มีกิจกรรมทางจิตวิทยาอะไรบ้างที่ทำให้คนรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้


ในฐานะที่อาจารย์ป็อปมีประสบการณ์ทางจิตวิทยา โปรดช่วยแนะนำกิจกรรมกลุ่ม หรือเดี่ยว(รายบุคคล)

  • ให้คนที่เป็นผู้ใหญ่ทำงานแล้ว "รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้"
  • เมื่อผู้เรียนทำกิจกรรมแล้วจะประเมินอย่างไรว่าแต่ละคนรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้จริง

ผมกำลังออกแบบการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและงาน ซึ่งในคำอธิบายรายวิชามีคำว่า ให้นักศึกษารู้จักตนเองอย่างถ่องแท้อยู่ด้วย (ระยะเวลาเรียน ๑๖ สัปดาห์ครับ)

ผมได้ถามคำถามเดียวกันนี้กับคุณเบิร์ด(นักจิตวิทยา)และคุณหมอมาโนช(จิตแพทย์)ด้วยครับ ผมกำลังหา "how-to" เรื่องนี้ครับ กำลังรอคำตอบอยู่

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำล่วงหน้าครับ (แต่หากไม่มีเวลาก็ไม่เป็นไรครับ)



ความเห็น (11)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

ขอบคุณสำหรับคำถามครับอาจารย์สุรเชษฐ

คงต้องให้คำจำกัดความของ "รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้" ว่าครอบคลุมองค์ประกอบใดบ้าง ที่เป็นพื้นฐานทางจิตวิทยาและมีทฤษฎีใดที่รองรับการสร้างโปรแกรมทางกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม

เท่าที่ศึกษามา แม้แต่การจัดกิจกรรมบำบัดแบบเดี่ยวหรือกลุ่มในผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม เรายังไม่สามารถใช้โปรแกรมหรือทฤษฎีอันใดอันหนึ่งแก้ไขได้สมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาต่างๆของการพัฒนาตนเอง ในหัวข้อ self-efficacy, self-determination (competence, autonomouse, relatedness), self-regulation, self-actualization, intrinsic motivation, well-being satisfaction, occupational performance (psychosocial skills)

ดังนั้นผมคิดว่าอาจารย์คงต้องอธิบาย "รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้" ว่าจะเน้นพัฒนาตนเองด้านใด เมื่อทราบปัญหาของการรู้จักตนเองในกลุ่มคนที่ต้องการศึกษาแล้ว การสร้างโปรแกรมเฉพาะกลุ่มก็มีหลายกระบวนการ จนถึงการเลือกตัวดัชนีชี้วัดว่ากลุ่มคนดังกล่าวต้องใช้อะไรวัดจะได้รู้ว่าโปรแกรมที่ให้นั้นมีประสิทธิผลครับ

หากอาจารย์ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติม เชิญอีเมล์ได้ครับ

ผมมีตัวอย่างหนึ่งในการสร้างโปรแกรมเน้นเพิ่ม Self-efficacy ซึ่งเป็นหนึ่งในการรู้จักตนเองในกลุ่มผู้ที่มีปัญหาโรคข้อครับ

คลิกที่ http://www.niams.nih.gov/hi/outreach/hppsummary.htm



ความเห็น (11)

ขอบคุณอาจารย์ป๊อบมากที่ถามปุ๊บตอบปั๊บทั้งทางอีเมล์และ G2K ผมขอแลกเปลี่ยนทาง g2k แล้วกันนะครับ เผื่อมีผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ หรือผู้สนใจเรื่องนี้ได้มีส่วนร่วมใส่ (input) ประสบการณ์ ความรู้ ความคิด ความเห็น ด้วย (ไม่มีก็ไม่เป็นไร เสวนากัน ๒ คน)

จุดมุ่งหมายของกิจกรรมที่ผมต้องการ คือ ให้นักศึกษา "เห็น" ภาพของตัวเองตามความเป็นจริง (ไม่บิดเบี้ยว เมื่อเริ่มต้นจากความเป็นจริงได้ก็สามารถกำหนดแนวทางพัฒนาตนเอง ด้วยตนเองได้ต่อไปถูกต้อง

บันทึก อ.อาลัม วันนี้เรื่อง ภาพนึกอย่าคิดว่าไม่สำคัญ ข้อความในบันทึกของท่านตอนหนึ่งโดนใจผมมาก และใช้ตอบคำถามอาจารย์ป๊อปได้เลยว่าผมต้องการอะไร ขออนุญาต quote ข้อความตอนนั้นมาดังนี้ครับ

"...หาก"ภาพนึก"ต่อตัวเราเองเป็นภาพนึกที่ี่"มองเห็นตัวเอง" อย่างที่มันเป็นอยู่จริง จะดีมากครับ เพราะจะทำให้เราพบและเห็น "จุดเด่น" และ "จุดด้อย" ของตนเอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการ "พัฒนาตนเอง" ครับ   ในทางตรงกันข้าม หากเรามีภาพนึกที่มองเห็นตนเอง บิดเบี้ยวไปจากที่มันเป็นอยู่จริงไม่ว่ามัน (ภาพนึกนั้น)จะโน้มไปในทางบวกหรือลบก็ตาม เราก็จะเสีย โอกาสสำหรับการพัฒนาตนเองไปอย่างน่าเสียดาย..."  

หมายเหตุ - ที่ทำไฮไลท์สีแดงนั้น ผมทำเองครับ 

ข้อความนี้อธิบายสิ่งที่ผมต้องการได้เลย ซึ่งผมได้ถามความเห็นท่านในบันทึกนั้นไป ๒ ข้อ คือ

  1. เราจะรู้ได้ "อย่างไร" (how) ครับว่า ภาพที่เราเห็นตัวเราเอง มั่นใจว่าเป็นภาพตัวเราจริงๆ ในสายตาคนอื่นๆ ด้วยนี้ เป็นภาพเดียวกับที่คนอื่นเห็นเราจริงๆ
  2. ภาพที่คนรอบข้างเห็นเราเหมือนๆ กันหลายคน ที่เราเพิ่งพบ(เมื่อทุกคนบอก)ว่าเป็นคนละภาพกับที่เราเห็นตัวเองมาตลอด (ถึงกับอุทานว่า เอ๊ะ ภาพเราที่คนอื่นเห็นไม่ใช่ที่เราคิดว่าทุกคนเห็นเราหรือนี่) เราจะเชื่อคนรอบข้างหรือเชื่อตัวเองต่อไปดี ภาพไหนจริงกว่ากันครับ

ผมรู้ว่าการตอบคำถาม how-to ยากกว่า what  เคยถามผู้ที่ปฏิบัติธรรมในวัดว่า ในคำสอนของพุทธศาสนามีอะไรที่พูดถึงประเภทคนบ้างหรือไม่ เขาบอกว่าน่าจะเป็น "จริต ๖" เขาเองก็อธิบายไม่ได้ ผมก็ยังไม่ได้ไปค้นคว้าต่อว่าหมายถึงอะไร 

 

จะได้ 

ขอต่ออีกนิดครับ ยังพิมพ์ไม่ทันเสร็จ มันบันทึกเอง (ไม่ทราบว่า อ.จันทวรรณ ตั้งโปรแกรมจับเวลาให้บันทึกเองหรือผมไปกดโดนปุ่มอะไรเข้า)

ที่จะต่อที่คิดไว้แล้วอยากเขียนให้จบมีอีก ๒ จุด ครับคือ

  1. อยากบอกว่ากิจกรรมที่ขอคำแนะนำนี้ เป็นกิจกรรมสำหรับคนปกติในสังคมครับ ไม่ใช่ผู้มีอาการทางกายหรือทางจิต (ไม่มีพยาธิสภาพ)
  2. อยากยกตัวอย่างว่า ผมเพิ่งพบไม่นานมานี้ว่า ตัวเองเป็น คนประเภทจับจด คือ ชอบริเริ่มทำโน่นทำนี่ สนุกกับการได้เริ่ม แต่มักทำไม่เสร็จสักเรื่อง มีอะไรมากระตุ้นก็สนใจไปเรื่อย (ลูกสาวผมเป็นคนหนึ่งที่กระตุ้นให้ผมคิดเรื่องนี้โดยไม่ได้ตั้งใจ ด้วยการบอกผมว่า ป่าป๊าชอบพูดคำว่า "สนใจ") คนรอบข้างในครอบครัวในที่ทำงานก็เห็นด้วยกับผมว่า ที่ผมเข้าใจตัวเองนี้ไม่พลาดแน่ ที่ผ่านมาไม่มีกล้าบอก แต่พอวันหนึ่งเราพูดขึ้นมาเอง ทุกคนช่วยกัน "รุม" เลย ข้อมูลย้อนหลังกี่ปีก็บอกเราหมด เพื่อบอกเราว่า "ภาพนึก" (ใช้คำ อ.อาลัม) ที่ผมเห็นตัวผมเองเป็นภาพเดียวกับที่คนรอบข้างเห็น ผมก็เลยสร้างคำขวัญประจำตัวให้ตัวเอง เขียนติดไว้บนผนังบ้านว่า "จงทำให้เสร็จทีละอย่างด้วยใจจดจ่อ" เป็นคำขวัญประจำตัวที่คิดเอง และต้องพยายามทำเอง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย จนถึงวันนี้ก็ดีขึ้นหน่อย แต่ยังต้องพยายามต่อไป บอกตัวเองว่า "ถ้าเอ็งไม่ทำ เอ็งก็พัฒนาตัวเองไม่ได้"

ผมอยากจัดกิจกรรมให้นักศึกษามาถึงจุดที่แต่ละคนพบภาพจริงของตัวเอง (ซ้อนกับที่คนใกล้ชิดเห็นแล้วเป็นภาพเดียวกัน - เป็นภาพจริง หรือ "ความจริง" ที่ไม่ใช่ "มายาภาพ") ให้เขาสามารถตั้งเป้าหมาย สร้างคำขวัญ สร้างแนวทางในการพัฒนาตัวเองได้จากความจริงเกี่ยวกับตัวเองที่ค้นพบ

วิธีการที่ผมเห็นเลาๆ ก็คือ แต่ละคนทั้งต้องมองตัวเอง และทั้งเพื่อนช่วยกันมอง(peer-to-peer) อย่างจริงใจต่อกันที่สุด โดยผมเกรงว่าเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องอ่อนไหวมากในกิจกรรมกลุ่ม ผมเองก็ไม่มี know-how ในการทำให้คนกล้าเปิดใจพูดถึงตัวเอง พูดถึงคนอื่นต่อหน้าอย่างที่ใจคิดจริงๆ และผมก็ไม่แน่ใจว่าสามารถเป็น "คุณเอื้อ" ที่เก่งในการคุมสถานการณ์ไม่ให้คนหมางใจกัน หรือลุกขึ้นมาวางมวยกันได้หรือไม่

ซึ่งผมคิดว่าต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ของผู้ที่ทำงานด้านจิตวิทยามา ผมคิดถูกหรือเปล่าครับ

ผมได้ลองอธิบาย program ที่อาจารย์สุรเชษฐ์ต้องการไว้ในบล็อกเรื่อง Self-efficacy ครับ น่าจะเป็นประโยชน์ในการปรับใช้ในกิจกรรมนักศึกษาของอาจารย์นะครับ

อาจารย์ลองพิจารณาเนื้อหาจากบันทึกล่าสุดของผมนะครับ
http://gotoknow.org/blog/otpop/91854

ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

สวัสดีค่ะ

ผ่านมาเห็นบันทึกนี้ มีกิจกรรมละครบำบัด หรือ Drama Therapy ที่น่าจะเข้าข่ายสิ่งที่คุณสุรเชษฐกำลังสนใจหาคำตอบค่ะ

The use of dramatic process and theater as a therapuetic intervention began with Psychodrama. The field has expanded to allow many forms of theatrical interventions as therapy including role-play, theater games, group-dynamic games, mime, puppetry, and other improvisational techniques. Often, drama therapy is utilized to help a client:

  • Solve a problem
  • Achieve a catharsis
  • Delve into truths about self
  • Understand the meaning of personally resonate images
  • Explore and transcend unhealthy patterns of interaction

Drama therapy is extremely varied in its use, based on the practitioner, the setting and the client. From fully-fledged performances to empty chair role-play, the sessions may involve many variables including the use of a troupe of actors.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่นะคะ http://www.artsintherapy.com/whatis.asp?id=228

เพราะมีอีเมลผู้เชี่ยวชาญมากมาย หากสนใจหาคำตอบต่อไปค่ะ

น่าสนใจครับ

ขอบคุณมากครับคุณ pinkyannie

P
pinkyannie เมื่อ ส. 28 เม.ย. 2550 @ 03:26 (240891)

ขอบคุณมากครับ เคยได้ยิน music therapy เพิ่มทราบว่ามี drama therapy ด้วย จะคลิกเข้าไปดูครับ

ผมกำลังจะใช้ Drama therapy กับคนไข้วัยรุ่นซึมเศร้าในศุกร์นี้ครับ

ขอบคุณ อ.สุรเชษฐ์ และคุณ pinkyannie ครับ

น่าสนใจมากค่ะ อาจารย์Popกรุณากลับมาเขียนเล่าผลที่ได้นะคะ จะติดตามอ่านค่ะ

พอดีสนใจเรื่อง drama therapy ค่ะ เลยลองหาข้อมูล แล้วก็ได้มาพบกับอาจารย์พอดี เลยมีข้อคำถามอยากให้อาจารย์แนะนำค่ะว่า ในระดับปริญญาเอกในสาขานี้มีที่ใดเปิดสอนไม๊ค่ะ แล้วถ้าหากดิฉันจบตรีจิตวิทยา และโทจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ แต่สนใจด้านนี้จะผ่านเกินการคัดเลือกไม๊ แต่มีportเกี่ยวกับการแสดงละครเวทีค่อนข้างเยอะพอสมควรค่ะ และอยากเป็นอาจารย์ด้านจิตวิทยานี้มาก ถ้าหากอาจารย์จะกรุณา ช่วยตอบด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ

ปล. จะติดตามอ่านข้อมูลดีๆของอาจารย์ต่อไปค่ะ

ขอบคุณครับคุณรดา

เสียดายที่ภาควิชาของผมกำลังรับสมัครอาจารย์ใหม่ จบโทสาขาใดก็ได้ แต่ต้องจบตรีกิจกรรมบำบัด เพราะเป็นอาจารย์ที่ต้องสอนและทำวิจัยทางกิจกรรมบำบัด ม. มหิดล

เท่าที่ทราบ drama therapy เป็นเทคนิคหนึ่งที่นำมาใช้รักษาผู้ป่วยทางคลินิก แต่ไม่ค่อยมีงานวิจัยมากนักในระดับ ป. เอก

ผมแนะนำให้คุณรดาลองศึกษาข้อมูลเรียน ป. เอก ทางจิตวิทยา หรือ สาขาอื่นๆ ที่เป็นการประยุกต์จิตวิทยา หรือ จิตสังคมขององค์กร จากนั้นลองนำเทคนิคนี้ไปทำวิจัยต่อ หากมีโอกาสให้ผมช่วยแนะนำด้านงานวิจัย ผมยินดีครับ [email protected]

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท