อย่างไรจึงเรียกว่า"หนังสือดี"


หนังสือมีอยู่มากมายแต่หนังสือดีเป็นอย่างไรมีผู้ทรงคุณวุฒิบอกไว้เมื่อมีการคัดเลือก500เล่มหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน
ที่มา : 500 เล่มหนังสือดี สำหรับเด็กและเยาวชน (รวมรายชื่อและบรรณนิทัศน์) จัดทำโดยโครงการคัดสรรหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน สมาพันธ์องค์กรเพื่อพัฒนาหนังสือและการอ่าน . สำนักพิมพ์บ้านบนต้นไม้ บริษัทแปลนบุ๊คเน็ต จำกัด, ตุลาคม 2542
               
          สมาพันธ์องค์กรเพื่อพัฒนาการหนังสือและการอ่านซึ่งประกอบด้วย สมาคม ชนรม มูลนิธิ และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหนังสือ และส่งเสริมการอ่าน ได้ทำจัดทำโครงการ   คัดสรรหนังสือดี สำหรับเด็กและเยาวชน และคัดเลือก 500 หนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน เสร็จสิ้นแล้ว ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2542 นั้น
ในการนี้คณะกรรมการประกอบด้วย
1.       ดร.วรนาท  รักสกุลไทย  สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย
2.       ผศ.ขวัญฟ้า  รังสิยานนท์     สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
3.       ดร.ผดุง  พรมมูล           สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
4.       ดร.นันทริกา  ชันซื่อ     คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.       อาจารย์อภิญญา  เวชยชัย  คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6.       อาจารย์สุธาทิพ  ธัชยพงษ์      มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม
7.       อาจารย์ดารัด  มุกดาอุดม    หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน 
โดยให้หลักเกณฑ์พิจารณาคิดสรรหนังสือดีประเภทหนังสือภาพ หนังสือนิทาน และอื่นๆ ที่เสนอด้วย การ์ตูน เทคนิคพิเศษ และอื่นๆ สำหรับเด็กอายุ 0-8 ปี ที่แบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ ประกอบด้วย           
  0 3 ปี   หนังสือที่พ่อแม่อ่านให้ฟัง
  3 5 ปี หนังสือที่พ่อแม่และลูกอ่านด้วยกัน
  5 8 ปี หนังสือส่งเสริมการอ่าน
ดังนี้
1.       คุณค่าด้านเนื้อหา (เน้นความเหมาะสม / สอดคล้องกับวัยของเด็ก)
1.1    สนุก น่าอ่าน ชวนติดตาม
1.2    เรื่องราวเหมาะสมกับความรู้สึกของเด็ก / สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและการเรียนรู้ของเด็ก
1.3    ส่งเสริม / กระตุ้นจินตนาการ
1.4    ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในด้านองค์รวม (ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา) และเหมาะกับวัย
1.5    ส่งเสริมคุณค่าทางจิตใจ / อารมณ์
1.6    ส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กไทย
1.7    เด็กได้ความรู้และความเข้าใจจากเรื่องนั้นในระดับที่เหมาะสม
1.8    เนื้อหามีความหลากหลายสอดคล้องกับยุคสมัย
1.9    เนื้อหามีความถูกต้อง ชัดเจน
2.       คุณค่าด้านภาษา (พิจารณาร่วมกับความเหมาะสมกับวัยของเด็ก)
2.1    ภาษาอ่านง่าย เข้าใจง่าย เป็นภาษาที่เหมาะสมกับการสื่อสารกับเด็ก
2.2    ภาษามีความสละสลวย อ่านหรือฟังแล้วรื่นหูไม่สะดุดติดขัด
2.3    มีคำคล้องจอง คำซ้ำ ชวนให้เด็กติดตาม
2.4    จังหวะ วรรคตอนของภาษา สั้นกระชับ ถูกต้อง เข้าใจง่าย
2.5    ภาษาและภาพนำเสนอได้สอดคล้องเข้ากันได้ดี
2.6    ภาษาสร้างแรงจูงใจให้เด็กสนใจติดตามเรื่องลำดับถัดไป
2.7    ลักษณะและขนาดของตัวอักษรมีขนาดที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก อ่านแล้วสบายตา
3.       คุณค่าด้านแนวการเขียนและวรรณศิลป์อื่นๆ
3.1    แนวการเขียน วิธีการนำเสนอน่าสนใจ ชวนติดตาม
3.2    การเขียนมีลีลาสนุก เร้าให้อยากอ่าน มีลูกเล่นในภาษา แนวการเขียนที่เด็กพอใจ
3.3    แฝงอารมณ์ขัน สร้างความตื่นเต้นให้ความประทับใจ
3.4    มีความแปลกใหม่ในการนำเสนอ เช่น การยกตัวอย่าง แนวการเขียนไม่นิ่ง หรือไม่ซ้ำซากเกินไป
3.5    มีความคิดสร้างสรรค์
3.6    แนวการเขียนชวนให้เด็กรู้จักตั้งคำถาม หรือสนใจคิดค้นต่อเนื่อง
4.       คุณค่าด้านภาพและรูปเล่ม
4.1    ออกแบบจัดวางส่วนประกอบต่างๆ ลงในหน้าหนังสือได้ดี ช่วงเสริมจินตนาการของเด็ก
4.2    ภาพมีขนาดใหญ่ สวยงาม ดึงดูดใจให้อยากดู
4.3    สัดส่วนภาพมากกกว่าครึ่งของรูปเล่มหรือเนื้อเรื่อง
4.4    คำอธิบายมีน้อย หรืออาจไม่มีเลย แต่สื่อความได้เหมาะสม
5.       เกณฑ์ทั่วไป
5.1    ภาพวาดสวยงาม ลายเส้นไม่ซับซ้อนจนยากแก่ความเข้าใจ
5.2    ภาพสวยงามเหมาะสมกับวัยของเด็ก
5.3    การให้สี มีความงามสอดคล้องกับเด็ก นำไปสู่การเสริมจินตนาการของเด็ก
5.4    รูปเล่ม มีความคงทน การเข้าเล่มแข็งแรง
5.5    ขนาดมีความเหมาะสมกับการใช้งาน
5.6    มีความปลอดภัย เช่น กระดาษไม่บางหรือคมจนอาจบาดมือเด็ก
5.7    มีเทคนิคพิเศษ ชวนให้เด็กรักการอ่านมากขึ้น
5.8    การพิมพ์ชัดเจน กระจ่างตา อ่านง่าย
5.9    การเข้าเล่ม เมื่อกางหนังสือออกแล้ว อ่านง่าย ไม่ติดขัด
5.10ราคาเหมาะสมกับรูปเล่ม เนื้อหา
        สำหรับเด็กในระดับอายุ 9 15 ปี นั้นได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มอายุ 9 12 ปี และกลุ่มอายุ 13 -15 ปี คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย
         1.  อาจารย์พจมาน พงษ์ไพบูลย์    สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
         2.  อาจารย์สมทรง  แสงแก้ว    หอสมุดแห่งชาติ
         3.  ผศ.นพ.พนม   เกตุมาน    คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
         4.  อาจารย์สุกัญญา ศรีสืบสาย    หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
         5.  ดร.จุไรพร คล้ายจำแลง    มูลนิธิยุวพัฒน์
         6.  อาจารย์ประไพ  พักตรเกษม    ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ
             
ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือประเภทบันเทิงคดี กวีนิพนธ์ และสารคดี ทั้งนี้ยกเว้นหนังสือที่ไม่นำมาพิจารณา เนื่องจากเป็นหนังสือที่ดี ควรอ่านอยู่แล้วดังนี้
·       นิยาย
·       วรรณคดี
·       หนังสือพระราชนิพนธ์ในพระบรมวงศานุวงศ์
·       หนังสืออ้างอิง เช่นสารานุกรม พจนานุกรม อักขรานุกรม คู่มือ แบบเรียน ฯลฯ
ทั้งนี้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกว่าเป็นหนังสือดีไว้ดังนี้
             1.  บันเทิงคดี    เนื้อเรื่องเชิงสร้างสรรค์เหมาะสมกับวัย มีแนวความคิดที่ดี มีสารประโยชน์ และมีการใช้ภาษาและวรรณศิลป์สอดคล้องกับเรื่องที่นำเสนอ
             2.  กวีนิพนธ์    พิจารณาที่เนื้อหา สุนทรียภาพ ฉันทลักษณ์ และมีแนวคิด
             3.  สารคดี    เนื้อเรื่องดี มีสาระ สมเหตุสมผล ถูกต้อง ให้แนวคิด และมีท่วงทำนองการประพันธ์ที่ดี
( ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดตามที่ได้อ้างอิงไว้ในที่มา)    
หมายเลขบันทึก: 99716เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2007 18:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณที่ให้ความรู้เกี่วกับห้องสมุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท