ภาพนึกอย่าคิดว่าไม่สำคัญ


หาก"ภาพนึก"ต่อตัวเราเองเป็นภาพนึกที่ี่"มองเห็นตัวเอง" อย่างที่มัน เป็นอยู่จริง จะดีมากครับ เพราะจะทำให้เราพบและเห็น "จุดเด่น" และ "จุดด้อย" ของตนเอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการ "พัฒนาตนเอง" ครับ

เราทุกคนต่างมี "ภาพนึก" ของตนเองทั้งสิ้นครับ แตกต่างกันไป ใน แต่ ละคน  ขึ้นอยู่กับพื้นฐานการเลี้ยงดู    การศึกษา ประสบการณ์ และวิธีคิด

หาก"ภาพนึก"ต่อตัวเราเองเป็นภาพนึกที่ี่"มองเห็นตัวเอง" อย่างที่มัน เป็นอยู่จริง จะดีมากครับ เพราะจะทำให้เราพบและเห็น "จุดเด่น" และ "จุดด้อย" ของตนเอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการ "พัฒนาตนเอง" ครับ   ในทางตรงกันข้าม หากเรามีภาพนึกที่มองเห็นตนเอง บิดเบี้ยวไปจาก    ที่มันเป็นอยู่จริงไม่ว่ามัน (ภาพนึกนั้น)จะโน้มไปในทางบวกหรือลบ ก็ตาม เราก็จะเสีย โอกาสสำหรับการพัฒนาตนเองไปอย่างน่าเสียดาย ครับ

ภาพนึกของคนเราจะมีอิทธิพลครอบงำความคิดของเราเอาไว้ และ เก็บกักตัวเราอยู่ในโลกที่ทั้งแคบและล้าหลัง เราจะพบว่าคนที่มีภาพนึก  โน้มไปทางลบจะเป็นคนที่ยอมสยบต่อชะตากรรมที่เกิดขึ้น เขาและเธอ  จะมองไม่เห็นแสงสว่างของโอกาส และความพยายามสำหรับสิ่งที่ดี กว่าของตน ในขณะที่คนที่มีภาพนึกโน้มไปในทางบวก เขาและเธอ จะเป็นคน ที่คิด ว่าตนเองดีแล้ว เพียบพร้อมแล้ว ซึ่งทั้งสองภาพนึก นี้ จะส่งผลให้คนที่มี  ภาพนึกดังกล่าว "หยุดตัวเอง" จากการพัฒนา และ ปิดตัวเองจากการรับแสงสว่างแห่งความรู้ ความคิด และความ ก้าว หน้า ต่างๆ

ภาพนึกที่บิดเบี้ยวนี้หากเกิดขึ้นกับสมาชิกในองค์กรใดองค์กรหนึ่งก็จะก่อ  ให้เกิดปัญหาในการดำเนินงานครับ เพราะบุคลากรจะขาดความรู้ ทักษะ และแนวคิดที่เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา หากจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็คือ 

      อุปมาดังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ซื้อมาหลายสิบปีเป็นอย่างไร ก็ยัง เป็น อยู่อย่างนั้น  ไม่มีการอัพเกรด ไม่มีการอัพเดท หรือไม่มีการ อิน สตอลโปรแกรมใหม่ๆมาใช้  ฯลฯ

     แล้วภาพนึกของคุณเป็นอย่างไรครับ?

      

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 91629เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2007 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอถามนะครับอาจารย์

  1. เราจะรู้ได้ "อย่างไร" (how) ครับว่า ภาพที่เราเห็นตัวเราเอง มั่นใจว่าเป็นภาพตัวเราจริงๆ ในสายตาคนอื่นๆ ด้วยนี้ เป็นภาพเดียวกับที่คนอื่นเห็นเราจริงๆ
  2. ภาพที่คนรอบข้างเห็นเราเหมือนๆ กันหลายคน ที่เราเพิ่งพบ(เมื่อทุกคนบอก)ว่าเป็นคนละภาพกับที่เราเห็นตัวเองมาตลอด (ถึงกับอุทานว่า เอ๊ะ ภาพเราที่คนอื่นเห็นไม่ใช่ที่เราคิดว่าทุกคนเห็นเราหรือนี่) เราจะเชื่อคนรอบข้างหรือเชื่อตัวเองต่อไปดี ภาพไหนจริงกว่ากันครับ

เรียน อ.อาลัม ผมอ้างคำพูดอาจารย์ใน http://gotoknow.org/ask/supalakpop/5355

โปรดคลิกเข้าไปดู เผื่ออาจารย์จะมีความเห็นอะไรบ้าง

  • เรียนอาจารย์
    P
  • ผมดีใจที่อาจารย์สนใจและอ่านบล็อกที่ผมเขียนครับ
  • นักกีฬาที่มี"ภาพนึก" ว่าตนเองยังมีฝีมือด้อยอยู่ จะขยันฝึกซ้อม นักศึกษาที่มี"ภาพนึก"ว่าตนเองยังรู้ไม่มากพอก็จะขยันเรียน ขยันอ่าน เช่นเดียวกันกับครู อาจารย์ที่มี"ภาพนึก"ว่า การจัดการเรียนการสอนของตนยังไม่ค่อยดีก็จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ขยันอ่าน ขยันศึกษา เข้าอบรม สัมมนา และนำความรู้มาพัฒนางานในความรับผิดชอบของตนครับ และภาพนึกนี้จะแปรเป็น"พฤติกรรม" ครับ และคนอื่นๆจะมองเห็นได้ เพียงแต่ว่าเขาหรือเธอจะพูดออกมาหรือไม่? หรืออาจจะพูดนินทาลับหลังก็อาจจะเป็นไปได้ครับ
  • แต่หากมีใครมาให้คำแนะนำ ให้ข้อตักเตือน ผมถือว่า คนนั้นน่ารักมากครับ เวลาเราเดินทางยังต้องมีป้ายจารจรตลอดรายทางเลย นับประสาอะไรกับชีวิตของเราก็ต้องมี "คำแนะนำ" ครับ ในอัลกุรอานเรียกสิ่งนี้ว่า "อัลฮูดา" หมายความว่า "คำแนะนำ หรือทางนำ"ครับ และอัลกุรอานเป็นทางนำในการดำเนินชีวิตครับ
  • และท่านศาสดากล่าวว่า "ศาสนาคือการตักเตือน" ครับ
  • การตักเตือนซึ่งกันและกันด้วยความบริสุทธิ์ใจและหวังดีคือกระจกที่ฉายให้เราได้เห็น "ตัวเรา"ครับ และบางครั้งก็อาจจะไม่ตรงกับ "ภาพนึกในใจเรา" 
  • มาถึงตรงนี้ก็จะเกิดภาพ ๒ ภาพที่แตกต่างกันครับ หากเปิดใจให้กว้างและรับเอาคำแนะนำหรือคำตักเตือนมาพิจารณาทีละข้อทีละเปลาะก็จะเกิดประโยชน์ครับ
  • แต่ถ้าเรามั่นใจว่าภาพนึกของเราถูกต้อง สำหรับนักกีฬาก็ต้องลงสนามครับ สำหรับนักศึกษาก็ต้องเข้าสอบ และสำหรับอาจารย์ก็ดูผลงานที่ตัวเด็กว่าหลังจากสอนไปแล้วผลเป็นอย่างไร
  • ผลที่เกิดขึ้นจะสะท้อน "ภาพนึกของเรา" ครับ
  • อย่างไรก็ตามทั้ง"ภาพนึก" ของเราเองและ "การมอง"ของผู้อื่นต่างก็มี"ความแปรปรวน" อยู่ในตัวครับ หากมี "ความรัก" ที่มากเกินไป หรือ "มีอคติ"ก็อาจจะมองภาพหรือมีภาพนึกที่เบลอไปจากความเป็นจริงครับ
  • หากรักมากก็ลดลงหน่อย หากเกลียดมากก็ลดลงสักนิดครับ ทางสายกลางดีที่สุดครับ

ท่านเริ่มเขียนออกแนวจิตวิทยาเหมือนกันนะเนี้ยะ

อ่านแล้วคำว่า"ภาพนึก"คล้ายกับศัพท์ทางจิตวิทยาคำว่า "Self-Perception"หรือ "การรับรู้ตนเอง"

การรับรู้ตนเองของคนเราอาจแบ่งได้เป็น ๓ ลักษณะ

๑.การรับรู้ตรงตามความเป็นจริง

๒.การรับรู้ต่ำกว่าความเป็นจริง

๓.การรับรู้สูงกว่าความเป็นจริง

การรับรู้ทั้ง๓ข้อนี้ทำให้พฤติกรรมของคนทั้ง๓ประเภทแตกต่างกันไปด้วยครับ 

  • เรียนอาจารย์
    P
  • ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยขยายความต่อซิครับที่ว่า "การรับรู้ทั้ง๓ข้อดังกล่าวทำให้พฤติกรรมของคนทั้ง๓ประเภทแตกต่างกันไปด้วย" นั้นเป็นอย่างไรครับ?
  • ผมคิดว่าหลายๆท่านในgotoknow ก็สนใจเรื่องนี้ครับ โดยเฉพาะการนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองครับ
  • ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
  • Jutaan trima kasih (ล้านคำขอบคุณครับ)
  • ขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่านครับ
  • ได้คำตอบของคำถามทั้ง ๒ ข้อแล้วครับว่า "ดูที่ผล" ผลของมันเป็น "กระจก" ให้เราส่องดูตัวเองได้ชัดเจนที่สุด สำคัญคือต้อง "เปิดใจ" ก่อน
  • อ.อาลัม จบแบบพุทธเลยนะครับ "ทางสายกลาง" (มัชฉิมา ปฏิปทา)
  • เรียน
    P
  • ในอิสลามเรียกทางสายกลางว่า "วะสะตัน"และอัลกุรอานเรียกประชาชาติอิสลามว่าเป็นประชาชาติสายกลางครับ (อุมมะตันวะสะตัน" หรืออาจารย์ลองเปิดอ่านที่นี่ครับ
  • ขอบคุณอาจารย์มากครับ
รายละเอียดมีมากพอสมควรครับ คงต้องใช้เวลานิดนึง เดี๋ยวกลับจากการนำนักศึกษาไปสัมมนาแถบอันดามันแล้วค่อยมาว่ากันในรายละเอียดครับ อินชาอัลลอฮฺ
  • ครับๆ ขอให้อาจารย์
    P
    เที่ยวให้สนุกนะครับ และขออัลลอฮฺทรงปกป้องคุ้มครองอาจารย์และคณะทุกท่านครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท