BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ปรัชญามงคลสูตร ๔๑ : อุดมคติแห่งชีวิต


ปรัชญามงคลสูตร

คาถาที่ ๑๐ ว่า

จิตของผู้ใดอันโลกธรรม (สุข ทุกข์ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สรรเสริญ และนินทา) สัมผัสแล้วไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศรก ไม่มัวหมอง ปลอดโปร่ง...นี้ จัดเป็นมงคลอันสูงสุด

คำว่า โลก แปลตรงตัวว่า สิ่งที่ถูกเห็น ... ส่วนความหมายตามคัมภีร์ก็บ่งชี้บางสิ่งบางอย่างแตกต่างกันออกไป บางครั้งหมายถึง บรรดาสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโลก ... บางครั้งหมายถึง แผ่นดินเป็นที่อาศัยอยู่... หรือบางครั้งก็หมายถึงกายและใจนี้เอง.... ส่วนความหมายในคาถานี้ตามสำนวนปัจจุบัน โลก ก็คือ ชีวิตและสังคม นั่นเอง

โลกธรรม คือ ธรรมอยู่คู่กับโลก หรือสิ่งที่ครอบงำชีวิตและสังคมไว้นั้นเอง... พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่มีใครสามารถหลีกหนีโลกธรรมไปได้ (แม้แต่พระองค์เองก็ตาม) เพียงแต่ว่า จิตใจของเราจะหวั่นไหวหรือไม่ในเมื่อถูกโลกธรรมเหล่านี้เข้ามาครอบงำ เท่านั้น

โลกธรรม จำแนกเป็นสองฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายเป็นที่พึงพอใจ (สุข มีลาภ มียศ และสรรเสริญ) และฝ่ายไม่เป็นที่พึงพอใจ (ทุกข์ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ และนินทา)... ทั้งสองฝ่ายนี้ จะทำให้จิตใจของเรา ฟูๆ ยุบๆ หรือ สูงๆ ต่ำๆ ตลอดไป... ส่วนจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางจิต หรือภูมิธรรมของแต่ละคน...อย่างไรก็ตาม โลกธรรมเหล่านี้ มีอำนาจต่อการดำเนินชีวิตของเราเสมอมา...

......

คุณลักษณะประการแรกของผู้บรรลุธรรมกล่าวคือผู้ถึงพระนิพพานก็คือ เป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมเหล่านี้

เมื่อจิตใจไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมเหล่านี้ จิตใจก็จะเรียบสงบ ไม่มีความเศร้าโศรก นั่นคือ คุณลักษณะประการต่อมา....

เมื่อไม่เศร้าโศรกแล้ว จิตใจก็จะไม่มีความขุ่นมัวหรือมัวหมอง ด้วยอำนาจของกิเลสอีกต่อไป นั่นคือ คุณลักษณะอีกประการหนึ่ง....

จิตใจที่ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศรก และไม่มัวหมองดังกล่าว จะเป็นจิตใจที่ปลอดโปร่ง สดใส ชื่นบาน สุขสงบ.... นี้คือ คุณลักษณะประการสุดท้ายของพระนิพพานที่ระบุไว้ในคาถานี้.....

........

จิตใจของผู้บรรลุธรรมกล่าวคือผู้ถึงพระนิพพานดังที่เล่ามา อาจค้นหาได้ยากในโลกแห่งความเป็นจริง...

แต่โดยการเทียบเคียง บางคนในโลกนี้มีจิตใจหวั่นไหวต่อโลกธรรมตลอด กลายเป็นผู้โลเล ทำนองไม้หลักปักเลน... ขณะที่จิตใจของคนบางคน มีความหนักแน่น มั่นคงดุจขุนเขา ยากที่จะสั่นไหวไปกับโลกธรรมที่ครอบงำอยู่.... เหตุดังนี้ เพราะปารมีธรรมของแต่ละคนแตกต่างกันนั่นเอง...

ดังนั้น จิตใจที่ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมที่เข้ามาสัมผัส ไม่สนุกสนาน โศรกเศร้า หรือยินดียินร้ายไปกับสิ่งเหล่านั้น จึงเป็นอุดมคติในทางพระพุทธศาสนา สำหรับผู้ที่ยังห่างไกล..... และคงต้องบำเพ็ญปารมีต่อไป เพื่อให้อุดมคิตที่ห่างไกลนั้น ค่อยๆ ใกล้เข้ามา และเป็นจริงในที่สุด.... ซึ่งนี้คือ จุดหมายแห่งคำสอนในมงคลสูตร

ผู้เขียนได้เล่าปรัชญามงคลสูตรมาจนจบตามความตั้งใจ จะสรุปอีกครั้งในตอนสุดท้าย....   

 

หมายเลขบันทึก: 104474เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2007 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

กราบนมัสการหลวงพี่BM.chaiwut  

ดิฉันขออนุญาตอ้างอิงบันทึกนี้ของหลวงพี่ ที่บันทึกนี้ของดิฉันค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

จิตใดสัมผัสแล้ว

โลกธรรม

จิตนิ่งไม่ไหวตาม

เสื่อมได้

ยามชอบแต่พองาม

ยามเสื่อม สงบนา

ปลอดโปร่งรู้ทันไซร้

บ่งไว้ มงคล

P

ทนัน ภิวงศ์งาม

 

  • มงคลสูตรบ่งไว้              พัฒนา
  • แรกเกิดตราบจนชรา       ครบถ้วน
  • นำจิตมุ่งมรรคา               เป็นสุข  จริงแล   
  • สามสิบแปดข้อล้วน        แน่แท้ เกษม

เจริญพร 

         

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท