อนุทินล่าสุด


ปิยพงษ์ พรมนนท์
เขียนเมื่อ

วันนี้มีการจัดการประชุม เรื่อง "การวิจัยทางการศึกษา พลังการเรียนรู้ก้าวสู่สากล" เนื่องในวันสถาปนาคณะศึกษาสาสตร์ มศว ประสานมิตร ในหัวข้อ Reflecting on Effective Assessment Practices โดย Professor Mark Schofield; Dean of Teaching and Learning Development, Edge Hill University, UK

Assessment for Learning: 10 principles Assessment for learning 1. is part of effective planing 2. focuses on how student learn 3. is central to classroom practice 4. is a key professional skill 5. has an emotional impact 6. affects learner motivation 7. promote commitment to learning goals and assessment criteria 8. helps learner know how to improve 9. encourages self-assessment 10. recognizes all achievements        Thank you for Professor Mark who gives a good information to everyone 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ปิยพงษ์ พรมนนท์
เขียนเมื่อ

ทัศนะคติในเชิงองค์รวมกับกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนไทย 

สังคมในยุคชุมชนมีทัศนะที่ว่า มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและสัมพันธ์อยู่กับธรรมชาติหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้น มนุษย์จำเป็นต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตคู่กับธรรมชาติได้อย่างลงตัว พร้อมทั้งเป็นผู้ดูแลและปกป้อง ตลอดจนการเอื้อเฟื้อแบ่งปันให้กันและกัน เพราะว่า โลกนี้มิใช่สมบัติของใคร แต่หากเป็นสมบัติของส่วนร่วม

สังคมในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรม ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างคนกับธรรมชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการเรียนรู้ในสังคม ดังนั้นระบบการศึกษาจึงเข้ามามีบทบาทต่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็น เด็ก ผู้ใหญ่ หรือ ผู้สูงอายุก็ตาม การจัดการเรียนรู้จึงต้องสอดคล้องกลุ่มเป้าหมายของคนในชุมชน และความต้องการของประเทศชาติอีกด้วย เช่น การจัดการเรียนรู้แก่เยาวชนในเรื่องยาเสพติด หรือ การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุขแก่ผู้สูงอายุ เป็นต้น เพื่อจะศึกษาปัญหาและวิธีป้องกันได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการเรียนรู้ได้จากชุมชน เพราะว่าชุมชนมีความหลากหลายและแตกต่างกัน มีผลทำให้กระบวนการเรียนรู้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคคลมากขึ้น

ปัจจุบันนับว่าโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้การศึกษาจึงต้องปรับเปลี่ยนตามวิถีและการดำรงชีวิตของคนในชุมชน อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนจะต้องเชื่อมโยงกับองค์ความรู้และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอีกด้วย เทคโนโลยีจึงมีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ แต่ในบางครั้งเทคโนโลยีมักจะส่งผลเสียต่อชุมชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะชุมชนชนบท ทำให้สมาชิกในชุมชนห่างเหินจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิม ดังนั้นการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้จำเป็นต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

นอกจากกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัว เพราะจุดเริ่มต้น ของการเรียนรู้อยู่ที่ครอบครัวเป็นหลัก ครอบครัวเป็นสถานที่พื้นฐานในการอบรม ขัดเกลาและถ่ายทอดวัฒนธรรม จริยธรรมของสมาชิกในครอบครัวและสมาชิกใหม่ในสังคม เนื่องจากสมาชิกแต่ละคนต่างมีวิถีชีวิตและความรู้ที่แตกต่างกันออกไป บางคนถนัดเรื่องงานบ้าน อีกบางคนถนัดเรื่องการประกอบอาหาร ทุกคนต่างก็เรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิดกันในครอบครัว ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยก่อน ผู้ชายก็จะถูกสอนการเป็นหัวหน้าครอบครัวตลอดจนเป็นผู้นำของชุมชนจากบิดาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนผู้หญิงก็จะได้วิชาความรู้ในเรื่อง งานบ้าน เย็บปักถักร้อย หุงหาอาหาร จากมารดาแลย่ายาย ทำให้ผู้ชายจึงมีบทบาทมากกว่าผู้หญิง

อีกประการหนึ่ง การเรียนรู้ของคนในชุมชนนั้น ดูได้จากพิธีกรรม และความเชื่อต่างๆ เพราะสังคมในปัจจุบัน ยังมีความเชื่อในเรื่องสิ่งที่มองไม่เห็น สิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ว่าสิ่งไหนดี ดีเพราะอะไร สิ่งไหนไม่ดี ไม่ดีเพราะอะไร เป็นต้น

ในปัจจุบันการเรียนรู้ของคนชุมชนที่ประสบผลสำเร็จและสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิต คือ การเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง หรือที่เรียกกันว่า เศรษฐกิจพอเพียง ที่น้อมนำเอาพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ ทำให้สมาชิกในชุมชนอยู่ได้ด้วยการพึ่งพากันระหว่าคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว การแปรรูปอาหาร ตลอดจน การผลิตข้าวของเครื่องใช้จากวัสดุธรรมชาติ

สรุปว่ากระบวนการเรียนรู้ในชุมชนต้องอาศัยปัจจัยหลายๆด้านมาสนับสนุน เพื่อให้การเรียนรู้นั้นบรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการเรียนรู้ในชุมชน สังคม และครอบครัว



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ปิยพงษ์ พรมนนท์
เขียนเมื่อ

วันนี้กระผม ได้สมัคร gotoknow เป็นครั้งแรก เพื่อได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกับครูผู้รู้ทุกท่าน ต้องขอขอบพระคุณ อาจารย์พิศมัย รัตนโรจน์สกุล ที่จุดประกายและเป็นแรงบัลดาลใจที่สำคัญ ในการเขียน



ความเห็น (2)

เป็นก้าวแรกของการเรียนรู้สิ่งใหม่ในชีวิตการศึกษาอีกหนึ่งอย่าง
ขอแสดงความยินดีกับการสร้างโอกาสความริเริ่ม และสร้างประสบการณ์เครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อสั่งสมความงอกงามเติบโตทางวิชาการและความรู้แก่ตัวเราเอง และด้วยตนเองนะครับ 

ขอบพระคุณมากนะครับ สำหรับคำแนะนำที่ดี และหวังว่าอาจารย์จะเข้ามาติชม งานเขียนของผมบ้างนะครับ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจที่จะเขียนงานต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท