วิธีลดอายุ(กล้าม)เนื้อ


คนเราอาจจะเสริม เติม หรือแต่งรูปกายภายนอกให้ดูเต่ง ตึง หนุ่ม หรือสาวกว่าวัยได้

Hiker

คนเราอาจจะเสริม เติม หรือแต่งรูปกายภายนอกให้ดูเต่ง ตึง หนุ่ม หรือสาวกว่าวัยได้

ทว่า... เวลาจะเดินจะเหินแล้ว บางทีสังขารกลับยอบแยบไป ทำให้คนรอบข้างจับอายุได้ วันนี้มีข่าวดีเกี่ยวกับวิธีทำ(กล้าม)เนื้อให้กลับเป็นหนุ่มเป็นสาวมาฝากครับ...

เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อคนเราอายุมากขึ้น... กล้ามเนื้อจะอ่อนกำลังลงจากว่องไว กลายเป็นยอบแยบมากขึ้นเรื่อยๆ

ปัญหาของเรื่องนี้อยู่ที่ไมโทคอนเดรีย ซึ่งเป็นโรงงานสร้างพลังงาน (powerhouse) ภายในเซลล์ ซึ่งจะลดลงทั้งจำนวน และประสิทธิภาพ...

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์ไซมอน เมโลฟ แห่งสถาบันบัคเพื่อการวิจัยความเสื่อมจากอายุ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ทำการศึกษาในคนที่มีสุขภาพดี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มอายุน้อย (20-35 ปี) 26 คน และกลุ่มอายุมาก (มากกว่า 65 ปี) 25 คน

อาจารย์เมโลฟแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 พวก พวกหนึ่งให้ออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก ฯลฯ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง อีกพวกหนึ่งไม่ให้ออกกำลังต้านแรง

เมื่อติดตามไป 6 เดือนพบว่า กลุ่มคนสูงอายุที่ออกกำลังต้านแรงมีสมรรถภาพกล้ามเนื้อดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเกือบเท่ากลุ่มคนอายุน้อยที่ออกกำลังต้านแรง

อาจารย์เมโลฟแนะนำว่า พวกเราที่ต้องการมีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพควรจะออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก ฯลฯ เป็นประจำ เพื่อทำให้กล้ามเนื้อมีสมรรถภาพดีขึ้น

การออกกำลังต้านแรงมีหลายวิธี... แน่นอนว่า การยกน้ำหนักหรือเข้าโรงยิมคงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ทว่า... วิธีที่ดีรองลงไปก็มี เช่น การเดินขึ้นลงบันได ออกกำลังด้วยเครื่องดึงสปริงหรือยางยืด การนำขวดน้ำดื่มมาเติมน้ำยกขึ้นยกลงหลายๆ ท่า ฯลฯ

อาจารย์เมโลฟกล่าวว่า ควรมีการศึกษาว่า การออกกำลังแบบแอโรบิค เช่น เดินเร็ว ฯลฯ มีผลต่อกล้ามเนื้อแบบนี้หรือไม่ต่อไป

ระหว่างที่รอผลการศึกษาเพิ่มเติม... เรียนเชิญพวกเรามาออกกำลังไปพลางก่อนครับ

    แนะนำให้อ่าน...                                

    แหล่งที่มา:                                      

  • ขอขอบพระคุณ (thank Reuters) > Amy Norton. Strength training may reverse aging > [ Click - Click ] > http://today.reuters.com/news/articlenews.aspx?type=healthNews&storyID=2007-05-23T162427Z_01_COL358449_RTRUKOC_0_US-STRENGTH-TRAINING.xml&pageNumber=0&imageid=&cap=&sz=13&WTModLoc=NewsArt-C1-ArticlePage2 > May 23, 2007. // source: online journal PLoS one, online May 23, 2007.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 23 พฤษภาคม 2550.
หมายเลขบันทึก: 98226เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2007 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะอาจารย์

ตอนนี้ ใช้การเดินไปก่อนค่ะ 1 ช. ม. และอากาศดีๆ ไม่เครียดค่ะ มีความสดชื่นจากการใกล้ชิดหลานด้วยค่ะ ทำตัวเป็นเด็กไปด้วย ดีจริงๆค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์ sasinanda...

  • เดินได้มากถึงวันละ 1 ชั่วโมงนี่... วัยรุ่น + วัยทำงานยอมแพ้เลยครับ
  • เพราะทำได้ยาก + น่าจะได้ผลดีมาก
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท