ตลาดการเงินอนุพันธ์ เพราะมีคนถามมา


สวัสดีครับ

ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนครับว่า ไม่ได้เก่งการเงินครับ แค่รู้เรื่องบ้างเล็กน้อยจากการที่โชคชะตาผกผันนะครับ เลยจำเป็นต้องเรียนครับ แต่บังเอิญคุณน้องเดอ ถามมาครับ

ก่อนอื่นที่เราจะมารู้จักเรื่องการเงิน เราต้องรู้จักคำว่า risky asset กับ risk-free asset ก่อนครับ risky asset คือสินทรัพย์การลงทุนที่มีความเสี่ยง (ไม่ขอนิยามความเสี่ยงนะครับ เดี๋ยวยาว) คำว่ามีความเสี่ยงหมายความว่าเราไม่รู้ว่าจะได้ผลตอบแทนเท่าไรตอนที่เราลงทุนครับ เช่น หุ้น หรือ derivatives ครับ

ส่วนเรื่อง risk-free asset คือสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง คำว่า ไม่มี ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงเป็นศูนย์นะครับ (เช่นรัฐบาลชักดาบ เงินเฟ้อ พวกนี้ถือเป็นความเสี่ยงทั้งนั้นครับ) แต่หมายความว่าเรารู้ว่าจะได้ผลตอบแทนมาเท่าไรเมื่อเราลงทุนไป เช่นบอนด์ ฝากแบงค์กินดอกเบี้ย เป็นต้นครับ

ถ้าสนใจเรื่องบอนด์ เชิญได้ที่บล็อกของคุณนักลงทุนเงินน้อยที่นี่นะครับ ส่วนเรื่องหุ้นก็อันนี้ครับ

บล็อกอันนี้เรื่องอนุพันธ์หรือ derivatives ล้วนๆครับ แล้วก็ขอมอบบล็อกนี้ให้คุณน้องเดอด้วยครับ เพราะถ้าไม่ถามผมไม่คิดจะเขียนจริงครับ เพราะผมรู้เรื่องนี้น้อยมากครับ (จริงก็อยากรู้มากเหมือนกันครับ แต่ยังไม่อยากลองเสี่ยงเองครับ)

Derivatives

คำว่าอนุพันธ์หรือ derivatives นั้นแปลตรงตัวคือ ไปเอามาจากคนอื่น หรือเป็นของคนอื่นครับ ดังนั้นในการเงินก็เหมือนกันครับ ถ้าพูดถึง derivatives (ขอโทษที่ใช้คำนี้นะครับ เพราะไม่ค่อยถนัดเรียกอนุพันธ์เท่าไรนะครับ) ก็รู้ได้เลยครับว่า ไอ้นี่ไม่มีค่าในตัวมันเอง ค่าหรือราคานั้นขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ตัวอื่นครับ เช่นบอนด์ หรือหุ้น

ประเภทและชนิดของ derivatives

จริงๆแล้ว derivatives นั้นมีมากมายหลายอย่างด้วยกันครับ แต่ที่เรารู้จักๆกันจะรู้จักกันดีๆ นั้นมี สามตัวด้วยกันครับคือ

  1. Forward
  2. Future
  3. Options

แล้วที่บอกว่ามีมากมายหลายอย่างก็เพราะว่ามันมี Future on Options, Options on Future, Options on Options, และอื่นๆอีกมากมายครับ

Forward contracts

สัญญาแบบ Forward นั้นเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กำหนดวันที่ซื้อขาย จำนวนสินทรัพย์ และราคาที่แน่นอนไว้ครับ  คำศัพท์ที่ต้องสนใจก็คือ Expiration หรือ Maturity date วันที่ซื้อขาย(ตกลงกันในสัญญา)  ราคาที่ซื้อก็เรียกว่า Delivery price แต่ที่สนุกก็คือเวลาซื้อเรียกว่า Long ส่วนขายเรียกว่า Short ครับ

Future contracts

Future คือ forward ครับ อ้าวแล้วมันต่างกันตรงไหน ต่างกันตรงที่ forward นั้นเบี้ยวได้ง่าย เพราะเป็นการตกลงระหว่างคนสองคนครับ ดังนั้นก็เลยมีการตั้ง Future contracts เข้ามาครับ 

Future contracts นั้นจึงเป็นการซื้อขายผ่านตัวกลางครับ เพื่อป้องกันการเบี้ยวโดยเฉพาะ

แล้วก็เวลาที่ทำสัญญา แทนที่จะกำหนดเป็นวันแน่นอนโปะเชะ ไปเลย Future contracts นั้นกำหนดเป็นช่วงเวลาครับ เช่นเดือนกันยา ก็สามารถส่งได้ทั้งเดือนกันยาเลย ดังนั้นก็เลยมีการ trade หรือซื้อขายแลกเปลี่ยนทำกำไรกันได้ครับ

ทำให้ Future นั้นมีการให้ราคากันในหนังสือพิมพ์ครับ เทรดกันมันมือไปเลย

ตลาด Future ใหญ่ก็คือ CBOT (Chicago Board of Trade) ครับ

คำที่น่าจะต้องรู้จักก็คือ Future price ครับ ตามชื่อครับ ราคาที่ตกลงกันในสัญญา อีกคำก็คือ Spot price ครับซึ่งก็คือราคาจริงๆครับ ตามวัน

เพราะฉะนั้น ถ้าเราเป็นคนขาย Future contracts เราก็จะกำไรเมื่อ Future price > Spot price เพราะเราได้เงินมากกว่า ราคาที่เราขายจริงตอนนี้ใช่ไหมครับ ถ้าเราเป็นคนซื้อก็ต้องกลับกันครับ

Options

อันสุดท้ายแล้ว ก็คือ options Options คือสิทธิครับ สิทธิในการซื้อหรือการขายสินทรัพย์ Options นี่แหละครับที่เป็นที่สนใจของนักวิจัยด้านการเงินหลายต่อหลายท่านด้วยกัน ถึงกับส่งคนได้รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์มาแล้วครับ

ประเภทของ Options

หลักๆ มีสองแบบครับ คือ

  1. Put options สิทธิในการขายสินทรัพย์
  2. Call options สิทธิในการซื้อสินทรัพย์

เวลาซื้อ Options นั้นต้องผ่านคนกลาง หรือที่เรียกว่าโบรกเกอร์นั้นแหละครับ บางทีอันนี้ก็จะเรียกว่า OTC (Over the counter) (ไม่ใช่ under the table นะครับ)

แล้วเราต้องรู้จักอะไรบ้างในการซื้อขาย options หลักๆก็มาเป็นคู่หูดูโออีกแล้วครับคือ

  1. Maturity หรือว่า อายุของ Options
  2. Strike price หรือว่า ราคาที่เราจะทำการตัดสินใจว่าจะ ใช้สิทธิหรือที่เรียกว่า Exercise นะครับ

มายกตัวอย่างกันนะครับ สมมติว่า ผมจะหุ้นกสิกรตอนนี้ราคา 20 บาท ผมซื้อ call options ว่าอีกหกเดือน (maturity = 6 เดือน) Strike price ที่ 20.50 บาท

เอาล่ะครับ เรามาดูกันว่า ต่อจากนี้อีก 6 เดือนจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง

  1. ราคาหุ้นกสิกร >20.50 สมมติว่า ตอนนี้ราคาที่ 30 บาท ถ้าเกิดแบบนี้ทำไงครับ อย่าลืมครับ Call เรามีสิทธิที่จะซื้อหุ้นกสิกรได้ในราคา Strike price หรือซึ่งก็คือ 20.50 จะใช้สิทธิหรือ exercise ที่จะซื้อไหมครับ
    1. ก็แน่นอนต้องใช้สิทธิซื้อสิครับ ทำไม ก็ถ้าเราซื้อตอนนี้ 20.50 เราก็สามารถเอาไปขายได้เลยใช่ไหมครับ เราก็จะได้กำไรตั้ง 30-20.50 หรือ 9.50 บาท
    2. แต่แล้วกำไรสุทธิมันเท่าไร กำไรสุทธิก็จะอยู่ที่ 9.50- ราคา call option ที่เราซื้อมา
  2. ราคาหุ้นกสิกร <20.50 สมมติว่าตอนนี้ราคาอยู่ที่ 10 บาท เอาไงครับ เราก็ไม่ออกแรง exercise ใช่ไหมครับ เพราะว่า เราจะไปซื้อหุ้นทำไมที่ราคา 20.50 บาท ก็ในเมื่อตอนนี้ 10 บาทก็ซื้อได้แล้ว
    1. ดังนั้น เราก็ขาดทุนสิครับ ขาดทุนเท่าไรครับ ก็เท่ากับราคาที่เราซื้อ call options มา
  3. ราคาหุ้นกสิกร =20.50 อันนี้เอาไงครับ จะ ex หรือ ไม่ ex ก็มีค่าเท่ากันถูกไหมครับ เพราะว่า เราขาดทุนเท่ากับราคาที่เราซื้อ call options มาอยู่ดี

call options payoffs 

รูป payoff ของ long position (การซื้อ) call options รูปมาจาก  http://content.answers.com/main/content/wp/en/7/7f/CallOption.png

รูปนี้เป็นรูป short position (การขาย) ของ call options ครับ  บางทีเราจะเรียกว่า cover call ครับ

รูปมาจาก http://content.answers.com/main/content/wp/en/thumb/1/1a/380px-Covered_Call.jpg

ถ้าเป็นสิทธิในการขายหรือว่า Put options บ้าง

  1. ราคาหุ้นกสิกร >20.50 สมมติว่า ตอนนี้ราคาที่ 30 บาท ถ้าเกิดแบบนี้ทำไงครับ อย่าลืมครับ Put  เรามีสิทธิที่จะขายหุ้นกสิกรได้ในราคา Strike price หรือซึ่งก็คือ 20.50 จะขายไหมครับ
    1. ไม่ขายถูกไหมครับ ก็ในเมื่อขายได้ตอนนี้ตั้ง 30 บาทจะไปขายแค่ 20.50 ทำไม ไม่ใช่องค์กรการกุศลซักหน่อยเราก็จะขาดทุนไปเท่ากับ ราคา put option ที่เราซื้อมา
  2. ราคาหุ้นกสิกร <20.50 สมมติว่าตอนนี้ราคาอยู่ที่ 10 บาท เอาไงครับ เราก็ออกแรง exercise ใช่ไหมครับ เพราะว่า เราจะไปขายทำไมที่ 10 บาท ในเมื่อเราขายได้ที่ราคา 20.50 บาท ดังนั้น
    1. ดังนั้น เราก็กำไรสิครับ กำไรเท่าไรครับ ก็เท่ากับราคา 20.50-10 หรือ 10.50
    2. แล้วก็กำไรสุทธิก็คือ 10.50-ราคาของ put options
  3. ราคาหุ้นกสิกร =20.50 อันนี้เอาไงครับ จะ ex หรือ ไม่ ex ก็มีค่าเท่ากันถูกไหมครับ เพราะว่า เราขาดทุนเท่ากับราคาที่เราซื้อ put options มาอยู่ดี

ส่วนรูป put options นั้น ลองวาดดูเอาเองนะครับ ใบ้ให้นิดหนึ่งครับ ไม่ต่างกับ call options ครับ แต่สลับกันนิดหน่อย

Call options นั้นเหมาะสำหรับการซื้อเก็งกำไรครับ คือคาดว่าหุ้นจะขึ้น ก็เลยซื้อ call ไว้ก่อน กะว่าจะซื้อถูกนะครับ

ส่วน Put options เนี่ย เราซื้อเพราะว่า เราคาดว่าหุ้นมันจะลงครับ เลยซื้อ put เก็บไว้ กะว่าจะปล่อยแพงทีหลัง

แต่ถ้าเราขาย call ก็จะเหมือนกับซื้อ put ครับ ในขณะเดียวกันขาย put ก็จะเหมือนซื้อ call

เอาล่ะครับ นอกจากนี้แล้ว ไอ้ที่ผมยกตัวอย่างมาเนี่ยเขาเรียกว่า European options ครับ คือว่าถ้าเรากำหนด maturity หรือวันทำสัญญามาเมื่อไร เราจะใช้สิทธิได้วันนั้นวันเดียวครับ

แหมมี European type แล้วฝั่งอเมริกาจะยอมหรอครับ ก็ไม่ยอมหรอกครับ มี American options ด้วย แต่แบบเมกัน นั้นสป็อตหน่อยครับ ใช้สิทธิได้ตั้งแต่เริ่มซื้อยันวันสุดท้ายที่อยู่ในสัญญาครับ

แบบ European กับ American นี่เรียกว่า Plain option ครับ

ยังมีแบบที่แปลกประหลาดที่เรียกว่า Exotic option ด้วย เช่น

  1. Asian options ที่ราคา strike เป็นค่าเฉลี่ยของราคาหุ้น มีหมดนะครับทั้ง
    1. Arithematic means แบบเอามาบวกกันแล้วหาร,
    2. Geomatric means เอามาคูณกันแล้วถอดรูท N,
    3. Harmonic means เอามากลับเศษส่วนกัน
  2. Lookback options แบบที่มาดูว่าการเคลื่อนที่ของตลาดหุ้นนั้นเป็นยังไง

สรุปแล้วสารพัดจะคิดได้ครับ

ความแตกต่างระหว่าง Forward, Future, Options

เริ่มกันที่ Forward กับ Future นะครับ ทั้งคู่เป็นสัญญาล่วงหน้าเหมือนกัน (คิดง่ายๆเหมือนหนังจีนนะครับ ที่พ่อแม่ชอบหมั้นหมายกันให้ลูกตั้งแต่ยังเป็นสหายกันในยุทธภพ หรือแม้แต่ยังไม่มีเมียเลย) เพราะสัญญากันแล้วก็ต้องทำตามครับ (ดังนั้นทั้งคู่คือ Future และ Forwardนั้นเหมือนกัน) แต่ต่างกันตรงที่ บางคนบอกว่า เนี่ยให้ลูกอายุ 20 นะ พอลูกครบ 20 ปุ๊ปแล้วมาแต่งกันเลยนะ(ไอ้พวกนี้กำหนดแน่นอนครับ เป็น Forward) กับอีกพวกแค่สัญญาเฉยๆ ไม่บอกว่าแต่งเมื่ออายุครบ 20 (บอกแค่ 20 เฉยๆ แต่ไม่บอกปุ๊ป)  พวกนี้เรียกว่า Future ครับ เพราะสามารถแต่ง (หรือ เทรด) ได้ตั้งแต่ ครบ 20 ปีพอดี จนถึงอีก 1 วัน จะอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ก็ยังไม่ถือว่าทำการผิดสัญญา แต่อีกอย่างที่ต้องจำไว้ก็คือ Future นั้น ต้องทำผ่านคนกลาง หรือ over the counter ครับ

ส่วน Options กับ Future (กับ Forwards ด้วย) นั้นต่างกันยังไง ทั้งคู่เป็นสัญญาที่มีผลต่อเหตุการณ์ล่วงหน้าเหมือนกัน แต่ว่ามันต่างกันครับ ต่างกันตรงที่ ถ้าพ่อแม่หมั้นหมายกันแบบ options ลูกอาจะมีสิทธิดูหน้า เจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวก็ได้ แล้วพอเห็นว่าหน้าตาเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวไม่ได้เรื่อง หรือนิสัยหรือพฤติกรรมเข้ากันไม่ได้ ก็บอกไม่เอาแล้ว ไม่แต่งแล้ว แต่บอกพ่อแม่ว่าไม่แต่งก็ไม่ถือว่าผิดสัญญาครับ เพราะว่า Options นั้นเป็นสิทธิครับก็จะเลือกแต่งก็ได้จะไม่แต่งก็ได้ (จะเหมือนหมั้นไหมนะ)

แต่ถ้าเป็น Future จะหน้าตาน่าเกลียด ขี้เหล้าเมายา ยังไงๆ ก็ต้องแต่งครับ ไม่แต่งไม่ได้ ถ้าไม่แต่งถือว่าทำผิดกฏหมายครับ ถือว่าเบี้ยว อาจจะมีการฆ่าล้างตระกูลกันได้ครับ (อันนี้ก็เวอร์ไป)

จริงๆแล้วหัวใจทั้งหมดของบล็อกอันนี้อาจจะอยู่ที่ตรงนี้ครับ คือ derivatives นั้นต่างกันอย่างไร  เราสามารถแยก เห็นความแตกต่างได้ครับ

(ขอบพระคุณอาจารย์ลูกหว้า สำหรับความคิดดีๆ ในการหาเรื่องให้ผมยกตัวอย่างครับ)

การคิดราคา

เอาหล่ะครับอ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลายคนก็อาจจะงง หรือไม่งง ก็ได้ ว่า แล้วมันทำไมต้องเรียกว่าอนุพันธ์ หรือ derivatives ไอ้ที่ผมบอกว่า ไม่มีค่าในตัวเองหมายความว่าไง

คำตอบมันอยู่ตรงที่การคิดราคาครับ ราคาหุ้นที่เราซื้อนี่มันมีราคาในตัวมันเองถูกไหมครับ หุ้นกสิกรราคาเท่าไรก็ว่ากันไป ราคาบอนด์ก็จะมี Face value แล้วก็มีการคิดราคากันออกมา

การคิดราคา Future กับ Forward นั้นวิธีที่ง่ายที่สุด ก็คือใช้ Bond มาคิดครับ

ส่วนการคิด Options นั้น ก็เอาราคาหุ้นตัวที่เราจะซื้อ Options มาคิด เช่นถ้าจะซื้อหุ้นกสิกร ก็เอาราคาหุ้นกสิกร มาคิด จะซื้อ Options ปตท ก็เอาราคาหุ้น ปตท มาคิด

ไม่งงใช่ไหมครับ มันก็เหมือนจะง่ายนี่หว่า แต่ช้าแต่ เรารู้หรือครับว่าแล้วอีกสามเดือน เดือนหน้า หกเดือน หรือแม้แต่กระทั่งวันพรุ่งนี้ หุ้นมันจะราคาเท่าไร

ในเมื่อเราไม่รู้ แล้วเราจะคิดราคายังไงครับ มันไม่ใช่การผลิตสินค้านะครับที่รู้ต้นทุน ไม่ใช่ตัวหุ้นจริงๆนะครับที่เราวิเคราะห์ผลประกอบการมาได้

มันเป็นอนาคตอ่ะ เราไม่รู้อ่ะ ทำไงอ่ะ ถ้าไปอ่านบันทึกอันที่แล้วที่ผมเขียนเรื่องจดหมายถึงนักคณิตศาสตร์รุ่นจิ๋ว ก็จะรู้ว่าเราก็ต้องใช้คณิตศาสตร์ครับ

วิธีที่เขาใช้ก็คือ เอาง่ายๆนะครับ มีอยู่ สองวิธีครับ สำหรับ European นะครับ

  1. Binomial tree แบบนี้คิดว่า ตลาดหุ้นนะ มันขึ้น หรือลง เท่านั้น ขึ้นไปก็จะมีสัดส่วนแน่นอน เช่นขึ้นไป ห้าเปอร์เซ็น หรือ ลงไปห้าเปอร์เซ็นต์ การขึ้นหรือลงก็จำมีความน่าจะเป็นเท่าไรก็ว่าไป
    1. ใช่ครับ มีความน่าจะเป็น แต่มีการพิสูจน์มาครับว่า ไอ้ความน่าจะเป็นขึ้นๆลงๆนะ มันมีแค่ตัวเดียวเท่านั้นที่เรียกว่า risk neutral probability ที่จะทำให้ราคา Options ของเรานั้นไม่เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าเสือกินเปล่า หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า arbritrage คือ ไม่ต้องลงทุนซักแดงก็ได้ตังค์ฟรีครับ

รูปมาจาก http://www.global-derivatives.com/images/maths/optionpricing/binomialtree1.jpg

รูปบนนี้เรียกว่า binomial tree ครับ คือมันแตกออกไปสองอันคือขึ้น หรือลงครับ (แต่ปัจจุบันก็มี multinomial tree แล้วครับ เช่น สามแขนงครับ)

2. อันนี้นั้นเล่นของหน่อยครับ ใช้สูตร Black Scholes Formular ครับ อันนี้มีสูตรครับ สุตรนั้นเป็น function ของ ราคาปัจจุบัน Strike price แล้วก็ Maturity ครับ แต่ว่าสูตรนี้นั้นมาจากความรู้หลายแขนงเหลือเกินครับ เช่น

รูปนี้มาจาก http://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/7/76/Random_Walk_example.png

เป็นตัวอย่างของ Random Walk เส้นแต่ละสี นั้นเรียกว่า Path ครับ  

    1. ไอ้ตัวราคาหุ้นที่เราจะต้องการจะหาราคานั้น เชื่อว่าจริงๆแล้วมันเคลื่อนที่แบบ Brownian (เคลื่อนที่แบบสะเปะสะปะไร้ทิศทาง ที่คุณหมอ เภสัช หรือ นักฟิสิกส์ นั้นรู้จักกันดีครับ) แต่นักคณิตศาสตร์ไม่เรียกว่า Brownian motion หรอกครับ เพราะกลัวเสียหน้า ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า Random walk แล้วก็บอกว่า เนี่ยหุ้นมันอยู่ภายใต้การกระจายที่เรียกว่า log normal distribution
    2. แล้วก็ใช้ Ito lemma พิสูจน์ออกมาได้สมการสุดสวยครับ (แต่ก็มีการพิสูจน์หลายวิธีเหมือนกันครับ)

ถ้าอยากรู้เรื่องแบบชนิดถึงกึ๋น ต้องไปหาหนังสือที่เรียกว่า Stochastic Calculus มาอ่านครับ แล้วไอ้นี่ต่างกับ Calculus ธรรมดายังไง ต่างกันตรงที่ Calculus ธรรมดา x^2 = 2x ใช่ไหมครับ แต่ Stochastic calculus บอกช้าก่อนน้อง 2x + อะไรก็ไม่รู้ ด้วย เพราะคำว่า stochastic แปลว่าไม่แน่นอนครับ

นอกจากสองวิธีนี้แล้ว ก็ยังมีวิธีฮิตอีกวิธีหนึ่งครับคือ Arbitrage pricing theory คือหาราคาจากการหาวิธีป้องกันการเกิด Arbtrage ครับ

แต่ถ้าเป็น American นั้นมันยากครับ เพราะว่า เราไม่รู้ว่าจะ exercise ตรงไหน มันมีเรื่อง boundary problem เข้ามาเกี่ยวด้วยครับ คือเขาเรียกว่า optimal exit strategy ครับ คือ exercise ตรงนี้แหละ ได้ตังค์เยอะสุด แต่ก็เป็นที่รู้กันครับว่า European options นั้นเป็น lower bound ของ American options ครับ หรือว่า ราคา American options นั้นต้องแพงกว่าราคา European options เสมอ

ส่วน Exotic options นั้นใช้ Simulation โลดครับ เพราะ Exotic options นั้นที่มันเป็น exotic หรือว่าพวกประหลาด เพราะว่ามันเป็น Path-dependent ครับ คือว่า ราคานั้นคิดได้ตามทางที่หุ้นนั้นเดินครับ ดังนั้น ถ้าจะตั้งราคา Exotic options ถูกต้องนั้น ก็ต้องหาให้เส้นทางการเดินทางของราคาหุ้น มันได้เยอะๆครับ ให้มันได้ครอบคลุมถึงทุกกรณีครับ

แต่ก็มีนักวิจัยหลายท่านพยายามหาที่เรียกว่า closed form formulation มีการใช้ stochastic differential equation หาราคาพวกนี้ออกมาเหมือนกันครับ ดังนั้นถ้าใครสนใจ เชิญได้ตามสะดวกครับ

Derivatves and Risk Management (อนุพันธ์กับการจัดการความเสี่ยง) 

จริงแล้วก่อนจะพูดเรื่องนี้ ต้องนิยามความเสี่ยงก่อนครับ ความเสี่ยงนั้นมีสองส่วนครับ คือส่วนที่มันจัดการได้ เป็นระบบอันนี้ตามคำจำกัดความของ Frank Knight จะเรียกว่าความเสี่ยง แต่ถ้าจัดการไม่ได้วัดไม่ได้ จะเรียกว่าความไม่แน่นอนหรือ uncertainty ครับ

แล้ว Derivatives นั้นจำกัดความเสี่ยงได้ยัง คำตอบก็คือ ถ้าใช้ Future หรือ Forward เราก็จะรู้ได้ใช่ไหมครับว่า อ้า ไอ้ที่เราตกลงซื้อขายนี่มันราคาเท่าไรกันแน่ เช่นราคาน้ำมันเป็นต้น

แต่ถ้าเป็น Options เราก็จะสามารถกำหนดว่า ความสูญเสียต่ำสุดได้ ถูกไหมครับ เช่น put options เราก็จะรู้ได้เลยว่า โอเคนะ ผมยอมพร้อมขาดทุนมากที่สุดเท่านี้

แต่ถ้าแบบอยากจะจำกัดความเสี่ยงก็มีโอกาสสร้าง hedging strategy ได้จาก options หลายๆตัวครับ โดยแต่ละตัวก็อาจจะมี strike price ต่างกัน เช่น butterfly spread

ที่มาของรูป http://www.beaconequityresearch.com/images/options-chart6.gif

จากรูป นั้น เราจะไม่ขาดทุนเกิน ห้าเหรียญนะครับ ตัวรูปนี้ประกอบด้วย options 3 ตัว คือ

  • ซื้อ call options IBM ที่ strike price =95
  • ซื้อ call options IBM ที่ strike price =105 
  • ขาย call options IBM ที่ strike price =100

แต่กำไรมากสุดของเราก็ไม่เกินห้าเหรียญเหมือนกันครับจากในรูป รูปมายังไง

  • ราคา <95 เราจะขาดทุน long call (ซื้อสิทธิในการซื้อ) options 95 กับ 105 ถูกไหมครับ (ก็เราไม่ใช้สิทธิ ในการซื้อของเรา เสียตังค์เท่ากับราคา options) แต่จะกำไร short call (ขายสิทธิในการซื้อ) options 100 (เพราะว่าเขาก็ไม่ใช้สิทธิซื้อเหมือนกัน เราก็จะได้ตังค์ค่าขาย บวกกับ กำไร ที่ขายเกินราคาได้)
  • 95-100 เราขาดทุน long call options 105 แต่กำไร long call options 95 & short call options 100
  • 100-105 กำไร long call options 95 ขาดทุน long call options 105 กับ short call options 100
  • >105 กำไร long call options 95 & 105 แต่ขาดทุน short call options 100

ดังนั้น derivatives เลยแพร่หลายเพราะว่าสามารถจัดการความเสี่ยงได้ครับ (แต่ช้าแต่ จัดการได้ก็เจ๊งได้นะครับ เพราะจอร์จ โซรอส ก็เจ๊งเพราะ derivatives มาแล้วครับในปี 1998 เมื่อ Long-term capital management หรือ Hedge fund นั้นเจ๊งไม่เป็นท่ามาแล้ว)

พวกที่เจ๊งนี่เพราะใช้ derivatives ในการคาดการณ์กำไรครับ หรือที่เรียกกันว่า speculation ไม่ใช่การหลบความเสี่ยงหรือที่เรียกว่า hedging ครับ

อ่านเพิ่มเติมเผื่ออยากรู้

หนังสือแนะนำ ถ้าอยากอ่านเรื่องพวกนี้นะครับ

Derivative securities ของ Jarrow and Turnbull

Options, futures and other derivatives ของ John Hull

Stochastic calculus for finance I and II ของ Shreve

An introduction to the mathematics of financial derivatives ของ Neftci ครับ

เล่มหนึ่งเล่มสอง พื้นฐานครับ เหมาะสำหรับคนที่ไม่อยากรู้ตื้นลึกหนาบางแต่อยากใช้เป็นครับ

เล่มสามถึงห้า ถ้าสนใจแบบรู้ตื้นลึกหนาบางครับ

มาแถมอีกเล่ม เรื่อง Derivatives: the wild beast of finance ของ Steinherr

เล่มนี้นั้นว่ากันตั้งแต่ประวัติความเป็นมา แล้วก็อธิบายถึงการใช้ derivatives ด้วยครับ


ปล I ดัชนีอรหันต์ด้านการเงินครับ

ทุกคนรู้จัก ดัชนี Dow Jones ใช่ไหมครับ ดัชนี Dow Jones ที่เรียกกันสั้น หรือชื่อเต็มที่ว่า Dow Jones Industrial Average (DJIA) ที่วัดผลประกอบการของตลาดหุ้นนั้น เป็นการรวมตัวเอาหุ้นบิ๊กเบ้งหรือที่เรียกว่า Blue Chips มา 30 ตัวครับ

ส่วน S&P 500 ก็เหมือนกันครับ แต่จาก 30 มันเป็น 500 อันครับ

ส่วน Nasdaq นี่เป็นดัชนีหุ้นบริษัทพวกเทคโนโลยีและ electronicครับ อันนี้นี่มีถึง 3200 บริษัทเลยครับ

ปล II มีวิธีการเทรด แบบหนึ่งที่เรียกว่า Dogs of the Dow วิธีนี้นั้นเป็นการที่เราถือหุ้นตามดัชนี Dow Jones แล้วก็มีการซื้อหุ้นตัวที่มีความเสี่ยงๆสูง ถือรวมกันไว้ในพอร์ตการลงทุนเราด้วยครับ แล้วปรับพอร์ตตัวเองทุกปีครับ คือเอาพวกที่มีความเสี่ยงสูงๆมารวมกัน (นิดนึงครับ วิธีนี้นั้นต้องระวังเรื่องอัตราส่วนการถือครับ) วิธีนี้มาจากคำพูดที่โด่งดัง "If you can't beat the market, join the market." วิธีนี้เวิร์คไหม ก็ว่ากันว่าเวิร์คใช้ได้นะครับ แต่เราไม่ทราบไงครับว่า เขาถือหุ้นตัวที่เสี่ยงนั้นกี่เปอร์เซ็น ถ้าอยากหา อยากรู้ เชิญดูเรื่อง Portfolio Theory ของ Markowitz ครับ หรือไม่ก็ CAPM (Capital Asset Pricing Model) ครับ

ปล III โดยสรุปของทั้ง Portfolio Theory และ CAPM วิธีการลงทุนที่ดีที่สุด คือลงทุนทั้ง risk-free และ risky assets ครับ แต่อัตราส่วนนั้น ไปหาเอาเองตามแต่ risk appeitite หรือว่าความกระหายกำไร (หรือความเสี่ยง) ของแต่ละคนครับ :D

Acknowledgement (กิตติกรรมประกาศ (หรือเปล่าหว่า))

บล็อกนี้ผมแก้ๆ เขียนๆ เพิ่มๆ ลบๆ อยู่หลายครั้งครับ ตั้งแต่วันแรกจนถึงตอนนี้ ก็คงจะเขียนแก้เกือบสิบครั้งแล้วก็ได้ครับ แต่บันทึกนี้นั้นเกิดมาได้ เนื่องจาก คุณน้องเดอ นักลงทุนตัวน้อย (แต่ตอนนี้โตแล้ว)  ที่ได้ถามผมมาเกี่ยวกับตลาดอนุพันธ์ เพราะผมไม่คิดว่าผมเก่งด้านนี้ (จริงๆก็ไม่ได้เก่งซักกะด้าน) ทำให้ผมคิดจะตอบ แล้วตอบไปตอบมามันเริ่มยาวครับเลยเขียนซะเลย

ขอบคุณพระคุณเจ้าพระมหาชัยวุธ และเพื่อนโจที่ลาดกระบังของผมที่ยังไม่ทันอ่านแค่เห็นก็บอกว่ายากครับ ที่ได้กรุณาเข้ามาอ่านแล้วก็บอกว่า เรื่องนี้นั้นมันยาก ทำให้ผมพยายามที่จะ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ให้บันทึกนี้อ่านง่าย (ตามความคิดเห็นของผม)

ขอบพระคุณอาจารย์ลูกหว้าครับ ที่ได้กรุณาให้การยกตัวอย่างเปรียบเทียบ ทำให้ผมเอามาปรับปรุงแก้ไขบันทึกนี้อีกครับ

ขอบพระคุณอาจารย์ ดร. กมลวัลย์ ที่ได้กรุณาเข้ามาอ่าน แล้วท้วงติงเรื่อง Stochastic Calculus ครับ แต่ผมไม่ได้แก้ในบันทึกแต่ตอบเป็นข้อความด้านล่างครับ

ขอบพระคุณอาจารย์วิบูลย์ ครับที่ได้กรุณาเข้ามาเสริมความรู้เรื่อง Random Walk

แล้วก็ขอบคุณอาจารย์ทุกคนที่ผมได้เรียนรู้และวิชานี้มา ท้ายที่สุดขอบพระคุณคนอ่านทุกๆคนครับ ทั้งที่คนที่ถูกผมส่งเอ็มเอสเอ็นแปะลิงค์ไปฝาก และคนที่เข้ามาอ่านตามความสนใจหรือโดยบังเอิญ ทั้งที่ออกนาม เช่นอาจารย์เก๋และคุณเอ๋ หรือไม่ออกนามครับ จบข่าว :D

 

หมายเลขบันทึก: 86559เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2007 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

ไปอ่านหนังสือ

อ่านๆ ไปก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง ใคร่จะถามเหมือนกัน

แต่อย่าถามดีกว่า (.......)

ถามนอกเรื่องดีกว่า เมื่อหลายปีก่อน ธนาคารแห่งหนึ่งซึ่งมีสาขาอยู่ที่สิงคโปร์ล้มลลาย  แล้วผู้จัดการติดคุกเพราะผิดพลาดเรื่องตราสารอนุพันธ์ทำนองนี้...

ถ้าคุณโยมพอรู้เรื่อง ช่วยยกตัวอย่างกรณีนี้ มาอธิบายต่อจากนี้...

เจริญพร

  • คืนอาจารย์ไปหมดแล้ว... ขอบคุณคุณไปอ่านหนังสือมาช่วยรื้อฟื้นความจำครับ :>

ขอบคุณพี่ต้น ที่เสียสละเวลาเขียนให้ครับ

  แต่ขอบอกตรงๆครับ ว่าเรื่องนี้เข้าใจยากมาก เพราะงงตั้งแต่อ่านเรื่องอนุพันธ์ใหม่ๆแล้วครับ แงๆๆ น่าปวดหัวจัง

 แต่ต้องขอบคุณพี่ต้น มากนะครับ

กราบนมัสการพระคุณเจ้าครับ

ไม่แน่ใจว่าพระคุณเจ้าได้อ่านที่ผมเขียนถึงเรื่อง derivatives and risk management หรือเปล่าครับ เพราะผมไม่แน่ใจว่าผมแก้ก่อนพระคุณเจ้าได้กรุณาเข้ามาอ่านหรือเปล่าครับ

ในบล็อกนี้ต้องออกตัวจริงๆครับว่า จำจากที่เรียนมามาเขียน คู่กับหยิบหนังสือมาเผื่อลืมนิดหน่อยครับ ดังนั้นมันเลยเหมือนกับเป็นเอกสารประกอบการเรียนเลยครับ

เรื่องผู้จัดการธนาคารสิงคโปร์นั้นไม่ทราบจริงๆครับ แต่ถ้าจะให้เดาก็คงเพราะ speculation นะครับ เนื่องจากว่าถ้าซื้อ options แล้ว เราชักดาบไม่ได้ครับ

นักลงทุนบางคนขาย options แต่ไม่ซื้อหุ้นครับ ดังนั้นพอถึงเวลาที่ต้อง ส่งตัวหุ้นตอนที่อีกฝ่ายนั้นต้องการใช้สิทธิ เลยอาจจะหน้ามืดได้ครับ

เหมือนที่เกิดขึ้นในปี 1998 ที่ Hedge fund เจอพิษเงินรูเบิ้ลล้มนั่นแหละครับ ที่อยู่ดีรัฐบาลรัสเซียชักดาบไม่จ่ายบอนด์ ตัว Hedge fund ก็ไปทำไปทำการซื้อขายล่วงหน้าไว้เยอะครับ เจ๊งไปเลยครับ

แล้วก็เพราะเจ๊งครั้งนี้แหละครับที่ทำให้เกิดคำฮิตคำใหม่ในวงการบันเทิงเอ้ยไม่ใช่วงการธนาคา คำที่ว่านั่นก็คือ Value at Risk ครับ คือว่า บอกมาเลยว่า ภายใต้ โอกาส 90% หรือ 95% หรือ 99% เนี่ยจะเจ๊งเท่าไร

สวัสดีครับอาจารย์เก๋

หามิได้ครับ ผมเองก็ไปรื้อมาพอดูเหมือนกันครับ โชคดีแค่เล่าเรื่องเป็นตัวหนังสือครับ ถ้าให้อีโต้เล็มมา (Ito Lemma) อีกรอบ ผมก็ตัวใครตัวมันเหมือนกันครับอาจารย์

สวัสดีครับน้องเดอ

อืมมม เรื่องนี้จะว่ายากก็ยากจริงๆครับ แต่จะง่ายกว่านี้ครับถ้าเกิดมีรูปเป็นกราฟขึ้นมาครับ อันนี้เป็นความผิดผมเองครับ ถ้าไงไว้ขอเวลาหน่อยแล้วจะไปหารูปจากเว็ปอื่นมาแปะให้ล่ะกันครับ

แต่ถ้าพูดกันตามตรงตัวคอนเซ็ปต์นะไม่ยากหรอกครับ เพราะว่าถ้าจะลงทุนกันจริงๆ คำถามที่ต้องถามตัวเองก็คือว่า

เชื่อไหมว่า ราคาหุ้นมันจะเท่ากับ ....... ในอีก ........ วัน (เดือน) ข้างหน้า

ถ้าเชื่อ ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อออปชั่นครับ หรือถ้าเชื่อก็ทำสัญญาแบบ future หรือ forward ได้ครับ

ถ้าไม่เชื่อ ก็ต้องมาถามต่อว่า แล้วเราคิดว่ามันจะราคาเท่าไรครับ แล้วเราต้องการกำไรเท่าไร ถ้าต้องการกำไร แบบที่เหลือความเสี่ยงให้น้อยที่สุด เราก็จำเป็นต้องซื้อ options หลายๆตัว เพื่อสร้างไอ้ที่เขาเรียกว่า hedging strategy ครับ

หรือบางทีน้องเดอ อาจจะเป็นพวก speculation ก็ได้ เช่นว่า เนี่ยคิดว่าต่อไปหุ้นต้องตกแน่เลย ก็ซื้อ put ไว้ก่อน หรือว่าถ้าจะขึ้น ก็ซื้อ call ดักไว้ครับ

แต่ถ้าจะถามว่าทำไงให้กำไร อันนี้ไม่ทราบครับ เพราะถ้าทราบ ผมคงไปเฝ้าจอหุ้นแล้วหล่ะครับ :D

อ่านแล้วได้รู้เรื่องมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้นค่ะเรื่อง Derivative ค่ะ แต่สงสัยที่เขียนเรื่อง stochastic calculas ค่ะว่า "Calculus ธรรมดา x^2 = 2x ... แต่ Stochastic calculus .... 2x + k"

ดิฉันไม่แน่ใจนะคะ เพราะ calculas ที่เรียนมานั้นถ้า differential เจ้า x^2 + k จะได้ 2x เสมอค่ะ ถ้า k เป็นค่าคงที่อะไรก็ได้ค่าหนึ่ง เพราะ diff ค่าคงที่จะได้ 0 ค่ะ

จริงๆ แล้วคงไม่ใช่สาระอะไรมากในเรื่อง derivative นี้ค่ะ แค่สงสัยว่า stochastic calculas ต่างอย่างไรกับ calculas ธรรมดา

ขอบคุณที่ให้ความรู้เรื่อง derivative ค่ะ

  • ขอชื่นชมในความมานะอุตสาหะ ที่เอื้อเฟื้อเขียนเล่า  เพราะเรื่องนี้ยาวมาก ๆ


ขอเพิ่มหมายเหตุเล็กน้อยนะครับ ตรงที่..
"แต่นักคณิตศาสตร์ไม่เรียกว่า Brownian motion หรอกครับ เพราะกลัวเสียหน้า ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า Random walk แล้วก็บอกว่า เนี่ยหุ้นมันอยู่ภายใต้การกระจายที่เรียกว่า log normal distribution"

Random walk ปรกติจะใช้กรณีของสเกลเชิงเส้นตรงที่เรารู้จัก เช่น ราคา 5 บาท 6 บาท 7 บาท เพิ่มทีละหนึ่งบาท (เปลี่ยนทีละกี่บาท) แบบนี้เป็นลำดับเส้นตรงปรกติ

ถ้าสเกลเป็นแบบ "เปลี่ยนทีละกี่เท่า" จะเป็นสเกล logarithm เช่น เปลี่ยนทีละ 5% ต่อวัน

ถ้านำหน่วยการเปลี่ยนแปลงเป็น % ต่อหน่วยเวลามาใช้ ในการศึกษา random walk จึงจะใช้ log normal distribution มาอธิบาย ก็คือ ยังเป็น random walk นั่นแหละ แต่ walk ในมิติสเกลที่ต่างออกไป

เพียงแต่ว่า ถ้าเปลี่ยนแต่ละวันไม่มาก จะใช้สเกลแบบไหน ก็ไม่ต่างกัน เช่น กรณีของราคาหุ้น

แต่ถ้าเปลี่ยนหวือหวา อย่างเช่นราคาของ future แบบนั้นจะเหมาะกับการอธิบายโดย log normal มากกว่า

ไม่แน่ใจว่าเขานิยมแบบไหน แต่เท่าที่อ่าน ๆ ดู น่าจะนิยม log normal มากกว่า เพราะใช้ได้สากลกว่า

สวัสดีครับอาจารย์

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่ได้กรุณาสละเวลาเข้ามาอ่าน

จริงๆแล้วต้องขอโทษก่อนครับ ที่ยกตัวอย่างง่ายไปครับ คือ x^2 จริงๆแล้ว ถ้าใน stochastic calculus นั้น x^2 จะไม่มี เทอม stochastic ครับ

ถ้าจะ define กันตรงๆ เราต้อง define stochastic process ที่เราต้องการจะ Integrate หรือ differentiate ซะก่อน

วิธีการหนึ่งที่ใช้ในการหาก็คือการ apply Ito's lemma ครับ

เช่นง่ายๆนะครับ ถ้าเราต้องการ จะ diff B(t) เมื่อ B(t) เป็น Brownian Motion (B(t)~N(0,t))

d e^B(t) ถ้าเป็นแบบ calculus ธรรมดา d e^x = e^x ใช่ไหมครับ แต่ถ้าเป็น stochastic calculus หลังจากใช้ Ito's Lemma แล้ว เราจะได้

d(e^B(t)) = e^B(t)dB(t)+0.5 e^B(t) dt ครับ

ดังนั้น ผมเลยเทียบกับ calculus ธรรมดาว่า มันต้องไปบวกกับ อะไรก็ไม่รู้ครับ (และไม่ใช่ค่าคงที่ด้วยครับ)

จากตัวอย่างเราก็จะพบว่า e^B(t)dB(t) นั้นก็เหมือนใช้ calculus ธรรมดาในการหา

แล้วก็มีเทอมแถม ซึ่งก็คือ 0.5 e^B(t) dt  ที่ผมบอกว่า คือการบวกอะไรก็ไม่รู้ครับอาจารย์

หวังว่าผมคงจะตอบกระจ่ายนะครับ

 

สวัสดีอาจารย์ wwibul  ครับ

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่ได้กรุณาให้ความรู้และชี้แจงเพิ่มเติมครับ

ใช่แล้วครับว่า Random Walk นั้นอยู่ใน จะขึ้นลงแค่ สเกลหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ถ้าจะ define เรื่อง Brownian Motion ให้ถูกต้อง define ว่ามันคือ ผลบวกของ Random Walk ครับ

ที่อาจารย์ถามว่า ถ้าเป็นสเกลต่อวัน ผมว่าขึ้นอยู่กับว่าเราจะจำลองหุ้นตัวไหนครับ เพราะถ้าเป็นการจำลองมาร์เก็ต ผมเชื่อว่ายังเป็น log normal อยู่ครับ เพราะว่ามันหาง่ายครับ แต่ถ้าไม่ใช่ เป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงมาก เราอาจจะต้องใช้ พวกที่มี heavy tail distribution ครับ อย่างเช่า แกมม่า (Gamma) หรือไค (Chi)

แต่ปัจจุบันนั้นมีวิธีการใหม่แล้วครับ เรียกว่า jump diffusion process ครับ คือ เขาบอกว่าราคาหุ้นนั้น มันไม่ใช่เนิบๆอย่างที่คิดกันหรอก มัน jumpy จะตาย ถึงแม้ขนาดของการกระโดดนั้นจะเล็กๆก็เหอะ ดังนั้นทำให้ Levy process นั้นเป็นที่นิยมในการโมเดลราคาหุ้นในงานวิจัยพวกการเงินบ่อยขึ้นครับ  

ฮือๆๆ เด็กเอ๋ยเด็กน้อยความรู้เรายังด้อยเร่งศึกษา

เมื่อแก่ไปเราจะได้มีวิชา เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพของครอบครัว

  • นี่ขนาดไม่เก่งเรื่องการเงินนะคะเนี่ย...คุณต้น
  • เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจยากค่ะ     แต่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็มีการเผยแพร่ในหลายรูปแบบ
  • ที่พี่ชื่นชอบคือ ทำเป็นรูปนวนิยายค่ะเล่มนี้สนุกดีค่ะ
  • ชื่อ "ฟิวเจอร์ส    สัญญารักล่วงหน้า"ค่ะ น่าจะทำให้นักลงทุนเงินน้อยยิ้มได้บ้างค่ะ...

สวัสดีครับคุณน้องเดอ

เรื่องตลาดการเงิน ผมก็ไม่รู้มากเท่าไรหรอกครับ จะรู้มากกว่านี้เมื่อลงทุนครับ (แต่ยังไม่เคย) เรื่องที่เขียนมาไปหาหนังสือเรียนเล่มไหนก็มีเขียนครับ อย่าตกใจไปเลยครับ

ดีไม่ดีไปอ่านหนังสือ ก็อาจจะเข้าใจอะไรๆได้ง่ายขึ้นครับ

สวัสดีครับอาจารย์ลูกหว้าครับ

อาจารย์ครับ ผมรู้น้อยจริงๆครับ ที่เขียนมาก็ไม่ต่างไปจากหนังสือเรียนหรอกครับอาจารย์

ถ้าเอาแค่หลักการในการลงทุน ผมมองว่าเรื่องการเงินนั้นไม่ยากครับ แต่ถ้าต้องการเข้าใจให้ถ่องแท้ และเอาแบบสามารถป้องกันการขาดทุนแบบจริงจังนะครับ เรื่องนี้ปวดหัวมากครับ

น่าดีใจนะครับที่ตลาดหลักทรัพย์นั้น ได้เผยแพร่วิธีการลงทุนให้ประชาชนรับทราบในรูปแบบต่างๆ ยิ่งทำเนื้อหาเป็นนิยาย ก็คงเข้าใจง่ายขึ้นเยอะครับ

P

เข้ามาเยี่ยม...

เพราะอ่านไม่รู้เรื่อง (...........)

เจริญพร

สวัสดีครับ

มีเรื่องมาเล่านิดหน่อยครับ หวังว่าคงไม่ว่ากันนะครับ จำไม่ได้ว่าใครแต่เป็นอาจารย์ที่ได้รับรางวัลโนเบลที่สร้างสูตร Black Scholes ที่มาหาราคา options ครับ (จริงๆสูตรนี้มีสามคนสร้างครับ แต่อีกคนเสียชีวิตไปก่อนเลยไม่ได้รางวัลโนเบลครับ)  

หลังจากปีที่ท่านได้รับรางวัลโนเบลนั้น ในปีถัดมาบริษัทที่ท่านเป็นเจ้าของนั้น เจ๊งครับ

ถึงกับมีคำพูดสุดฮิตคำหนึ่งว่า น้ำในแม่น้ำฮัดสันในเมืองนิวยอร์กนั้น ช่างแปรปรวน ผิดกับน้ำในแม่น้ำชาลส์ ที่เมืองบอสตันที่แสนจะสงบเรียบร้อยจริงๆ

ผมจำคำพูดจริงๆไม่ได้ครับ แล้วก็จำไม่ได้ว่าใครพูดกันแน่ แต่แค่คำพูดนี้ก็เป็นอุทธาหรณ์ของนักลงทุนได้แล้วครับ

เพราะน้ำในแม่น้ำฮัดสันนั้นเปรียบเสมือนตลาดหุ้น New York Stock Exchange ครับ แต่น้ำในแม่น้ำชาลส์นี่เปรียบเสมือน การศึกษาเรื่องตลาดหุ้นและการเงินในวงการวิจัยและการศึกษาครับ (แต่ผมก็ไม่แน่ใจอีกนั่นแหละครับว่าอาจารย์ท่านนั้นสอนอยู่ที่ไหนกันแน่ ระหว่าง MIT กับ Harvard)

กราบนมัสการพระคุณเจ้าครับ

ขอบพระคุณมากครับที่ท่านได้กรุณาสละเวลามาอ่านครับ (แต่ผมคุยเรื่องเล่าของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลไม่ทัน หวังว่าท่านคงจะกรุณามาอ่านใหม่นะครับ)

ต้องขอกราบประทานโทษพระคุณเจ้าจริงๆครับ ผมเองคงจะเขียนอ่านยากไปซักนิดครับ เพราะจริงๆแล้วผมก็คิดว่า ถ้าคนไม่มีพื้นฐานเจอแล้วอาจจะช็อกเอาได้ง่ายๆ :D แต่เดี๋ยวจะลองไปอ่านดูใหม่ แล้วเผื่อจะไปปรับปรุงให้อ่านง่ายขึ้นครับ

แต่ถ้าพระคุณเจ้าประสงค์อยากทราบอะไรเป็นพิเศษ หรือต้องการความกระจ่างอะไร ที่คิดว่าผมตอบได้ขอกราบนมัสการ (หรืออารธนา? หรือไม่ต้องใช้ ขอประทานโทษด้วยครับ ไม่ทราบจริงๆครับ) พระคุณเจ้าถามมาได้เลยครับ แล้วผมจะพยายามไปหาคำตอบมาครับ

กราบนมัสการพระคุณเจ้ามาด้วยความเคารพอย่างสูงครับ

 

ตัวอย่างเรื่องจอมยุทธ์ทำให้เห็นภาพดีค่ะ

 เรื่องเก่าในตลาดที่US ใหม่ที่ตลท. ขอบคุณที่นำมาให้อ่านค่ะ

สวัสดีครับคุณเอ๋

เรื่องตัวอย่าง ขอยกเครดิตให้กับอาจารย์ลูกหว้าครับ (เพราะอาจารย์เล่ามาผมเลยคิดได้ครับ)

เรื่องนี้เก่าที่อเมริกาก็จริงครับ แต่ก็ไม่ได้เก่าถึงขนาดนั้นนะครับ ที่เริ่มฮิตกันอย่างจริงจังก็ไม่เกิน 30 -40 ปีได้ครับ (หมายถึง derivatives นะครับ)

แสดงว่าเมืองไทยเราก็ไม่ได้ตามหลังเขาเท่าไรมั้งครับ :D

ที่ว่าใหม่ที่นี่หมายถึงตัวตลาดอนุพันธ์ที่เพิ่งเปิดในประเทศเราปีที่แล้วค่ะ หลังจากที่ใช้เวลาศึกษากันตั้งเกือบ ๑๐ ปี ผ่านมาตั้งกี่รัฐบาล กี่รมต.การคลังแล้วก็จำไม่ได้ ทางสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ตั้งคณะทำงานศึกษาเรื่องนี้มาร่วม ๑๐ ปีแล้ว ในที่สุดก็ได้ฤกษ์งามยามดีเปิดซะทีค่ะ

เมื่อก่อนใครอยาก hedge ตัว SET index ของบ้านเรา ต้องไปซื้อขาย option ตัวนี้ที่สิงคโปร์ เพราะในขณะที่เราไม่มีเครื่องมือการเงินตัวนี้ แต่สิงคโปร์มีไปเรียบร้อย

 

สวัสดีครับคุณเอ๋

ขอบพระคุณมากครับที่ได้กรุณามาตอบเพิ่มความรู้ ผมเองไม่ทราบหรอกครับว่า options SET นี่เพิ่งเทรดได้เมื่อเร็วๆนี้

ไม่แน่ใจนะครับ แต่อยากถามประดับความรู้ครับ มี options แบบไหนหรือครับที่เทรดได้ในตลาดเมืองไทย

ขอบพระคุณมากครับ  

มึนตึ๊บ....ขอถอยไปตั้งหลักก่อนนะคะ :-)

..ณิช..

 

 

สวัสดีครับคุณน้องณิช

เรื่องนี้ไม่ยากเท่าเรื่องที่น้องเรียนหรอก พี่รู้ :P

ต้น

  • น้องต้นที่น่ารัก....
  • พี่ขออนุญาตนำงานของน้องไปขยายต่อนะคะ
  • เนื่องจากน้องทำได้ดีกว่าพี่  เพราะฉะนั้นพี่ขอขโมยไปเลย....แห่ะ  แห่ะ เพื่อการศึกษาน้องเอ๊ย..
  • ตามไปดูได้ที่เศรษฐศาสตร์ริมรั้วนะจ๊ะ

สวัสดีค่ะคุณต้น

  • ขออนุญาตแนะนำตัวนะคะ ชื่อเรย์ค่ะ ได้มาอ่านบทความของคุณต้นโดยบังเอิญจากการค้นใน Google ค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีค่ะ 
  • แล้วก็มีเรื่องถามต่อนิดหน่อยค่ะคือตอนนี้กำลังทำงานและศึกษาเกี่ยวกับ Risk Management และตอนนี้อยากได้ความรู้เรื่อง VaR น่ะค่ะ หาเอกสารอ่านมาเยอะแล้วทั้งไทย + อังกฤษ แต่อยากได้ภาพรวม หรือ Concept กว้างๆ น่ะค่ะ ไม่ต้องลึกมาก เพราะจะนำไปใช้ต่อในการทำประกันภัยดัชนีสภาพอากาศน่ะค่ะ ถ้าจะรบกวนคุณต้นช่วยอธิบายให้หน่อยจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งเลยค่ะ...ขอบคุณล่วงหน้านะคะ
 

สวัสดีครับอาจารย์ลูกหว้า

ต้องขอประทานโทษด้วยครับที่ตอบช้า จนอาจารย์อาจจะไม่รอคำตอบแล้วก็ได้

มองไปมองมานี่สองเดือนกว่าแล้วที่ไม่ได้ตอบบล็อกนี้ครับ ต้องขอประทานโทษด้วยจริงๆครับ

ผมไม่เคยสงวนลิขสิทธิ์ทางความคิดครับ ดังนั้นขอเชิญอาจารย์ตามสบายครับ ไม่ว่าจะเป็นบล็อกไหนในบันทึกของผม แล้วก็ไม่ว่าจะเป็นใครก็ได้ ผมยินดีเสมอครับ :D

ต้น

สวัสดีครับคุณเรย์

ขอโทษจริงๆครับที่ตอบช้า ป่านนี้ผมเดาว่าคุณเรย์คงจะรู้เรื่องคำว่า VaR (Value at Risk) เรียบร้อยแล้ว หรือไม่ก็เลิกหวังคำตอบผมไปเรียบร้อยแล้ว ต้องขอโทษจริงๆครับ

คำตอบสำหรับ VaR เผื่อคุณเรย์จะเข้ามาอีกรอบ และเผื่อคนอื่นที่จะหารายงาน search เจอนะครับ

VaR คือ risk measure ตัวหนึ่ง

คำว่า risk อาจจะหมายถึง กำไรที่เราคาดหวัง หรืออาจจะหมายถึงขาดทุน หรืออาจจะหมายถึงอะไรก็ได้ ที่เราไม่ต้องการ 

แล้วไอ้ตัว VaR มันบอกอะไร

ก่อนอื่น เราต้องรู้ก่อนว่า VaR จะสมบูรณ์ได้นั้น เราต้องมีบอกโอกาสการเกิดขึ้นก่อนครับ

เพราะว่ามันคือความเสี่ยง เพราะว่ามันคืออนาคต เราไม่รู้นี่ครับว่า โอกาสที่มันจะเกิดขึ้นนั้นมากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้นเราต้องบอกว่า เราต้องการ VaR ที่มีโอกาสการเกิดกี่เปอร์เซ็นต์ เช่น VaR at 90%

นั้นก็หมายความว่ามี Value at risk เท่าไร ที่โอกาส 90%

อันที่สองคือระยะเวลาครับ VaR ต้องการระยะเวลาว่ามันมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น VaR (90% ที่ 30 วัน)

แล้ว VaR บอกอะไร VaR บอกว่า ในโอกาส 90% ที่มีโอกาสเกิดนั้น ค่าความเสี่ยงสูงสุด เช่น ขาดทุนมากที่สุด มันเท่าไร ในเวลาหนึ่งเดือน (สามสิบวัน)

เช่นนะครับ ผมลงทุนอะไรก็ได้แล้วขาดทุน สิบเดือนที่ผ่านมา เป็น

-1,-2,-3,-4,-5,-6,-7,-8,-9,-10

VaR ที่ 90% ของผม ก็คือ -9

ว่ากันตามหลักสถิติ VaR คือ Percentile ครับ

VaR ที่ 90% ก็คือ Percentile ที่ 90

VaR ที่ 50% ก็คือ ค่ามัธยฐานนั่นเอง

การหา VaR มีสามวิธีใหญ่ครับ (แบบง่ายๆนะครับ)

อันแรก คือ historical methods วิธีการก็คือเอาค่าที่มันเกิดขึ้นในอดีตแล้วก็เอามาหา Percentile ที่ต้องการ

อันที่สอง คือ Analytical methods อันนี้ assume normal distribution แล้วก็หาเหมือน หา Confidence interval ครับ

อันที่สาม คือ Simulation methods เพราะว่า historical methods ไม่บอกเหตุการณ์อนาคต และเพราะว่า Analytical methods assume normal distribution ทำให้มันอาจจะไม่ถูกต้องนัก

ก็เลยมีการเสนอ Simulation methods ขึ้นมา แล้วก็เอามาหา Percentile ครับ

แต่ถ้าจะให้สรุป คำตอบสุดท้าย คำเดียว

VaR คือ Percentile ของความเสี่ยงหรืออะไรก็ตามที่เราต้องการหาครับ

ในกรณีดัชนีสภาพอากาศ

ก็เอาดัชนีสภาพอากาศมาเรียงกัน (จากน้อยไปมาก) แล้วก็เลือกเอา Percentile ตามที่เรากำหนดครับ   

 

 

สวัสดีครับ ผมแวะเข้ามาดู Blog นี้แล้วน่าสนใจมากครับ เลยขอเสริมเกี่ยวกับ Option สักเล็กน้อยครับ

เรื่อง Option น่ะครับ ดูจากคณิตศาสตร์และดูเป็นเรื่องยากจัง แต่ที่เห็นว่ายาก จริงๆ แล้วเป็นเรื่องการคำนวณหาราคา Option น่ะครับ

คือ ถ้ามีคนมาขายสิทธิเราว่า จะให้เรามีสิทธิซื้อหุ้น x ในราคา 20 บาทใน 6 เดือนข้างหน้า (Call Option) เราจะคิดว่าอย่างไรครับ ก่อนอื่น เราก็ต้องเข้าใจก่อนว่า เราจะได้อะไรเสียอะไรเวลาที่หุ้น x ราคาเป็นเท่าไหร่ใน 6 เดือนข้างหน้า ใช่มั้ยครับ ก็คือลองสมมุติว่าราคาหุ้น x เป็นราคาต่างๆ แล้วเราจะได้เสียยังไงบ้าง ก็อาศัย Pay-off Diagram

แต่ Pay-off Diagram ก็เป็นกรณีสมมุติกรณีต่างๆ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่า 6 เดือนข้างหน้า ราคาหุ้น x จะเป็นเท่าไหร่อยู่ดี แล้วจะประเมินค่าของ Option อย่างไร ก็เป็นเรื่องของความน่าจะเป็นที่ราคาหุ้นจะขึ้นหรือลง เลยเป็นที่มาของการคำนวณแบบ Binomial หรือ Black-Scholes น่ะครับ ถ้าพูดแบบง่ายๆ ก็คือหาว่าโดยเฉลี่ยๆ แล้วเราจะได้ Pay-off จาก Option สักเท่าไหร่

เพราะฉะนั้น เวลาที่มีมาเสนอเราว่า เอาอย่างนี้มั้ย ให้เราจ่ายเงิน y บาท เพื่อซื้อสิทธิ (Call Option) ที่จะซื้อหุ้น x ในราคา 20 บาทใน 6 เดือนข้างหน้า เราจะเอามั้ย เราก็จะมาคิดว่า Option ที่ว่านี้ ควรจะมีราคาเท่าไหร่ (คือโดยเฉลี่ยๆ แล้ว Pay-off จาก Option จะเป็นเท่าไหร่) ถ้าราคา y บาทไม่แพงเกินไป ก็ซื้อได้ครับ

จริงๆ แล้ว เราไม่ต้องคำนวณเองขนาดนี้หรอกครับ เดี๋ยวนี้เขามีสูตรหรือมีตาราง ป้อนค่าแล้วก็หาได้เลยครับ ไม่ยากหรอกครับ

จริงๆ แล้ว ที่น่าสนใจคือ เราควรจะซื้อหรือเปล่า?

สังเกตมั้ยครับ ว่าไปแล้ว Option ก็เหมือนการพนันดีๆ นี่เอง เหมือนเราแทงหวยน่ะครับว่าหุ้น x ราคาต้องขึ้นเกิน 20 บาท เพราะถ้าราคาเกิน เราก็ซื้อได้ในราคา 20 บาท ทำให้ได้กำไร (เพราะซื้อถูกกว่าราคาตอนนั้น) ก็เหมือนแทงหวยถูก แต่ถ้าราคาขึ้นไม่เกิน ก็เหมือนแทงหวยไม่ถูก ต้องโยนทิ้งไปเปล่าๆ

แต่บางครั้ง ถ้าเรามีสถานการณ์พิเศษบางอย่าง การซื้อ Option ก็อาจจะช่วยลดความเสี่ยงได้ เช่น ถ้าเรามีหุ้นที่ติด Lock ยังไม่สามารถขายได้ แต่เรากังวลว่า กว่าจะถึงตอนที่ขายได้ ราคาหุ้นอาจจะตกลงไป เราก็อาจจะซื้อ Put Option เพื่อมีสิทธิขายหุ้นในราคาที่แน่นอนได้ อย่างนี้ไม่ใช่พนันครับ แต่เป็นการ Hedging

สำหรับ Forward หรือ Future ก็ไม่ต่างกันครับ บางทีมันก็เป็นการพนัน แต่บางทีมันก็เป็นการประกันความเสี่ยง 

บางทีเส้นแบ่งระหว่างการพนัน (เก็งกำไร หรือ Speculation) กับการประกันความเสี่ยง (Hedging) มันก็แยกกันไม่ค่อยออกครับ กรณีที่พระคุณเจ้าเอ่ยถึง ก็คือ นายนิค ลีสัน ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคาร Barings สาขาสิงคโปร์เอาเงินของธนาคารไปเก็งกำไรใน Future นี่แหละครับ แล้วเมื่อพนันเสีย ก็คิดจะแก้ตัวโดยการพนันเพิ่มเพื่อเอาคืน สะสมกันมากเข้า ก็กลายเป็นเงินเดิมพันก้อนใหญ่ กว่าจะรู้ตัวก็ทำให้ธนาคารล้มละลายภายในชั่วข้ามคืน และเขาก็ต้องติดคุก

ไม่น่าเชื่อว่าวันนี้เขาออกจากคุกแล้ว แล้วยังเขียนหนังสือเกี่ยวกับตัวเขาอีกด้วย ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.nickleeson.com

การหา VaR มีสามวิธี

อันแรก คือ historical 

อันที่สอง คือ Analytical methods 

อันที่สาม คือ Simulation methods

เพราะว่า historical methods ไม่บอกเหตุการณ์อนาคต และเพราะว่า Analytical methods assume normal distribution ทำให้มันอาจจะไม่ถูกต้องนัก

กรณีของ simulation method นี่ จริง ๆ แล้ว หมายถึงการใช้ bootstrap resampling หรือเปล่าครับ

ถ้าใช่ การใช้คำว่า simulation method อาจให้ความหมายที่ไม่ตรงเท่าการใช้คำว่า bootstrap method ครับ

คือ...simulation นี่ เราตั้งต้นจากระบบที่นิยามเริ่มต้นได้ชัดเจนหมด แม้แต่ stochastic method ก็ยังต้องทราบค่าเริ่มต้น แล้วจึงจะ simulate ได้

ส่วน bootstrap เราอาจมีข้อมูลในอดีต  แล้ว analysis ซ้ำ ๆ โดยการทำ stochastic resampling เพื่ออนุมานข้อสรุป ซึ่งในที่นี้ คือ Var

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท