ดอกไม้


นางสาว สมฤดี วงษาแจ่ม
เขียนเมื่อ

ปัญหาของหลักสูตรอาชีวศึกษาที่เคยพบเจอ
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ/หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

  1. ปัญหาการขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ครูบางท่านไม่จบตรงสาขาที่ตนเองสอน เช่นจบการศึกษาสาขาการจัดการ แต่ทำการสอนสาขาการบัญชี จึงทำให้การสอนไม่มีคุณภาพ
  2. ภาระหน้าที่ของครูนอกเหนือจากการสอนมากเกินไปจึงทำให้ไม่มีเวลาในการเตรียมการสอน หรือหาเวลาเสริมความรู้ให้กับผู้เรียน
  3. การจัดรายวิชาของนักศึกษาไม่เป็นระบบที่แม่นยำ ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ทำให้รายวิชาตกหล่น นักศึกษาต้องมาเรียนรายวิชาที่ตกหล่นในช่วงซัมเมอร์
  4. ระบบทวิภาคี นักศึกษาต้องไปศึกษาหาความรู้จากสถานประกอบการที่ได้ทำความร่วมมือกับวิทยาลัย เป็นระยะเวลานาน ทำให้นักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน หากไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ส่วนใหญ่จะย้ายสาขา หรือลาออก รายวิชาที่สถานประกอบการจะต้องเป็นผู้สอนให้กับนักศึกษา บางรายวิชาสถานประกอบการไม่สามารถสอนให้กับนักศึกษาได้ เพราะขาดบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้าน การประเมินผลการเรียนในแต่ละรายวิชาจึงมีปัญหา วิทยาลัยขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการรับนักศึกษาฝึกงาน เช่น การจัดทำเอกสารในการนิเทศนักศึกษา ยังไม่มีความชัดเจน
4
1
Phompassorn Rungrojvarakul
เขียนเมื่อ

การนำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ2556 ไปใช้ในสถานศึกษา

ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้

เนื่องจากสถานศึกษาไม่มีหลักสูตรเป็นของตนเอง แต่ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2556 ในส่วนของแผนกวิชาพาณิชยการสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดยยึดเอาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2556 มาใช้ ซึ่งถือว่าใช้ได้ดี โดยเนื้อหารายวิชาต่างๆที่กำหนดมาให้ เป็นประโยชน์กับนักเรียนโดยตรง ก่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ดี "อาจมีบางวิชาที่ครูผู้สอน ได้สอนในรายวิชาที่ไม่ตรงกับสาขาที่เรียนมา"

ด้านการจัดการเรียนการสอน

  • การจัดการเรียนการสอน ค่อนข้างไม่เป็นไปตามแผนการสอน เพราะครูทุกท่านจะมีภาระหน้าที่อื่นๆในวิทยาลัยที่ต้องรับผิดชอบด้วย
  • บางครั้งอาจมีงานเร่งด่วนที่จะต้องทำ ทำให้แผนการสอนมีความคลาดเคลื่อนไปบ้าง

ด้านสื่อการเรียนการสอน

  • เครื่องมือและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในแผนกวิชามีค่อนข้างน้อยและไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน

การแก้ไข : รายวิชาที่เน้นปฏิบัติ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้คือเครื่องคอมพิวเตอร์ยังขาดแคลน ต้องให้นักเรียนเรียน2คนต่อ1เครื่อง กรณีจำนวนนักเรียนไม่เกิน10คนต่อ1ห้อง หากเกินกว่านั้นใช้วิธีอธิบายผ่านโปรเจ็คเตอร์ แล้วให้นักเรียนปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่อย่างจำกัด

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2556 ถือเป็นหลักสูตรที่ดีเนื้อหาครอบคลุม ซึ่งปัญหาที่เกิดอาจไม่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร แต่อาจจะเกิดปัญหาในส่วนอื่นๆ โดยสถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ รวมถึงขวัญและกำลังใจของนักเรียน ซึ่งเป็นหัวใจของความเป็นครู

2
0
ธีรภัทร์ ศรีส่อง
เขียนเมื่อ

ปัญหาการนำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2556 ไปใช้ในสถานศึกษา

หากพูดถึงทางเลือกด้านการศึกษาของประเทศไทย สามารถแบ่งเป็น ประเภทสายสามัญกับสายอาชีพ ต้องยอมรับว่าปัจจุบันพ่อแม่ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่ก็เทใจหนุนให้ลูกๆ เลือกไปเรียนทางสายสามัญ ด้วยค่านิยมว่า สามารถเลือกเรียนต่อได้มากกว่าและมีปริญญาเป็นใบเบิกทาง ในขณะที่สายอาชีพหรืออาชีวะมีข่าวไม่ค่อยสู้ดีให้เห็นอยู่บ่อยๆ แต่ความจริงแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพียงเด็กนักเรียนส่วนน้อยเท่านั้น ซึ่งปัญหาส่วนมากที่พบในหลักสูตรอาชีวศึกษา มีดังต่อไปนี้

1.การจัดการเทคโนโลยีใหม่ ควรจัดอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ที่ใช้ในการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยี วิธีการใหม่ ๆ ทางด้านวิชาการต่างๆ สร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ

2. การพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน การหาข้อมูลมาปรับปรุงหลักสูตรวิชาชีพสาขาต่าง ๆ เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสม การหาวิธีหรือกระบวนการเรียนสอนแบบใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพ การติดตามผลการใช้หลักสูตรในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพ การวัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ การสร้างข้อสอบมาตรฐานและแบบวัดผลทางวิชาชีพ การติดตามผลการใช้สื่อการเรียนการสอน การวิจัยและพัฒนาตำราเรียนในสาขาวิชาต่างๆ การวิจัยระบบและวิธีการวัดผล

3. งานอาชีวะครบวงจรได้มาตรฐาน การหารูปแบบวิธีการฝึกนักเรียน ให้รู้จักคิดเป็น ทำเป็น และจัดการเป็นได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ การติดตาม และประเมินผลโครงการ กิจกรรมอาชีวศึกษาครบวงจรในสถานศึกษา

4. คุณภาพนักศึกษา การหารูปแบบการฝึกนักเรียนให้ได้คุณภาพการพัฒนารูปแบบการทำงานเป็นทีมให้นักเรียนนักศึกษา การพัฒนาชุมฝึกอบรม และนวัตกรรมการเรียนการสอน ติดตามประเมินผลการเรียนการสอน

5. การพัฒนาครู การหารูปแบบการเพิ่มความรู้และพัฒนาคุณภาพครูด้านต่างๆ วิจัยและพัฒนาตำราหรือเอกสารต่างๆ ติดตามและประเมินผลการสอนของครูอาจารย์ในรายวิชาต่างๆ การหารูปแบบการฝึกอบรมครูประจำการสาขาวิชาต่างๆ


2
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท