ฝืมือ "ครู PAR"


การสอนคนให้เห็นนั้นง่าย แต่การสอนคนให้รับรู้และเข้าใจนั้นต้อง "ใช้ฝีมือจริง ๆ"

     ใน 2-3 วันนี้ ดิฉันได้ไปนั่งเรียนเรื่อง วิจัยชุมชน  โดยมี รศ. บำเพ็ญ เขียวหวาน  และ รศ.ดร. เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ที่เป็นทีมวิจัยชุมชนจาก 7 จังหวัดนำร่อง ของกรมส่งเสริมการเกษตร

                   

     การพบกันในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อสรุปบทเรียนครึ่งปี (2550) ที่เจ้าหน้าที่ ของ 7 จังหวัดนำร่อง ได้นำวิจัยชุมชนไปใช้ในการทำงานวิสาหกิจชุมชนนั้นผลเป็นประการใดบ้าง? สรุปก็คือ 1) ต้องการติดตามและประเมินผลงาน  และ 2) ต้องการเสริมหนุนเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล/การวิเคราะห์/การสรุป/การเขียนรายงาน

     

     

     ในการปฏิบัติงานดังกล่าวทีมวิทยากร จึงทำหน้าที่หลักคือ เป็นวิทยากรกระบวนการ ที่ยึดเจ้าหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ได้แก่  การคิด  การระดมข้อมูล  การเติม/เพิ่มเนื้อหา  และการแลกเปลี่ยน

     ฉะนั้น การถ่ายทอดความรู้จึงสื่อสารออกมาในรูปของกิจกรรม สื่อ  เครื่องมือ  และเทคนิควิธีการ เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์  ตัวบุคคล  การกระตุ้น  การตุ้งประเด็นคำถาม  กรณีตัวอย่าง  การอภิปราย  และอื่น ๆ

           

   

   บทบาทหน้าที่ที่เห็นวิทยากรทำก็คือ  การเล่ากรณีตัวอย่างให้ฟัง  การให้กรณีตัวอย่างเจ้าหน้าที่อ่าน/สรุป  การตั้งประเด็นคำถามให้ตอบ  การระดมประสบการณ์เพื่อประมวลผล  และอื่น ๆ

    เมื่อได้เห็นวิทยากรนำเทคนิควิธีการ และจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อใช้เป็นสื่อในการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่นั้น สิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาก็คือ  การกระตุ้นกลุ่ม/บุคคล เพื่อให้นำสิ่งที่ตนเองปฏิบัติจริงมาเล่าสู่กันฟัง  มาพูดคุยกัน  และมาแลกเปลี่ยนกัน ที่เรียกว่า เป็นวิทยากรกระบวนการ ทำหน้าที่จัดกระบวนการกลุ่ม ภายใต้ฐานของ Facilitator ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก ๆ มาก

       

     ประสบการณ์ที่สั่งสมมานั้นได้มารวมตัวกันที่ 1) การออกแบบการเรียนรู้  2)  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  และ 3) การประยุกต์ใช้ตามบริบทของเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร 

     โดยสิ่งดี ๆ เหล่านี้ดิฉันจึงได้ใช้หลักของ 1)  ตั้งใจฟัง  2)  จับประเด็นให้แม่น  3)  บันทึกให้เป็น  4) กระตุ้นเป็นระยะ ๆ และ 5) ทดลองหยิบเครื่องมือมาใช้  แล้วนำมาแยกแยะเพื่อทำความเข้าใจกับ "การนำวิจัยชุมชน...ไปใช้ทำงานส่งเสริมการเกษตรร่วมกับเจ้าหน้าที่"  ซึ่งถ้าทำได้ก็คงปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาเจ้าหน้าในการทำงานส่งเสริมการเกษตรกับชุมชนได้ดีขึ้นและดีอย่างมีคุณภาพ.

หมายเลขบันทึก: 114138เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2007 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท