือในอาเซียนเสรี มี 3 สาขาใหญ่คือ

- เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สำคัญที่สุดคือเรื่อง Logistics กับการท่องเที่ยวเป็นหลัก มีการขายส่ง ขายปลีก การแพทย์เป็นสำคัญ

- สังคมและวัฒนธรรม ต้องเก็บวัฒนธรรมของคุณไว้ที่ภาคกลาง เป็นทุนทางวัฒนธรรม นี่คือข้อเสียของสังคมไทย เราต้องเก็บไว้ให้ดี

- ความมั่นคงทางการเมือง ความมั่นคงไม่ใช่เรื่องทหารอีกต่อไป เป็นเรื่องยาเสพติด การค้ามนุษย์ และแรงงานต่างด้าว ต้องมีนโยบายชัดเจน ว่าให้ลูกแรงงานต่างด้าวเป็นคนไทยหรือไม่

• ผู้นำท้องถิ่นต้องช่วยดูแลความมั่นคงให้มาก

3. ไทยต้องสนใจเรื่องเศรษฐกิจมากหน่อย แต่ไม่ละเลยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของเรา

• เสรี แปลว่าสินค้าและบริการที่ตกลงกันแล้วจะไม่มีการกีดกัน หลักแรกคือการลดภาษีของเรา เราต้องเข้าใจถึงระบบห่วงโซ่อุปทานด้วย ต้องคำนึงถึงมาตรฐานทีเหมือนกัน และสุขภาพอนามัยด้วย ถึงไม่มีภาษี ศุลกากร มันก็มีภาษีอื่นที่เราเข้าไป เราต้องเข้าใจถึงการเมืองและกฎหมายระหว่างประเทศด้วย

• การพัฒนาการค้าในยุคต่อไปต้องเป็นห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ผลิตที่ฟาร์ม ผ่านกระบวนการ แล้วไปถึงผู้บริโภค ดังนั้นการทำธุรกิจการเกษตรที่จะขายต่อไปต้องระวังเรื่องนี้มาก ๆ

• ถ้าท้องถิ่นอ่อนแอ..ธุรกิจบางอย่างก็อาจหายไป เราต้องทำให้เราเข้มแข็ง ถ้าอ่อนแอบางอย่างเราต้องมีจุดแข็งบางอย่างถึงจะชนะ

• การค้าเสรีไม่ได้หมายความว่าเราจะชนะทุกเรื่อง

• การเปิดเสรีทางการลงทุน เงินอย่างเดียวไม่พอ ถ้าจะมาต้องรู้จักประเทศไทย รู้กฎระเบียบต่าง ๆ รู้เขา รู้เรา ถ้าอบต.ไหนใกล้ชายแดน มีเจ้าหน้าที่อาเซียนเพื่อดูแลอาเซียนโดยตรง ดังนั้นเราจึงต้องลงทุนด้านข้อมูล ข่าวสาร

• การเคลื่อนย้ายแรงงาน เคลื่อนย้ายแล้วประเทศไทยได้ประโยชน์หรือไม่ เราต้องเก่งจริง บางประเทศที่ได้รับการอนุมัติก็ไปกับประเทศอื่น ๆ ได้

• มีการคุยอยู่ว่ามัคคุเทศก์ไทยไปทำงานต่างประเทศได้หรือไม่ แล้วมัคคุเทศก์ต่างชาติมาทำงานในไทยได้หรือไม่

• เราไม่ได้มีอาเซียนอย่างเดียวแต่มี อาเซียน + 6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) เซ็นสัญญาที่เป็นพันธมิตรกัน

• ท้องถิ่นต้องมองสิ่งที่เจรจากับประเทศเหล่านั้น แม้ไม่ได้เปิด 10 ประเทศก็ตาม

4. เมื่อท่านเห็นภาพดังกล่าว สิ่งสำคัญที่สุดคือการค้นหาตัวท่าน

• ต้องคิดวิเคราะห์ให้เป็น ทั้งโอกาสและการคุกคาม เตรียมพร้อม และรู้จักฉกฉวย มีโอกาสแล้วเราต้องรู้ว่าคืออะไร เป็นลักษณะของการวิเคราะห์เชิงรุก อย่าตั้งรับ หลีกเลี่ยงการคุกคาม อะไรก็ตามที่เป็นอันตรายให้อันตรายน้อยที่สุด

• ขอเพิ่มทฤษฎีตัว C-Confidence ความมั่นใจ ทุกคนต้องมีความมั่นใจว่าปรับตัวได้ มองโลกในแง่ดี อย่าคิดว่าเป็นความล้มเหลวของประเทศ มีการกว้านซื้อที่ในภาคอีสาน อีสานกลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของโลกไปแล้ว เรียกว่าทฤษฎีกระเด้ง เราต้องสู้กับเขาให้ได้ ความมั่นใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ

• ในอดีตมีข้อผิดพลาดคือเราไม่ได้อยู่เฉย ๆ มี WTO มีการเซ็น FTA ไทย-อินเดีย ไทย-จีน แต่เราไม่ค่อยเข้าไปดูท้องถิ่น ก่อนมีอาเซียนเสรี คนได้ประโยชน์คือ ผู้ส่งออกและแรงงานที่มีคุณภาพ แต่ปรากฎว่าโชวห่วยปิดตัวจำนวนมาก ซึ่งการเปิดเสรีอาเซียนในครั้งนี้ เป็นข้อดีที่ให้ความสำคัญกับผู้นำท้องถิ่น สิ่งสำคัญที่สุดคือคนที่อยู่รากหญ้า แล้วผู้นำในห้องนี้คือผู้นำที่อยู่กับคนรากหญ้า ไม่มีประเทศไหนที่อยู่รอดได้ดีโดยปราศจากผู้นำท้องถิ่นที่เก่ง

• สร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านทาง Story ให้ชาวต่างชาติเรียนรู้ ซึ่งเขาชอบเรียนรู้ผ่านทางภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งนี้เรียกว่าทุนทางวัฒนธรรม

5. การปรับตัวของผู้นำท้องถิ่น ต้องมีเรื่อง

- การเข้าใจและศึกษาให้ถ่องแท้ ว่ามีทั้งโอกาสและการคุกคาม

- โอกาสที่เกิดมีอะไรบ้าง สิ่งแรกคือการขยายตลาด ผู้บริโภคเปลี่ยนจาก 64 ล้านคนมา 500 กว่าล้านคน โอกาสคือเราต้องให้สินค้ามีคุณภาพ ผู้นำมีคุณภาพ มีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ และมีผู้บริโภคที่อยากบริโภคสินค้าและบริการของเรา ตลาดจึงเพิ่มขึ้น ดังนั้นอย่าคิดว่าท้องถิ่นมีความสามารถไม่พอ ขาดอะไรก็บอก ท้องถิ่นต้องประสมกับการบริหารจัดการยุคใหม่ ต้องรับใช้สินค้าในพื้นที่ แต่ต้องช่วยบริการเรื่องบรรจุภัณฑ์ ภาพลักษณ์ สอนให้บริการเรื่อง Website

- การปรับตัวที่สำคัญที่สุดคือปรับทัศนคติ ต่อไปนี้ประเทศไทยไม่เหมือนเดิมอีกแล้วต้องเข้าอยู่ในสังคมอาเซียน ต้องอยู่ร่วมกัน ต้องมองในแง่มุมบวก อย่ามองในแง่มุมลบ แล้วเราต้องรุกไปเรื่อย ๆ สิ่งนี้สำคัญ มีนิสัยเป็นชุมชนเดียว เป็นอาเซียนคอมมิวนิตี้ มีการกระจายความรู้ไปให้ชุมชน และกระจายไปให้ชาวบ้านทราบด้วยว่าเป็นชาวอาเซียนด้วย เพิ่มทัศนคติบวกว่าเราต้องทำได้ และคิดว่าดี และต้องรู้ว่าท่านไม่ได้เป็นผู้นำของชุมชนและอำเภอเท่านั้น แต่ท่านเป็นผู้นำของชุมชนอาเซียน และถ้าในอนาคตเราไม่รวมตัว แต่ประเทศอื่นก็รวม เราต้องอยู่ร่วมกัน ต่างคนต่างอยู่จะรอดหรือไม่ ? ดูตัวอย่างยุโรปรวมตัวกัน 27 ประเทศ

6. สำคัญที่สุดคือ ต้องเป็นชุมชนที่รักษาภูมิปัญญา รากเหง้า ความเป็นตัวตนท้องถิ่น แล้วสร้างมูลค่าเพิ่ม

7. ต้องพัฒนาคนไทยให้สื่อสารเป็น มีภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียน แล้วต้องรู้จักวัฒนธรรมของประเทศเหล่านั้นด้วย รู้กฎหมายของประเทศเหล่านั้น อยากให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในท้องถิ่นมาจากโรงเรียนเทศบาลหรือโรงเรียนอบต.เพิ่มขึ้น ท่านต้องปลูกฝังให้ดีขึ้น

8. การสร้างความใฝ่รู้เป็นเรื่องสำคัญ สร้างสังคมการเรียนรู้ ต้องให้เกิดในตัวคุณก่อนถึงค่อยเกิดในชาวบ้านต้องกระตุ้นให้เขาเก่งขึ้น ตั้งคำถาม ใฝ่รู้คนเดียวไม่พอต้องให้ชาวบ้านใฝ่รู้ด้วย

9. การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์

8K’s

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5K’s

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

• ทุนมนุษย์หมายถึงต้องเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ ต้องมีการลงทุน มีวิธีการเรียนรู้

• ทุนจริยธรรม ทำเพื่อโปร่งใส่ สมดุล

• ถ้าผู้นำในห้องนี้มีทุนทางวัฒนธรรม เราต้องมีคุณค่าให้คนยกย่องเรา การท่องเที่ยว มีการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นมา การควบคุมอารมณ์ให้ได้

• เครือข่ายต้องกว้างขึ้น

• ทำอะไรวันนี้ต้องอยู่รอดในระยะยาว ต้องให้ลูกบ้านท่านรอดด้วย

• ต้องมีเทคโนโลยีสารสนเทศ

• ถ้าเราเก่งจริง ต้องมี 3 อย่างพร้อมกันคือทักษะ ความรู้ ทัศนคติ ในอาเซียนเสรีทัศนคติที่สำคัญคือความมั่นใจในตัวเอง เน้นการอยู่ร่วมกัน แล้วคิดบวก บางครั้งอาจมีการสร้างกระแสอาเซียนเสรีว่าเราสามารถสู้ได้

• ต้องคิดต่างจากคนอื่น ต้องมีความรู้ ทุกคนในประเทศไทยห้ามใช้แรงงานราคาถูกอีกต่อไป อย่างชุมชนให้เขาสนใจอาชีพของเขา พัฒนาความคิด และความรู้ในอาชีพให้มีรายได้สูงขึ้น

• ทำกิจกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ นวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือนวัตกรรมที่มาจากภูมิปัญญาของเรา

• แล้วเราต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้ อย่าให้อารมณ์โกรธ เกลียด มีจิตใจสงบนิ่ง

• เปลี่ยนวิถีชีวิต ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์เป็นมูลค่าของเรา

• คำถามคือทั้ง 8K’s ,5K’s จะทำอย่างไรในระดับท้องถิ่น

10. ต้องบริหารความเสี่ยงให้เป็น โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

• เดินสายกลาง มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี มีคุณธรรม มีความรู้

• รู้จริง อยู่กับความจริง อยู่ภายใต้ความสามารถที่จะจัดการได้ เช่นมีวรรณเกษตร สามารถจัดการเอง และเก็บกินเองได้

สรุป

• แนวคิด 10 ประเด็นเป็นบันไดขั้นแรก ขึ้นบันไดให้ดี ขึ้น 1 ได้ ไป 2 ไป 3 ให้เห็นบันได

• ที่ให้ไปคือเครื่องมือ เบ็ดตกปลา สอนให้คิดและมีความคิดของตัวเอง ซึมกับมันแล้วถ่ายทอดได้

• หนทางที่เดินมีอุปสรรคและขรุขระบ้าง ดังนั้นต้องฝึกไปเรื่อย ๆ อย่าคิดว่าฟังแล้ววันนี้เก่งทันที่ ต้องรู้ให้จริง

• ต้องมีแรงบันดาลใจ แล้วทำงานร่วมกับท้องถิ่นเราก้าวสู่สมาคมอาเซียนด้วยความเข้มแข็ง มีกรมเจรจาการค้า กรมการปกครองท้องถิ่น แล้ว ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แล้วท่าน

สุดท้าย .. เสนอแนะวิธีการถ่ายทอดไปให้ประชาชนท้องถิ่น 6 ประเด็น

1.เตรียมการพูดและหัวข้อให้ดี รู้ให้จริงก่อน ถ่ายทอดให้ได้ ให้เขาคิดแล้วเอาไปทำ

2. เข้าใจเสียก่อนว่าอาเซียนคืออะไร มี 3 แท่งคือ เศรษฐกิจ การค้าการลงทุน, สังคมวัฒนธรรม ,ความมั่นคงทางการเมือง

3. สำคัญต่อท้องถิ่นอย่างไร

4. โอกาสคืออะไรความเสี่ยงคืออะไรในจังหวัดนั้น ให้ชาวบ้านคิดดู

5. วิธีการนำเสนอใช้ 2 R’s เกี่ยวกับความจริง บริบทของท้องถิ่นคืออะไร และตรงประเด็นกับเขา ประเด็นที่สำคัญต่อชาวบ้านคืออะไร

6. การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ อย่าให้เบื่อ เน้นวิธีการเรียนรู้แบบ 4L’s มีการกระตุ้นให้คิด สร้างบรรยากาศให้อยากเรียน อบอุ่นสนุก เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความคิดเห็น มีการปะทะกันทางปัญญา กระตุ้นให้ใฝ่รู้ เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เมื่อคุณไม่อยู่แล้วชาวบ้านต้องหารือกัน ถกเถียงกัน อบต.ที่เทศบาลต้องเต็มไปด้วยปัญญา

Workshop

ให้เวลา 2 นาที คุยกับคนในโต๊ะสรุปในช่วงเช้าสิ่งที่ได้ฟังจากอาจารย์จีระ

จังหวัดบุรีรัมย์

• สิ่งที่ได้รับการฟังการบรรยายเกี่ยวกับการเปิดเสรี ที่อำเภอบ้านกรวดพอสรุปให้เข้ากับการสัมมนาครั้งนี้มีทั้งผลดีและผลเสีย ผลดีคือที่บ้านกรวดได้มีสินค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นพืชการเกษตรไม่ว่าจะเป็นผักที่เกิดตามริมรั้ว ชาวบ้านเก็บไปขายได้ ประเทศกัมพูชาที่มาขายที่จุดผ่านแดน กัมพูชามาขายให้เราเป็นสัตว์ตามทุ่งนา เช่น กบ อึ่งอ่าง ปลา เมื่อไทยขายพืช ผัก ส่วนผสมต่าง ๆ ก็มีการซื้อสัตว์ตามทุ่งนาเข้ามา สิ่งที่ดีคือการค้าขายและนำกลับมา ข้อเสียคือ อาหารที่ซื้อมาคือโรคระบาดตามมาด้วย

• ดร.จีระ บอกว่าจังหวัดไหนติดชายแดนจะมุ่งมั่นสูง แต่ภาคกลางก็ต้องมุ่งมั่นสูงเช่นกัน

• การค้าขายทำให้สวัสดิการของ 2 ประเทศดีขึ้น การค้าขายอาจไม่ใช้สินค้าก็ได้ เช่นการบริหารจัดการทำให้จีนเป็นต้น ท้องถิ่นต้องเป็นพ่อค้าด้วย แล้วเป็นพ่อค้าที่มีประสบการณ์เป็นต้น

จังหวัดนครปฐม

• ถ้าเราลงไปทำในพื้นที่ด้านภาษา ด้านการเรียนรู้สำคัญ เพราะว่าถ้าประชาชนไม่เรียนรู้ ก็จะก้าวไปไม่ได้

• ด้านวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เราต้องพยายามดึงมาให้ได้หาอะไรที่เป็นจุดเด่นต้องดึงออกมา ซึ่งจะไม่เหมือนกันในแต่ละท้องที่

• ดร.จีระ บอกว่า เราต้องเอาทุนทางวัฒนธรรมไปบวกกับการตลาดและการบริหารจัดการยุคใหม่

ท่านที่ปรึกษากระทรวงพาณิชย์ฯ

• จะอาศัยบทบาทในฐานะผู้นำท้องถิ่นไปเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้มีสังคมดีขึ้น

• ให้มีความเข้าใจ มุ่งมั่นในการทำ ค้นหาศักยภาพของตัวเองให้เจอว่ามีอะไรบ้าง

• ดร.จีระ บอกว่าตัวเราเองต้องค้นหาตัวเอง ไม่ใช่มีเจ้านายสั่ง อยากให้ทุกท่านรู้ว่าศักยภาพอยู่ข้างใน

Workshop

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น

(ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

จังหวัดบุรีรัมย์

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น

(ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

ให้ 10 คะแนน เพราะ

อบต.ยังไม่รู้เรื่องเทศบาลเลยแล้วเราจะรู้เรื่องอาเซียนได้อย่างไร มองว่าสำคัญมากและเห็นว่าเป็นเรื่องใหม่ของเรา ดังนั้นการปรับตัวของชุมชนจึงเป็นวิถีที่กระทบ การสร้างชุมชนแลกเปลี่ยนความรู้และช่วยเหลือกันอยู่ จึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่งที่ชนบทปรับตัวให้นอกวิถีของเรา

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

จุดแข็ง

- ทุนแห่งความสุข ยอมรับทุกอย่าง

- ทุนทางสังคมมีบ้างทำเครือข่ายร่วมกัน

- ITของท้องถิ่นบุรีรัมย์ สามารถปริ้นออกมาได้เลย

- ทุนทักษะ ความรู้ ทัศนคติ ถ้ามีความศรัทธาว่าจะไปได้มันต้องได้

- ทุนทางวัฒนธรรม มีความหลากหลาย หลายภาษา ติดชายแดน ไม่มีน้ำท่วม สินค้าค้าขายสะดวกขึ้น ภาษาเขมรเป็นจุดแข็ง

- กีฬาสร้างความสามัคคีและรวมพลัง เป็นความเป็นหนึ่งเดียวกัน สร้างการรวมตัวกันเหมือนทฤษฎีขนมเปียกปูน ร่วมมือกัน เชื่อมโยงไปการท่องเที่ยว ปราสาทหินพนมรุ้ง การค้าชายแดน

จุดอ่อน

- ทุนมนุษย์ต่ำอยู่เนื่องจากการศึกษายังไม่ถึงไหน

- ทุนทางปัญญามนุษย์ไม่ใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาแต่ชอบใช้กำลัง

- ทุนทางจริยธรรมขาดธรรมาภิบาล และแผนที่ดี

- ทุนทางสังคม บางท้องถิ่นขาดเครือข่ายแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกัน

- ทุนแห่งความยั่งยืน ไม่ค่อยมองถึงอนาคต

- ทุนทาง IT ไม่ค่อยทันกับที่อื่น

• ดร.จีระเสนอว่า อาจใช้โทรศัพท์มือถือเป็นการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเรียนภาษาในอนาคตได้

• ปัญหาทุนแห่งความสุข เงินไม่ใช่ตัวแปรของทุนแห่งความสุขเท่านั้น อย่างอยู่ภาคอีสาน อยู่กับธรรมชาติ คุณภาพชีวิตอาจดีขึ้นได้

• ความรู้เกิดจากที่เราสร้างความรู้ร่วมกัน

• ทุนแปลว่าต้องเสียไปก่อนถึงได้มา แต่ถ้าจบแล้วทุกคนเข้าใจแล้วไปปรับตัว แทนที่บ้าอำนาจกับความสมดุลในชีวิต

• ดร.จีระ เสนอบุรีรัมย์ สุรินทร์เป็นศูนย์ภาษาเขมรอาเซียน

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชาวบ้านให้ความรู้จริง ๆ ถ่ายทอดไปแล้วประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร ต้องทำความเข้าใจเรื่องอาเซียนเสรีกับพี่น้องประชาชนจริง ๆ BOI อนุญาตให้ต่างชาติซื้อยางในประเทศไทย ต้องนำความรู้สู่ฐานรากอย่างจริงจัง ถ่ายทอดองค์ความรู้แบบเป็นยี่ห้อของอาเซียน

จังหวัดนครปฐม

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น

(ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

10 คะแนน เพราะ

1.เป็นโครงการที่ดีแต่ภาคกลางไม่ได้อยู่แหล่งชายแดนแต่มีประชากรระดับสูง กลาง ต่ำ และคนเมืองและชนบทไม่เข้าใจกัน

2. อยู่ในชนบทชอบอยู่อย่างสันโดษ

3. มีการเกษตร โบราณสถาน ฯลฯ ไม่มีความรู้ไปแนะนำคนในท้องถิ่นเรื่องแหล่งรายได้ ถ้าคนเก่งกว่ามาทำอาจแย่งรายได้ไป

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

จุดแข็ง

• ทุนทางวัฒนธรรม มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ตำนานประวัติศาสตร์ ประเพณีต่าง ๆ

• ทุนทางนวัตกรรม ยาสมุนไพรเยอะมาก แต่ไม่มีการส่งเสริม

จุดอ่อน

• ทุน IT ชาวบ้านไม่รู้เรื่อง

• ทุนทางสังคม ไม่มีการคำนึงถึงเรื่องส่วนรวม ทีมชาติไทยไม่ประสบความสำเร็จเพราะเป็นการรวมหลายฝ่ายแต่ทำคนเดียวเก่ง

ดร.จีระ เสนอให้เอาคนระดับ บน กลาง ล่างมารวมกัน

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

จังหวัดราชบุรี กับจังหวัดสมุทรสงคราม

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น (ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

ราชบุรีมีทั้งเกษตร ท่องเที่ยว พลังงาน

7 คะแนน เพราะ นายกเทศมนตรี กับ อบต. ยังวิตกเรื่องคนมีงานทำ รายได้อยู่มากกว่าเรื่องอาเซียน

เพราะ

1.ผู้บริหารท้องถิ่นยังเป็นห่วงเรื่องอาชีพการเรียนการสอนรายได้ ฯลฯ ของท้องถิ่นอยู่ แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นภาระของประเทศที่ต้องผลักดันให้การค้าเสรีเข้าไปถึงรากหญ้า

2. พี่น้องท้องถิ่นจำเป็นต้องปรับตัว

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

จุดแข็ง

ทุนทางวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนาพุทธ

ทุนแห่งความสุข มีพระมหากษัตริย์เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

ทุนทางสังคมอยู่ร่วมกับชุมชน เชื้อชาติ

จุดอ่อน

ทุนมนุษย์ มีหลายเชื้อชาติ

ทุนทางปัญญา มาตรฐานการศึกษาไม่ได้เท่าไหร่

ทุนแห่งความยั่งยืน ขาดความต่อเนื่อง

ทุนทาง IT พี่น้องประชาชนเข้าถึงได้ไม่เท่าไหร่

ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ทำให้การดำเนินการบางเรื่องไม่ประสบความสำเร็จ

• ดร.จีระ ให้เพิ่มทัศนคติบวกกับการแข่งขัน

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

ทีมงานที่มาส่วนใหญ่เป็นผู้นำ บางสิ่งในวันนี้เพิ่งได้รู้ แต่ชุมชนจะได้รับทราบเท่าไหร่

กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มไหนก่อนเพื่อเผยแพร่

ดำเนินการบรรยายให้ความรู้กับอาเซียน ให้ชุมชนเห็นภาพ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน หาวิธีป้องกัน ทำ Workshop เผยแพร่ความรู้ทางเอกสารชี้แจงเป็นเสียงตามสาย ใช้วิทยุชุมชน

ที่ปรึกษาฯ

• การพัฒนาเครือข่ายเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับกระทรวง เพราะว่าการมองประเทศอาเซียนเป็นพันธมิตรเราจะมองเป็นการแบ่งผลประโยชน์มากขึ้น ทำให้มีความก้าวหน้าไปด้วยกัน ประเทศไหนมีจุดเด่น ก็ทำตรงนั้น เป็นลักษณะแบ่งงานกันทำตามความถนัด

• ต้องนึกถึงเครือข่ายพันธมิตรในประเทศด้วย และเครือข่ายในการทำธุรกิจ ต้องมีการเรียนรู้มากขึ้น

• เรื่องกลุ่มนครปฐม มีจุดเด่นหลายประการน่าจะพัฒนาขึ้นไป อันนึงที่เป็น Case ที่น่าสนใจมากคือ จังหวัดนครปฐมเป็นแหล่งผลิต ส่งออกผลไม้ไปตลาดโลกที่มีชื่อเสียงและได้รับมาตรฐาน ดึงเรื่องการวิจัยพัฒนามาช่วยพัฒนาศักยภาพจังหวัดไปสู่ระดับโลกได้

ดร.จีระ

• การสร้างบรรยากาศการเรียนต้องรับฟังแล้วเอาความเป็นเลิศเข้ามา เราต้องยืนอยู่บนตัวของเราเอง ต้องค้นหาตัวเองให้ดี นี่คือจุดหนึ่งในการพัฒนาทุนมนุษย์ คิดเป็น วิเคราะห์เป็นใช้เทคโนโลยีเป็นจะจ้างงานได้เยอะ โดยไม่ต้องไปพึ่งรัฐบาล

• ในชุมชนมีธุรกิจเหล็ก สิ่งทอ ฯลฯ แสดงว่าเรามีความสามารถในการพึ่งตัวเอง

กลุ่มจังหวัดเพชรบุรี สิงห์บุรี

กลุ่มจังหวัดเพชรบุรี สิงห์บุรี

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น

(ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

7 คะแนน เพราะ

1.มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่น เช่น ธุรกิจโชวห่วยที่ต้องหายตัวไปเมื่อโลตัสเข้ามา

2.เกิดการแข่งขันในเรื่องคุณภาพ สินค้า แรงงาน / ลาว พม่า ค่าแรงถูก

3.การใช้ทรัพยากรของท้องถิ่นมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับท้องถิ่น ในด้าน สังคม ประเพณี วัฒนธรรม เช่นลาวจะมีทรัพยากรมาก เป็นต้น

4.มีการร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่นเทคโนโลยี วัฒนธรรม การสื่อสาร การท่องเที่ยว

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

จุดแข็ง

1. มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม ประเพณี การอยู่ร่วมกันได้

2. เป็นสังคมแบ่งปัน

3. มีทรัพยากรธรรมชาติ

จุดอ่อน

1. ความรู้ในด้านการศึกษายังมีน้อย การนำเทคโนโลยีมาใช้ยังน้อย (ทักษะ)

2. ขาดความเชื่อมั่น, ไม่มีความคิดสร้างสรรค์

3. ทุนทางเทคโนโลยียังไม่พร้อม

4. ขาดวินัย ไม่เคารพกติกา

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

โอกาสด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีประเพณีจำนวนมาก เช่นประเพณีข้าวห่อ มีโบราณสถานต่าง ๆ

ความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง วัฒนธรรมของต่างประเทศ โดยเรารับจากต่างประเทศ

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

1.ประชุมผู้นำ,ผู้บริหาร

2.รวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น (อบรม)

3.เผยแพร่ประชาสัมพันธ์

ความสำเร็จ

1.ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้

2.มีการปรับตัวพร้อมรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

3.มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ

• ท้องถิ่นเป็นยูนิตเล็ก ๆ แต่หลายชนิดสามารถขับเคลื่อนประเทศไปได้

• เราไม่สามารถหยุดนิ่งได้ เพราะเราจะเคลื่อนไปในสังคมโลก

• เราต้องเตรียมความพร้อมในการแข่งขัน

• มีการพัฒนาตนเอง /พัฒนาทุน / สินค้า

• ต้องอยู่ในกฎ กติกาของโลกได้

• ต้องต่อสู้กับข้อกีดกันต่าง ๆ ได้

กลุ่มจังหวัดลพบุรี

จังหวัดลพบุรี

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น

(ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

8 คะแนน เพราะ

1.เป็นเมืองวัฒนธรรม มีประวัติศาสตร์ เมืองพระนารายณ์ มีความสัมพันธ์ทางการค้ามาแต่โบราณ ,ศาลพระกาฬ,ปรางค์สามยอด,อารยธรรมโบราณ ,โครงกระดูกมนุษย์อายุประมาณ 1,200 ปี ที่บ้านหลุมขาว,โปร่งมะนาว/บัวชุม

2.แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ มีเขาสมโภชน์ จำปีสิรินทร เขาพญาเดินธง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

3.เมืองผลิตพลังงานทดแทน พลังแสดงอาทิตย์ อ.โคกสำโรง ,วังเพลิง,พัฒนานิคม, โรงงานผลิตแอทธานอล พลังงานทดแทน ใช้มันสำปะหลัง,อ้อย

4.เมืองทหาร

- ความมั่นคงปลอดภัย

- ผลิตนักรบดำ

- แหล่งยุทธศาสตร์ทางทหาร

5.เมืองแห่งภาษาศาสตร์

- ภาษาพวน /ลาวพวน ไทยเมิ้ง มอญ

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

จุดแข็ง

1.ทุนทางวัฒนธรรม

2.ทุนทางจริยธรรม ประเพรี วัฒนธรรม แหล่งวัฒนธรรมของตนเอง เช่นงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ งานทุ่งทานตะวัน

3.ทุนแห่งความยั่งยืน มีธรรมชาติสมบูรณ์

4.ทุนแห่งความสุข เป็นแหล่งน้ำ (เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) พื้นที่การเกษตร ,พลังงานทดแทน

5.ทุนทางปัญญา มีสถานศึกษา(มหาวิทยาลัยหลายแห่ง)

จุดอ่อน

1. ที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึง มีน้ำหลาก ปริมาณน้ำมาก

2. เทคโนโลยียังไม่เพียงพอ

3. พื้นที่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม พึ่งพาสารเคมีมาก

4. ขาดการรวมกลุ่ม (ผลประโยชน์ร่วม)

5. ขาดการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

โอกาส จังหวัดลพบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นหลัก มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวจำนวนมาก

มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เป็นแหล่งที่ตั้งของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในเขตภาคกลางตอนบน (ลพบุรี,สิงห์บุรี,อ่างทอง,ชัยนาท)

-ป่าเขาสมโภชน์ มีสัตว์ป่าพันธุ์ที่สงวน หมีควาย เก้ง กวาง ทราย ละมั่ง

-เขาอ้ายโป๊ด มีพันธุ์พืชทางสมุนไพร รักษาโรค ทุกชนิด

-ป่าจำปีสิรินธร พันธ์ไม้จำปีที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก

-มีงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ประเพณีทุกปี แสงสีเสียงอลังการ

-มี การจัดโต๊ะจีนลิง เป็นการอภัยทานแก่สัตว์ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

ความเสี่ยง

-ป่าธรรมชาติ หากมักท่องเที่ยวเข้าไปมาก ขาดการดูแลจะทำให้เกิดมลภาวะ เช่นขยะ มลภาวะทางเสียง

-พลังงานทดแทนโรงงานแอทธานอล ปล่อยน้ำเสีย อำเภอชัยบาดาล

-งานแผ่นดินฯ มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมาก อาจเกิดอันตรายต่อชาวต่างชาติหาชาวบ้านขาดคุณธรรม ถ้าอบต.รัฐ ดูแลไม่ทั่วถึง

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

1.ปลูกฝังการศึกษาตั้งแต่เยาว์วัย โดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นบรรจุในหลักสูตร ให้อปท.กำหนดหลักสูตรลงในตำราเรียน

2.การประชาสัมพันธ์ในทุกสื่อ

3.สร้างเครือข่าย องค์กรในตำบล หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด

สรุป

1.จะต้องเรียนรู้สิ่งที่ตนเองมีอยู่ในพื้นที่

2.ประชาสัมพันธ์สิ่งที่มีอยู่ให้คนอื่นรู้

3.มีกระบวนการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน เช่นพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น พัฒนาระบบสารสนเทศ และใช้ประโยชน์

กลุ่มจังหวัดสระบุรี

จังหวัดสระบุรี

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น

(ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

7 คะแนน เพราะ

1.จังหวัดสระบุรีเป็นแหล่งการผลิตอาหาร

2.เป็นแหล่งผลิตวัสดุก่อสร้าง

3.เสนอจังหวัดเป็นชุมทางการขนส่ง ของภาคกลางตอนบน

จึงเป็นการสร้างโอกาสที่ดีของท้องถิ่นที่จะเพิ่มความตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการในการพัฒนาการผลิต ตลอดจนพัฒนาระบบการขนส่งเพื่อให้สามารถเป็นเมืองศูนย์กลางในการพัฒนาที่ยั่งยืน

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

จุดแข็ง

1.ทุนทางวัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรม ไทย-ญวน,ศิลปะ ประเพณี ศาสนาทางแหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ เช่น ประเพณีตักบาตรดอกไม้ นมัสการพระพุทธบาท

-เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

-แหล่งผลิตอาหาร ข้าว ผัก ผลไม้

-แหล่งผลิตวัสดุก่อสร้าง

2. ทุนทางความสุขของประชาชน

จุดอ่อน

1.มลพิษทางอากาศ ฝุ่นละอองจากภาคอุตสาหกรรม การขนส่งวัสดุก่อสร้าง

2.พื้นที่เป็นแหล่งรับน้ำ (น้ำท่วมขัง)

3.ขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือและทักษะ

4.เกษตกรขาดการรวมกลุ่มสร้างพลังต่อรอง

5.การศึกษาของประชาชนยังอยู่ในระดับต่ำ

6.เกษตรกรยังใช้สารเคมี ในการเพิ่มผลผลิต

วิธีแก้ไข

1.สร้างความาตระหนักถึงผลกระทบที่ได้รับให้ผู้ประกอบการ ประชาชนร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจัง

2.หาพื้นที่ที่เป็นพื้นที่รองรับน้ำ (น้ำท่วม) เพื่อสามารถใช้ในฤดูแล้ง และรองรับในเวลาที่มีปริมาณน้ำมากเกิดความต้องการ

3.ฝึกฝนแรงงานให้มีการฝึกทักษะให้มีฝีมือเป็นที่ยอมรับ

4.ให้มีการรวมกลุ่ม (สหกรณ์)

5.ส่งเสริมให้มีการศึกษาตั้งแต่เล็ก (ศูนย์เด็กเล็ก ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ)

กลุ่มจังหวัดนนทบุรี,สมุทรสาคร

กลุ่มจังหวัดนนทบุรี,สมุทรสาคร

1. ให้ระดับคะแนน 6 คะแนน

  • เพิ่มช่องทางการทำธุรกิจให้เหมาะสมกับท้องถิ่น คือจังหวัดนนทบุรี เป็นศูนย์กลางการคมนาคม เหมาะแก่การเป็นตลาดกลางเพื่อกระจายสินค้าด้านเกษตรกรรมและวัตถุดิบ
  • จังหวัดนนทบุรีมีพื้นที่ปลูกทุเรียนลดน้อยลง จึงต้องโยกย้ายฐานการเพาะปลูก โดยนำความรู้ที่มีไปหาแหล่งที่เหมาะสมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ประกอบกับการพิจารณาค่าแรงงานที่ถูกกว่า
  • เพิ่มรายได้ให้ประชาชน โดยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ ประเพณี (จุดแข็งคือ มีแม่น้ำลำคลอง, ไม้ดอกไม้ประดับ ตลาดน้ำ)

2. ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน (จ.นนทบุรี)

ทฤษฎี 8K’s

จุดอ่อน

  • ทางสังคม จากความเจริญจนกลายเป็นอยู่อย่างแข่งขัน

จุดแข็ง

  • มีปราชญ์ท้องถิ่น (ปราชญ์ชาวบ้าน) นักวิชาการ รมต. ดร.สุรินทร์ (เลขาอาเซียน)
  • อยู่ใกล้ กทม. เป็นแหล่งเจริญมี ร.ร. ม.ศูนย์การค้า
  • มีองค์ความรู้ของวิชาชีพ
  • เป็นศูนย์ TT สื่อสาร
  • พ.ท.สีเขียว

ทฤษฎี 5K’s

จุดอ่อน

                1  การจราจรคับคั่ง อารมณ์เสีย

                2 พท.ปัจจุบัน ขายให้นายทุน / จัดสรร ทำให้ พท.ทางการเกษตรน้อยลง ทำให้นา/ สวนลดลง

 

จุดแข็ง

                1 อยู่ใกล้สถานศึกษา ม. รร. กทม.

                2 ปชช ส่วนใหญ่มีฐานะดี

3. การอยู่รวมกันในชุมชนตำบล ถือเป็นสังคมหนึ่ง ซึ่งขอยกตัวอย่างที่เกาะเกร็ด ซึ่งมีวัฒนธรรมที่แตกต่างจากชนกลุ่มชั้นต่างๆ เห็นได้ชัด เพราะอยู่กันเป็นเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกได้ว่าเป็นชุมชนมอญ ซึ่งตั้งรกรากมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ การสอนลูกหลานไว้นั้นคือเครื่องปั้นดินเผาลายที่มีเอกลักษณ์ของชาวมอญ “หม้อน้ำ ลายวิจิตร”
 อาหารก็ได้แก่ ทอดมันหน่อกะลา จะมีที่เกาะเกร็ดเท่านั้น ที่จะเลิศรส ถ้าพูดถึงจังหวัดนนทบุรี ทุกคนจะนึกถึงเกาะเกร็ดขึ้นมาทันที สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสให้ชุมชนคงอยู่ อีกทั้งยังอนุรักษ์วัด วาอาราม วัฒนธรรมประเพณีให้คงอยู่

ก็ยังมีความเสี่ยง ที่ต้องหลีกเลี่ยง คือ

1 เมื่อเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ก็จะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ถ้าไม่ควบคุมให้ดีปริมาณขยะจะเพิ่มมากขึ้น

2 อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำทะเลหนุนในช่วงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมจะต้องหาแนวทางป้องกันมิให้สูญเสียหรือสูญเสียน้อย

 

4.  วิธีการถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชนทำอย่างไร

  • ลงพื้นที่พร้อมคณะ พบปะชาวบ้าน กลุ่มอาชีพ ปราชญ์ชาวบ้าน พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องอาเซียนเสรีให้เห็นถึงความสำคัญ ความสำเร็จ คือ ประชาชนมีความสนใจมากน้อย เพียงใด
  • จัดประชุมสัมมนาให้กับกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มอาเซียน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อถ่ายทอดความรู้ความสำคัญของอาเซียนเสรี ความสำเร็จคือ สามารถถ่ายทอดความรู้ ผลดี ผลเสีย และการตระหนักและเตรียมความพร้อมถึงความสำคัญของอาเซียนเสรี
  • จัดฝึกอบรมให้ความรู้ถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น การบรรจุ หีบห่อ กรรมวิธีการผลิตที่ได้มาตรฐาน ความสำเร็จคือ ผลิตภัณฑ์ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพที่ดีสามารถส่งออกได้
กลุ่มจังหวัดสุพรรณบุรี

กลุ่มจังหวัดสุพรรณบุรี

1.  ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น จังหวัดสุพรรณบุรี ให้คะแนน 5

  • สังคมส่วนใหญ่เป็นสังคม เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก
  • ในพื้นที่มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนน้อย
  • พื้นที่ไม่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน

จากเหตุผลดังกล่าวทำให้คนในท้องถิ่นยังไม่ตื่นตัวและปรับตัวกับความสำคัญของอาเซียนเสรี

2.  ในทฤษฎี 8K’s 5K’s จุดอ่อน จุดแข็ง ของท้องถิ่นคืออะไร

จุดแข็ง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับการโหวตให้เป็นเมืองน่าอยู่อันดับหนึ่งของประเทศ คะแนนอยู่ที่ 7.83 ทำให้มีทุนแห่งความสุข

จุดอ่อน จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเมืองเกษตรกรรม ยังไม่ความเจริญในด้านเทคโนโลยีมากนัก ทำให้ไม่มีทุน ทาง IT

 

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มีอะไรบ้างที่เป็นโอกาสและมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง (ผลกระทบทางลบ)

โอกาส

  • อยู่ใกล้กับเมืองหลวง
  • มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก
  • มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย
  • มีวิถีชีวิตชนบท ใช้ภูมิปัญญาในการดำรงชีวิต

ความเสี่ยง

  • ภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ศัตรูพืช

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไรและความสำเร็จคืออะไร

  • ถ่ายทอดความรู้ให้กับชาวบ้านในการประชุมต่างๆ
  • ประชาสัมพันธ์ทางเสี่ยงตามสายประจำหมู่บ้าน
  • ถ่ายทอดความรู้ทางพิธีทางศาสนา ในวันสำคัญต่างๆ

ความสำเร็จ ชุมชนได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท