อนุทินล่าสุด


ฐิติ
เขียนเมื่อ

เรียนรู้จากความเจ็บปวด

หลายเดือนที่ผ่านมา ความเจ็บปวด ทำให้เรารู้ว่าตัวเอง จำเป็นต้องระมัดระวังสุขภาพให้มากขึ้น

และเมื่อเรามีอายุมากขึ้น ร่างกายที่เคยคิดว่ามันพร้อม แข็งแรง ไปได้กับทุกสถานการณ์

คงเป็นเรื่องที่เราต้องกลับมาทบทวนกันใหม่ ว่า เราพร้อมจริงหรือ ร่างกายของเรามันยังทนต่อสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น

หลายคนอาจส่งสัียว่า เราเป็นอะไร หน้าบวม เพราะอ้วน หรือหน้าเอียง หรือพูดน้อย หรือดูว่าทานอะไรไม่อร่อย

จะไม่ให้ทำหน้าอย่างน้นได้อย่างไร  ความเจ็บปวดที่ว่าตั้งแต่ต้น เพราะเราเข้าใจว่า มันคงจะหายไปได้เอง

"ปวดฟัน" ครับ ร้าวระบมไปทั้งกรามล่างซ้ายขวา และกรามบนขวา  คงไม่ต้องเล่ารายละเอียดไปกว่านี้

แต่ที่รู้ว่า ปวดร้าวไปถึงจนก้านสมองเลยที่เดียว  ไปพบหมอ ต้องรักษารากฟัน และจัดการกับฟันที่ร้าว ให้สิ้นซาก

สมองมันทำงานเพียงแค่ว่า ปวดร้าวครับ คิดสร้างสรรค์อะไร ไม่ได้กันเลย รู้อย่างเดียวว่า เจ็บปวด ระบมไปหมด

งานที่เราทำ ต้องใช้ปากและสมองทำมาหากิน มีผลกระทบไปบ้าง แต่ยังดีที่อยู่ในช่วงปิดภาคเรียนแรก  ที่ไม่ต้องลำบาก 

อย่างไรก็ดี พบว่า มันก่อให้เกิดความรำคาญ และทนทุกข์กับมัน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม จนถึงเดือนตุลาคม ยังรักษากันอยู่

แล้วในที่สุด เราก็พบว่าเริ่มเคยชิน อยู่กับความเจ็บปวดนั้นได้ แม้ว่าจะต้องฝืนตัวเองก็ตามที

หากเป็นการเริ่มต้นเรียนรู้ตนเองจากความเจ็บปวด  เริ่มรู้ว่า.......

ข้อดี 

  • เวลาทานอาหารให้รู้ว่า ให้ใช้เวลากับการรับรู้รสอาหาร เคี้ยวช้าให้ละเอียด ใช้เวลาให้นานมากขึ้น เราจะรู้ว่าเวลาที่เรารับประทานอาหารเป็นเวลาส่วนตัวที่ดีที่สุด ที่ไม่ควรเร่งรีบ และระมัดระวังในการรับประทาน พิจารณาว่า เคี้ยวได้หรือไม่ (ทำให้กระเพาะอาหารไม่เดือดร้อน เพราะอาหารบดละเอียดมากกว่าที่เคยทำ)
  • อยากลดความอึดอัดเพราะน้ำหน้กเพิ่มขึ้นตามวัย แต่ทำไม่ได้สักที  พอเรารู้สึกเจ็บปวด จากรากฟัน ทำให้ทานได้น้อยลง และทานเป็นมื้อ ไม่ทานขนม น้ำแข็ง ของขบเคี้ยว (ทำให้รู้สึกว่า ในที่สุดเราก็ทำได้ โดยไม่ต้องตามใจตัวเองจากการกิน)

ข้อเสี

  • ความเจ็บปวดมันทำให้สมองรับรู้ว่า ไม่อยากจะทำอะไร อยากพ้นจากความเจ็บปวด และก็ทำให้การงานเริ่มไม่เป็นไปตามที่กำหนด (ความขี้เกียจเดิมก็พอตัว และยังมาเพิ่มภาระใหม่ว่าปวดฟัน) ผลผลิตที่มีคุณภาพลดลงไปเรื่อย ๆ
  • เิงินออมที่มีสำหรับเรื่องอื่น ๆ เตรียมวันสำหรับการพักผ่่อน จำเป็นต้องนำมาใช้รักษาตัวเองไม่คาดคิดมาก่อน

บทเรียนที่ได้รับจากความเจ็บปวด"ปวดฟัน" คือ อะไร 

  1. หากเรามองว่ามันเป็นอุปสรรคในชีวิต ให้ปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ว่า ทนให้ได้ และปรับเวลาของชีิวิต ให้รู้จักเวลาที่ควรจัดสรรสำหรับการรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิต  โดยเฉพาะทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และไม่มีข้อแม้ว่าเราอาจไม่ชอบ ไม่อร่อย เปลี่ยนมุมคิดว่า พอทานได้ เพื่อมีกำลังทำงาน มันจะได้ไม่เป็นทุกข์  หากคิดว่า เสียดายมาก อยากกินสเต็กเนื้อ ขาหมูกรอบ ฯลฯ ที่อยากทาน แต่ถ้าฝืน มันก็จะทุกข์หนักกว่าเดิม
  2. ความสุขจากความเจ็บปวดเกิดขึ้นได้ การรับรู้ว่า คู่ชีวิตของเราใส่ใจกับเรามากแค่ไหน ในการเตรียมอาหารการกินให้กับครอบครัว เป็นอาหารทีี่เราสามารถทานได้ เคี้ยวได้สบายปาก และรับรู้ว่า เวลาทานอาหารให้นานขึ้น ไม่เคยได้รับรู้รสอาหาร ที่แต่ก่อนเร่งรีบทานให้เสร็จ ๆ (ไม่รู้ว่ารีบทำไมนักหนา) แต่พอเคี้ยวบดอาหารให้นาน รู้ว่าอาหารที่ทานมีรสชาติอย่างไร

หลายครั้ง เราไม่ค่อยใส่ใจกับเวลารับประทานอาหาร เีพียงรู้แต่ว่า ทานเมื่อหิว ทานให้เสร็จ ๆ ไป จนลืมไปว่า กว่าจะมาเป็นอาหารแต่ละอย่างบนโต๊ะให้เราทาน ผ่านกระบวนการเตรียม การปรุง ให้เป็นอาหารที่ทานได้ มันต้องใช้เวลา พอยกมาให้ทาน รีบทานกันเพราะหิวจัด จนอาจจะไม่ได้รับรู้ว่า หน้าตาของอาหารมีส่วนประกอบอะไรบ้าง รสชาติอาหารเป็นอย่างไร แม้ว่าความชอบหรือความเคยชินสำคัญอย่างไรก็ไม่มีผลกระทบ พอทานได้ช้าลง ในการรับประทานอาหารก็จะรู้ว่า มีหลายคนนั่งรับประทานอาหารด้วยความอร่อย ได้พูดคุยกันมากขึ้น ไม่ก้มหน้าก้มตา ทานให้เสร็จกันไป 

เรียนรู้ว่า ดูแลตัวเองให้ได้ จัดการอารมณ์กับความเจ็บปวด มันจะไม่กระทบต่องานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะคนรอบข้าง ไม่ควรจะเป็นทุกข์เพราะตัวเรา ทำอย่างไรที่จะพ้นความเจ็บปวด โดยสร้างสุขให้กับคนรอบข้าง เท่าที่เราทำได้ นั้นแหละมันก็จะลืมความเจ็บปวด ถ้าหนีไม่พ้น คงต้องทนอยู่กับมันให้ได้ แล้วสักวันหนึ่ง มันจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม "ฟ้นที่แข็งแรง สุขภาพดี"  

ความเจ็บปวด ทำให้เรารู้ว่า เราเป็นมนุษย์มีความรู้สึก และในข้อนี้ยืนยันได้ว่า "ปวดใจ" ปวดน้อยกว่าปวดฟัน เพราะแก้ไขเยียวยาได้ด้วยตนเองไม่ต้องไปหาหมอ และจัดการได้ด้วตัวเอง แต่ "ปวดฟัน" ต้องแก้ทั้งพฤติกรรมของเรา และรับการรักษาให้หายจากความเจ็บปวดได้  ใครจะมาทำร้ายจิตใจเราก็ช่างเขาเถิด รู้แต่ว่าอย่าให้มันมารบกวนจิตใจของเรา ให้รับรู้ว่า มีบางคนใส่ใจกับเรา แม้ว่าจะทำให้เราได้รู้สึกว่า คนแบบนี้มีเยอะ แต่คนที่ใส่ใจเราก็มี ที่เห็นอกเห็นใจเรา แม้ว่าไม่ได้แสดงออกเป็นคำพูดหรือกริยาท่าทาง ให้เรารับรู้ถึงความปรารถนาดีเหล่านั้นให้มาก ๆ เราจะเป็นคนแกร่ง ทนกับความเจ็บปวด(แต่ไม่ไร้ความรู้สึก) พร้อมรับในทุกสถานการณ์ี่ในชีวิตทั้งสุขและทุกข์  เป็นความท้าทายอย่างยิ่งในสังคมไทย ;)

 

 



ความเห็น (4)

เขียนเป็น “บันทึก” ได้นะครับ ;)…

เขียนได้ดีมากเลยครับ

เอาไปเขียนเป้นบันทึกแบบอาจารย์ was แนะนำนะครับ

ได้สัจธรรมชีวิตหลายอย่างเลยใช่ไหมครับ เป็นกำลังใจหายเร็วๆ

ขอบคุณทุกความเห็นจะนำไปปรับปรุง น้อมรับคำแนะนำจากทุกท่าน  ด้วยความปรารถนาดี

ฐิติ
เขียนเมื่อ

ได้อ่านจากเฟสบุ๊ค ที่เพือนส่งมาให้กำลังใจ ก็คิดว่า เราก็ต้องการกำลังใจ ในมุมมองของคนที่อยากได้กำลังใจ แล้วเป็นผู้ให้กำลังใจ

เราจะแบ่งปันจากเรื่องราวที่เราได้พบอย่างไร 

“ฉันมองแต่สิ่งที่ฉันมี ไม่มองสิ่งที่ฉันขาด”

"สาวชาวไต้หวันผู้หนึ่ง เป็นโรคสมองพิการ (cerebral palsy) แต่กำเนิดไม่สามารถเคลื่อนไหวตามปรกติ และพูดจาไม่ได้ แต่ด้วยความมุ่งมั่นและศรัทธาเธอสามารถเรียนจบปริญญาเอกจากสหรัฐฯ แล้วแสดงทัศนคติของเธอในที่ต่างๆ เพื่อให้กำลังใจและช่วยเหลือผู้อื่น

ครั้งหนึ่ง เธอรับเชิญไปบรรยายด้วยการเขียน (คนพูดไม่ได้ต้องใช้วิธีเขียน) หลังบรรยายเสร็จ มีนักเรียนคนหนึ่งตั้งคำถามว่า  “ท่านอยู่ในสภาพนี้โดยกำเนิด แล้วท่านไม่รู้สึกน้อยใจรึ? ท่านมองตัวเองอย่างไร?”

คำถามอันละเอียดอ่อนนี้ สร้างความตะลึงแก่ที่ประชุมไม่น้อย ต่างเกรงว่าคำถามนี้จะทิ่มแทงจิตใจของเธอ ปรากฏว่า เธอหันหน้าไปยังแผ่นกระดาน เขียนตัวหนังสืออย่างไม่สะทกสะท้านว่า  “ฉันมองดูตัวเองอย่างไร?”

เธอหันหน้ายิ้มให้ผู้ร่วมประชุม แล้วเขียนข้อความต่อ

1.ฉันน่ารักมาก
2.ขาฉันเรียวยาวสวยดี
3.คุณพ่อคุณแม่รักฉันจัง
4.พระเจ้าประทานรักแก่ฉัน
5.ฉันวาดภาพได้ ฉันแต่งหนังสือได้
6.ฉันมีแมวที่น่ารัก
และ….
ขณะนั้น ที่ประชุมเงียบกริบ ไม่มีเสียงพูดจาใดๆ เธอหันกลับมามองดูทุกคน แล้วเขียนคำสรุปบนแผ่นกระดานว่า
“ฉันมองแต่สิ่งที่ฉันมี ไม่มองสิ่งที่ฉันขาด”
หลังจากนั้นไม่กี่วินาที เสียงปรบมือดังสนั่นในที่ประชุมพร้อมทั้งน้ำตาที่สะเทือนใจจากหลายๆคน ณ วันนั้น ทัศนคติเชิงสุขนิยมและบทพิสูจน์ของเธอเพิ่มกำลังใจแก่ผู้คน มากมาย ผู้เป็นโรคสมองพิการผู้นี้คือ น.ส.หวางเหม่ยเหลียน ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตจาก UCLA ผู้เคยจัดนิทรรศการภาพเขียนส่วนตัวหลายครั้งในไต้หวัน
“ฉันมองแต่สิ่งที่ฉันมี ไม่มองสิ่งที่ฉันขาด” ฉันชอบทัศนคติต่อชีวิตแบบนี้ ซึ่งถูกหลักสุขภาพจิตและสบายใจด้วย
ความสุขไม่ได้อยู่ที่คุณครอบครองสิ่งใดมากแค่ไหน แต่อยู่ที่คุณมีทัศนคติอย่างไรในการมองสิ่งต่างๆ"

ที่มา: www.facebook.com/behealthyonline 
แชร์จาก : คุณประดิษฐ์ศักดิ์ บุญสิทธิ์/รพ.กรุงเทพ

คำถามชวนคิด

แล้วสิ่งทีเ่รามีเหมือนคุณหวางเหม่ยเหลียน คืออะไร และอะไรเป็นความท้าทายของการทำงานในทุกวัน

เราอาจเคยชินในการทำงานที่คิดว่า ฉันเท่านั้นที่ทำได้ ไม่มีใครทำได้เหมือนฉัน หรือดีกว่่่่าฉัน

นั่นคือ สิ่งที่เราปิดกั้นการรับรู้ เรียนรู้จากการทำงาน บางครั้งควรยอมรับด้วยว่า คิดผิด 

จากการความคิด เปลี่ยนคำพูดและแสดงออกซึ่งการกระทำในสิ่งตรงกันข้ามบ้าง

 



ความเห็น (3)

ใช่ค่ะ…คนเราถ้าพอใจในสิ่งที่เรามีอยู่ ก็พอแล้ว ไม่ควรไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่เรายังไม่มี…เพราะจะทำให้เกิดทุกข์ทางใจค่ะ…ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณทั้งสองท่านครับ ที่ได้อ่าน และแบ่งปันต่อครับ  เพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท