ดอกไม้


ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ความยากในการส่องพระสมเด็จ มีสองขั้นตอน

ขั้นที่ 1. ดูพระเก๊เป็นพระแท้ และ
ขั้นที่ 2. ดูพระแท้เป็นพระเก๊

ขั้นแรกมาจากยังตามฝีมือช่างไม่ทัน เห็นอะไรก็ดูแท้ไปหมด

ขั้นที่สอง เริ่มตามฝีมือช่างทันบ้าง แต่ความเข้าใจเรื่องความหลากหลายของเนื้อพระสมเด็จยังไม่พอ เห็นแปลกๆ ก็ตีเก๊ไว้ก่อน

ดังนั้น จึงต้องมาทำความเข้าใจถึงความหลากหลายของ
...
ก. ระดับปูนดิบ มาก ปานกลาง น้อย
ข. ระดับปูนสุก มาก ปานกลาง น้อย
ค. ระดับตั้งอิ้ว มาก ปานกลาง น้อย

แค่นี้ก็มีตั้ง 3x3x3 =27 แบบ แล้ว

ยังจะมี
ก. เนื้อปากครก ก้นครก เนื้อหยาบ เนื้อละเอียด
ข. การกดพิมพ์ แน่น ไม่แน่น เนื้อหนา เนื้อบาง

หลังจากนั้น ก็จะมีการลงรักแบบต่างๆ หรือไม่ลงรัก
การเก็บไว้ในที่ ร้อน เย็น แห้ง ชื้น
และการใช้งานแบบต่างๆ
การล้าง การดูแล การใส่ตลับ การเลี่ยมกรอบ

สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อผิวและเนื้อพระแท้
ที่ทำให้พระสมเด็จเนื้อผงปูนเปลือกหอยแต่ละองค์แทบจะไม่เหมือนกันเลย

ผมลองนั่งส่องวันนี้ ทึ่งจริงๆ บางองค์ยังอ่านกระบวนการยังไม่ออกเลย

ยังไม่ต้องพูดถึงองค์ที่เรายังไม่เคยเห็น

ดังนั้น แม้จะมีสองร้อยองค์ ก็จะยังหาที่เนื้อเหมือนกันได้ยาก

แล้วเราจะไปเคยเห็นเนื้อพระหมดทุกแบบ จนผ่านขั้นที่สอง ได้อย่างไร

คงจะต้องตีเก๊พระแท้ไปอีกนานพอสมควรทีเดียว

นี่คือปัญหาของผมในวันนี้ครับ

อิอิอิอิอิอิอิ

7
2
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

เมื่อวาน 18 เมย 56 มีนักเรียนรุ่นใหญ่ ที่เป็นนักธุรกิจรุ่นกลางๆ จาก กทม ขับรถเบนซ์มาเรียนวิธีดู พระเนื้อผง เนื้อดิน และเนื้อชิน ที่บ้านผม

ขนพระเก๊มา 2 กระเป๋าใหญ่ ผมใช้เวลาดู ทั้งหมดประมาณ 10 นาที ก็ตีเก๊ได้หมดทุกกล่อง
โดยการดูทีละกล่อง เพราะเก๊ตาเปล่าล้วนๆ รวมแล้วเกือบร้อยกล่อง
ที่น่าจะมีทุนการหยิบมาหลายล้าน มีเลี่ยมทอง ตลับทอง ไม่ต่ำกว่า 20 องค์ เต็มสองกล่อง

ผล...... เก๊ 100%

หลังจากนั้น ผมก็ให้หัดดู "วัสดุการสอน" ของแท้ ทั้งเปลือกหอย ดิน หิน ทราย ฯลฯ

พอทดสอบความรู้แล้ว จึงให้เริ่มดูจากพระแท้ดูง่าย ไปหาพระแท้ดูยาก

พอดูเป็น ก็เริ่มอธิบายหลักการดูพระแท้ ทีละองค์

โดยเน้นหลักการ และพัฒนาการของพระแต่ละเนื้อ

ทำให้เขาเพิ่งเข้าใจวิธีการดูพระแท้
และรู้ว่าตัวเองหลงทางมานาน หมดไปหลายล้าน

พออธิบายจบ ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง

เขาก็พูดออกมาอย่างโล่งใจ ว่า

"ผมรู้สึกว่า "ดูพระแท้ เป็นแล้ว" อย่างน้อยก็อีกระดับหนึ่ง"

เป็นเช่นนี้เอง
555555

11
1
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ในสังคมปัจจุบันมีความสับสนอยู่เรื่องหนึ่ง ทั้งระดับปัจเจก และระดับสังคม

ที่เกิดจากการคิดไม่ชัด เลยทำอะไรได้ไม่ชัด

และบางคนที่ไม่ชัด ก็จะน้อยอกน้อยใจในชีวิตของตัวเอง เช่น บางท่านปฏิเสธสุภาษิตไทย ไม่ยอมรับ "ทำดีได้ดี" ไปเลย

ทั้งๆที่

ความดี และความชั่ว นั้นมีสองระดับ

ระดับสำหรับตัวเราเองนั้น วัดกันที่ "เจตนา" และก็ได้ดี ที่ความสุข ความสบายใจ 

ในระดับสังคมนั้น เขามิได้ตัดสินกันที่ "เจตนา" หรือ กิจกรรมใน "การกระทำ" แต่อย่างใด



เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ทราบ หรือ ไม่สน และบางทีก็ไม่ยินดีรับรู้ "เจตนา" เสียด้วย จะดีจะเลวไม่เกี่ยวทั้งสิ้น


เพราะ ที่สำคัญ............... ตัวชี้วัดที่ใช้กันจริงๆ  สุดท้ายแล้ว ก็อยู่ที่.............

  "ประโยชน์" หรือ "โทษ" ที่เกิดขึ้น กับใครบ้าง กว้างไกลแค่ไหน

นั่นต่างหาก.......ที่เป็นตัวชี้วัดที่สังคมทั่วไปกล่าวถึง ได้ นานนน แสนนานนนนนนน

และยอมรับ นับถือ ยกย่องว่า "เป็นคนดี" และ "ทำความดี" จริงๆ
หรือไม่ก็ ก่นด่า กันทั้งโคตรทั้งตระกูล ว่าเป็น "คนเลว" ไปอีกร้อยปี พันชาติ

ดังนั้น ถ้าทำแล้วไม่เกิดผลลัพธ์ที่ดี แม้จะเจตนาดีแค่ไหน ไม่นาน สังคมก็จะลืมมมมมมมมมมม
แต่ แม้จะเจตนาดีขนาดไหนก็ตาม ถ้าเกิดผลร้ายสักหน่อยละก็ เป็นคนชั่วทันที และลืมยากกกกกกกกกกกกกกกก

ก็..........แค่คิดดังๆ อิอิอิอิอิอิ

6
0
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

หลักที่สำคัญในการดูพระเนื้อโลหะโบราณ ที่มักจะมีโลหะปะปนกันมากมายแบบโละโบราณ

จึงจำง่ายๆ ว่า

"คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย สามคนกลับบ้านได้"

หมายถึง

1. การดูพระเนื้อโลหะโบราณแท้ๆ นั้น สนิมต้องมีอย่างน้อยที่สุด 2 ชนิด มีชนิดเดียว แบบเดียว วางเลย เพราะเก๊แน่นอน
2. แต่ควรจะมี ตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป จึงจะมั่นใจได้
และ ที่สำคัญพอๆกัน ก็คือ
3. สีของสนิมต้องตรงกับชนิดโลหะที่มีอยูในเนื้อพระนั้นๆ เท่านั้น
...
ดังนั้น
ถ้าสนิมมีชนิดเดียว และหรือชนิดสนิมไม่ตรงกับโลหะในเนื้อพระนั้นๆ  แม้แต่ชนิดเดียว ก็ต้องวาง "นำกลับบ้านไม่ได้" ครับ

อิอิอิอิอิอิ


9
2
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ศึกษาธรรมะมาก็นาน หลายสิบปี
เช้านี้ ( 6 สค. 56) ใช้เวลาทบทวนแบบจริงจัง เพิ่งตระหนักรู้ว่า แท้ที่จริง

"การทำสมาธิ" ก็คือ "พื้นฐาน" ขั้นต้น ของการทำให้ตัวเองมี "สติ"

และขั้นที่ดีที่สุด ที่ควรพัฒนา ก็คือ

มีสติอยู่กับทุกเรื่องแบบ "พลวัตร"
หรือมีสมาธิอยู่กับทุกเรื่องของปัจจุบัน "อย่างพร้อมเพรียง"

ก็คือ "การมีสติ" อยู่กับ "ปัจจุบัน" นั่นเอง

งงงงงงงงงงงงงงงงงง มาตั้งนาน


11
0
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

คนชอบมองว่าชีวิตขาดแคลน ปัจจัยโน่น นี่ นั่น สารพัด

ถ้าเรียนรู้แล้ว เขาจะพบว่า

ปัจจัยที่ว่าขาดแคลนนั้นก็มีอยู่แล้ว หรือมีทางเลือก หรือมีโอกาสอื่นๆ อีกมากมาย

ที่คนไม่เรียนรู้ จะมองไม่เห็นโอกาส และทางเลือกให้กับชีวิต

เห็นแต่ปัญหา

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

5
1
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ
ผลการศึกษา "ปัฏฐาน"
หลังจากทุ่มเทเวลาประมาณสองสัปด</wbr>าห์ วันละ 4-5 ชม. ก่อนนอนทุกวัน ศึกษา "พระอภิธรรม"
เน้น "ตัมภีร์มหาปกรณ์" หรือ "ปัฏฐาน"
จนพอเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของก</wbr>ารศึกษา การพัฒาจิตแบบ "กุศลธรรม"
(ประหารกิเลส และสร้างปัญญา)

ทำให้เริ่มมองเห็นแก่นคำสอนของพ</wbr>ระพุทธเจ้า "ฉบับเต็ม" ได้ชัดเจนขึ้นอีกนิดหนึ่ง
พอจะสนทนาธรรมกับทั้งสายปฏิบัติ</wbr>และปริยัติได้พอสมควร
จึงเริ่มแถม เวลากลางวัน เริ่มใช้ระบบโทรศัพท์ "สนทนาธรรม" เรียนปรึกษากับพระสายต่างๆ ที่มีความชัดเจนในหลัก "กุศลธรรม" ที่รู้จักและนับถือ
จึงทำให้พอจะแยกแยะ "ทางหลัก" "ทางเลือก" "ทางลัด" "ของแท้" "ของปลอม"
ของการพัฒนาจิตแบบต่างๆ ในหลัก "พุทธ" ได้ชัดเจนขึ้น
โดยใข้โครงสร้าง "ปัญจทวารวิถี" เป็นหลัก

และเพื่งเข้าใจสิ่งที่น่ากลัวที</wbr>่สุด คือ "ชวนะ" หรือ " ผลของจิต" หรือ "วิบาก"
ทั้งที่เป็น "อกุศล กุศล และ มหากุศล" ที่จะจะติดอยู่กับเราไปอีกหลายภ</wbr>พหลายชาติ จนกว่าจะบรรลุ "นิพพาน" (ที่ต้องบำเพ็ญเพียรมาก และยาวไกล เพราะต้องประหาร "กิเลส" จนหมดสิ้นแล้วเท่านั้น)

จึงทำให้ได้ข้อคิดในการปฏิบัติต</wbr>ัวแบบ "ชาวพุทธ" ที่ถูกต้องมากขึ้น มีสติ "ระลึกรู้" ดีกว่าเดิมอีกนิดหน่อย

จึงขอเชิญท่านที่สนใจ "การพัฒนาจิต" ระดับเริ่มต้นแบบเดียวกันกับผม มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ครับ

ขอให้ "กุศลจิต" จงมีแด่ทุกท่านครับ
5
0
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ
ผมทุ่มเวลาและกำลังสมองศึกษา "พระอภิธรรม" ในตอนเย็นทุกวัน วันละ 2-5 ชม

โดยใช้หลัก "อิทธิบาท 4" แบบ "เต็มอัตรา" แทบไม่ให้เวลากับงานอื่นเลย

แต่....ผ่านไป 2 สัปดาห์กว่าๆ แล้ว.....อิอิอิอิอิอิ
แค่ "องค์ธรรมของปัฏฐาน" ก็ยังจับได</wbr>้ไม่หมดเลยครับ

เพราะมีรายละเอียด ศัพท์ทางธรรมปรมัตถ์ ธรรมบัญญัติ ความคล้ายคลึง และทับซ้อน มีมากมายจริงๆ

พอศึกษาจบแต่ละตอน เก็บความรู้ไปคิดต่อจนหลับ
นอนประมาณ 6 ชม. เพื่อเอาแรง...ไปทำนาต่อ
ตอนเช้าหลังทานอาหาร "ครั้งเดียว" ก็ไปย่อยความรู้ ในระหว่างการทำนาทุกวัน
ตอนเย็นกลับมาประมาณทุ่มกว่าๆ ก็มาศึกษาต่อ

คิดว่า .....กว่าจะอ่านจบในขั้น "ปัฏฐาน" อย่างเร็ว ก็น่าจะปลายปีนี้ละมั้งครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ ..........กำลังสมองมีแค่นี้ครั</wbr>บ 555555555

และ...อิอิอิอิอิ.....วาสนาของผมมีไม่มาก
555555555555555555
 
กว่าจะคิดออกว่า.......เกืดมาทั้งที ต้องศึกษา "ปัฏฐาน"  ไม่งั้นคงเสียชาติเกิดจริงๆ ก็เกือบจะสาย

แม้แต่พระภิกษุ ที่สอนปริยัติ ที่สนิทกันก็ยังแนะนำใ</wbr>ห้ไปศึกษา "วิสุทธิมรรค" มากกว่า
ผมไปศึกษาอยู่พักหนึ่ง แล้ว "ไม่ค่อยถูกจริต" ครับ
แค่ "มิลินทปัญหา" นั้น อ่านจบนานแล้ว สนุกมาก จำง่ายๆ ใช้เวลาไม่ถึงสัปดาห์ ก็เรียบร้อย อยู่ในสมองผมหมดแล้ว 

แต่ชีวิตที่ผ่านมา 40 กว่าปี ที่ศึกษา "ธรรมะ" ...อิอิอิอิอิอิ ผมมัวแต่ไปติดอยู่กับ "ธรรมะ" เปลือกๆ ทางอ้อม และ ทางลัด เสียตั้งนาน

ของดีๆ ทางตรงๆ อย่างนี้ ถ้าไม่ศึกษาก็นับได้ว่า "เสียชาติเกิด" เลยละครับ

ไม่เชื่อลองเลยครับ
555555555555555555555555555555
8
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท