อนุทินล่าสุด


นาง วราภรณ์ วุฒิสาร
เขียนเมื่อ
             คะแนนการประเมินการนำเสนองานของนักศึกษา

ชื่อ – สกุล ขนาดตัวอักษร สีตัวอักษร การออกแบบ พื้นหลัง ภาพ ประกอบ เสียงประกอบ เทคนิคการเคลื่อนไหว วิธีการนำเสนอ เทคนิคพิเศษอื่นๆ สรุป นางสาวรังรอง วภักดิ์เพชร (การพัฒนาชุดการฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความชั้นประถมศึกษาปีที่ 4) 2 2 2 2 2 2 1 - 13 นายไพฑูรย์ เขียวรัตน์
(การพัฒนาโปรแกรมการฝึก อบรมแนวทางไตรสิกขาเพื่อเสริมสร้างความมีวินัยในตน เอง ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5) 2 2 3 2 2 3 2 - 16 นางดาระณี ภูนิคม (การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6โดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดและการทำโครงงาน) 2 2 2 2 2 2 2 - 14 นายสว่าง พิมพิชัย (ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อินทรีย์ กับ วิธีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ) 2 2 2 2 2 2 3 - 15 นางสาวพรทิพย์ อาจวิชัย (การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยา ศาสตร์และความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบการเขียนแผนผังมโนมติ ) 2 2 2 2 2 2 2 - 14 นางสาวธัญญรัตน์ แสนคำ (การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการเรียนจากวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์กับการสอนแบบปกติ เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ ) 3 2 2 2 2 2 2 - 15 นางดวงฤดี แก้วเสถียร (ผลของการใช้เทคนิคผังกราฟฟิกในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ต่อการนำเสนอข้อความ) 3 2 2 2 2 3 2 - 16 นางสุภาภรณ์ น้อยทรง (การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม) 2 3 2 2 2 2 2 - 15 นางสาวปราณี กุลมิน (การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) 3 3 2 2 2 2 2 - 16 นางอรัญญา ช่วยวัฒนะ (การพัฒนาการอ่านและการแจกลูกสะกดคำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ) 2 3 2 2 2 2 2 - 15 นางกุลกนก เสียงล้ำ (การการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4) 2 3 2 2 2 2 2 - 15 นางดุษฎี เหลาแหลม (การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมะยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้แบบปกติกับการจัดสภาพแวดล้อมฯ) 2 3 3 2 2 2 2 - 16 นางสาวศิราณี กลางประพันธ์ (การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การฝึกปฏิบัติ ชุดการจัดการเรียนรู้ เพื่อฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้อัลกอลิทึม ฯ) 3 3 2 2 2 2 2 - 16



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาง วราภรณ์ วุฒิสาร
เขียนเมื่อ

เบล็นเด็ดเลินนิ่ง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ การสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้น ผู้สอน สามารถใช้วิธีการสอน สองวิธีหรือมากกว่า ในการเรียนการสอน เช่น ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนผ่านเทคโนโลยีผนวกกับการสอนแบบเผชิญหน้า แต่หลังจากนั้นผู้สอนนำเนื้อหาบทความแขวนไว้บนเว็บ จากนั้นติดตามการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ด้วยระบบแอลเอ็มเอส (Learning Management System ) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องแล็บ หลังจากนั้นสรุปบทเรียน ด้วยการอภิปรายร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในห้องเรียน "Blended learning เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี ,blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้น เรียนและการเรียนแบบออนไลน์,สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและ การใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม" การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่างๆมาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น คือ รวม รูปแบบการเรียนการสอน รวม วิธีการเรียนการสอน รวม การเรียนแบบออนไลน์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนการเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่ อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากันจาก 2 รูปแบบสภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนกับ การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่ แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่าง รวดเร็วซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามา สู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมในการเรียนการสอนใน ชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียน แบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการ เติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีก ด้วย ข้อดี-ข้อจำกัด การเรียนแบบผสมผสานสรุป Blended Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน ความหมายและความสำคัญ 1. การเรียนแบบผสมผสาน (blended learning) เป็นการเรียนที่ใช้กิจกรรมที่ต้องออนไลน์และการพบปะกันในห้องเรียนจริง (hybrid) โดยใช้สื่อที่มีความหลากหลายเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล 2. การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่าง ๆ มาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น การเรียนอาจจะเรียนในห้องเรียน 60% เรียนบนเว็บ 40% ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องผสมผสานกันเท่าใด เช่น- รวม รูปแบบการเรียนการสอน- รวม วิธีการเรียนการสอน- รวม การเรียนแบบออนไลน์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน 3. การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) การเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากัน จาก 2 รูปแบบ 3.1 สภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียน 3.2 การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่ แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่าง รวดเร็ว ซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามา สู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วม ในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าใน อนาคตนั้นการเรียนแบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียน แบบออนไลน์ที่จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีก ด้วย สรุป 1. การเรียนการสอนแบบผสมผสาน Blended Learning เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานหลากหลายวิธี เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้และตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะ ด้านการปฏิบัติ (Practice Skill )โดยใช้เทคโนโลยี เช่น การเรียนการสอนในชั้นเรียนร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์(a combination of face-to-face and Onine Learning) การเรียนแบบหมวก 6 ใบ, สตอรี่ไลน์ จุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่ผู้เรียน โดยอัตราส่วนการผสมผสาน จะขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหา และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กรณี - ครูผู้สอนสั่งงานทาง e-mail หรือ chatroom หรือ webbord ถือเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน- ครูสั่งให้ส่งงานเป็นรูปเล่มรายงานถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานเช่นกัน เพราะต้องไปค้นคว้าสืบค้นข้อมูลและนำมาอภิปราย สรุป เนื้อหาเป็นแนวเดียวกัน ผู้เรียนทุกคนเข้าใจตรงกัน 2. การใช้งานจริง ณ ขณะนี้ สรุป การใช้ Blended Learning ในองค์กร หรือบริษัท ช่วยในการประชุม การสั่งงาน โดยมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระบบเครือข่าย ส่วนมาก นิยมใช้ระบบ LMS เป็นระบบการบริหาร ผ่าน Sever เป็นระบบเครือข่ายผู้ใช้งานในระบบ 2.1 กลุ่มผู้บริหาร Administrator ทำหน้าที่ดูแลระบบ 2.2 กลุ่ม ครู อาจารย์ Instructor/ teacher ทำหน้าที่สอน 2.3 กลุ่มผู้เรียน Student /Guest นักเรียน นักศึกษาสำหรับขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Beijing Normal University (BNU) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ 1. ขั้นก่อนการวิเคราะห์ (Pre-Analysis) เป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบการพิจารณาข้อมูลทั่ว ๆ ไป ได้แก่ 1.1 การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้เรียน 1.2 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ 1.3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบผสมผสานผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรก จะเป็นรายงานผลที่จะนำไปใช้ในขั้นต่อไป 2. ขั้นการออกแบบกิจกรรมและการออกแบบวัสดุการเรียนรู้ (Design of Activity and Resources) เป็นขั้นตอนที่สองที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรกมาออกแบบกิจกรรมและวัสดุ การเรียนรู้ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ได้แก่ 2.1 การออกแบบภาพรวมของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละหน่วยเรียน กลยุทธ์การนำส่งบทเรียนในการเรียนรู้แบบผสมผสาน ส่วนสนับสนุนการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2.2 การออกแบบกิจกรรมแต่ละหน่วยเรียนประกอบด้วย นิยามผลการกระทำของผู้เรียน กิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์ การจัดกลุ่มของกิจกรรมทั้งหมด การประเมินผลในแต่ละหน่วยเรียน 2.3 การออกแบบและพัฒนาวัสดุการเรียนรู้ประกอบด้วย การเลือกสรรเนื้อหาสาระ การพัฒนากรณีต่าง ๆ การนำเสนอผลการออกแบบและการพัฒนาผลที่ได้จากขั้นตอนที่สอง จะเป็นรายละเอียดของการออกแบบบทเรียนในแต่ละส่วน 3. ขั้นการประเมินผลการเรียนการสอน (Instructional Assessment) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานประกอบด้วย 3.1 การประเมินผลขั้นตอนการเรียนรู้ 3.2 การจัดการสอบตามหลักสูตร 3.3 การประเมินผลกิจกรรมทั้งหมดผลที่ได้จากขั้นตอนสุดท้าย จะนำไปพิจารณาตรวจปรับกระบวนการออกแบบในแต่ละขั้นที่ผ่านมาทั้งหมด เพื่อให้การเรียนรู้แบบผสมผสานมีประสิทธิภาพและเกดประสิทธิผลกับผู้เรียน อย่างแท้จริง ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน การเรียนรู้แบบผสมผสานมีสิ่งต่างๆจะต้องพิจารณา ดังนี้ 1. เพิ่มทางเลือกของวิธีการนำส่งการเรียนรู้ไปยังผู้เรียนให้มีความหลากหลายมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ออกแบบ 2. เกณฑ์การตัดสินความสำเร็จในการเรียนรู้แบบผสมผสานไม่ได้มีเพียงเกณฑ์เดียว เช่น รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาร่วมกันได้ 3. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานจะต้องพิจารณาประเด็นของความเร็วในการเรียนรู้ ขนาดของผู้เรียน และการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียน 4. สภาพแวดล้อมทางการเรียนของผู้เรียน จะมีความแตกต่างกันเป็นธรรมชาติซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องสนับสนุนให้ผู้ เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ 5. หน้าที่ของผู้เรียน จะต้องศึกษาและค้นพบตัวเอง เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ตามศักยภาพของตนเอง 6. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานต้องการทีมงานออกแบบที่มีความรู้เรื่องการปรับปรุงด้านธุรกิจด้วย เช่นกัน การเรียนการสอนทางไกลของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) ถือว่าเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานเช่นกัน คอร์สการเรียนภาษาอังกฤษทางไกล ของ แอนดรูส์ บิ๊ก ที่ใช้ระบบ(Bkended Learning for Distance Learning) ซึ่งสามารถสอนนักเรียนพร้อมกันทีเดียวได้เป็นพันคน 3. ประโยชน์ ข้อดี และข้อจำกัด ประโยชน์ ข้อดี 1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ 2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ 3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง 4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน 5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต 6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย 7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center 8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี 9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว (กาเย่) 10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้(กาเย่) 11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้(กาเย่) 12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา (กาเย่) 13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน 14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้ 15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง 16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้

ข้อจำกัด 1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว 2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์ 3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน 4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง (ของจริง) 5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software 6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง 7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต 8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้ 9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญหาด้านสัญญาณ 11. ขาดการปฏิสัมพันธ์แบบ face to faec (เรียลไทม์) ความเป็นไปได้ในการไปใช้งานจริงของ Blened Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน 1. มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุค ICT ทำให้มีการเรียนรู้ที่หลากหลายวิธี เช่น 2 วิธี หรือมากกว่านั้นได้ 2. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ e-Learning 3. สามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานศึกษา เช่น โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย รวมไปถึง บริษัท องค์กร ต่าง ๆ เพื่อประหยัดงบประมาณและต้นทุน 4. เป็นไปได้หรือไม่ในการนำไปใช้งานได้จริงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมขององค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอน อุปกรณ์ ผู้เรียน และผู้สอน

การสอนแบบผสม (Mixed Method) วิธีสอนแบบผสมผสาน ในการสอนผู้สอนย่อมกำหนดจุดประสงค์ไว้หลายด้าน ทั้งด้านความรู้เจตคติ และ ทักษะ ถ้าผู้สอนใช้วิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่งวิธีเดียว อาจไม่สามารถสนองตอบจุดประสงค์ทุกด้านได้ ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่ผู้สอนต้องรู้จักเลือกใช้วิธีสอนหลายๆ วิธีอย่างผสมผสานกัน นอกจากนี้วิธีมีข้อดีและข้อจำกัดในตังเอง ผู้สอนต้องเลือกใช้ให้สอดคล้องเหมะสมกับสถานการณ์ผู้เรียนและเนื้อหาวิชา บางครั้งบางชั่วโมงอาจต้องเลือกใช้หลายวิธีอย่างผสมผสานกัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี การผสมผสานวิธีสอนหลาย0 วิธีเข้าด้วยกัน จะช่วยให้การเรียนการสอนสุก น่าสนใจ และเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนการสอนให้ดีขึ้น (อาภรณ์ ใจเที่ยง. 2540 :134-139) 1.ความหมายของการสอนแบบผสมผสาน การสอนแบบผสมผสาน หมายถึง การสอนที่ผู้สอนนำวิธีการสอนหลายๆวิธีมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด 2.ความมุ่งหมายของการสอนแบบผสมผสาน 1.เพื่อสนองจุดประสงค์การสอนทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ เจตคติ และทักษะ ถ้าใช้วิธีสอนเพียงวิธีเดียว อาจไม่สามารถครอบคลุมจุดประสงค์ทั้ง 3 ด้านได้ เพราะการสอนแต่ละวิธีย่อมมีจุดมุ่งหมายเฉพาะแต่ละอย่างไป 2.เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดเฉพาะตน ซึ่งแต่ละคนมีแตกต่างกัน การใช้วิธีสอนหลายๆ วิธีผสมผสานกัน จะช่วยให้ผู้เรียนได้คุ้นเคยหรือถนัดกับกิจกรรมการสอนหลายๆ แบบ 3.เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ความสนใจของผู้เรียนนั้นไม่คงที่ตลอดชั่วโมงหรือตลอดเวลาของการสอน และมีลักษณะที่จะเหนื่อยและเบื่อหน่ายในตอนท้ายชั่วโมง การเปลี่ยนวิธีสอนจะเป็นการเรียกร้องความสนใจให้กลับมาอีกครั้งหนึ่งได้ 4.เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนการสอนให้น่าสนใจขึ้น การใช้วิธีสอนหลายๆ แบบทำให้ผู้เรียนได้ตื่นตัว เกิดความกระตือรือร้นในการเรียน ไม่เกิดความเบื่อหน่าย ขณะเดียวกันทำให้ผู้สอนได้เลือกใช้วิธีสอนที่เหมาะสมกับตนเอง เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศของผู้สอนเองด้วยพร้อมกันไป 3.รูปแบบการผสมผสานวิธีสอน รูปแบบการผสมผสานวิธีสอนจัดทำได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ 1.ผสมผสานเป็นรายชั่วโมง หรือรายคาบ 2.ผสมผสานเป็นรายสัปดาห์ 3.ผสมผสานเป็นรายเดือนและรายภาค แต่ละลักษณะมีรายละเอียดดังนี้ 1.การผสมผสานเป็นรายชั่วโมงหรือรายคาบ คำว่า รายชั่วโมงหรือรายคาบ หมายถึง รายครั้งที่มีการสอน เช่น เวลา 2 คาบ ลักษณะการผสมผสานทำได้ 3 ลักษณะ โดยถือเอาการสอนแบบบรรยายเป็นการสอนหลักมีดังนี้ (ไพฑูรย์ สินบารัตน์ 2534 : 149-153) 1.1 การบรรยายเริ่มต้นชั่วโมง เมื่อผู้สอนได้บรรยายไปพอสมควรและเห็นว่า ห้องเรียนจะมีอาการน่าเบื่อหน่าย ก็อาจจะเปลี่ยนวิธีการด้วยการให้ผู้เรียนอภิปรายหรือทำงานเป็นรายบุคคลได้ 1.2 การบรรยายอยู่กลางชั่วโมง บางครั้งอาจใช้การบรรยายไว้กลางชั่วโมง แล้วเริ่มต้นหรือปิดท้ายด้วยวิธีการอื่นๆ แต่ควรบรรยายสรุปก่อนเลิก 1.3 การบรรยายไว้ท้ายชั่วโมง ในการสอนโดยทั่วไป ไม่จำเป็นจะต้องบรรยายก่อนแต่อาจเริ่มต้นด้วยกิจกรรมอื่นๆ ก่อน แล้วปิดท้ายด้วยการบรรยายก็ได้รูปแบบและกิจกรรมที่ยกมาให้ดูเป็นตัวอย่างนี้ เป็นเพียงตัวอย่างและกิจกรรมเนอแนะเท่านั้น ผู้สอนย่อมจะปรับปรุงเวลาและกิจกรรมได้แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้สอน ผู้เรียน เวลา และวิชาที่สอนนั้นๆ 2.การผสมผสานเป็นรายสัปดาห์ การผสมผสานเป็นรายสัปดาห์ในที่นี้หมายถึง การสอนที่ใจหนึ่งสัปดาห์มีการสอนตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป การสอนแต่ละครั้งอาจจะเป็น 1 ชั่วโมง หรือ 2 ชั่วโมงก็ได้รูปแบบของการผสมผสานอาจทำได้ 3 ลักษณะเช่นกัน คือ 2.1ใช้วิธีการสอนแบบเดียวตลอดชั่วโมงแต่แตกต่างกัน ถ้าหากสัปดาห์นั้นมี การสอน 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งสอนบรรยายตลอด ครั้งต่อไปควรเปลี่ยนเป็นการอภิปรายหรือฝึกปฏิบัติแทน 2.2 ใช้แบบผสมแต่เน้นแตกต่างกัน ถ้าใช้วิธีการผสมผสานในแต่ละครั้ง ควรเน้นให้แตกต่างกันในแต่ละครั้งภายใน 1 สัปดาห์ 2.3 ใช้วิธีการต่อเนื่องกัน วิธีนี้นิยมวิธีการสอนแบบเดียวแต่ควรเป็นลักษณะการสอนที่มีความต่อเนื่องกัน เช่น การสอนแบบอภิปราย การสอนแบบให้รายงาน การสอนแบบโครงการสอนแบบฝึกปฏิบัติ เป็นต้น 3.การผสมผสานเป็นรายเดือนและรายภาค การผสมผสานเป็นรายเดือนและเป็นรายภาคนั้นไม่แตกต่างกันมากนัก ความสำคัญอยู่ตรงที่ผู้สอนที่ผู้สอนจะกำหนดจุดมุ่งหมายไว้อย่างใด วางแผนการสอนในลักษณะใด ต้องการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์อะไรบ้าง สำหรับรูปแบบนั้นมีต่างๆ กันออกไป ในที่นี้จะเสนอตัวอย่าง 3 รูปแบบคือ 3.1 ให้หลักการและอภิปรายสรุป การวางแผนการสอนแบบนี้ถือหลักว่า เมื่อผู้เรียนรู้หลักการทฤษฎีดีแล้ว ก็จะอภิปรายหรือไปทำรายงายงานได้ดีขึ้น 3.2 ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนำไปสู่ข้อสรุป รูปแบบนี้ให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง ลงมือทำเองแล้วนำไปสู่ข้อสรุปในภายหลัง 3.3 ผสมผสานรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน แบบที่สามนี้เป็นอิสระ ไม่มีพื้นฐานหลัก อะไรผู้สอนจะเลือกแบบต่างๆ ให้มีการผสมผสานกัน เพื่อจุดมุ่งหมายหลายๆ อย่าง และเปลี่ยนบรรยากาศไปในตัวโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยการบรรยาย อภิปราย ฝึกปฏิบัติศึกษาด้วยตนเอง ประกอบกันไป ไม่ควรเป็นอย่างใดอย่างเดียวกันตลอด และควรจะมีการวางแผนอย่างดี อย่าให้ซ้ำซ้อนหรือเปลี่ยนแปลงบ่อยจนเกินไป ข้อควรคำนึงถึงในการผสมผสานวิธีสอนแบบต่าง ๆ 1.ผู้สอนควรคำนึงถึงจุดประสงค์การสอนเป็นหลักสำคัญ อย่าผสมผสานจนบ่อยเกินไป และอย่าผสมผสานเพียงเพื่อให้มีการสอนหลาย ๆ แบบเท่านั้น 2.ผู้สอนต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้เรียน และของผู้สอนเองด้วย ผู้สอนต้องเข้าใจและมองเห็นภาพการผสมผสานว่าสามารถดำเนินการได้ดีเหมาะสม เพียงไร ส่วนผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนโดยวิธีเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด 3.สถานที่และอุปกรณ์ ก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะการเปลี่ยนวิธีสอนหมายถึงการเปลี่ยนบรรยากาศ เปลี่ยนกิจกรรม อุปกรณ์และสถานที่อาจเปลี่ยนตามไปด้วย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาง วราภรณ์ วุฒิสาร
เขียนเมื่อ
                                           E1/E2

             การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพกระทำได้ โดยการประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน 2 ประเภทคือ พฤติกรรมต่อเนื่อง (กระบวนการ) กำหนด ค่าประสิทธิภาพเป็น E1 =Efficiency of Process (ประสิทธิภาพของกระบวนการ) และพฤติกรรมสุดท้าย (ผลลัพธ์) กำหนดค่าประสิทธิภาพเป็น 

(Do the thing right=Efficiency) (Do the right thing=Effectiveness) E2 =Efficiency of Product (ประสิทธิภาพของผลลัพธ์) การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ 1. ประเมินพฤติกรรมต่อเนื่อง (Transitional Behavior) คือประเมินผลต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยของผู้เรียน เรียกว่า “กระบวนการ” (Process) ที่เกิดจากการประกอบกิจกรรมกลุ่ม ได้แก่ การทำโครงการ หรือทำรายงานเป็นกลุ่ม และรายงานบุคคล ได้แก่งานที่มอบหมาย และกิจกรรมอื่นใดที่ผู้สอนกำหนดไว้ 2. ประเมินพฤติกรรมสุดท้าย (Terminal Behavior) คือประเมินผลลัพธ์ (Product) ของผู้เรียน โดยพิจารณาจากการสอบหลังเรียนและการสอบไล่ ประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนจะกำหนดเป็นเกณฑ์ ที่ผู้สอนคาดหมายว่าผู้เรียนจะเปลี่ยน พฤติกรรมเป็นที่พึงพอใจ โดยกำหนดให้ผลเฉลี่ยของคะแนนการทำงานและ การประกอบกิจกรรมของผู้เรียนทั้งหมด ต่อ ร้อยละของผลการประเมินหลังเรียนทั้งหมด E1/E2 = ประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ตัวอย่าง 80/80 หมายความว่าเมื่อเรียนจากสื่อหรือชุดการสอนแล้ว ผู้เรียนจะสามารถทำแบบฝึกปฏิบัติ หรืองานได้ผลเฉลี่ย 80% และประเมินหลังเรียนและงานสุดท้ายได้ผลเฉลี่ย 80% การที่จะกำหนดเกณฑ์ E1/E2 ให้มีค่าเท่าใดนั้น ให้ผู้สอนเป็นผู้พิจารณาตามความพอใจโดยพิจารณาพิสัยการเรียนที่จำแนกเป็น วิทยพิสัย (Cognitive Domain) จิตพิสัย (Affective Domain) และทักษพิสัย (Skill Domain)

            ในขอบข่ายวิทยพิสัย (เดิมเรียกว่า พุทธิพิสัย) เนื้อหาที่เป็นความรู้ความจำมักจะตั้งไว้สูงสุดแล้วลดต่ำลงมาคือ 90/90 85/85 80/80

คำว่า พุทธิ เป็นคำในพระพุทธศาสนา แปลว่า ความรู้แจ้ง ครอบคลุมทั้งความรู้ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมจึงมีความหมายใหญ่กว่าคำว่า Cognitive ที่หมายถึงความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และการประเมินตามแนวคิดของ Bloom’s Taxonomy ซึ่งตรงกับคำว่า “วิทยา” มากกว่า ผู้จึงใช้ วิทยพิสัย แทน พุทธิพิสัย เป็นคำแปลของ Cognitive Domain ปัจจุบัน Bloom’s Taxonomy ได้เปลี่ยนไปจากเดิมคือ Knowledge, Comprehension, Application, Analysis, Synthesis, Evaluation เป็น Remembering, Understanding, Applying, Analyzing, Evaluating and Creating

       วิธีการคำนวณหาประสิทธิภาพ

วิธีการคำนวณหาประสิทธิภาพ กระทำได้ 2 วิธี คือ โดยใช้สูตรและโดยการคำนวณธรรมดา โดยใช้สูตร เมื่อ E1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ วิธีการคำนวณหาประสิทธิภาพ E1 คือ คะแนนรวมของแบบฝึกปฏิบัติ กิจกรรมหรืองานที่ทำระหว่างเรียนทั้งที่เป็นกิจกรรมในห้องเรียน นอกห้องเรียนหรือออนไลน์ A คือ คะแนนเต็มของแบบฝึกปฏิบัติ ทุกชิ้นรวมกัน N คือ จำนวนผู้เรียน เมื่อ E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ คือ คะแนนรวมของผลลัพธ์ของการประเมินหลังเรียน B คือ คะแนนเต็มของการประเมินสุดท้ายของแต่ละหน่วย ประกอบด้วยผลการสอบหลังเรียนและคะแนนจากการประเมินงานสุดท้าย N คือ จำนวนผู้เรียน แนวคิดการหาประสิทธิภาพที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์ และสูตร E1/E2 เป็นลิขสิทธิ์ของ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ไม่ว่าจะเขียนในรูป E1:E2 E1ต่อE2 หรือในรูปแบบใดจะนำไปดัดแปลงเป็นอย่างอื่นเช่น P1/P2 X1/X2 และเปลี่ยนแปลงสูตร เช่น จาก SF เปลี่ยนเป็น SY กระทำไม่ได้ ลิขสิทธิ์นี้ รวมถึงการนำไปจัดทำโปรแกรมคำนวณทางคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ทรงลิขสิทธิ์คือ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ไม่ได้เช่นกัน การตีความหมายผลการคำนวณค่า E1/E2 หลังจากคำนวณหาค่า E1 และ E2 ได้แล้ว ผู้หาประสิทธิภาพต้องตีความหมายของผลลัพธ์โดยยึดหลักการและแนวทางดังนี้ ความคลาดแคลื่อนของผลลัพธ์ ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือความแปรปรวนของผลลัพธ์ ได้ไม่เกิน .05 (ร้อยละ 5) จากช่วงต่ำไปสูง= ±2.5 นั่นคือผลลัพธ์ของค่า E1 หรือ E2 ที่ถือว่า เป็นไปตามเกณฑ์ มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่เกิน 2.5% และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ไม่เกิน 2.5% หากคะแนน E1 หรือ E2 ห่างกันเกิน 5% แสดงว่า กิจกรรมที่ให้นักเรียนทำกับการสอบหลังเรียนไม่สมดุลกัน เช่น ค่า E1 มากกว่า E2 แสดงว่า งานที่มอบหมายอาจจะง่ายกว่า การสอบ หรือ หากค่า E2 มากกว่าค่า E1 แสดงว่า การสอบยากกว่าหรือไม่สมดุลกับงานที่มอบหมายให้ทำ จำเป็นที่จะต้องปรับแก้ หากสื่อหรือชุดการสอนได้รับการออกแบบและพัฒนาอย่างดีมีคุณภาพ ค่า E1 และ E2 ที่คำนวณได้จากการทดสอบประสิทธิภาพ จะต้องใกล้เคียงกันและห่างกันไม่เกิน 5% ซึ่งเป็นตัวชี้ที่จะยืนยันได้ว่า นักเรียนได้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมต่อเนื่องตามลำดับขั้นหรือไม่ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนพฤติกรรมขั้นสุดท้าย หรืออีกนัยหนึ่งต้องประกันได้ว่านักเรียนมีความรู้จริง ไม่ใช่ทำกิจกรรมหรือทำสอบได้เพราะการเดา การประเมินในอนาคตจะเสนอผลการประเมินเป็นเลขสองตัว คือ E1คู่E2 เพราะจะทำให้ผู้อ่านผลการประเมินทราบลักษณะนิสัยของผู้เรียนระหว่างนิสัยในการทำงานอย่างต่อเนื่อง คงเส้นคงวาหรือไม่ (ดูจากค่า E1 คือกระบวนการ) กับการทำงานสุดท้ายว่ามีคุณภาพมากน้อยเพียงใด (ดูจากค่า E2 คือผลลัพธ์) เพื่อประโยชน์ของการกลั่นกรองบุคลากรเข้าทำงาน 2.5% 82.50 +

E1/E2 80/80 82.50/77.50

2.5% 77.50 83.40/81.50 ต้องปรับเพิ่ม E2 เพื่อยกเกณฑ์เป็น 85/85หรือ ลดค่าE1 เพื่อคงเกณฑ์ 80/80 81.85/89.35 ค่า E1 และห่างกันมาก ต้องปรับเพิ่ม E1 หรือลด E2 เพื่อให้ได้เกณฑ์ 85/85 ขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพ 1:1 ก. การทดลอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยว (1:1) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คนทดลอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียน 1-3 คน โดยใช้เด็กอ่อน ปานกลาง และเด็กเก่ง ให้ดีขึ้น คะแนนที่ได้ในขั้นนี้จะประมาณ 50-60% ระหว่างทดลอบประสิทธิภาพ 1:1 ให้จับเวลาในการประกอบกิจกรรม สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่า หงุดหงิด ทำหน้าฉงน หรือทำท่าทางไม่เข้าใจหรือไม่ ประเมินการเรียนจากกระบวนการ คือกิจกรรมหรือภารกิจและงานที่มอบให้ทำและทดสอบหลังเรียน นำคะแนนมาคำนวณหาประสิทธิภาพ หากไม่ถึงเกณฑ์ต้องปรับปรุงเนื้อหาสาระ กิจกรรมระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนให้ดีขึ้น S-Stand O-Ongoing I-Inhale S-Smile SIFOS MOdel F-Focus ขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพ 1:10 ข. การทดลอบประสิทธิภาพแบบกลุ่ม (1 : 10) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คนทดลอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียน 6 – 12 คน (คละผู้เรียนที่เก่ง ปานกลางกับอ่อน) ระหว่างทดลอบประสิทธิภาพ 1:10 ให้จับเวลาในการประกอบกิจกรรม สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่า หงุดหงิด ทำหน้าฉงน หรือทำท่าทางไม่เข้าใจหรือไม่ หลังจากทดลอบประสิทธิภาพให้ประเมินการเรียนจากกระบวนการ คือกิจกรรมหรือภารกิจและงานที่มอบให้ทำและประเมินผลลัพธ์คือการทดสอบหลังเรียนและงานสุดท้ายที่มอบให้นักเรียนทำส่งก่อนสอบประจำหน่วย ให้นำคะแนนมาคำนวณหาประสิทธิภาพ หากไม่ถึงเกณฑ์ต้องปรับปรุงเนื้อหาสาระ กิจกรรมระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนให้ดีขึ้นคำนวณหาประสิทธิภาพแล้วปรับปรุง ในคราวนี้คะแนนของผู้เรียนจะเพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าเกณฑ์โดยเฉลี่ยจะห่างจากเกณฑ์ประมาณ 10% นั่นคือ E1/E2 ที่ได้จะมีค่าประมาณ 60-70% ขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพ 1:100 ค. การทดลอบประสิทธิภาพภาคสนาม (1 : 100) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คนทดลอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียนทั้งชั้น (30 คนขึ้นไป แต่ไม่ต่ำกว่า 15 คน) ระหว่างทดลอบประสิทธิภาพ 1:100 ให้จับเวลาในการประกอบกิจกรรม สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่า หงุดหงิด ทำหน้าฉงน หรือทำท่าทางไม่เข้าใจหรือไม่ หลังจากทดลอบประสิทธิภาพภาคสนามแล้ว ให้ประเมินการเรียนจากกระบวนการ คือกิจกรรมหรือภารกิจและงานที่มอบให้ทำและทดสอบหลังเรียน นำคะแนนมาคำนวณหาประสิทธิภาพ หากไม่ถึงเกณฑ์ต้องปรับปรุงเนื้อหาสาระ กิจกรรมระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนให้ดีขึ้น แล้วนำไปทดลอบประสิทธิภาพภาคสนามซ้ำกับนักเรียนต่างกลุ่ม อาจทดลอบประสิทธิภาพ 2-3 ครั้ง จนได้ค่าประสิทธิภาพถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ ปรกติไม่น่าจะทดลอบประสิทธิภาพเกณฑ์สามครั้ง ด้วยเหตุนี้ ขั้นทดลอบประสิทธิภาพ ภาคสนามจึงแทนด้วย 1:100 ปรกติให้ใช้กับผู้เรียน 30 คน แต่ในโรงเรียนขนาดเล็กอนุโลมให้ใช้กับนักเรียน 15 คนขึ้นไป ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลอบประสิทธิภาพภาคสนามควรใกล้เคียงกัน เกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากต่ำจาก เกณฑ์ไม่เกิน 2.5% ก็ให้ยอมรับว่า สื่อหรือชุดการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากค่าที่ได้ต่ำกว่าเกณฑ์มากกว่า -2.5 ให้ปรับปรุงและทดลอบประสิทธิภาพภาคสนามซ้ำ จนกว่าจะถึงเกณฑ์ จะหยุดปรับปรุงแล้วสรุปว่า ชุดการสอนไม่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือจะลดเกณฑ์ลงเพราะ “ถอดใจ” หรือยอมแพ้ไม่ได้ หากสูงกว่าเกณฑ์ไม่เกิน +2.5 ก็ยอมรับว่า สื่อหรือชุดการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากค่าที่ได้สูงกว่าเกณฑ์เกิน +2.5 ให้ปรับเกณฑ์ขึ้นไปอีกหนึ่งขั้น เช่น ตั้งไว้ 80/80 หาค่าได้ 83.40/86.25 ก็ให้ปรับขึ้นเป็น 85/85 หรือ หาค่าได้ 88.75/91.20 ก็ปรับเกณฑ์เป็น 90/90 ตามค่าประสิทธิภาพที่ทดลอบประสิทธิภาพได้ ตัวอย่าง เมื่อทดสอบหาประสิทธิภาพแล้วได้ 83.5/85.4 ก็แสดงว่าสื่อหรือชุดการสอนนั้นมีประสิทธิภาพ 83.5/85.4 ใกล้เคียงกับเกณฑ์ 85/85 ที่ตั้งไว้ แต่ ถ้าตั้งเกณฑ์ไว้ 75/75 เมื่อผลการทดลอบประสิทธิภาพเป็น 83.5/85.4 ก็ให้เลื่อนเกณฑ์ขึ้นมาเป็น 85/85 คำเตือน 1) ค่า E1/E2 เป็นค่าประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนหรือบทเรียนแต่ละครั้ง ห้ามนำค่า E1/E2 มารวมกันแล้วรายงานเป็นค่า ค่า E1/E2 ของวิชาหรือกลุ่มสาระ 2) นักเรียนที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพแบบใดแบบหนึ่งมาแล้ว จะนำมาใช้ซ้ำอีกไม่ได้ หากปรากฏว่า มีการใช้นักเรียนคนเดิมหรือกลุ่มเดิมหรือว่า ผิด จะต้องทดลองใหม่ 3) ห้ามทดสอบประสิทธิภาพกับนักเรียนที่เรียนเรื่องที่จะทดลองมาแล้ว ข้อควรคำนึงในการทดลอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน 1) การเลือกผู้เรียนเข้าร่วมการทดลอบประสิทธิภาพ ควรเลือกนักเรียนที่เป็นตัวแทนของนักเรียนที่ใช้สื่อหรือชุดการสอน ตามแนวทางการสุ่มตัวอย่างที่ถูกต้อง 2) การเลือกเวลาและสถานที่ทดลอบประสิทธิภาพ ควรหาสถานที่และเวลาที่ปราศจากเสียงรบกวน ไม่ร้อนอบอ้าว และควรทดลอบประสิทธิภาพในเวลาที่นักเรียนไม่หิวกระหาย ไม่รีบร้อนกลับบ้าน หรือไม่ต้องพะวักพะวนไปเข้าเรียนในชั้นอื่น 3) การชี้แจงวัตถุประสงค์และวิธีการ ต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงวัตถุประสงค์ของการทดลอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนและการจัดห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน หากนักเรียนไม่คุ้นเคยกับวิธีการใช้สื่อหรือชุดการสอน 4) การรักษาสถานการณ์ตามความเป็นจริง สำหรับการทดลอบประสิทธิภาพสอนภาคสนามในชั้นเรียนจริง ต้องรักษาสภาพการณ์ให้เหมือนที่เป็นอยู่ในห้องเรียนทั่วไป เช่น ต้องใช้ครูเพียงคนเดียว ห้ามคนอื่นเข้าไปช่วย ผู้สังเกตการณ์ต้องอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปช่วยเหลือเด็ก ต้องปล่อยให้ครูผู้ทดลอบประสิทธิภาพสอนแก้ปัญหาด้วยเอง หากจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือก็ให้ครูผู้สอนเป็นผู้บอกให้เข้า ไปช่วย มิฉะนั้นการทดลอบประสิทธิภาพสอนก็ไม่สะท้อนสถานการณ์จริงที่มีคนสอนเพียงคนเดียว การดำเนินการสอนตามขั้นตอน ดำเนินการสอนตามขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการทดลงแบบเดี่ยว แบบกลุ่ม และภาคสนาม หลังจากชี้แจงให้นักเรียนทราบเกี่ยวกับสื่อ ชุดการสอน และวิธีการสอน แล้ว ครูจะต้องดำเนินการสอนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแต่ละระบบการสอน สำหรับการสอนแบบศูนย์การเรียน ดำเนินตามขั้นตอน 5 ขั้น คือ 1) ทดสอบก่อนเรียน (2) นำเข้าสู่บทเรียน (3) ให้นักเรียนทำกิจกรรม กลุ่ม (4) สรุปบทเรียน (ครูสรุปเองหรือให้นักเรียนช่วยกันสรุปก็ได้ ทั้งนี้ต้องดูตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอน) และ (5) สอบหลังเรียน – สำหรับการสอนแบบอิงประสบการณ์ มี 7 ขั้นตอน คือ (1) ประเมินก่อนผชิญประสบการณ์ (2) ปฐมนิเทศ (3) เผชิญประสบการณ์หลัก ประสบการณ์รอง ตามภารกิจ และงานที่กำหนด (4) รายงานความก้าวหน้าของการเผชิญประสบการณ์หลักและรอง (5) รายงานผลสุดท้าย (6) สรุปการเผชิญประสบการณ์ และ (7) ประเมินหลังเผชิญประสบการณ์ การสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ อาจดำเนินตามขั้นตอน 7 ขั้น คือ(1) สอบก่อนเรียน (2) ศึกษาประมวลการสอน แผนกิจกรรมและเส้นทางการเรียน (Course Syllabus, Course Bulletin and Learning Route) (3) ศึกษาเนื้อหาสาระทีกำหนดให้แบบออนไลน์บนเว้ปหรือออฟไลน์ ในซีดีหรือตำรา คือจากแหล่งความรู้ที่กำหนดให้ (4) ให้นักเรียนทำกิจกรรมเดี่ยว (Individual Assignment) และกิจกลุ่มร่วมมือ (Collaborative Group) (5) ส่งงานที่มอบหมาย (Submission of Assignment) (6) สรุปบทเรียน (ครูสรุปเอง หรือให้นักเรียนช่วยกันสรุปก็ได้ ทั้งนี้ต้องดูตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอน) และ (7) สอบหลังเรียน บทบาทของครูขณะทดลอบประสิทธิภาพ 1) ต้องคอยสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนอย่างใกล้ชิด เพื่อดูว่านักเรียนทำหน้าฉงนเงียบหรือสงสัยประการใด 2) 2) สังเกตและปฏิสัมพันธ์ (Interactive Analysis) ของนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตปฏิบัติสัมพันธ์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นแล้ว เช่น Flanders Interactive Analysis (FIA), Brown Interactive Analysis (BIA), Chaiyong Interactive Analysis (CIA) พยายามรักษาสุขภาพจิต ไม่คาดหวังหรือเครียดกับความเหน็ดเหนื่อยที่ทุ่มเทในการผลิตชุดการสอน หรือเครียดกับการเกรงว่า ผล การทดสอบประสิทธิภาพจะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เกรงว่า จะไม่ได้รับความร่วมมือจากนักเรียน 4) สร้างบรรยากาศอบอุ่นและเป็นกันเอง ครูต้องเป็นกันเองกับนักเรียน เวลาสอบก่อนเรียน ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศที่นักเรียนจะแสดงออกเสรี ไม่ทำหน้าเคร่งขรึมจนนักเรียนกลัว ต้องชี้แจงว่าการสอบครั้งนี้ไม่มีผลต่อการสอบไล่ปกติของนักเรียนแต่ประการใด 6) ปล่อยให้นักเรียนศึกษาและประกอบกิจกรรมจากสื่อหรือชุดการสอนตามธรรมชาติ โดยทำทีว่า ครูไม่ได้สนใจจับผิดนักเรียน ด้วยการทำทีทำงานหรืออ่านหนังสือ 7) หากสังเกตว่านักเรียนคนใดมีปัญหาระหว่างการทดสอบ อย่าให้ความสนใจเป็นพิเศษ แต่ให้บันทึกพฤติกรรมไว้เพื่อจำมาซักถามและพูดคุยกับนักเรียนในภายหลัง บทบาทของครูภาคสนามกับนักเรียนทั้งชั้น 1) ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะ ที่นำเสนอทั้ง 7 ข้อที่กล่าวมาแล้ว 2) ครูต้องพยายามอธิบายประเด็นต่างๆ ที่ต้องการจะบอกนักเรียนอย่างชัดเจน 3) เมื่อบอกให้นักเรียนลงมือประกอบกิจกรรมแล้ว ครูต้องหยุดพูดเสียงดัง หากประสงค์จะประกาศอะไรต้องรอจนเปลี่ยนกลุ่ม หรือไปพูดกับนักเรียนคนนั้นหรือกลุ่มนั้น ด้วยเสียงที่พอได้ยินเฉพาะครู กับนักเรียนครูต้องไม่พูดมากโดยไม่จำเป็น ขณะที่นักเรียนประกอบกิจกรรม ครูจะต้องเดินไปตามกลุ่มต่างๆ เพื่อสังเกตพัฒนาการของนักเรียนดูการทำงานของสมาชิกในกลุ่ม ความเป็นผู้นำผู้ตามและอาจให้ความช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มใดหรือคนใดที่มีปัญหา แต่ไม่ควรไปนั่งเฝ้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะจะทำให้นักเรียนอึดอัด เครียด หรือบางคนอาจแสดงพฤติกรรมเขื่องเพื่ออวดครู เมื่อจะให้นักเรียนเปลี่ยนกลุ่ม ครูควรชี้แจงให้นักเรียนเดินช้าๆ ไม่ต้องรีบเร่ง และให้หัวหน้าเก็บสื่อการสอนใส่ซองไว้ให้เรียบร้อยก่อนเปลี่ยนไปกลุ่มอื่นๆ ห้ามหยิบชินส่วนใดติดมือไป ยกเว้น “แบบฝึกปฏิบัติ” หรือ “กระดาษคำตอบ” ประจำตัวของนักเรียนเอง 6) การเปลี่ยนกลุ่มกระทำได้ 3 วิธี คือ (1) เปลี่ยนพร้อมกันทุกกลุ่มหากทำกิจกรรมเสร็จพร้อมกัน (2) กลุ่มใดเสร็จก่อน ให้ไปทำงานในกลุ่มสำรอง (3) หากมี 2 กลุ่มทำเสร็จพร้อมกันก็ให้เปลี่ยนกันทันที หลังจากการทดสอบประสิทธิภาพสิ้นสุดลง ขอให้แสดงความชื่นชมที่นักเรียนให้ความร่วมมือ และประสบความสำเร็จในการเรียนจาก สื่อหรือชุดการสอน 8) หากทำได้ ให้แจ้งผลการทดสอบหลังเรียนให้นักเรียนทราบเพื่อให้ประสบการณ์ที่เป็นความสำเร็จ ปัญหาจากการทดสอบประสิทธิภาพ การประเมินประสิทธิภาพตามระบบการสอน “แผนจุฬา” ที่ยึดแนวทางประเมินแบบสามมิติ คือ (1) การหาพัฒนาการทางการเรียนคือผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (2) การหาประสิทธิภาพทวิผลคือ กระบวนการควบคู่ผลลัพธ์โดยกำหนดค่าประสิทธิภาพเป็น E1/E2 (Efficiency of Process/Efficiency of Products) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนที่เป็นกระบวนการและผลการเรียนที่เป็นผลลัพธ์ และ (3) การหาความพึงพอใจของผู้เรียน โดยการประเมินคุณภาพของสื่อหรือชุดการสอนที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้สอนและผู้เรียน หลังจากเวลาผ่านไปมากกว่า 30 ปี ได้พบปัญหาที่พอสรุปได้ ประการ นักวิชาการรุ่นหลังนำแนวคิดทดสอบประสิทธิภาพที่พัฒนาโดยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ เมื่อพ.ศ. 2516 และได้เผยแพร่อย่างต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 มาเป็นของตนเอง โดยเขียนเป็นบทความหรือตำราแล้วไม่มีการอ้างอิง มีจำนวนมากกว่าร้อยรายการ ทำให้นิสิตนักศึกษารุ่นหลังไม่ทราบที่มาของการทดสอบประสิทธิภาพ จึงทำให้มีผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทฤษฎี E1/E2 เป็นจำนวนมาก บางสำนักพิมพ์ได้นำความรู้เรื่องการสอนแบบศูนย์การเรียน ของ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ไปพิมพ์เผยแพร่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 และมีรายได้มหาศาล นักวิชาการนำ E1/E2 ไปเป็นของฝรั่ง เช่น ระบุว่า การหาประสิทธิภาพ E1/E2 เกิดจากแนวคิด Mastery Learning ของ Bloom นักวิชาการไม่เข้าใจหลักการของการตั้งเกณฑ์ประสิทธิภาพ เช่น เสนอแนะให้ตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำ (เช่น E1/E2 =70/70) หลังจากตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำแล้ว เมื่อหาค่า E1/E2 ได้ สูงกว่า ก็ประกาศด้วยความภาคภูมิใจว่า สื่อหรือชุดการสอนของตนมีประสิทธิภาพมากกว่าเกณฑ์ ซึ่งที่จริงเป็นเพราะตนเองตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำไปแทนที่จะ ปรับเกณฑ์ให้สูงขึ้นอันเป็นผลจากคุณภาพของสื่อหรือชุดการสอน ไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของ E1 และ E2 ทั้งสองค่าควรได้ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ แปรปรวนหรือแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (แตกต่างกันได้ไม่เกิน ±2.5 ของค่า E1 และ E2 ซึ่งจะมีผลทำให้ค่ากระบวนการ E1ไม่สูงกว่าค่าผลลัพธ์E2 เกินร้อยละ 5 นักวิชาการบางคนเขียนเผยแพร่ในเว้ปว่า ค่า E1 ควรมากกว่า E2 เพราะการทำแบบฝึกหัดหรือกิจกรรมปรกติจะง่ายกว่าการสอบ ถือเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง หากค่า E1 สูง แสดงว่า กิจกรรมที่ให้นักเรียนทำง่ายไป หากค่า E2 สูงก็แสดงว่า ข้อสอบอาจจะง่ายเพราะเป็นการวัดความรู้ความจำมากกว่า ดังนั้น ครูต้องปรับกิจกรรมให้ตรงตามระดับพฤติกรรมที่ตั้งไว้ใน นักวิชาการบางคนบางคนเปลี่ยน E1/E2 เป็น P1/P2 หรืออักษรอื่น แต่สูตรยังคงเดิม บางคนยังคงใช้ E1/E2 แต่เปลี่ยนสูตร เช่น เปลี่ยน X ในสูตรของ E1 เป็น Y ในสูตรE2 แทนที่จะใช้F และอ้างสิทธิว่าตนเองคิดขึ้น บางขึ้นใช้ E1/E2 พัฒนาสูตรขึ้นใหม่ให้แลดูสลับซับซ้อนขึ้น บางคนนำหา E1/E2 ไปคำนวณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทั้งหมดนี้ ก็หาได้พ้นจากการละเมิดลิขสิทธิ์ไปไม่เพราะแนวคิดการประเมินแบบทวิผลคือ E1/E2 เป็นระบบความคิดที่ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ พัฒนาขึ้น นักวิชาการบางคนโยงการหาค่า E1/E2 ว่า นำมาจากค่า Standard 90/90 ในความเป็นจริง มาตรฐาน 90/90 เป็นการหาประสิทธิภาพของบทเรียนแบบโปรแกรม (บทเรียนสำเร็จรูป) ที่มีการพัฒนาบทเรียนแบบเป็นกรอบหรือ Frame แนวคิดคือ 90 ตัวแรก หมายถึง บทเรียน 1 Frame ต้องมีนักเรียนทำให้ถูกต้อง 90 คน ส่วน 90 ตัวหลัง นักเรียน 1 คน จะต้องทำบทเรียนได้ถูกต้อง 90 ข้อ เรียกว่า มาตรฐาน 90/90 ผู้ที่คิดระบบการประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนแบบยึด Standard 90/90 คือ นักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่พัฒนาบทเรียนแบบโปรแกรม ชื่อ รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กุมุท เขียนไว้ในหนังสือของท่าน และอธิบาย 90/90 Standard ว่า “...90 แรกหมายถึง เป็นคะแนนเฉลี่ยของทั้งกลุ่ม ซึ่งหมายถึงนักเรียนทุกคน เมื่อสอนครั้งหลังเสร็จให้คะแนนเสร็จ นำคะแนนมาหาค่าร้อยละเฉลี่ยของกลุ่มจะต้องเป็น 90 หรือสูงกว่า ….90 ตัวที่สองแทนคุณสมบัติที่ว่า ร้อยละของนักเรียนทั้งหมด ได้รับผลสัมฤทธิ์ตามความมุ่งหมายแต่ละข้อ และทุกข้อของบทเรียนโปรแกรมนั้น….” ส่วน E1/E2 เน้นการเปรียบเทียบผลการเรียนจากพฤติกรรมต่อเนื่องคือกระบวนการ กับพฤติกรรมสุดท้ายคือ ผลลัพธ์ ดังนั้น แนวคิดของ E1/E จึงมีจุดเน้นต่างกับกัน 90/90 Standard หรือ มาตรฐาน 90/90 ที่เน้นความสัมพันธ์ของพฤติกรรมสุดท้ายของนักเรียน กับ การบรรลุวัตถุประสงค์แต่ละข้อและทุกข้อของบทเรียน แม้จะใช้ 90/90 80/80 หากไม่เน้นกระบวนการกับผลลัพธ์ ก็จะนำไปแทนค่า E1/E2 ไม่ได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาง วราภรณ์ วุฒิสาร
เขียนเมื่อ
                                        ทำไมต้องสอนสองแบบ          ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียน          ทำไมต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมความมีระเบียบวินัย        สอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา (รูปแบบที่ 1) กับการสอนตามคู่มือครู        เมื่อนักเรียนได้เรียนแล้วจะมีความสามารถเหมือน หรือแตกต่างกัน       เปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและพฤติกรรมด้านความมีระเบียบวินัยของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา (รูปแบบที่ 1) กับการสอนตามคู่มือครู  โดยใช้เนื้อหาที่มีเนื้อความชนิดเรื่องเล่าหรือแบบบรรยายเชิงจินตนาการ         ใช้แบบ ทดสอบวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ  และใช้แบบสังเกตวัดพฤติกรรมด้านความมีระเบียบวินัย         วิเคราะห์ข้อมูลใช้ t-test แบบ Independent  และแบบ Dependen       แน่นอนนักเรียนจะมีความสามารถที่แตกต่างกันทั้งก่อนและหลังการทดลอง


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาง วราภรณ์ วุฒิสาร
เขียนเมื่อ

ชื่อผู้นำเสนอ ชื่อเรื่องที่นำเสนอ ข้อดี ข้อปรับปรุง ข้อเสนอแนะ สรุปผลการประเมิน ระดับ น้อย (1) ปานกลาง (2) มาก (3)

เกณฑ์ 1.ขนาดตัวอักษะเหมาะสม 2.สีตัวอักษร 3.การออกแบบพื้นหลัง 4.ภาพประกอบ 5.เสียงประกอบ 6.เทคนิคการเคลื่อนไหวระหว่างประโยค 7.วิธีการนำเสนอ Powerpoint 8.เทคนิคพิเศษอื่นๆ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท