ปัจจัยในการกำหนดนโยบาย


ปัจจัยในการกำหนดนโยบาย

ปัจจัยในการกำหนดนโยบาย จำแนกได้  2  ประการ คือ  ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

                1. ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน (Fundametal  Factors) หมายถึง สิ่งใดๆ ที่ผู้มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายจะต้องคำนึงถึงตลอดเวลา  เพราะหากไม่คำนึงถึงแล้ว นโยบายที่กำหนดขึ้นจะเป็นนโยบายที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ หรือไม่นโยบายที่ขาดความถูกต้องสมบูรณ์  อันจะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหา  อุปสรรค  และความยุ่งยากในการปฏิบัติให้นโยบายนั้นบรรลุเป้าหมาย  ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการกำหนดนโยบายรวมเป็นกลุ่มที่สำคัญได้ 3 กลุ่ม คือ
                                1.1 ปัจจัยที่เกี่ยวกับผลประโยชน์  ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบายใดก็ตาม ผู้กำหนดนโยบายจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์การเป็นสำคัญในลักษณะที่เป็นการกำหนดให้องค์การได้รับผลประโยชน์มากที่สุด  หรือสูญเสียผลประโยชน์อันพึงได้น้อยที่สุด  ผลประโยชน์ขององค์การหรือหน่วยงานจะมีความผูกพันกับผลประโยชน์หรือความต้องการของบุคคลในองค์การเป็นอย่างมาก  ฉะนั้นการกำหนดนโยบายจะต้องมีลักษณะที่เป็นการตอบสนองความต้องการของบุคคลส่วนใหญ่ในองค์การหรือหน่วยงานนั้นองค์การธุรกิจเอกชนปัจจัยมี่เป็นผลประโยชน์ ได้แก่  กำไร  ค่าตอบแทนต่างๆ และรวมทั้งชื่อเสียง  เกียรติภูมิที่องค์การและบุคคลในองค์การได้รับ  ในองค์การที่เป็นรัฐบาลหรือปนะเทศชาติ ปัจจัยที่เป็นผลประโยชน์ร่วมของคนทั้งชาติ คือ ความอยู่ดีกินดี  มีความสุขของประชาชน  ความมั่นคงในเอกราช  ประชาธิปไตย  เศรษฐกิจ  การเมือง  และสังคม 
                                1.2 ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้กำหนดนโยบาย  วิธีการ  หรือกระบวนการในการดำเนินนโยบาย โดยลักษณะเช่นนี้ ผู้กำหนดนโยบายจะต้องรู้ตนเองว่าผู้ที่มีความรู้ความสามารถหรือไม่  เพราะหากขาดความรู้ความสามารถและความเข้าใจอย่างแท้จริงในการกำหนดนโยบายแล้ว  นโยบายที่กำหนดขึ้นอาจบกพร่องหรือขาดหลักการที่สำคัญ  ผู้ที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายควรมีความรู้ความเข้าใจอย่างน้อย 2 ประการ  คือ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องวิธีการกำหนดนโยบาย  และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย นโยบายที่กำหนดขึ้นจะต้องมีความเหมาะสม  มีความเป็นเหตุเป็นผล  และมีความถูกต้อง  จึงถือว่าเป็นนโยบายที่สามารถนำไปปฏิบัติได้
                                1.3 ปัจจัยที่เกี่ยวกับข้อมูลและเอกสารต่างๆ ในการกำหนดนโยบายหากข้อมูลหรือเอกสารที่ได้ขาดข้อเท็จจริงย่อมทำให้นโยบายมีความผิดพลาด  และการนำเอานโยบายที่ผิดพลาดไปปฏิบัติย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์การและหน่วยงานอย่างที่สุด  อาจทำให้องค์การหรือหน่วยงานถึงแก่กาลวิบัติ ฉะนั้นผู้ที่กำหนดนโยบายจะต้องพยายามกรองข่างสาร  ข้อมูลที่ได้อย่างละเอียดรอบคอบ พิจารณาอย่างลึกซึ้ง ไม่พยายามที่กำหนดนโยบายโดยใช้ข้อมูลที่ปราศจากข้อเท็จจริง หรือเป็นข้อมูลที่ปรุงแต่งขึ้นเองเพื่อให้นโยบายอยู่ในลักษณะเป็นการสร้างวิมานในอากาศ

ที่มา :   ประชุม  รอดประเสริฐ.(2535). นโยบายและการวางแผน.คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา.

หมายเลขบันทึก: 460601เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2011 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท