สัประยุทธ์ การเคลื่อนตัว การท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน


แลกเปลี่ยนเรียนรู้การท่องเที่ยวโดยชุมชน - CBT.

เก็บตกเวทีการท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน

จากการพูดคุยพบว่าแม่ฮ่องสอนมีทุนเดิมอยู่ 4 เรื่องใหญ่ๆ  คือ

1)  งานวิจัย   ในภาพงานวิจัยมีอยู่ 3 เส้นทางที่แม่ฮ่องสอนได้เดินไว้ คือ  งานของ BRT งานของ สกว. นอกจากนี้ก็เป็นเวทีทางวิชาการ 6 ครั้ง  ทั้งหมดเป็นความพยายามที่จะจัดการเรื่องการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นมุมมองของคนข้างนอกที่มองเข้ามาเป็นส่วนใหญ่ประกอบกับมีมุมมองของคนข้างในมองออกไปบ้างแต่ยังไม่มากเท่าไหร่   คำถามที่น่าคิดต่อคือ

  •  ข้อมูลเพียงพอหรือยัง? ต่อกระบวนทัศน์ในการปรับเปลี่ยนในการทำงานร่วมกันของผู้เกี่ยวข้อง
  • งานวิจัยนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือยัง? ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างบางพื้นที่บ้างแล้วเช่นที่ห้วยฮี้ 
  •  ทำให้รู้ตัวเองมากน้อยเท่าใดแล้ว?  ว่าถ้าจะเดินต่อจะเดินอย่างไรดี ใครจะเป็นภาคีร่วมเดิน
  • โจทย์วิจัยที่ผ่านมา และที่พูดคุยกันอยู่ จะต้องเพิ่มเข้ามาหรือไม่? ถ้าต้องเพิ่ม สกว.ยินดีให้การสนับสนุน

2)  งานพัฒนา 

พบว่ามีงานพัฒนาในเรื่องของการทท่องเที่ยว หรือที่เรียกว่า Actor (ผู้กระทำ) มีอยู่ 3 กลุ่มหลัก กับอีก 1 แผนยุทธศาสตร์  คือ  NGOs  หน่วยงานภาครัฐ องค์กรชาวบ้าน ซึ่งกลุ่มเหล่านี้พยายามที่จะแสวงหาแหล่งท่องเที่ยวว่าอยู่ตรงไหนบ้าง และแสวงหาความร่วมมือด้วย

3)  กลไกการจัดการ  มีอยู่ 4 ส่วนใหญ่ๆ ที่มาดำเนินงาน คือ ส่วนราชการ ภาควิชาการ นักธุรกิจ องค์กรชาวบ้าน  แต่คำถามว่า ถ้าจะเคลื่อนงานต่อในอนาคต กลุ่มเหล่านี้จะต้องมาปรับกระบวนทัศน์กันใหม่หรือไม่ เพื่อให้เกิดการทำงานที่เหมาะสม กลไกเหล่านี้จะมีการปรับตัวอย่างไรเพื่อให้เกิดการเคลื่อนตัว

4)  ตลาด  มี 3 กลุ่มหลักๆที่จัดการด้านการตลาดอยู่ คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) , ภาคธุรกิจ และ กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGOs   โดยตลาดที่เกิดขึ้นอาจจะจำแนกได้เป็น 3 ระบบ คือ

  • ตลาดในแนวนอน  คือ การต่อกันแค่คนสองคน หรือกลุ่มสองกลุ่ม
  • ตลาดในแนวตั้ง  คือ ไม่ต้องต่อใครเลย ตั้งบริษัทขึ้นเองแล้วก็ทำโปรแกรมออกไปเสนอกับนักท่องเที่ยวโดยตรง
  • ตลาดแบบเครือข่าย  เป็นการจัดการร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เท่าเทียม ซึ่งคิดว่าในปัจจุบันยังเกิดน้อยมาก

  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-align: justify" class="MsoBodyText"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-align: justify" class="MsoBodyText">คำถามคือว่า แนวทางในการที่จะขยับเข้าสู่ระบบตลาดแบบเครือข่ายภายใต้ทุนเดิมที่มีอยู่จะเป็นไปได้หรือไม่?</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-align: justify" class="MsoBodyText"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-align: justify" class="MsoBodyText"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-align: justify" class="MsoBodyText">อีกประเด็นหนึ่งที่มีการพูดคุยกันคือเหมือนกับว่าขณะนี้แม่ฮ่องสอนกำลังจะใช้เรื่องของการท่องเที่ยวโดยชุมชน หรือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนี้ เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่การจัดการหรือการพัฒนาในเรื่องอื่นๆ  ซึ่งถ้ามองตามภาพปรากฏการณ์ที่รวบรวมจากการพูดคุยพบว่า มีเป้าหมายของการใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนนำไปสู่การจัดการใน 6 เรื่องหลักๆ คือ</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-align: justify" class="MsoBodyText"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-align: justify" class="MsoBodyText"></p><ul>

  • นำไปสู่การจัดการพัฒนาชุมชน
  •   นำไปสู่การจัดการทรัพยากร
  •  นำไปสู่การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว
  • นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ
  • นำไปสู่การจัดการตัวเอง ให้รู้เท่าทัน
  • นำไปสู่การฟื้นฟูประเพณี วัฒนธรรม
  • </ul>เพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้แนวคิดหรือการยอมรับตรงนี้นำไปสู่ผลการปฏิบัติได้อย่างชัดเจนว่าเมืองแม่ฮ่องสอนน่าจะต้องเป็นเมืองที่มีลักษณะเป็นเมืองนิเวศ ที่จะใช้ทั้งในแง่ของการศึกษาก็ดี หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ในการที่จะจัดให้เป็นอย่างนั้นได้ภาครัฐทั้งในระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดให้ชัดเจนถึงแนวทางการพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งจะทำให้การพัฒนามันไปในแนวทางเดียวกัน    

    หมายเลขบันทึก: 97198เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2007 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (6)

    สวัสดีค่ะ

           ครั้งหลังสุดที่ไปแม่ฮ่องสอนก็ตอนไปเที่ยวชมงานมหกรรมพืชสวนโลก  เลยพากันลุยแม่ฮ่องสอนต่อ  ติดใจสถานที่เที่ยวที่นั่นมากเลยค่ะ  สุดยอดมาก  ประทับใจไปตามๆ กัน จนครูต่างชาติที่ไปด้วยกันบอกดิฉันว่า " Unforgotable"  เห็นด้วยมากๆ กับเธอค่ะ  ไม่มีวันลืมจริงๆ  

    คุณ

    P

     

    • สวัสดีครับผม ยินดีครับหากมาเที่ยวบ้านผมแล้วมีความสุข
    • วันหน้ามีโอกาสผ่านมาทางนี้ บอกผมด้วยนะครับ ผมทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ดังนั้นผมสามารถให้ข้อมูลได้ เป็นไกด์(ที่น่ารัก) ให้ได้ครับ โดยเฉพาะ "เมืองปาย" บ้านเกิดผม
    • รับรองว่า ต้อง Unforgotable ผมมีสถานที่ unseen ที่จะแนะนำให้แขกพิเศษเช่นคุณครับ
    • ขอบคุณครับ
    • เป็นนักเที่ยวไทยตัวยงอีกคนหนึ่งค่ะ  หากผ่านไปอีกครั้งคงเจอไกด์ที่น่ารักนะคะ
    • เห็นภาพท้องฟ้าสีครามที่ตัดกับเส้นขอบทะเลแล้วอยากเที่ยวใต้แถวๆ สงขลาล่ะก็  บอกมาได้เช่นกันค่ะ

    คุณครูครับ

    P

    ยินดีมากครับกับคำเชื้อเชิญ คุณครูรู้มั้ยครับ ว่าผมคนจริง วันหนึ่งไม่นานผมคงได้ไปโต๋เต๋แถวสงขลา ไกด์ท้องถิ่นอย่าพักร้อนนะครับ 555

    ผมอยากไปทะเลครับ เพราะบ้านผมไม่มี

    พัฒนาต่อไปนะครับพี่จตุพร

    จังหวัดบ้านเกิดผมอยู่มา 30 ปีแล้ว ไม่เคยไปไหนเลย ผมก็ยังไม่ทราบเลยว่า มหาสารคาม มีทุนเดิมอะไร แต่ถ้ามีงานวิจัยอย่างแนวของพี่ ทำกับจังหวัดนี้บ้าง คงได้คำตอบต่อไปว่าจะมีแนวทางการพัฒนาไปทิศทางใด

    น้องแจ๊ค
    P

    ถือได้ว่าเป็นโอกาส วันนั้นได้คุยกับ อ.ตั๊ม บ้างและคิดว่า แนวทางการดำเนินงานพัฒนา วิจัย การท่องเที่ยวอีสาน ที่มีบุคลิกที่แตกต่างจากภาคอื่น เป็นประเด็นที่น่าสนใจ

    มีอาจารย์จากกู่กาสิงห์ มาเล่าให้ฟัง ได้ฟังเรื่องกุดชุม ได้รับรู้เรื่อง มหาชีวาลัย มากมายไปหมด(นับไม่ไหว) ตรงนี้เองครับ เป็นทุนที่สำคัญของชาวอิสาน เรียกว่า ของดีมีเยอะ ในแผ่นดินอีสาน

    ก่อนเข้าประชุมที่ มมส.ทางทีมงานยังเกรงๆอยู่ว่า สรุปผลจะออกมาเช่นไร แต่ผมเชื่อในความเป็นปราชญ์ของชาวอีสาน

    และผลสรุปในวันนั้นก็ชื่นมื่น และเราพอใจมากครับ มีกำลังใจในการทำงาน

    อาจได้ไปเยี่ยมแจ๊คบ่อยๆขึ้นนะครับผม

     

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท