“หยุด” เพื่อประมวลผล “ข้อดี” ของการพูดหรือการนำเสนอของคุณ


"ในช่วงเวลาที่คุณพูดในเรื่องที่คนอื่นต้องคิดตาม ปล่อยช่วงเวลานี้เพื่อเป็นการรวบรวมความคิดจากการพูดของคุณ..."

ปล. บันทึกนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว  อาจจะตรงกับความคิดเห็น  หรือไม่ตรงกับความคิดเห็นของใคร...  ซึ่งมิได้จงใจให้เกิดผลเสียหายใด ๆ  ทั้งสิ้น... 

หลายคน...  คงผ่านการพูดหรือการนำเสนอผลงาน  หรือนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ  มาบ้างแล้ว...  เวลาที่ที่คุณพูด  คุณเคยสังเกตรอบตัวคุณบ้างไหมว่า  ผู้ฟังของคุณมีอากัปกิริยาอย่างไรบ้าง  ฟังคุณ  กำลังคิด  คิดไม่ทัน  หรือเลิกฟัง....  หลายคนคงลืมตัวไปบ้างว่า  ในบางครั้งสิ่งที่เราพูดออกไปนั้น  จะต้องให้เขาคิดตามไปด้วย  ไม่ใช่พูดปาว ๆ  แบบไม่ลืมหูลืมตา  “ข้าวางแผนการพูดมายังไง  ก็ไปตามนั้น” 

สิ่งนี้เป็นความคิดที่ผิด...  คุณรู้ไหมว่าคนแต่ละคนมีความสามารถในการคิดไม่เหมือนกัน  จะให้เขาเหล่านั้นประมวลผลในสิ่งที่คุณพูดให้เข้าใจพร้อม ๆ  กันมันเป็นไปไม่ได้...  การแก้ปัญหาอย่างเดียวในกรณีนี้  คือ  การ  “หยุด”

คุณต้อง...  ใช้การหยุด  ในช่วงเวลาที่คุณพูดในเรื่องที่คนอื่นต้องคิดตาม  ปล่อยช่วงเวลานี้เพื่อเป็นการรวบรวมความคิดจากการพูดของคุณ  คุณ...  สามารถและมีอำนาจในการบังคับการพูดของคุณ  ผู้ฟังของคุณก็ต้องการหยุดเพื่อคิดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณพูดออกมาเช่นกัน...  เมื่อเขาไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณพูด  ช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เขาเหล่านั้นจะหาความกระจ่างจากเนื้อหาที่พูดจากตัวคุณ... 

และ...  หากว่าในช่วงเวลานี้ผู้ฟังของคุณเกิดมีความพร้อมเพรียงของการประมวลผลทางสมองเท่าเทียมกัน...  ก็ถือซะว่าให้ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาในการเตรียมความพร้องที่จะฟังคุณต่อไป....

แต่...  ต้องอย่าลืมว่า  คุณจะต้องหยุดพักการพูดของคุณเป็นระยะ ๆ  เพื่อคลายความสงสัยในเนื้อหาที่คุณพูด...  อย่าพูดเป็น  “ต่อยหอย”  จนลืมไปว่ายังมีผู้ฟังอยู่ในห้องพร้อมกับคุณด้วย....

คำสำคัญ (Tags): #หยุด
หมายเลขบันทึก: 97633เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2007 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ด้วยเวลาจำกัด บางครั้งก็ลืมหยุดเพื่อให้ผู้ฟังคิดหรือถาม
  • ขอบคุณที่มีข้อเตือนใจ

ขอบคุณแง่คิดนี้ครับ ผู้ชายป้ายเหลือง

ผมกำลังจะต้องเจอสถานการณ์แบบนี้เช่นกันในเร็วๆนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราทำได้คือ "ต้องรู้เขารู้เรา" ศึกษาถึงความรู้ ภูมิหลัง ประสบการณ์ ในเบื้องต้นของผู้ที่จะต้องฟังเรา

ซึ่งอาจจะสามารถทำให้เราวางแผนการพูดได้ตรงใจ ตรงความต้องการของผู้ฟัง

อย่างน้อยเราก็ไม่ได้เสนอตัวเองไปพูด แต่เป็นความต้องการของผู้ฟัง ผู้จัดเอง

แต่อย่างไรเราไม่สามารถที่จะพูดให้ถูกใจทุกคนที่ฟัง ขอเพียงสักครึ่งหนึ่งก็คงจะพึงพอใจแล้ว เพราะทุกคนมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะความคิดครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณ 
P
ที่เข้ามาอ่านครับ...  บางทีผมก็ลืมบ่อย ๆ  ครับ  เพราะเวลามีน้อยมาก...เราก็รีบ  เร่ง ๆ  อธิบาย  หวังว่าจะให้ได้อะไรให้มากที่สุด...  ผลสุดท้ายกลับออกมาตรงกันข้ามกัน...  การรีบเร่งทำให้คนฟัง  ฟังไม่ทัน  เมื่อไม่ทันก็เลิกสนใจ  พอเลิกสนใจก็ไม่รู้เรื่องเลยสักอย่าง...  สรุปแล้วงานนี้  "ล้มเหลว"  ครับ...  ขอบคุณครับ
ขอบคุณ  คุณ
P
ที่เข้ามาอ่านครับ...  ขอให้โชคดีในการพูด  โชคดีในการนำเสนอนะครับ...  ถ้าพูดตามตรง  คนเราไม่ค่อยยอมรับความจริงหรอกครับ  ฟังไม่รู้เรื่องก็บอกว่ารู้เรื่อง  ใครไม่รู้เรื่องให้ยกมือถามคำถาม  ก็ไม่มีใครยกมือ...  อันนี้ต้องเตรียมใจไว้แน่นอน  ส่วนใครชอบไม่ชอบเรา  อันนี้อย่าไปคิดให้ปวดหัวครับ...  คิดเพียงว่าเราทำดีแล้วหรือยังเท่านั้นเอง....  ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท