10 ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี (สำหรับผู้นำท้องถิ่นกลุ่มจังหวัดภาคใต้) ครั้งที่ 4


ผู้นำท้องถิ่นไม่ใช่แค่ผู้นำของอำเภอหรือตำบล ในประเทศไทยอีกต่อไป จะต้องเป็นผู้นำในชุมชนเดียว (One Community) คือ ชุมชนอาเซียน

สวัสดีลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554 นี้ ผมได้รับเกียรติจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 4 (ซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับผู้นำท้องถิ่นกลุ่มจังหวัดภาคใต้) ในการบรรยายพิเศษ ให้กับ กลุ่ม อบต. อบจ. เทศบาล และบุคลากรของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในโครงการติดอาวุธทางการค้าแก่ ผู้บริหารกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น หลักสูตร “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รอบรู้ AEC”  โดยผมได้รับเกียรติให้กล่าวปาฐกถาพิเศษ และบรรยายหัวข้อ “10 ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี” ณ สถาบันพัฒนาบุคลการ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น

ชมภาพบรรยากาศของการ Workshop ได้ที่ facebook ของผมครับ

และเรียนรู้กิจกรรมที่ผ่านมา ทั้งหมด 4 ครั้ง มีรายละเอียดดังนี้

ครั้งที่ 1  บรรยายในวันที่ 5 กันยายน 2554

(http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/457772)

ครั้งที่ 2  บรรยายในวันที่ 8 กันยายน 2554

(http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/459160)

ครั้งที่ 3  บรรยายในวันที่ 12 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/459981

ครั้งที่ 4  บรรยายในวันที่ 15 กันยายน 2554 (วันนี้)

 

ผมจะนำสาระดี ๆ และภาพบรรยากาศมาฝากทุกท่านเช่นเคยครับ

 

จีระ หงส์ลดารมภ์

 

หมายเลขบันทึก: 460608เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2011 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โครงการติดอาวุธทางการค้า แก่ผู้บริหารกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น

เรื่อง “บทบาทของผู้นำต่อการค้าเสรี”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 15 กันยายน 2554

• เราจะมีบทบาทอย่างไรบ้างในอาเซียนเสรี

• ภาคใต้สำคัญเพราะอยู่ใกล้มาเลเซีย และอินโดนีเซีย บรูไน สังเกตได้จากคนอินโดฯ มาเที่ยวหาดใหญ่มาก

• การเปิดอาเซียนเสรีครั้งนี้ จึงสำคัญ

• คนที่มาจากภาคใต้ ไม่มีอะไรยากสำหรับท่าน เพราะคนใต้เป็นคนใฝ่รู้อยู่แล้ว

• อาเซียนเสรีมีอยู่เรื่องเดียวคือ ถ้าเราเก่ง เราก็จะชนะ ถ้าเราอ่อนแอ เราก็ถูกเขากิน

• ตอนบ่ายนั่งเป็นจังหวัดทำ Workshop ร่วมกัน

• ใน Powerpoint มีกฎ 10 ข้อ ถ้านำไปใช้จะทำให้ Capacity ดีขึ้นก็สามารถไปช่วยชุมชนได้

• หลักคือฟังแล้วได้ประโยชน์อะไร 2 เรื่อง

• ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียเป็นความสัมพันธ์ลึกซึ่ง การมีอาเซียนเสรี เราก็ควรใช้โอกาสอันนี้

• คนในห้องนี้จะมีบทบาทมากขึ้น

สรุป Quotation

• โลกเปลี่ยนแปลงเร็วและทายไม่ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ เศรษฐกิจไทยเริ่มตกเมื่อเทียบกับยุคคุณอภิสิทธิ์ ตลาด 80 % พึ่งอินเดีย พึ่งจีน พึ่งอาเซียน Intra Asian Trade ก็ไม่ต้องวิตกว่าอเมริกา กับยุโรป เสีย

• ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจขึ้นอยู่กับคุณภาพของคน ในคุณภาพของคน คือความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม ความคิดนอกกรอบ ผู้นำท้องถิ่นในห้องนี้จึงเป็นตัวอย่างที่ดี แต่กระนั้นยางพาราและแปรรูปเป็นอันดับ 3 ของการส่งออก

• ไทยไม่มีการวิจัยพัฒนา และสถาบันที่ดูแลเรื่องยางอย่างแท้จริง ไม่มีคนแปรรูป วันนี้ถ้าจะทำเรื่องเกี่ยวกับยางพาราต้องทำให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น คุณภาพของคนสำคัญ

• ถ้ามีแรงงานราคาถูก คุณภาพแรงงานก็ต่ำ การเปิดเสรีครั้งนี้ไม่ได้เรื่องลดภาษีศุลกากรอย่างเดียว แต่จะเร่งให้ประเทศไทยมีคุณภาพมากขึ้น ยุคต่อไปความสำคัญที่สุดในการแข่งขันคือ Quality คนที่ตัดสินเรื่องคุณภาพคือ Consumer ไม่ใช่เรา ดังนั้นเปิดเสรี หมายถึงเราต้องมีความสามารถในการแข่งขัน และสนใจเรื่องคุณภาพของคน

• คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา บอกว่าคนคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร/ชุมชน/ประเทศชาติ ดังนั้นเราต้องกระตุ้นให้คนมีคุณภาพมากขึ้น

• ดร.จีระ บอกว่า ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันไม่ใช่เงิน สิงของหรือเครื่องจักร แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล ตัวอย่าง..รายได้ของสิงคโปร์ขณะนี้ 13 เท่าของคนไทย เป็นการท้าทายผู้นำในห้องนี้มากเลย

• เมื่อมีวิกฤตเราต้องสามารถสู้เขาได้ วันนี้โลกความเจริญอยู่ที่ไหน วันนี้ Shift อยู่ที่เอเชียเรียบร้อยแล้ว เป็นยุคที่อินเดีย กับจีน ต้องขึ้นมา

• Think Global –Act Local เราต้องคิดไกล คิดกว้าง คิดระหว่างประเทศ ทำตัวเป็นนานาชาติ ท่านผู้นำต้องมองนานาชาติให้ออก มอง Global แล้วโยงปัญหาต่าง ๆ กลับมาที่ชุมชนของท่าน

• แต่ละครั้งมีประเด็นบางอย่าง ภาคเหนือพูดถึงเรื่องงานวิจัย ต้องทำวิจัยมากขึ้น ถ้าในตอนทำ Workshop อยากทำวิจัย หรือมีปัญหาอะไรต่าง ๆก็ขึ้นมา วิจัยต้องไม่ขึ้นหิ้ง อยากให้โลกทัศน์มีความลึก โดดเด่น มองไกล ช่วยกันคิดช่วยกันทำ

• Microsoft บอกว่าทรัพย์สินจากที่ดินมีแค่ 5 % ส่วนอีก 95% มาจากมันสมองและจินตนาการของมนุษย์ อนาคตไม่ได้ขายยางพารา แต่ต้องแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่ม

• มีมูลค่าเพิ่มอยู่ 3 เรื่อง 1. เกิดจากการต่อยอด(Value Added) 2. ช่วยกันคิด (Value Creation) 3. มูลค่าเพิ่มเกิดจากความหลากหลาย (Value Diversity) ถ้าสมองเกิดการบ้าคลั่งและสนใจงานที่อยู่ในวันนี้จะดีมาก

วัตถุประสงค์ในวันนี้ คือ

อยากให้ตัวตนของท่านค้นหาตัวเองว่าอยู่ตรงไหน แล้วดึงออกมา

1. เปิดโลกทัศน์ของผู้นำในท้องถิ่นให้เห็นการเปลี่ยนแปลง

2. สร้างแรงบันดาลใจ มาเรียนที่นี่ต้องมีความสุขที่เรียน อย่ามีความทุกข์ ค้นหาสิ่งที่เกิดขึ้น 3 ชั่วโมงที่อยู่กับผม อาจมีประเด็นใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาได้ ผู้นำท้องถิ่นต้องมองโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงแล้วสนุก

3. กระตุ้นให้ทุกท่านค้นหาตัวเอง ถามว่าตัวเองเป็นผู้นำเพื่ออะไร แล้วโจทย์อาเซียนเสรีจะรู้ไปทำไม เมื่อค้นหาได้แล้ว ก็จะไปใฝ่รู้เอง ค้นหาตัวเองว่าช่องว่างของเราอาเซียนเสรีอยู่ที่ไหน กว้าง หรือแคบ รู้ให้จริง ไม่ต้องขึ้นหิ้ง แล้วพอรู้จักตัวเองแล้วก็ไม่นึกถึง อบจ. อบต. เทศบาล นึกถึงคนที่เป็นสมาชิกองค์กรนั้น ว่าจะดูแลได้อย่างไร เกิดมีคนมาแข่งกับเรา เกิดมีคนมาลงทุนแถวภาคใต้ ที่ภูเก็ต กับสมุย ใครเป็นเจ้าของกันแน่ มีคนวิจารณ์ว่าอบต.ที่ภูเก็ต ทำอะไรเพื่อบางสิ่งบางอย่างแต่สร้างปัญหามาก ขาดจริยธรรม จึงอยากให้แต่ละท่านลองสำรวจว่าอยากเป็นนักการเมืองท้องถิ่นเพื่ออะไร

4. แสวงหาโอกาส อาเซียนเสรีประโยชน์ต้องมีมากกว่าผลร้าย การเปิดเสรีไม่ได้หมายความว่าเราแพ้ แต่โอกาสมีมากขึ้น ตลาดกว้างขึ้น คนไทยนอกจากอ่อนภาษาอังกฤษแล้วยังไม่สามารถฟังภาษาอื่นได้ แต่พม่าสามารถฟังไทยได้เรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะมีลาว พม่า เขมร มา ต้องรู้ภาษาให้ดี

5. การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น สร้าง Networking ขึ้นมา

6. ถ้ามีปัจจัยทางลบที่เกิดขึ้นเรารู้ให้จริงว่ามันคืออะไร แล้วเราก็หลีกเลี่ยงมัน ถ้า +1 – 1 = 0 ควรได้สัก +1.5 – 0.8 ก็ยังได้กำไรอยู่ สังเกตว่าในอดีตโชวห่วยล้มเป็นจำนวนมากเมื่อมี 7-eleven ,Lotus มาเปิด หน้าที่ท่านคือต้องดูให้ดี

7. ทำให้ท่านเป็นผู้ถ่ายทอด แต่ไม่ใช่ถ่ายทอดแค่ไปสอน เราอาจแนะนำเขาด้วยให้เขาได้ประโยชน์จริง ๆ

…………………………………..

• ทุนที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์คือทุนทางวัฒนธรรม อย่ามองที่ธุรกิจอย่างเดียว ต้องขายภูมิปัญญาภาคใต้ ถ้าไม่ทำภูมิปัญญาให้ภาคใต้เด่นขึ้นจะขายอะไรให้ต่างประเทศ ต่างชาติต้องการซื้อภูมิปัญญา มาพัก Home stay พักโรงแรมราคาถูกแต่คุณภาพดี

• ท่านต้องนำความเป็นเลิศของจังหวัดออกมา ไม่ใช่เกษตรและท่องเที่ยวนั้น ให้นำความเป็นเลิศออกมา

• จังหวัดของท่าน อบต.เทศบาลจะรวมตัวกันเป็นจังหวัดไหม หรือข้ามจังหวัดก็ได้เช่นระนองร่วมกับนครศรีธรรมราช หรือร่วมมือกับกรุงเทพฯ ก็ได้ ต้องรู้ว่า Capacity ทำคนเดียวไม่พอ ต้องทำลักษณะ Cluster

10ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริงเพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี “ฝึก Training for Trainers”

1. ใน10 ประเทศ ภูมิศาสตร์ของท่านอยู่กับอาเซียนรวย มาเลเซีย บรูไน อินโดฯ สิงคโปร์ แต่เป็นประเทศที่เขี้ยวรากดิน 2 ประเทศที่ต้องระมัดระวัง คือ สิงคโปร์ กับ มาเลเซีย แต่ 2 ประเทศที่ค่อยข้างเป็นมิตรและง่ายกับเราคือ บรูไน กับอินโดฯ

คนใต้ต้องมองถึงประเทศในอินโดจีนด้วย และท่านไม่ควรละเลยวัฒนธรรมอาเซียนที่อยู่ตรงประเทศเพื่อนบ้าน อย่าดูถูกเขา อย่าหลอก ธุรกิจต้องอยู่บนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องมีตลาดเพิ่มขึ้น

การเริ่มต้นของไทยเข้าอาเซียนเป็นการเริ่มต้นทางการเมืองคือกลัวคอมมิวนิสต์ ถ้าทำงานกับเวียดนามต้องพูดให้เป็น เราต้องรู้ประวัติศาสตร์ หรือเรียกว่ามีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ต้องรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับอินโดจีนด้วย เช่นเรื่องยางพารา

อดีตอาเซียนเริ่มที่ประเทศไทย คนทำสมัยนั้นคือ คุณถนัด คอมันตร์ เริ่มจริง ๆ คือเรื่องการเมือง คือ กลัวคอมมิวนิสต์ แต่ตอนนี้ เป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม

2. ข้อตกลงร่วมมือในอาเซียนเสรี มี 3 สาขาใหญ่คือ

- เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน

- สังคมและวัฒนธรรม

- ความมั่นคงทางการเมือง

• มีการเคลื่อนย้ายแรงงานทั้งเก่ง และไม่เก่ง และทำนายว่าต่อไปจะมีปัญหาแรงงานต่างด้าวระเบิดในเมืองไทยจำนวนมาก

• ถ้าอองซานซูจี ขึ้นเป็นผู้นำเมื่อไร พม่าจะเปิดประเทศ แล้วแรงงานพม่าจะกลับหมด ซึ่งก็อาจเป็นเรื่องยุ่งในอนาคต ความจริงแล้วพม่าฉลาดมากและยิ่งใหญ่มากในอดีตแต่ผิดพลาดตรงมีรัฐบาลทหาร พม่าภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์เก่งกว่าเรา

• เวียดนามคณิตศาสตร์ก็เก่งกว่าเรา แต่เมืองไทยมีค่านิยมที่อยากเป็นดารามากกว่า

3. ไทยต้องสนใจเรื่องเศรษฐกิจมากหน่อย แต่ไม่ละเลยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมภาคใต้

• เสรี แปลว่าสินค้าและบริการที่ตกลงกันแล้วจะไม่มีการกีดกัน ถึงไม่มีภาษี ศุลกากร มันก็มีภาษีอื่นที่เราเข้าไป ลึก ๆ แล้วอยู่ที่ทัศนคติของเรา ถ้าทัศนคติพร้อมที่จะลงทุนก็จะอยู่รอดด้วย การมีเงินลงทุนก็ไม่ได้ว่าสิงคโปร์ได้เปรียบ เราลงทุนที่นั่นก็อาจได้ประโยชน์ในการส่งสินค้าไปอเมริกา เรื่องการลงทุนจึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน คนไทยอาจตกงานได้หากไม่พัฒนาทุนมนุษย์

• การพัฒนาการค้าในยุคต่อไปต้องเป็นห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ผลิตที่ฟาร์ม ผ่านกระบวนการ แล้วไปถึงผู้บริโภค ดังนั้นการทำธุรกิจการเกษตรที่จะขายต่อไปต้องระวังเรื่องนี้มาก ๆ

• ถ้าท้องถิ่นอ่อนแอ..ธุรกิจบางอย่างก็อาจหายไป

• การเปิดเสรีทางการลงทุน เงินอย่างเดียวไม่พอ ถ้าจะมาต้องรู้จักประเทศไทย รู้กฎระเบียบต่าง ๆ รู้เขา รู้เรา ถ้าอบต.ไหนใกล้ชายแดน มีเจ้าหน้าที่อาเซียนเพื่อดูแลอาเซียนโดยตรง ดังนั้นเราจึงต้องลงทุนด้านข้อมูล ข่าวสาร

• บางประเทศที่ได้รับการอนุมัติก็ไปกับประเทศอื่น ๆ ได้

• มีการคุยอยู่ว่ามัคคุเทศก์ไทยไปทำงานต่างประเทศได้หรือไม่ แล้วมัคคุเทศก์ต่างชาติมาทำงานในไทยได้หรือไม่

• เราไม่ได้มีอาเซียนอย่างเดียวแต่มี อาเซียน + 6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) เซ็นสัญญาที่เป็นพันธมิตรกัน

4. การค้นหาตัวท่าน

• ต้องคิดวิเคราะห์ให้เป็น ทั้งโอกาสและการคุกคาม เตรียมพร้อม และรู้จักฉกฉวย

• ขอเพิ่มทฤษฎีตัว C-Confidence ความมั่นใจ เราต้องสู้กับเขาให้ได้ ความมั่นใจของไทยคือความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ความมีอิสรภาพ ซึ่งตอนหลังค่อนข้างหายไป เราทำตัวด้อย เราต้องภูมิใจในบรรพบุรุษของเรา อยากให้คนใต้เป็นกำลังสำคัญในอาเซียน และเดินทางไปภาคอื่น ๆ บ้าง ต้องมีทัศนคติว่าเราทำได้ ดังนั้นความมั่นใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ

• ก่อนมีอาเซียนเสรี มีการตกลง WTO ,FTA เพียงแต่อดีตคือ รัฐบาลไม่ให้ความสนใจผู้นำท้องถิ่น คนได้ประโยชน์คือ ผู้ส่งออกและแรงงานที่มีคุณภาพ แต่ปรากฎว่าโชวห่วยปิดตัวจำนวนมาก ซึ่งการเปิดเสรีอาเซียนในครั้งนี้ เป็นข้อดีที่ให้ความสำคัญกับผู้นำท้องถิ่น สิ่งสำคัญที่สุดคือคนที่อยู่รากหญ้า แล้วผู้นำในห้องนี้คือผู้นำที่อยู่กับคนรากหญ้า ไม่มีประเทศไหนที่อยู่รอดได้ดีโดยปราศจากผู้นำท้องถิ่นที่เก่ง

• ท่านเป็นผู้แทนที่จริง แต่ในอดีตไม่ได้ลงทุนจริงจัง จนกระทั่งท่านอธิบดีในยุคนี้ให้ความสำคัญ

• รัฐบาลกลางให้ความสนใจผู้เสียเปรียบมากขึ้น รัฐบาลต้องเตรียมพร้อมให้มากขึ้น

5. การปรับตัวของผู้นำท้องถิ่น ต้องมีเรื่อง

- การเข้าใจและศึกษาให้ถ่องแท้

- โอกาสที่เกิดมีอะไรบ้าง อยู่ที่ว่าผู้นำจะฉกฉวยอย่างไร ข้อแม้ว่าสินค้าบริการต้องมีมาตรฐานและต้องทำจริง คุณทำได้ คุณต้องพร้อม การขยายตลาดเพิ่มประชากร เพิ่มผู้บริโภคไปแล้ว คำถามคือ ตลาดใหญ่ขึ้นจริงแต่มีความสามารถต้องขายหรือไม่ ผู้นำท้องถิ่นต้องทำตัวเป็นผู้ประกอบการ

- การปรับตัวที่สำคัญที่สุดคือทัศนคติ เพิ่มทัศนคติบวกว่าเราต้องทำได้ และคิดว่าดี และต้องรู้ว่าท่านไม่ได้เป็นผู้นำของชุมชนและอำเภอเท่านั้น แต่ท่านเป็นผู้นำของชุมชนอาเซียน และถ้าในอนาคตเราไม่รวมตัว แต่ประเทศอื่นก็รวม เราต้องอยู่ร่วมกัน ต่างคนต่างอยู่จะรอดหรือไม่ ? ดูตัวอย่างยุโรปรวมตัวกัน 27 ประเทศ

- การปรับกลยุทธ์คือต้องกระจายความรู้ไปสู่ชุมชนในแนวกว้าง เป็น Communicator คือกระจายความรู้

6. สำคัญที่สุดคือ ต้องเป็นชุมชนที่รักษาภูมิปัญญา รากเหง้า ความเป็นตัวตนท้องถิ่น แล้วสร้างมูลค่าเพิ่ม เราทำตัวแบบเดิมไม่ได้ ต้องมีมาตรฐาน อย่างเรื่อง Packaging แต่ละท้องถิ่นต้องมีมูลค่าเพิ่มหากมีการบริหารจัดการที่ดี รายได้จากนี้ไปมาจากอาเซียน ไม่ได้อยู่ที่เป็นนายกอบจ. อบต. แต่อยู่ที่การบริหารจัดการของคุณ ต้องการให้มูลค่าในท้องถิ่นมีมูลค่าสูงขึ้น ธุรกิจเป็นตัวเดียวที่ขับเคลื่อนให้องค์กรมีมูลค่าเพิ่ม

7. ต้องพัฒนาคนไทยให้สื่อสารเป็น มีภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียน แล้วต้องรู้จักประเทศเหล่านั้นด้วย รู้มาตรฐานของโลก

โรงเรียนภายใต้การดูแลของอบจ.ต้องสนใจต่างประเทศมากขึ้น

8. การใฝ่รู้เป็นเรื่องสำคัญ สร้างสังคมการเรียนรู้ ต้องให้เกิดในตัวคุณก่อนถึงค่อยเกิดในชาวบ้านต้องกระตุ้นให้เขาเก่งขึ้น ตั้งคำถาม ใฝ่รู้คนเดียวไม่พอต้องให้ชาวบ้านใฝ่รู้ด้วย

9. การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์

ถ้าเรามีทรัพยากรธรรมชาติเยอะ มีเครื่องจักรเทคโนโลยีเยอะ แต่ทรัพยากรมนุษย์ไม่มีคุณภาพเราจะอยู่รอดหรือไม่ ?

8K’s

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5K’s

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

• ถ้าผู้นำในห้องนี้มีทุนทางวัฒนธรรม เราต้องมีคุณค่าให้คนยกย่องเรา การท่องเที่ยว มีการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นมา การควบคุมอารมณ์ให้ได้

• คำถามคือทั้ง 8K’s ,5K’s มีไหม แข็งอะไร ขาดอะไร แล้วภาคใต้มีอะไร ?

10. ต้องบริหารความเสี่ยงให้เป็น โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

• เดินสายกลาง มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี มีคุณธรรม มีความรู้

• บริหารความเสี่ยงด้วยการดำรงชีวิตที่ประหยัด แล้วถ้ามีโอกาสก็ขยายได้

สรุป

• แนวคิด 10 ประเด็นเป็นบันไดขั้นแรก เน้นที่ทุนมนุษย์เป็นหลัก

• ให้เครื่องมือในการดำเนินไปแล้ว แต่อนาคตอาจขรุขระบ้าง ขึ้นอยู่กับท่านจะได้แค่ไหน มีเครื่องมือในการหาความรู้ต่อ

• สิ่งที่สอนคือแก่นของชีวิต ถ้ารู้จักตัวเอง รู้จักพอ ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นก็จะอยู่ได้ อย่าทำตัวอวิชชา ต้องไม่ประมาทในการหาความรู้

• หนทางขรุขระไม่ง่าย ผู้นำต้องร่วมมือกัน และจับมือกันก้าวผ่านไปให้ได้

สุดท้าย .. เสนอแนะวิธีการถ่ายทอดไปให้ประชาชนท้องถิ่น 6 ประเด็น

1.เตรียมการพูดและหัวข้อให้ดี รู้ให้จริงก่อน

2. เข้าใจเสียก่อนว่าอาเซียนคืออะไร

3. สำคัญต่อท้องถิ่นอย่างไร

4. โอกาสคืออะไรความเสี่ยงคืออะไรในจังหวัดนั้น

5. วิธีการนำเสนอใช้ 2 R’s เกี่ยวกับความจริง บริบทของท้องถิ่นคืออะไร และตรงกับเขา ประเด็นที่สำคัญต่อชาวบ้านคืออะไร

6. การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ อย่าให้เบื่อ เน้นวิธีการเรียนรู้แบบ 4L’s มีการกระตุ้นให้คิด สร้างบรรยากาศให้อยากเรียน อบอุ่นสนุก เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความคิดเห็น มีการปะทะกันทางปัญญา กระตุ้นให้ใฝ่รู้ เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เมื่อคุณไม่อยู่แล้วชาวบ้านต้องหารือกัน ถกเถียงกัน อบต.ที่เทศบาลต้องเต็มไปด้วยปัญญา

• เรามีโอกาสและการคุกคาม ถ้าเรามั่นใจ และเข้าใจจะอยู่ในโลกนี้อย่างมีศักดิ์ศรี

Workshop

ให้เวลา 2 นาที คุยกับคนในโต๊ะบอกว่าในช่วงเช้าสิ่งที่ได้ฟังจากอาจารย์จีระ ลองเสนอแนะว่ามีอะไรที่กระทบกับตัวเราแล้วมีประโยชน์อะไรบ้าง 2 เรื่อง

จังหวัดกระบี่

• วัตถุประสงค์เป้าหมายการค้าเสรี ในท้องถิ่นไม่รู้ บางคนคิดว่าเป็นการคุกคามมากกว่าประโยชน์ ในวันนี้คือผู้นำ ผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งรู้อย่างแท้จริง ควรไปสร้างความเข้าใจให้กับชาวบ้าน รู้ว่าอาเซียนมีกี่ประเทศ เก่ากี่ประเทศ และใหม่กี่ประเทศ และความเน้นเรื่องภาษาเป็นสำคัญ

• การปรับตัวของผู้นำท้องถิ่นต้องสูงมาก ต้องมีความเอาจริงเอาจัง ไม่เช่นนั้นจะไม่จบ และไม่สามารถไปสอนต่อชาวบ้านได้ เสนอว่าต้องไปศึกษาเพิ่มเติม และทำตามวิธีการที่ปฏิบัติ ก็จะดีมาก

• ดร.จีระ เน้นว่าต้องรู้จริงก่อน ว่าคืออะไร มีการเชื่อมโยงกันด้านการค้า การลงทุน และวัฒนธรรม ถ้าเราเก่งเราก็จะชนะเพราะตลาดใหญ่ขึ้น แต่ถ้าไม่เก่งเขาก็จะขยี้เรา เราต้องมีความมั่นใจ และมีปัญญา มีเพื่อน 10 ประเทศ มีตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 500 ล้านคน มีจุดขาย จุดเด่นคืออะไร ต้องค้นหาตัวเองว่าจุดแข็งคืออะไรที่เพิ่มรายได้ให้ประชาชน แล้วเราก็ลดจุดอ่อนของเรา ให้ Distance ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค

จังหวัดภูเก็ต

• ติดใจในประเด็นแรงงานต่างถิ่นหรือต่างด้าว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ที่ระนอง แรงงานต่างด้าวในภูเก็ตก็ไม่น้อย มีประชากรในภูเก็ต 2 ล้านคน ทั้ง ๆ ที่ในสำเนาทะเบียนมีกว่า 4-5 แสนคน แรงงานต่างด้าว + นักท่องเที่ยวต่างชาติ ล้านครึ่ง ไทยมีการเตรียมความพร้อมอย่างไรกับการเปิดเสรีอาเซียน

• ความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง สถานะครอบครัว ต่อไปอาจมีการกลืน เรากลืนเขาหรือเขากลืนเรา ได้ อาเซียนต้องพร้อมในการสอนภาษาต่างประเทศ ประชากรจะปรับตัวทันหรือไม่ในปี พ.ศ. 2558

• ดร.จีระ บอกว่า เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน คือเสาที่หนึ่ง เสาที่สองคือวัฒนธรรมและสังคม ท่านเป็นห่วงในเสาที่สามคือ เรื่องความมั่นคง ณ สถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่ถึง 2015 เรายังไม่ทำการศึกษาวิจัย เมื่อเปิดเสรีจริง ๆ ปัญหาอาจทวีคูณ ดังนั้น เราควรทำวิจัย ภูเก็ตมีแรงงานหลายชนิด และมีคนที่มีทุน มี Nominee เต็มไปหมด สามารถซื้อที่ได้ จริง ๆ ภูเก็ตเป็นของใครกันแน่ กฎของอาเซียนเสรีโอกาสการลงทุนสูงขึ้น สิงคโปร์มีสิทธิ์เข้ามามากขึ้นกว่าเดิม เราควรเอา 3 ทางหลักเชื่อมโยงกัน อะไรเป็นทางบวกก็เพิ่ม อะไรเป็นทางลบ ก็ลดลงไป ตัวอย่าง คนเป็นพยาบาลอ่อนในเรื่องภาษา แต่ไม่อ่อนในเรื่องอาชีพของเขา ถ้าเปิดอาเซียนเสรี ควรเตรียมความพร้อมให้ดี ความจริงจุดแข็งของภูเก็ต และสุราษฎร์มีเยอะ ต้องรู้ว่าคืออะไร ?

จังหวัดสตูล

• คิดเหมือนคนแรกที่พูดคือเรื่องกลัวเป็นภัยคุกคามมากกว่าเนื่องจากการให้ข่าวสารและข้อมูลต่าง ๆ มีน้อยมาก ปัญหาเรื่องกฎระเบียบต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถทำได้เต็มที่ ทำให้หน่วยงานที่ดูแลต้องเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นทำงานได้อย่างเต็มที่

• การรวมกลุ่มอาเซียนเสรี คนของเราอีก 4 ปีข้างหน้า ความพร้อมของบุคลากรถ้าเป็น 100 ยังมีแค่ 10 สถาบันการศึกษาของรัฐควรให้มีการกระตุ้นและรับรู้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

• ดร.จีระบอกว่า 100 ไทยน่าจะอยู่ที่ 40 เพราะความรู้แม้ว่าต่ำ แต่มีแรงกระเพื่อมในการพูดอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ปัญหาคือว่าในอดีต กระทรวงต่างประเทศกับกระทรวงพาณิชย์ เขาไม่ได้ลงล่าง แต่มองไปที่สภาอุตฯ และหอการค้า แต่อธิบดีกระทรวงพาณิชย์ท่านนี้ให้ความสำคัญกับการลงล่าง จึงมีโอกาสสำเร็จเยอะ และขอให้ท่านช่วยกระตุ้นทางจังหวัดด้วยเพราะว่าผู้ว่าไม่พร้อม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดชายแดนส่วนใหญ่ผู้ว่าฯจะพร้อมมากกว่า

จังหวัดสงขลา

• เรื่องอาเซียนเกิดมานาน แต่ไม่รู้ลึก ในวันนี้พอมองออกว่า บวกหรือลบ คืออะไร ถามว่าทำไมนักวิชาการไม่มีอำนาจพอดำเนินการกับหน่วยงานของรัฐ ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่รู้มาบ้างแล้ว ทำไมถึงเพิ่งมาบอกในเวลาเหลือแค่ 4 ปี ทำอย่างไรให้คนที่เข้า โดยเฉพาะส่วนหนึ่ง สิงคโปร์ อินโดฯ มาเลฯ บรูไน พยายามผลักดันด่านที่นาทวี จริง ๆ เราพร้อม งานต้องเริ่มจากข้างล่างมาด้วย อย่าทิ้งในส่วนที่เป็นรากหญ้าเพราะเขารู้ เขาใกล้ชิดและผ่านมาด้วย

หอการค้า....

• ตั้งแต่เกิดอาเซียนคอมมิวนิตี้มาแล้ว จะมีเหตุการณ์กระทบกับเรายิ่งใหญ่ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ โอกาสมีอะไรบ้างที่เราจะคว้ามา ผลกระทบเราจะแก้ไขอย่างไร

• การจัดให้ท้องถิ่นตรงกับเป้าหมาย

• นับเป็นครั้งแรกที่ท้องถิ่นได้รับรู้ AEC เราเตรียมความพร้อมอย่างไร ไทยรู้ภาษาอังกฤษน้อยมาก รู้มาว่า พม่า เขมร เปิดสอนอังกฤษเยอะมาก แต่ไทยยังไม่เท่าที่ควร เราเตรียมความพร้อมในการรองรับ AEC แล้วหรือยัง

• สนับสนุนการสอนภาษาในท้องถิ่นให้มาก เรียนกับครูต่างชาติไม่ใช่ครูไทย เน้นการพูดจา และเจรจาให้รู้เรื่อง

• ต้องตระหนักให้เห็นวส่าเราจะเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่และเตรียมความพร้อมเพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้น

• ดร.จีระ บอกว่า ผู้นำท้องถิ่นสามารถช่วยได้จริง เมื่อฟังเข้าใจแล้วควรไปกระตุ้นให้ชาวบ้านทราบด้วย หลายท่านที่ออกความเห็นนั้น มีความสำคัญต่อประเทศ ในโลกปัจจุบันถ้าเชื่อมโยงทางอินเตอร์เน็ตหรือดิจิตอลจะง่าย และเราสามารถจัดการได้

ท่านที่ปรึกษากระทรวงพาณิชย์ฯ

• การทำงานในเครือข่าย ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันทำอย่างไรให้ในท้องถิ่นมีความรู้ แล้วเราจะถ่ายทอดอย่างไร

• ถ้าต่างชาติเข้ามามีการรองรับหรือยังถึงมีผลกระทบได้

• การเปิดเสรีอาเซียนอย่าให้คนรวย รวยมากขึ้น อยากให้ท้องถิ่นแบ่งปัน ในอนาคตข้างหน้าอยากให้มีการกระจายผลประโยชน์ไปยังท่าน

Workshop

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น

(ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

จังหวัดนครศรีธรรมราช

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น

(ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

ให้ 8 คะแนน เพราะ

1.ท้องถิ่นมีความใกล้ชิดกับประชาชน กับชุมชนในพื้นที่เป็นรัฐบาลที่ใกล้ชิดชุมชนที่สุด

2.การพัฒนาปรับปรุงทุกอย่างท้องถิ่นต้องรับผิดชอบในการส่งเสริมความรู้และมีบทบาทต่าง ๆ

3.หน่วยงานอื่นต้องเข้ามามีส่วนร่วมเพราะว่าหน้าที่มีหลายอย่าง

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

จุดแข็ง

- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สังคมไทยมีพร้อมหมดแล้วไม่ว่าจะเป็นทุนทั้ง 8 ข้อ

จุดอ่อน

- ขาดการรวมตัว เข้มแข็ง ขาดความสามัคคี ไม่ค่อยมีค่านิยมในความเป็นไทย

- จุดอ่อนคือทุนทางวัฒนธรรมไม่รักภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่รักความเป็นไทย ต้องปลูกฝังความเป็นไทย ให้ความเข้มแข็งในชุมชน ทำกลุ่มตัวอย่างสร้างความเข้มแข็งทางสังคมจากกลุ่มย่อยก่อน

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

• การหาโอกาสทางเศรษฐกิจสังคมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ต้องมีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจที่ส่งเสริมให้ดีขึ้น

• ในท้องถิ่นมีความเข้มแข็งเช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมในพื้นที่เช่นประเพณีวันสารทเดือน 10

• เมืองประวัติศาสตร์ที่มีพุทธประวัติที่ยาวนาน เห็นความสำคัญเรื่องการท่องเที่ยวเนื่องจากมีญาติพี่น้องอยู่ที่มาเลเซีย สิงคโปร์ เมื่อมีประเพณีเดือน 10 ก็มาสืบทอดพระพุทธศาสนาร่วมกัน จุดขายคือ พระบรมธาตุพระนครศรีธรรมราช ลักษณะคล้ายเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ เช่น จตุคามรามเทพ ศาสนาเป็นตัวเชื่อมโยงแต่ละชาติแต่ละภาษาในการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้

• ถูกวัฒนธรรมข้ามชาติมาทำร้ายวัฒนธรรมทำให้อ่อนแอ

• ดร.จีระ อยากให้พูดเจาะลงไปเช่นเราเก่งอะไร ท่องเที่ยว เกษตร ฯลฯ เราต้องค้นหาตัวเองให้ได้

• เสนอว่าสร้างแนวร่วมนอกจากมาเลเซียให้ดูที่อินโดนีเซีย และอินโดจีน (ลาว พม่า เวียดนาม เขมร)ด้วย เนื่องจากอินโดฯมีพฤติกรรมแบบ Soft Skill

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

ให้ความเข้าใจกับตัวเราก่อน แล้วไปสู่จังหวัดใกล้เคียง ต้องมีการอบรมนอกพื้นที่ เชิญวิทยากรที่มีความรู้ ความชำนาญเข้าในพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่อาเซียนเสรี อาศัยแนวร่วม

ดร.จีระ เสนอว่าต้องพร้อมก่อน ถ้าไม่พร้อมอาจขอความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ หรือขอให้อาจารย์ชูศักดิ์ หรือท่านที่ปรึกษาร่วมด้วย อาจมีแนวร่วมไปด้วย เพราะเราอาจไม่เข้มแข็งทันที เพราะถ้าไม่พร้อมอาจถ่ายทอดผิดได้

จังหวัดสตูล

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น

(ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

7 คะแนน เพราะ

1.อยู่ในเขตไทย อินโดฯ มาเล

2.อยู่ติดกับรัฐปะริด

3.ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามประมาณ 80%

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

8K’s

จุดแข็ง

• ทุนมนุษย์ ส่วนใหญ่ชาวสตูลมีการศึกษาดี ชาวมุลลิมรักสงบ สมานฉันท์

• ความรู้ทางภาษา ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน

• เนื่องจากติดกับมาเล ประชากรพูดภาษามาเลฯได้ อินโดฯได้

• จริยธรรมดี

• มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีการผสมกลมกลืนมาก

จุดอ่อน

• มีสถาบันอุดมศึกษาน้อย มีแต่สาขา ไม่มีสถาบันไปตั้ง

• ทุนทางIT ประชากรใช้ IT น้อย ไม่มีการนำ IT มาพัฒนาด้านอุตสาหกรรม

5K’s

จุดแข็ง

• มีสถานที่ต่าง ๆ ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติได้

จุดอ่อน

• ทุนทางความรู้ ขาดห้องสมุดที่ทันสมัย แต่ตอนนี้กำลังจะสร้างอยู่

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

• มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม เช่นอุทยานแห่งชาติตะลุเตา เกาะหลีเปะ ฯลฯ ตะรุเตามีสตอรี่อยู่แล้ว

• มีตลาดนัดชายแดนไทยและมาเลฯ คนมาเยอะมากที่สำคัญมีการเติมน้ำมันเยอะมาก

• สตูลมีศักยภาพในการส่งเสริมสินค้าจากภาครัฐที่ดีพอสมควร

• ความเสี่ยงคือการนำวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน การทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่นที่ก่อหลีเปะ มีการก่อสร้างมากมาย ก่อให้เกิดขยะ น้ำเสีย

• ดร.จีระ เสนอให้เขียนแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ เป็นเรื่องราว และให้มีมาตรฐานเนื่องจากต่อไปจะเป็น Global สตูลมองว่ามีเสน่ห์มากมาย แต่ความพร้อม Facility ยังเป็นระดับ Local อยู่ สตูลจึงต้องไปบวกกับการบริหารจัดการยุคใหม่ แล้วตรงนั้นคือมูลค่าเพิ่ม สิ่งนี้คือจุดแข็ง ส่วนหลักของสตูลคือภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม มีสันติภาพ และมีอันดามันด้วย ในอนาคตข้างหน้าคาดว่าการท่องเที่ยวจะบูมขึ้นมาแต่อยากให้เป็นการบูมแบบให้ยั่งยืน ให้รวยแบบนาน ๆ อบจ.อบต.ไม่ต้องรีบร้อน ให้วางแผนระยะยาว

• อาเซียนเสรีเปลี่ยนจากสตูลหลับเป็นสตูลตื่น

• อาจารย์ยกตัวอย่างที่หลวงพระบาง ประเทศลาว มีการรักษาวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมดีมาก เวลาจะก่อสร้างอะไรต้องขออนุญาตก่อน

• ในอาเซียนไม่ได้มีเรื่องเศรษฐกิจเท่านั้น แต่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้วย

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

• แบ่งกลุ่มประชาชนและให้ความรู้ในแต่ละด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นกลุ่มมัคคุเทศก์อาจเชิญกลุ่มต่าง ๆ มาให้ความรู้

• ความสำเร็จคือทำอย่างไรให้ประชาชนมีความรู้ ข่าวสาร อาเซียนมากขึ้นสามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนข้างหน้าใน 4-5 ปีข้างหน้าให้ได้

ดร.จีระบอกว่า ในวันนี้ทุกท่านที่เป็นศิษย์อาจารย์จีระ ถ้ามีกิจกรรมอะไรบางอย่างที่จะร่วมทำในอนาคตจะส่งข้อมูลให้ หรือให้ศึกษาผ่านทาง Internet

ที่ปรึกษาฯ

• อยากให้มองว่าภาคใต้มีสินค้าบริการอะไรที่มีส่วนต้องขยาย ให้ถึงมาเลฯ อินโดฯ จีนฯ ฯลฯ

• อยากเสริมประเทศกลุ่มบังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา ภูฏาน ไทย มีโอกาสเยอะมากทั้งอุปโภค บริโภค ก่อสร้าง วัตถุดิ อาหารทะเล ประมง ให้มองตลาดตรงนี้ด้วยเพราะจะมีการเชื่อมกับอาเซียนในด้านต่าง ๆ

• อยากให้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมไว้

• จุดขายที่จะทำได้คือ บูติกโฮเตล เล็ก ๆ เป็นเสน่ห์ อาจบริหารการเป็น Cluster บูติกโฮเตล ดำเนินการขายผ่านอินเตอร์เนต อย่างเช่น พัทยา แบบหนึ่ง ภูเก็ตแบบหนึ่ง มีการเชื่อมโยงกับศรีลังกา อินโดฯ พม่า

• ได้ข้อมูลจากด่านสิงขรพูดภาษาไทยได้กว่า 40,000 คน ถ้าพยายามใช้ประโยชน์จากบุคลากรของเขาทำงานร่วมกัน ก็สามารถขยายสินค้าไปได้มาก

• อยากรวบรวมพละกำลัง และตั้งใจ คิดว่าแต่ละพื้นที่ทำอะไรที่เป็นจุดอ่อน และเป็นจุดแข็ง

ดร.จีระ

• ท้องถิ่น ถ้าอาเซียนเสรีทำให้แย่ลง บริษัทข้ามชาติเอาเปรียบเราก็ไม่รู้มีอาเซียนเสรีไปทำไม

• ทางเศรษฐศาสตร์มีตัวเลข Macro บางครั้งคิดว่าเราร่ำรวย แต่ผลประโยชน์กระจายไปสู่ประเทศยากจนกระจายอย่างไม่ยุติธรรม

• ทุนมนุษย์ที่นั่งในห้องนี้เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณค่าเพียงแต่ไม่ได้มาปะทะกันแลกเปลี่ยนกัน เพราะว่าท่านทั้งหลายอยู่ในพื้นที่ มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่มีเครื่องมือ แต่ความจ

กลุ่มจังหวัดยะลา ปัตตานี ตราด

จังหวัดยะลา ปัตตานี ตราด

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น

(ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

..... เพราะ

1.เป็นจังหวัดที่ติดชายแดน

2.การขนส่งทางทะเลและทางบก

3.มีแหล่งท่องเที่ยวและความหลากหลายทางวัฒนธรรมประเพณี

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

8K’s

จุดอ่อน

1. ภาษาอาเซียน

2. มีความรู้น้อย

3. เหตุความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

4. ด้าน IT

จุดแข็ง

1. ความเข้มแข็งของคนในสังคม

2. การสร้างจริยธรรม

3. การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น

5K’s

จุดอ่อน

1. ทุนแห่งการสร้างสรรค์

2. ทุนทางความรู้

3. ทุนทางนวัตกรรม

จุดแข็ง

1. ทุนทางอารมณ์

2. ทุนทางวัฒนธรรม

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

โอกาส ด้านการท่องเที่ยว ทรัพยากรทางสังคม วัฒนธรรม , มีการเคลื่อนย้ายทุนมาสู่ท้องถิ่น, การค้าชายแดน (เขตเศรษฐกิจพิเศษ)

ความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง ความไม่สงบ ยาเสพติด คุณภาพการศึกษา

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

1.การสร้างเครือข่ายในชุมชน (การใช้เครือข่ายที่มีอยู่แล้ว)

2.การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ เช่น เสียตามสาย วิทยุชุมชน

-TK park (ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต) อบจ.ตราด

- ศูนย์ประสานงานท้องถิ่นของอบจ.ตราด

- ประตูเมืองตราด

กลุ่มจังหวัดสมุทรปราการและยโสธร

จังหวัดสมุทรปราการและ ยโสธร

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น

(ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

10 คะแนน เพราะ

1.จังหวัดสมุทรปราการเป็นเมืองอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมาก

2.จังหวัดสมุทรปราการเป็นศูนย์กลางการคมนาคม ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ

3.จังหวัดสมุทรปราการมีประชากรแฝงและแรงงานต่างด้าว จำนวนมาก

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

8K’s

จุดอ่อน

1. มีประชากรแฝงมาก แตกต่างด้านวัฒนธรรม เชื้อชาติ ภาษา

2. ทุนแห่งความสุขต่ำ เนื่องจากมีความแข่งขันกันสูงในเมืองอุตสาหกรรม

3. สภาพพื้นที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ เช่นพื้นดินทรุดตัว สตรอมเซริช ไม่มั่นใจต่อการลงทุนระยะยาวหรือยั่งยืน

จุดแข็ง

1. เป็นศูนย์กลางผลิต จำหน่ายและขนส่งสินค้า IT (ทุนทาง IT)

2. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ด้านการวิจัยและพัฒนา มีสถาบันการเรียนรู้มากมาย (ทุนทางปัญญา)

3. การเป็นเมืองอุตสาหกรรม เป็นแหล่งสร้างและพัฒนาความรู้ และทักษะทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ และระดับสูง

5K’s

จุดอ่อน

เป็นเมืองอุตสาหกรรม ประชากรแออัดก่อให้เกิดปัญหากระทบกระทั่ง แก่งแย่งแข่งขัน เกิดปัญหาอาชญากรรม วัฒนธรรมดั้งเดิม ท้องถิ่นถูกกลืนและครอบงำจากคนนอกพื้นที่

จุดแข็ง

สมุทรปราการเป็นเมืองอุตสาหกรรม มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาจากต่างชาติ เป็นทุนทางความรู้ และสร้างสรรค์นวัตกรรม

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

โอกาส เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์

ความเสี่ยง วัฒนธรรมพื้นถิ่นดั้งเดิมเริ่มจางหาย ถูกครอบงำด้วยค่านิยมต่างถิ่น

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

การจัดหลักสูตร การพัฒนาภาษาเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมอาเซียนให้แก่สถาบันการศึกษาและโรงเรียนต่าง ๆ ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ

กลุ่มจังหวัดสงขลา

จังหวัดสงขลา

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น

(ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

.....เพราะ

1.มีความสำคัญเรื่องเศรษฐกิจการค้าชายแดน มีความหลากหลายของสินค้าบริการ เป็นผลดีต่อผู้บริโภค เพราะสินค้ามีราคาที่ถูกลง

2.จะทำให้คนในท้องถิ่นมีความสามารถในการสื่อสาร โดยได้รับการพัฒนาด้านการใช้ภาษาของประเทศในอาเซียนมากยิ่งขึ้น

3.ท้องถิ่นได้มีการพัฒนาสาขาอาชีพที่มีอยู่ในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นสาขาอาชีพใด เพื่อรองกับกับการจ้างงานในประเทศสมาชิก

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

จุดแข็ง

1.ทรัพยากรมนุษย์มีคุณภาพ

2.ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ (ทรัพยากร)มีความหลากหลาย

3.ทุนทางวัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

จุดอ่อน และแนวทางแก้ไข

1.เทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาในการสื่อสาร (ทุนทาง IT)

2.ความไว้เนื้อเชื่อใจ (ทุนทางสังคม)

การแก้ไข

1.ทุนทาง IT ท้องถิ่นจะต้องส่งเสริมให้มีการบรรจุเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา เช่น การสอนภาษาที่ 2,3 ในโรงเรียน

2.ทุนทางสังคม ท้องถิ่นจะต้องมีทัศนคติที่ดี รวมทั้งการสมัครสมานสามัคคี ให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกิจกรรมที่ท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วมกับอาเซียน

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

โอกาส ทำให้มีการขยายธุรกิจแนวชายแดนเพิ่มขึ้น เช่น อุตสาหกรรม ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อาหารทะเลแช่แข็ง , อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งเชิงวัฒนธรรม การแข่งเรือยาวบางกล่ำ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และอุตสาหกรรมการบริการ , โครงการการแข่งขันเรือยาวซึ่งเป็นประเพณีของจังหวัดสงขลา มีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย สิงคโปร์ ยุโรป ,มีเศรษฐกิจหมุนเวียน,เยาวชนในพื้นที่ได้ออกกำลังกาย,ห่างไกลยาเสพติด

ความเสี่ยง

- ปัญหาทางการเมืองของประเทศ และความไม่ชัดเจนด้านนโยบาย

- ความแตกต่างและความเหลื่อมล้ำทางค่าเงิน

- การแย่งชิงแรงงานที่มีคุณภาพ

- ปัญหายาเสพติดแนวชายแดน

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

1.ผู้นำชุมชนที่ได้รับการศึกษาอบรมในเรื่องอาเซียนเสรีและพันธมิตร นำไปถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ในทุกระดับตั้งแต่เยาวชน จนถึงประชาชนทั่วไป

2.ทำเป็นเอกสารเผยแพร่ให้ครบทุกครัวเรือน และโรงเรียนต่าง ๆ

3.ทำสปอตเผยแพร่ทางวิทยุชุมชนให้ผู้มีความรู้ ความเข้าใจมาออกอากาศ ถ่ายทอดความรู้ ในเรื่องการเป็นประชาคมอาเซียน

ความสำเร็จ ประชาชนได้รับรู้ความเข้าใจ 100 % ในท้องถิ่น

กลุ่มจังหวัดมหาสารคาม สุราษฎร์ธานี ชุมพร

จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น

(ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

10 คะแนน ในเรื่อง

1.การตลาดเสรี

2.การปรับตัวของท้องถิ่น เช่นองค์กรท้องถิ่น กฎระเบียบ กติกาต่าง ๆ

9 คะแนน ในเรื่อง

1.การเพิ่มอาชีพ และรายได้ขององค์กรท้องถิ่น

2.การเพิ่มมูลค่าสินค้า/ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร/เข้าถึงแหล่งเงินทุน

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

จุดแข็ง

1.เมืองท่องเที่ยว

2.ธรรมชาติ

3.วัฒนธรรม

จุดอ่อน

1.พื้นที่จำกัด

2.ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย

3.ขยะมูลฝอย

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

1. ควรมองโครงสร้างองค์กร จัดกรอบของเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับการปรับตัว

2. สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ประชาสัมพันธ์เชิงรุกถึงความเปลี่ยนแปลง โดยใช้สื่อทุกรูปแบบ

3. สร้างมูลค่าในผลผลิตของท้องถิ่นที่มีอยู่ /ยางพารา/ปาล์มน้ำมัน

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

ขยายการเรียนรู้ของประชากร เพิ่มทักษะทางภาษา

กลุ่มจังหวัดนราธิวาศ

จังหวัดนราธิวาส

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น (ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

7 คะแนน เพราะ

1.จังหวัดติดชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย

2.การค้าระหว่างชายแดน (เพราะราคาสินค้าที่แตกต่างกัน)

3.แรงงาน (แรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย ส่วนใหญ่เป็นแรงงานจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้)

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

จุดอ่อน

1.ภาษา

2.การศึกษา

3.ความมั่นคง

4.ทักษะวิชาชีพ

5.ทุน

6.สินค้าหนีภาษี

7.ผู้มีอิทธิพล

จุดแข็ง

1. วัฒนธรรม

2. ภาษาถิ่น(ภาษายาวี)

3. การคมนาคม

4. ศาสนา

5. แหล่งท่องเที่ยว

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

โอกาสด้านเศรษฐกิจคือ การนำเข้าและส่งออก โอกาสด้านการค้าเนื้อสัตว์ ผลิตผลทางการเกษตร เป็นศูนย์การคมนาคม สินค้าไปยังมาเลเซีย

โอกาสด้านสังคม วัฒนธรรมของศาสนา และเชื้อชาติ

ผลกระทบทางลบ ด้านเศรษฐกิจเสียดุลการค้า

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

โครงการศูนย์การเรียนรู้อาเซียน AEC ในระดับอำเภอ

กลุ่มจังหวัดอันดามัน กระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรัง ระนอง

กลุ่มจังหวัดอันดามัน จังหวัดกระบี่,พังงา,ภูเก็ต,ตรัง,ระนอง

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น (ให้คะแนน 0-10 พร้อมบอกเหตุผล 3 ข้อ)

ความสำคัญ เพราะ

1.ให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนลงสู่พื้นที่ในทุก ๆ ด้าน

2.ให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาอาเซียน /English /Computer

3.ปรับรูปแบบการทำงานของท้องถิ่นให้กับรูปแบบ

4.ศึกษาและให้ความรู้ถึงผลกระทบที่จะได้รับทั้งทางบวก /ทางลบ

5.กำหนดนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่น ด้านแผนงาน ด้านยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับอาเซียน หรือ AEC

6. ปรับปรุงและพัฒนาบุคลากรของอปท.ให้มีความรู้ ความเข้าใจและความจำเป็นของอาเซียน

8 คะแนน เพราะ

1.สภาพลุ่มพื้นที่ 5 จังหวัดอันดามัน มีพื้นที่เอื้ออำนวย เช่น ถนนเซาท์เทิร์นซีบอร์ด ,สนามบินนานาชิต 2 แห่งคือที่ภูเก็ตและกระบี่ และสนามบินอีก 2 แห่งที่ตรังและระนอง มีท่าเรือน้ำลึก และอีกมากมาย

2.มีประเพณี วัฒนธรรม ศาสนาที่หลากหลายยั่งยืน ไม่มีความขัดแย้ง เช่นประเพณีกิจเจ /ถือศิลอด

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร จุดอ่อนอยากให้ปรับปรุงอะไร?

8K’s

จุดอ่อน

1.การปรับทัศนคติของคนในชุมชน ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ IT ในพื้นที่ยังน้อย สำหรับในทุกกลุ่ม ชุมชน

2.ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษากลาง /ภาษาอาเซียน ภาษาอังกฤษ

3.มีปัญหาเกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่หลากหลาย

จุดแข็ง

1. มีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ชัดเจน ยาวนาน

2. มีระบบภูมิปัญญาท้องถิ่น

3. สังคมไทยเป็นสังคมเอื้ออาทร

4. มีศาสนาที่หลากหลายแต่ไม่ขัดแย้งและอยู่ในระบบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข

5. เด็กและเยาวชน มีความรู้ ความสามารถในการใช้ระบบ IT ในการเรียนรู้

5K’s

จุดอ่อน

1. ความคิดสร้างสรรค์ ยังน้อย

2. กลุ่มแรงงานทั่วไป ขาดความรู้เกี่ยวกับภาษา English และภาษาอาเซียน

จุดแข็ง

1. ในกลุ่มอาชีพบางอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น สปา / นวดแผนไทย

2. กลุ่มแรงงานมีทักษะฝีมือ มีความเข้มแข็ง

3. มีความได้เปรียบทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ยั่งยืน

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

โอกาส มีสภาพพื้นที่ที่เอื้อประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น

- ด้านท่องเที่ยว มีธรรมชาติที่สวยงาม หลากหลาย เช่น ทะเล /ภูเขา/น้ำตก/ถ้ำฯลฯ

- ด้านการเกษตรที่ยั่งยืน

- มีความหลากหลายด้านประเพณีและวัฒนธรรม/อัตลักษณ์/ท้องถิ่น/ภูมิปัญญา/อาหาร

- มีความหลากหลายของศาสนา ทำให้ด้านศาสนาเป็นแนวส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายของประเพณี วัฒนธรรม

อุปสรรค ลักษณะของภูมิประเทศของพื้นที่เป็นประตูเปิดรับในทุก ๆ ด้านที่หลั่งไหลเข้ามา เช่นแรงงานต่างด้าว /ยาเสพติด /โรคระบาด และมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคง

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ต้องเน้นอะไร ความสำเร็จคืออะไร

การประชุมชี้แจงภายในองค์กร

1.ศึกษาดูงานโดยกลุ่มเป้าหมายชุมชน

2.อบรมสัมมนา

3.ประชุมหน่วยงานทุกภาคส่วน

4.แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานดูแลกิจกรรมอาเซียนประจำองค์การ

5.ประชาสัมพันธ์ทางสื่อทุกประเภทตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี 2558 และตลอดไป

6.เปิดโอกาสให้กลุ่มอาเซียนเสรีไปทำโรดโชว์หมุนเวียนในกลุ่มปรเทศอาเซียนเครือข่ายพันธมิตร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท