โรคอุบัติใหม่...ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อโรคพืชอย่างไร?


Several previously classified non-fluorescent heat loving pseudomonads are emerging as serious world-wide pathogens

 

 

Img_2314

บ่ายวันนี้ผมได้เข้าฟังสัมมนาในหัวข้อ Global Warming and Emerging Bacterial Pathogens ที่ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์

Img_2316

โดย Prof.N.W.Schaad จาก U.S.D.A./ARS สหรัฐอเมริกา

ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือภาวะโลกร้อนส่งผลให้เกิดโรคพืชได้รวดเร็วและมีความรุนแรงมากขึ้น

เมื่อพืชเป็นโรค สิ่งที่จะตามมาก็คือการลดลงของผลผลิตทางการเกษตร ท่านวิทยากรตัวอย่างที่ฟังดูน่ากลัว ก็คือ ข้าว ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทยครับ


Global Warming ทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง

-         การละลายของธารน้ำแข็งและการละลายของหิมะบนภูเขา

-         อุณหภูมิ / ฤดูกาลมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก

-         เกิดพายุและความแห้งแล้งในระดับรุนแรงบ่อยขึ้น

-         มีการย้ายถิ่นของพืชและสัตว์

-         มีการเพิ่มขึ้นของแมลง

-           พบโรคพืชที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มที่ชอบความอุณหภูมิสูงเกิดขึ้น (Heat loving phytopathogenic bacteria)

ผลกระทบของภาวะโลกร้อน

-         ด้านสุขภาพ; พบโรคที่มีแมลงเป็นพาหะ

-     ด้านการผลิตพืช; กระทบต่อการผลิตองุ่น (องุ่นเป็นผลไม้กึ่งเขตร้อน) และผลผลิตของข้าวลดลง การติดเมล็ดลดลง

-         มีรายงานการเกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Acidovorax avenae ในแหล่งผลิตข้าวของสหรัฐอเมริกา (2006) และอิตาลี (2005)   <p>Heat loving bacteria คือ เชื้อแบคทีเรียที่ชอบอุณหภูมิสูง (30-40 C) ซึ่งแยกออกมาจากกลุ่ม pseudomonads ซึ่งพวกเขาก็มีชื่อและนามสกุล ดังนี้ครับ</p><p>Ralstonia solanacearum ตัวการสำคัญที่ทำให้มะเขือเทศมีอาการเหี่ยวและตายไปในที่สุด บ้านเราเรียกว่า โรคเหี่ยวเขียว (Bacterial wilt of Tomato)</p><p>นอกจากนี้ยังมีพืชอาศัยอื่นๆอีกที่เชื้อชนิดนี้จะเข้าทำลาย เช่น มันฝรั่ง ขิง และกล้วย ฯ</p><p>Acidovorax avenae มีอยู่ด้วยกันหลาย subspecies ซึ่งจะเข้าทำลายพืชอาศัย (host) ที่แตกต่างกันออกไป</p><p>     subsp. avenae เข้าทำลายข้าวโพด ข้าว อ้อย เป็นต้น</p><p>     subsp. citrulli สร้างความเสียหายแก่แตงโม และเมล่อน</p><p>     subsp. cattleyae ทำลายความสวยงามๆของไม้ดอกที่บล็อกเกอร์หลายๆท่านชื่นชอบ…กล้วยไม้ ไงครับ</p><p>Acidovorax konjaci พืชอาศัย ได้แก่ บุก </p><p>Acidovorax valerianellae พืชอาศัย ได้แก่ lambs lettuce</p><p>Burkholderia species สามารถเข้าทำลายพืชอาศัยได้หลากหลาย ดังต่อไปนี้ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">Burkholderia glumae พืชอาศัย ได้แก่ ข้าว</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">Burkholderia gladioli พืชอาศัย ได้แก่ หอม กระเทียม ทิวลิป แกลดิโอลัส กล้วยไม้</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">Burkholderia andropogonis พืชอาศัย ได้แก่ ข้าวฟ่าง</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">Burkholderia corrugata พืชอาศัย ได้แก่ มะเขือเทศ</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">Burkholderia caryophylli พืชอาศัย ได้แก่ คาร์เนชั่น</p> Burkholderia agaricicola พืชอาศัย ได้แก่ เห็ด <p>ในสภาพที่มีอุณหภูมิสูงและฝนตกอย่างต่อเนื่องจะเอื้อให้เกิดการเข้าโจมตีของเชื้อพวกนี้ครับ</p><p> </p><hr><p>การเปลี่ยนแปลงของระดับ CO2 สูงขึ้นกว่า 30% ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา</p><p>ปี 1900    อยู่ที่ระดับ 290 ppm</p><p>ปี 1995    เพิ่มขึ้นเป็น 360 ppm</p><p>ปี 2005    มีปริมาณสูงถึง 379 ppm   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าใน ปี 2099  จะมีปริมาณ CO2 สูงถึง 800 ppm ครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นอกจากปริมาณ CO2 ที่สูงขึ้นแล้ว อุณหภูมิที่สูงขึ้น 2-3 Cในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลก (ice cap) ละลายได้เกือบ 30%</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><hr></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>Heat loving bacteria are flavored by extreame weather, including heat waves, extended rains and huricanes </p><p>
Predicted global temperature increase of 2.0-3.5 C over the next 50 to 100 years will result in more extreme weather events
.
</p><p> </p><hr><p>ผมนึกถึงกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงสาธารณสุขเมื่อจบการสัมมนา</p><p>ท่านอื่นๆคิดเห็นอย่างไรกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อการเกษตรของประเทศไทยบ้างครับ</p><p> </p><p> </p><p> </p><p> </p><p> </p><p> </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 146720เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2007 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)
อ้าว น้อง ไหง หายไปงี้ แล้วจะมาตามอ่านใหม่นะคะ

โลกร้อนนับว่าเป็นบทเรียนที่ประมาณค่ามิได้ของมนุษย์

เตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับยุค Crisis ก่อนก้าวไปสู่ยุค Post Crisis กันบ้างแล้วหรือยัง?

เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัวสำหรับข้ามสีทันดรกันเถอะครับ 

 

  • เข้ามาจองพื้นที่คะรออ่านต่อนะคะ
  • ส่งผลคะนอกจากต่อพืชแล้วทำให้เมฆสวยๆลดลงคะตามไปดูได้เลยคะที่นี่A walk in the clouds :มาเหนือเมฆ
สวัสดีค่ะ คุณข้ามสีทันดร ภาวะโลกร้อน ผูใหญ่ ครูบาอาจารย์สอนว่าอย่าตัดไม้ แต่ยังมีบางคนตัดมัน จิตสำนึกและความรับผิดชอบเหมือนไม่ได้ติดอยู่ในใจเลย
แล้วมีวิธีแก้ยังไงค่ะ ไม่ให้เกิดโรคพืช ขอบคุณค่ะ
ป้อม ไม่ได้ล๊อคอินครับ

ผมคิดว่าโลกร้อนเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคพืช แต่ตามธรรมชาติเชื้อโรคพืชก็มีการพัฒนาสายพันธุ์ของตัวมันเองอยู่แล้ว เพื่อให้อยู่รอด เช่นการพัฒนาเพื่อต้านทานสารเคมีที่ใช้ป้องกัน โรคพืช และแมลงที่เป็นพาหะทั้งหลาย อย่างไรก็ตามภาวะโลกร้อนก็ทำให้เชื้อโรคที่เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นก็จะมีการเข้าทำลายพืชรุนแรงขึ้นและอาจเพิ่มชนิดของโรคมากขึ้น

ผมว่าควรจะมาใส่ใจเรื่องโลกร้อนและการใช้สารเคมีที่ถูกต้องให้กับเกษตรกรกันบ้างแล้ว เพื่อจะไม่ทำให้โรคพืชดื้อยา

ปล.ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ

 สวัสดีค่ะ

บันทึกนี้ เป็นวิชาการนะคะ แต่ดีค่ะ ให้ความรู้มาก

พี่เองเคย มีประสบการณ์ด้านนี้อยู่บ้าง แต่ก็ก่อนจะมีปัญหาโลกร้อนขึ้นแบบนี้

ตอนนั้น เราวิจัยเรื่องคล้ายๆกับที่เรียกว่า...จีเอ็มโอเดี๋ยวนี้ แต่ ด้วยวัตถุประสงค์ต่างกัน

พอมาถึงประเด็นนี้ เลยนึกขึ้นมาได้อีกแล้ว.....

ว่า....นักวิทยาศาสตร์  ไม่ทราบจะใช้....เทคโนโลยีดัดแปรพันธุกรรม  ที่จะทำให้พืชจีเอ็มโอมีความแข็งแรงทนทานในทุกสภาวะอากาศ เอาเมล็ดพันธุ์ไปปลูกที่ไหนก็ได้ มีความต้านทานต่อโรคพืชและแมลงตัวร้าย อีกทั้งจะใส่วิตามินหรือธาตุอาหารที่ให้ประโยชน์แก่คนก็ทำได้ทั้งนั้น

ได้อ่านข่าวว่า.....

ทั่วโลกที่ปลูกพืชจีเอ็มโอในเวลานี้มีราว 10 กว่าประเทศ สหรัฐปลูกมากที่สุด นอกนั้นมีบราซิล อาร์เจนตินาที่ปลูกค่อนข้างมากกว่าใครๆ ในกลุ่มละตินอเมริกา ฝั่งเอเชียมีจีน อินเดีย

ส่วนประเทศที่เหลือทั่วโลก รวมทั้งไทย ยังละล้าละลัง ส่วนใหญ่รอดูท่าทีของกลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีองค์ความรู้และเทคโนโลยีจีเอ็มโอใกล้เคียงกับสหรัฐว่าจะคัดค้านไปถึงไหน

ตอนนี้.....หลายประเทศในอียูชูธงต้านจีเอ็มโออย่างสุดฤทธิ์สุดเดช โดยเฉพาะ เยอรมัน...

เพราะหวั่นเกรงว่าอาหารจีเอ็มโอจะมีผลต่อพันธุกรรมมนุษย์ในอนาคตข้างหน้า มนุษย์อาจแปรพันธุ์ โฉมหน้าอาจไม่เหมือนอย่างที่เห็นในปัจจุบันก็ได้ และเมล็ดพันธุ์นั้นจะทำลายระบบนิเวศวิทยา มดแมลงหนีหายหมด

พี่ไม่ทราบเหมือนกันว่า ตอนนี้ ประเทศเรา  เขาคิดแก้ปัญหากันอย่างไรหรือยัง  คุณสาธิต น่าจะบอกได้นะคะ

 

  • ตามมาขอบคุณ
  • โอโห เป็นเรื่องที่สำคัญจริงๆๆด้วยครับ
  • ขอบคุณครับผม

สวัสดีครับคุณข้ามสีทันดร

             อ่านความเห็นคุณแมนอินเฟรม  ให้นึกถึงความหมายของชื่อข้ามสีทันดรอีกที

             เห็นทีเราต้องเตรียมเสบียงบุญอย่างที่คุณแมนแกว่าจริง ๆ เพราะการข้ามสีทันดรนั้นยากนัก

             เร่งสร้างบุญ ไม่ห่วงภาวะเปลี่ยนแปลงอะไร น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด  และอาจเป็นวิธีเดียวที่จะหยุดการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ร้อน หรืออย่างน้อยก็น่าจะเป็นผลให้ช้าลงไปบ้าง

             แต่ความเป็นจริงด้านหนึ่ง ก็คงต้องต่อสู้เพื่อการอยู่รอดแห่งชีวิตครับ  เชื้อโรคพัฒนาให้อยู่ได้ มนุษย์ก็คงต้องอยู่เช่นกัน  จีเอ็มโอก็อาจเป็นโอกาสที่มีให้เลือกไม่มากสำหรับมนุษย์อย่างที่พี่ศศินันดาพูดเอาไว้

            สำหรับผมในฐานที่อยู่ในงานสาธารณสุข ก็ได้รับรู้เรื่องโรคอุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำครับ  ก็แน่นอนเชื้อโรคในพืชในคนบางตัวก็เดียวกันครับ 

             เราต้องช่วยกันครับ  รับรู้ได้แค่นั้นจริง ๆ ครับ

สวัสดีครับพี่ใบบุญP 

ขออภัยอย่างแรงครับ จริงๆตั้งใจจะบันทึกแบบม้วนเดียวจบ แต่เกิดผิดพลาดทางเทคนิค เพราะลืมโพยที่ไว้ที่ห้องทำงานครับ แต่กลัวเสียสัจจะที่ตั้งใจไว้ว่า กลับจากสัมมนาต้องกลับมาบันทึกแบ่งปันให้ได้ ก็เลยเป็นอย่างที่พี่เห็นตอนแรกครับ

พี่เดินคล่องขึ้นหรือยังครับ ขอให้หายไวๆครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับคุณ Man In Flame P 

นานๆได้เห็นบันทึกของคุณที ดีใจครับ แถมใจดีแวะมาเยี่ยมกันอีก

ข้อความนี้ต้องขยายยย เยี่ยมมากครับ

โลกร้อนนับว่าเป็นบทเรียนที่ประมาณค่ามิได้ของมนุษย์

เตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับยุค Crisis ก่อนก้าวไปสู่ยุค Post Crisis กันบ้างแล้วหรือยัง?

เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัวสำหรับข้ามสีทันดรกันเถอะครับ 

เตรียมใจแล้วครับ แต่ตัวปล่อยไปตามกรรม

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับพี่นารีP 

ส่งผลคะ นอกจากต่อพืชแล้วทำให้เมฆสวยๆลดลงคะ

อ่านความเห็นอารมณ์ดีนี้ทีไร เป็นต้องยิ้มทุกทีครับ

แต่พอกลับมานึกถึงปริมาณ CO2 ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ยิ้มไม่ค่อยออก

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณ berger0123P

โรคพืชจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีปัจจัยการเกิดโรคครบองค์ประชุม คือ

  • พืชอาศัย
  • เชื้อสาเหตุ
  • สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมครับ

แต่ทุกวันนี้ คน เป็นตัวแปรสำคัญและมีบทบาทอย่างมากที่ทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง

มีวิธีแก้ยังไงค่ะ ไม่ให้เกิดโรคพืช...

การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ทนต่อโรคช่วยได้ส่วนหนึ่งครับ

ขอบคุณครับ

 

 

 

 

สวัสดีครับ

อ่านบันทึกของนักปรับปรุงพันธุ์พืชมาหลายบันทึกอยู่ครับมาปิ้งที่จะร่วมแลกเปลี่ยนกับบันทึกนี้ด้วยเจ้าโรคเหี่ยวเขียวของมะเขือเทศนี่แหละครับ

ปลายฝนต้นหนาวเมื่อปีก่อนส่งเสริมให้พี่น้องที่ดงหลวงปลูกมะเขือเทศ หวังว่าจะได้ราคาดี ปรากฏว่าเจอฝนสั่งฟ้ากระหน่ำ มะเขือเทศเจอโรคเหี่ยวเขียว โรคเน่าจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม เจอไส้เดือนฝอย และอะไรอีกอย่างจำไม่ได้แล้ว

ผลก็คือเสียหายมากกว่าร้อยละแปดสิบ พี่น้องเกษตรกรต้องแก้ตัวกับรุ่นฤดูแล้งจึงพอได้ทุนคืนบ้าง

นี่อาจเป็นสิ่งยืนยันถึงผลของภาวะโลกร้อนได้ครับ

ขอบใจ แมวเหมียว (ป้อม) มากที่มาช่วยเติมเต็มในเรื่องของการปรับตัวของศัตรูพืช (เชื้อสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคพืช และแมลงศัตรูพืช)

  • ตามธรรมชาติเชื้อโรคพืชก็มีการพัฒนาสายพันธุ์ของตัวมันเองอยู่แล้ว เพื่อให้อยู่รอด เช่นการพัฒนาเพื่อต้านทานสารเคมีที่ใช้ป้องกัน โรคพืช และแมลงที่เป็นพาหะทั้งหลาย
  • อย่างไรก็ตามภาวะโลกร้อนก็ทำให้เชื้อโรคที่เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นก็จะมีการเข้าทำลายพืชรุนแรงขึ้นและอาจเพิ่มชนิดของโรคมากขึ้น
  • ควรจะมาใส่ใจเรื่องโลกร้อน
  • การใช้สารเคมีที่ถูกต้องให้กับเกษตรกรกันบ้างแล้ว เพื่อจะไม่ทำให้โรคพืชดื้อยา

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชไม่ควรฉีดพ่นต่อเนื่องกันเกิน 3 ครั้ง เพราะอาจทำให้เชื้อสาเหตุและแมลงดื้อยาได้ ดังนั้นควรใช้สลับกันบ้าง

 

สวัสดีครับพี่กบ

วันนี้มาด้วยการเปลี่ยนรูปนะครับ..

ผมไม่ได้ไป กทม.เลยไม่ได้เจอกันเลย สบายดีนะครับ

---------

ประเด็นโลกร้อนน่าสนใจมากครับ แต่เราก็ยังกังขาว่า ประเทศยักษ์ใหญ่สองประเทศ คิดอะไรกันอยู่?

เราตัวเล็ก ตัวน้อย ก็ช่วยกันไป ...

สวัสดีครับ P

เพิ่งกลับมาจากงานแต่งงานของเพื่อนเมื่อกี้ครับ เลยขออัพเดตรูปล่าสุดครับ อิอิ

ประเด็นโลกร้อนน่าสนใจมากครับ แต่เราก็ยังกังขาว่า ประเทศยักษ์ใหญ่สองประเทศ คิดอะไรกันอยู่?

นั่นซิครับ ถ้ายักษ์ใหญ่ช่วยออกแรงคงช่วยได้มาก หรือว่าเขาก้าวไปไกลเกินกว่าจะหันมามองข้างหลังว่า เราต่างก็หายใจอยู่บนโลกเดียวกัน เรายืนอยู่บนโลกเดียวกัน

ขอบคุณมากครับ

P
106. sasinanda
แวะมาอีกที เปลี่ยนรูปแล้ว....เท่จัง!!

พี่กบอุ๊อยากได้รายละเอียดทั้งหมดที่พี่เข้าฟังสัมมนา เช่นเอกสารประกอบการสัมมนาอ่ะ มีไหมค่ะ ขอ copy บ้างสิ

สวัสดีครับพี่ศศินันท์P 

ขอบคุณมากครับที่พี่กรุณาเพิ่มเติมในประเด็นพืชตัดต่อพันธุกรรมว่า...

ทั่วโลกที่ปลูกพืชจีเอ็มโอในเวลานี้มีราว 10 กว่าประเทศ สหรัฐปลูกมากที่สุด นอกนั้นมีบราซิล อาร์เจนตินาที่ปลูกค่อนข้างมากกว่าใครๆ ในกลุ่มละตินอเมริกา ฝั่งเอเชียมีจีน อินเดีย

ส่วนประเทศที่เหลือทั่วโลก รวมทั้งไทย ยังละล้าละลัง ส่วนใหญ่รอดูท่าทีของกลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีองค์ความรู้และเทคโนโลยีจีเอ็มโอใกล้เคียงกับสหรัฐว่าจะคัดค้านไปถึงไหน

ตอนนี้.....หลายประเทศในอียูชูธงต้านจีเอ็มโออย่างสุดฤทธิ์สุดเดช โดยเฉพาะ เยอรมัน...

เพราะหวั่นเกรงว่าอาหารจีเอ็มโอจะมีผลต่อพันธุกรรมมนุษย์ในอนาคตข้างหน้า มนุษย์อาจแปรพันธุ์ โฉมหน้าอาจไม่เหมือนอย่างที่เห็นในปัจจุบันก็ได้ และเมล็ดพันธุ์นั้นจะทำลายระบบนิเวศวิทยา มดแมลงหนีหายหมด

เรื่องที่เขาต่อต้านคัดค้านกันนอกจากความปลอดภัยต่อระบบนิเวศและสุขภาพแล้ว ลึกๆยังมีประเด็นผลประโยชน์ทางการค้าซ่อนอยู่ด้วยครับ ผมเคยได้มุมมองนี้มาจากอาจารย์ของผมท่านหนึ่ง ท่านบอกว่า

  • ถ้ายอมรับข้าวโพดอาหารสัตว์ที่ตัดต่อพันธุกรรม ก็จะเกี่ยวกับผลประโยชน์เรื่องของการผลิตเนื้อสัตว์ในอนาคต
  • ถ้ายอมรับฝ้าย Bt (ทนต่อหนอนเจาะสมอฝ้าย) ก็จะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม

ผมสัมผัสงานทางด้าน molecular breeding มาบ้างแต่ยังไม่ลึกซึ้งพอครับ เท่าที่ผมทราบมา พืชและสัตว์ที่มีการตัดต่อพันธุกรรม จะต้องมีขั้นตอนที่ตัดต่อยีนไปฝากเลี้ยงไว้ในเซลของแบคทีเรียก่อน เขากลัวว่าจะมีการกลายพันธุ์ และการปลอมปนของดีเอ็นเอจากแบคทีเรีย (ไม่ยืนยันครับ)

ข้อมูลที่ถูกต้องในเชิงเทคนิคสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.biotec.or.th/biotechnology-th/gmo.asp ครับ

-----

ถ้าเรื่อง global warming ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่

http://www.biotec.or.th/biotechnology-th/HitArticle.asp?TypeArticle=1

ขอบคุณมากครับ

P 

ขอบคุณครับพี่ อ.ขจิตที่แวะมาเยี่ยม

ค่ายภาษาอังกฤษคงสนุกมากนะครับ

 

สวัสดีครับคุณสุมิตรชัยP 

ครับ...เราต้องช่วยกัน

ถ้าทุกคนต่างเฉลียวใจคิดเหมือนคุณ Man In Flame และคุณมิตรก็จะมีประโยชน์มากๆครับ ได้ทั้งข้างนอกและข้างใน

ที่คุณบอกว่า สำหรับผมในฐานที่อยู่ในงานสาธารณสุข ก็ได้รับรู้เรื่องโรคอุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำครับ  ก็แน่นอนเชื้อโรคในพืชในคนบางตัวก็เดียวกันครับ 

ตอนนี้โรคอุบัติใหม่ที่เกี่ยวกับพวกเรามีโรคอะไรบ้างครับ

เรื่องนี้น่าสนใจทีเดียว  อยากทราบผลกระทบทั้งในระยะสั้นและยาว  ทั้งโลกร้อนและ GMO ถึงแม้จะถลำลึกไปมากแล้ว  แต่ให้ความรู้เชิงป้องกันผสมด้วยก็จะเป็นการดี

ผมว่าสุดท้ายก็กลายเป็นระบบทุนนิยมเหมือนเดิม   ประเทศที่ทำโลกร้อนมากสุดคืออเมริกา  ทั่วโลกลงนามป้องกันเรื่องโลกร้อนเว้นอเมริกายังไม่ยินยอม

GMO  ก็คือทำให้พืชพันธ์เหมือนกันหมด  แต่จะมีคนได้ประโยชน์เพราะถือความรู้การผลิตอยู่ในมือ  คือเราไม่สามารถสร้างเมล็ดพันธ์ได้เอง  แม้แต่สัตว์อนาคตก็เป็นเช่นกัน  นี่คือโลกแห่งความเหมือน  ของระบบทุนนิยมครับ

ต้องขอบคุณมากนะคะ

เป็นเรื่องที่ให้ประโยชน์มากเลยค่ะ

เก่งขนาดนี้ขอเป็นน้องสาวซักคนได้ไหมค่ะ

แวะมาเยี่ยมค่ะ

มาทักทายหนูบ้างนะคะ

สวัสดีครับพี่paleeyonP 

ขอโทษด้วยครับที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบันทึกนี้ช้าไปพอสมควร แต่จำได้ ไม่ได้ลืมครับ

องค์ประกอบที่ส่งผลให้เกิดโรคพืช แต่เดิมที่เรียนมามีแค่ 3 ปัจจัย ก็คือ

  • มีพืชอาศัยที่เชื้อชอบ (Host)
  • มีเชื้อสาเหตุให้เกิดโรคนั้นๆ (Pathogen)
  • สภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดโรค (Environment) ซึ่งส่วนมากเชื้อโรคจะชอบสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น
  • ปัจจุบันมีนักวิชาการบางท่านบอกว่า คน นี่แหละเป็นตัวการที่ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อกับการเกิดโรค เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว หรือการให้น้ำแก่พืชที่ไม่พอเหมาะพอดีทั้งเวลา และปริมาณ

สำหรับโรคเหี่ยวของมะเขือเทศ มีหลักวินิจฉัยโรคเบื้องต้นง่ายๆครับ ถ้าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial wilt) เมื่อตัดลำต้นของต้นที่เป็นโรคในแปลงนั้นมาจุ่มในน้ำใสๆสัก 2-3นาที เราจะเห็น ooze ซึ่งเป็นของเหลวมีสีขาวลักษณะคล้ายน้ำนม ไหลออกมาจากท่อลำเลียง แต่ถ้าเป็นอาการเหี่ยวจากเชื้อรา (Fusarium wilt) เราจะไม่เห็น ooze ครับ

โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีมารักษาได้ครับ นอกจากการปลูกพืชสลับ ย้ายที่ปลูก แต่การใส่ปูนขาว+ปุ๋ยยูเรียในแปลงที่มีความชื้นพอจะช่วยได้บ้างครับ ในการรมดินเพื่อฆ่าเชื้อในแปลงที่เคยเป็นโรค

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท