"เต๋าแห่ง KM" - ใน Explicit มี Tacit ใน Tacit มี Explicit


ผมพูดเรื่องความรู้ที่เป็น Explicit และ Tacit ก็เพื่อให้เห็นชัดถึงคุณลักษณะที่แตกต่างระหว่างความรู้ทั้ง 2 ประเภท เพื่อที่เราจะได้ "จัดการ" ความรู้เหล่านั้นด้วย "วิธีการ" ที่แตกต่างกันออกไป

        ช่วงนี้สงสัยผมจะเน้นความแตกต่างระหว่างความรู้ที่เป็น Explicit กับ Tacit มากไป     ในงานสัมมนาแห่งหนึ่งถึงกับมีผู้ถามผมว่า  "...นโยบายที่ผู้บริหารให้ลงมานั้นถือว่าเป็น Explicit หรือ Tacit?"   ผมตอบไปว่า "นโยบาย ก็คือ นโยบาย"  ทำไมต้องไป define (ระบุ) มันด้วยว่าเป็น Explicit หรือ Tacit 

        ผมพูดเรื่องความรู้ที่เป็น Explicit และ Tacit ก็เพื่อให้เห็นชัดถึงคุณลักษณะที่แตกต่างระหว่างความรู้ทั้ง 2 ประเภท  เพื่อที่เราจะได้ "จัดการ" ความรู้เหล่านั้นด้วย "วิธีการ" ที่แตกต่างกันออกไป   ผมได้แต่หวังว่าในที่สุดแล้วเมื่อเราเข้าใจเรื่องนี้ได้อย่างถ่องแท้  เราก็จะไม่แบ่งแยกความรู้ทั้ง 2 ประเภทนี้อย่างตัดขาดแยกออกจากกัน  เพราะว่าในที่สุดแล้ว  ความรู้ทั้ง 2 ประเภทนี้เกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก ความรู้ที่เป็น Tacit เมื่อผ่านสายตา นักวิเคราะห์ นักวิจัย ก็กลายมาเป็น บทวิเคราะห์ ข้อสรุป กลายเป็นความรู้ที่เป็น Explicit     ส่วนความรู้ Explicit ที่เป็นหลักวิชา  ที่อยู่ในตำรา   พอผ่านตานักปฏิบัติ ถูก "ตีความ" ตามทุนเดิมที่พวกเขามีอยู่ในตัว   ก็จะหลุดออกมาเป็น "เทคนิค" ใหม่ๆ  เมื่อนำไปทดลองใช้ได้ผลดี  สิ่งนี้ก็กลับกลายเป็น Tacit Knowledge

        เห็นไหมครับว่าในที่สุดแล้ว Explicit กับ Tacit นั้นแปรเปลี่ยนหมุนเวียนเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอดเวลา  ใน Explicit มี Tacit  ใน Tacit มี Explicit  ความรู้ทั้งสองประเภทนี้มิได้อยู่แยกจากกันอย่างที่เราเข้าใจ   หากท่านเข้าใจภาพข้างล่างนี้ได้   นี่แหละครับ "เต๋าแห่ง KM"

คำสำคัญ (Tags): #tao#tacit#explicit#knowledgemanagement
หมายเลขบันทึก: 37255เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2006 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์  รูปและคำอธิบายนี้ทำให้เห็นความเกี่ยวโยงกันระหว่าง TKM และ EKM อย่างชัดเจน
  • สีของสองซีก ที่ใช้สีขาว กับ ชมพู แดง ? แตกต่างกัน มีความหมายอะไรไหมครับ ?
เรื่องสีไม่มีความหมายอะไรครับ บางทีก็เป็นดำ-แดง ขาว-ดำ แค่ให้เห็นว่าแตกต่างกัน เป็นหยิน กับเป็นหยาง ครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ประพนธ์...              

  • อ่าน + ชมภาพหยินหยางแล้ว เข้าใจ+ซาบซึ้งกับ Tacid+Explicit knowledge มากขึ้น
  • ดูจะคล้ายกับคำกล่าวที่ว่า "คนละด้านของเหรียญเดียวกัน"
  • ขอขอบพระคุณอีกครั้งหนึ่ง...
อาจารย์อธิบายทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ
ขออนุญาตอาจารย์ทุกท่าน เสนอความคิดแปลกๆเกี่ยวกับ Knowledge กับ YinYangDiagram ครับ (คิดสนุกๆ - รูปนี้ซ่อนอะไรให้คิดไว้เยอะ) 1. ในหยินมีหยาง และในหยางก็มีหยิน - มีจุดกลมเล็กๆสีตรงข้ามกันอยู่ภายในแต่ละด้าน 2. หยินเป็น(เหมือน)จุดกำเนิดของหยาง และหยางเป็นจุดกำเนิดของหยิง - สังเกตุจุดกลมเล็กๆจะอยู่บริเวณหัวของแต่ละด้าน 3. หยินหยาง เปลี่ยนแปลง หมุนเวียน ไม่คงที่ ไม่แน่นอน - เหมือนรูปนี้ที่ดูแล้วรู้สึกถึงความเคลื่อนไหว อันเป็นหลักของพุทธศาสนาด้วย 4. การเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีช่องว่าง - smooth transformation ต้องเป็นการเปลี่ยแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่เป็นเส้นตรง ไม่หักมุม ไม่มีเส้นตัด ไม่เป็นสี่เหลี่ยม (คนจีนมีคำว่า "ท้องสี่เหลี่ยม" = คนด้อยความคิด) 5. การเปลี่ยนแปลงที่สมดุลย์ ช่วยสร้างวงกลมที่สมบูรณ์ - ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ไม่ช้าเกินไป ไม่เร็วเกินไป ..... ไม่รู้คิดมากไปเปล่าครับ .....
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท