เชื่อหรือไม่ จริงๆไม่เรียนอังกฤษก็พูดได้


อยากพูดได้ก็ต้องพูดวิธีสุดง่ายและได้ผล

 

แต่ก่อนตอนที่ผมอยู่กรุงเทพ หลังจากสอนหนังสือแล้วผมเดินไปกินข้าวที่สีลม วันหนึ่งนั่งรถไฟฟ้า เจอสาวผิวคล้ำแต่งตัวสุดเปรี้ยวเดินควงฝรั่ง พูดอังกฤษไวยังกะจรวด ผมก็ไม่กล้าจ้องเธอตรงๆ แต่พยายามแอบขโมยฟังว่าเขาพูดอะไรกัน ก็พบว่าเธอสื่อสารภาษาอังกฤษได้ไม่ติดขัด ( มี fluency) จะไม่เหมือนเด็กไทยที่จะต้องคิดก่อนบางทีฝรั่งเดินหนีเวลาถามทาง แต่ภาษาจะไม่ค่อยถูกต้องนัก ( accuracy ไม่ค่อยดี) แต่มันเวิร์คเพราะฝรั่งรู้เรื่องและโต้ตอบได้ และดูเธอมั่นใจและภูมิใจที่ทุกคนมองเธอ ในใจก็รู้สึกงงกับชีวิตมาก  เด็กที่ผมสอนนี่เขาเรียนมาตั้งแต่ประถม มัธยม มหาวิทยาลัย ยังทำไม่ได้ถึงครึ่งของ สาวคนนี้เลย ลองมานั่งคิดว่า สถานการณ์การเรียนภาษาของเด็กตรงข้ามกับเธอโดยสิ้นเชิง คือ หนึ่ง ไม่อยู่ในสถานการณ์ที่ใช้งาน เมื่อเข้าไปในห้องเรียนทุกคนจะนั่งฟังครู ไม่ค่อยโต้ตอบ (ครูพูดอังกฤษ อาจจะอาย หรือว่ากลัวเพื่อนล้อ หรือฟังไม่รู้เรื่อง ) ครูเลยพูดสอนตัวเองอยู่คนเดียวกับหน้าม้าสองสามคนข้างหน้า  สอง ภาษาที่ใช้ในห้อง นักเรียนไม่ค่อยได้เรียนเช่น นักเรียนจะถามครูว่าให้ส่งการบ้านเมื่อไหร่ หรือว่า คำสั่งต่างๆที่ครูสั่งก็ไม่เข้าใจ สุดท้ายก็พูดภาษาไทย และภาษาพวกนี้ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ทุกคนเรียนจึงรู้สึกอึดอัด กลัวผิด ภาวนาว่าเมื่อไหร่จะหมดชั่วโมง เสียที เปรียบเทียบกับเธอรู้สึกอิสระ กล้าผิด สนุกสนานที่ได้พูดผิดๆถูกๆ ฝรั่งก็ขยันแก้จนถูก หมดโอกาสพูดไทยเลย เหมือนต้องวิ่งด้วยตัวเอง เดาว่าเธอคงไม่ได้เรียนในชั้นเรียน  ผมคิดกับตัวเองว่าทำอย่างไรเด็กไทยจะเข้าถึงบริบทการใช้ภาษาจริงๆเสียที???? 

ภาษาคือทักษะเหมือนการว่ายน้ำต้องลงไปว่ายถึงว่ายเป็น 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #พูดอังกฤษ
หมายเลขบันทึก: 96503เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2007 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

 

การเรียนการสอนภาษาของเด็กบ้านเรา เป็นเหมือนการสื่อสารทางเดียว

คือครูพูดอยู่คนเดียว

ถึงเด็กบางคนเข้าใจในสิ่งที่ครูพูด แต่ไม่กล้าที่จะสื่อออกมา ที่เรียนไปก็เท่านั้น

งั้นจึงควรสร้างบรรยากาศรอบตัวให้เด็กเชื่อมั่นในตัวเอง กล้าที่จะสื่อออกมาไม่ว่าผิดหรือถูก

ให้ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทในชีวตประจำวัน

อาจสร้างไอดอลใกล้ตัวเด็กที่สามารถสื่อสารอังกฤษได้ให้กลายเป็นเรื่องสนุก จนเด็กอยากทำ อยากเป็นตาม เพราะเด็กในปัจจุบัน ค่อนข้างยึดติดกับแฟชั่น

ตอบคุณ JNG

คุณทำให้ผมคิดออกว่าทำไมตอนนี้เด็กไทยบ้าเรียนภาษาเกาหลี คิดว่าน่าจะได้ผลครับในแง่การสร้างแรงจูงใจช่วงต้นๆ แต่ถ้าเขาไม่มีพื้นที่ในการใช้ภาษามันก็ยาก อาจารย์ที่สอนผมท่านเคยติดต่อกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศให้มีการทำpen-pal ระหว่างเด็กไทยกับเด็กฝรั่ง แต่ไม่รู้ว่าเวิร์คหรือเปล่า

สวัสดีค่ะคุณฉัตรชัย

         ดิฉันรีบล็อกอินตรงดิ่งเข้ามาบอกว่าชอบบันทึกนี้มากค่ะ  ถูกใจที่สุดเลย 

         ภาษาคือทักษะเหมือนการว่ายน้ำ ต้องลงไปว่ายถึงว่ายเป็น

         แปลว่าต้องยอมจมบุ๋งๆ กลืนน้ำไปห้าอึก สำลักจนแสบจมูกอีกสิบสองที  แล้วตะเกียกตะกายจนทรงตัว ลอยตัวในน้ำได้ จึงจะเกิดทักษะ  เพราะทักษะ แปลเป็นอย่างยิ่งว่า "ต้องเจอของจริง"  และต้องลองผิดลองถูก ด้วยปริบทจำเพาะ ด้วยตัวของตัวเองจริงๆ  อย่างเป็นธรรมชาติ  แบบว่าเอาตัวเข้าแลก
          ธรรมชาติ แปลว่า บางทีก็คาดเดาล่วงหน้าไม่ได้ ต้องวัดดวงเอา  ผิดพลาดก็แก้ไขเอาเฉพาะหน้าเดี๋ยวนั้น  ผิดหลายๆทีเข้า เดี๋ยวก็รู้ว่าที่ถูกเป็นยังไง  สนุกชะมัดเลย    

          เหมือนที่คุณฉัตรชัยบอกเลยค่ะ  "อิสระ  กล้าผิด  สนุกสนานที่ได้พูดผิดๆถูกๆ "  ชอบจัง....

            นึกแล้วขำตัวเองอะค่ะ ดิฉันเจอฝรั่งเป็นต้องเปิดแน่บ ด้วยสกอร์หกต่อศูนย์  เพราะกลัวผิด

            นึกขำอีกที  ที่โรงเรียนสอนให้ทำเฉพาะที่ถูก  และสอนให้ทำให้ถูกอยู่เสมอ  เลยขาด "ทักษะกล้าผิด"  และติด "ทักษะกล้าถูก"   เลยมี "สูตรทำถูกสำเร็จรูป" มาให้เรียนเป็นสูตรสำเร็จ เกือบทุกวิชาเลย  อิอิ

           พูดแล้วเข้าตัวอะ....กลับก่อนนะคะ วันหลังจะมาเยี่ยมใหม่  อ้อ...แถมด้วยอีกนิดว่าที่คุณฉัตรชัยไปตอบในบันทึกคำคมฝรั่ง ของพี่โอ๋-อโณ ก็ชอบมากอีกแล้วอะค่ะ  คิดได้ไงไม่รู้ละ  กลับขั้วไปเลย  .....ชอบ !     

P
ดอกไม้ทะเล
เมื่อ พ.

ถ้าสมมติประเทศไทยมีสระให้เราว่ายก็คงดี สระดีๆ ก็โรงเรียนอินเตอร์ หรือไม่ก็โรงเรียนสอนภาษาที่ราคาแพง น่าจะมีที่ทุกคนมาได้เจอกับเจ้าของภาษาแต่ราคาไม่แพง นะครับ พูดเรื่องพูดอังกฤษไม่ได้นี่ผมเป็นแบบ อาจารย์ชื่อดังที่ไปจมบุ๋งกับฝรั่งในโฆษณานั้นแหละครับ แต่อาศัยว่ากลัวไม่จบจึงต้องหน้าด้านพูดผิด ให้คนเขาหัวเราะ หัวเราะทั้งห้องเลย แต่ไม่กดดันคิดว่าถ้าเราไม่มั่ว เราคงไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย เรื่องกล้าผิดกล้าถูกขอบอกตามตรงว่าทุกคนมันมีผิด ฝรั่งเขานี่เรื่องเขียนนี่จนต้องบอกว่า writing is rewriting ผมเขียนบางทีสะกดผิด เช่น peaceful  ผมเขียน peacful ขนาดเรารู้บางที post ผิด ก็แก้ไม่ได้เลย ขอบคุณนะครับที่แวะมาให้ข้อคิดเห็นและประสบการณ์ที่ดี 

  • เป็นออกจะบ่อยเลยค่ะที่พูดไปพูดมา  สุดท้ายต้องยอมพูดภาษาไทยให้เค้าฟังอีกครั้งน่ะค่ะ 
  • เลยต้องหาวิธีการสร้างโอกาสให้เด็กได้เจอสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน  ด้วย English Camp ที่ไปปล่อยเค้าให้เค้าคุยกับเจ้าของภาษาแล้วแก้ไขสถานการณ์ในการตอบโต้บทสนทนากันเอง ( เป็นกลุ่มเล็กๆ ค่ะ )  ก็ได้ผลค่ะ
  • แอบเปรียบเทียบตัวเองค่ะ  ช่วงก่อนหน้าที่ไม่มีครูจ้างสอนชาวต่างชาติมาพักอยู่ที่โรงเรียน  เราเองก็แทบจะไม่มีสถานการณ์ที่ใช้งานทางภาษาในชีวิตประจำวันเลย  แต่พอครูจ้างสอนชาวต่างชาติมาอยู่ด้วย  ....ต้องพูดไงคะ  ทุกอย่าง  ทุกสถานการณ์  .... เลยได้ฝึกทักษะ  เหมือนฝึกว่ายน้ำจริงด้วยค่ะ

เรื่อง การ สั่งเด็ก ( Direct ) นี้เป็นเรื่องที่ยากนะครับต้องเตรียมเด็กให้รู้ คำสั่งง่ายๆ เช่น ส่งการบ้าน ( hand in your homework)  นอกจาก Repeat after me หรือ แม้แต่คำถามง่ายๆ เช่น เสร็จยัง  Done?

 เรียนมาผมก็ได้ใช้แค่ช่วงฝึกสอน พอสอนจริงไม่ได้มาพิถีพิถัน อย่างนี้หรอกครับต้องรีบอัดข้อสอบเพราะเวลาไม่พอ กลัวเด็กตก ครูก็แย่ไปด้วย แต่มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ ถ้าอยากให้เด็กโต้ตอบเราในชั้น เพราะถ้าเด็กโต้ตอบได้หมายถึงประสบความสำเร็จสูงสุดในการสอน เพราะที่เรียนตั้งมากมายเพื่อให้เด็กสื่อสารได้โดยเฉพาะการพูด มันไม่มีประโยชน์เลยแม้แต่นาทีเดียวที่เด็กเรียนภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ป.5 ถึงปี 4  12 ปี ใช้เวลาไปกี่ชั่วโมงแต่พูดไม่ได้ แล้วฟัง อ่าน เขียน คงไม่ต้องพูดถึง  พูดถึงเกาหลีนะครับฉลาดมาก สร้างเมืองหนึ่งจ้างฝรั่งไปอยู่ทุกคนพูดอังกฤษหมดเลย นักเรียนที่เข้าไปนี้ เหมือนถูกเตะลงสระแต่ใครไม่รอดก็มีห่วงยางชูชีพให้ (มีคนช่วยบอกบท ส่วนมากเขา train ก่อน) (ขออภัยนะครับที่พูดเอามันไปหน่อย)  Eng camp นี่คงไม่ถี่นัก ผมคิดว่าน่าจะมีชั่วโมงที่ให้เด็กนำเสนอผลงาน เรื่องราวที่เขาค้นคว้า แล้วให้ฝรั่งและครูช่วยกันถามในสิ่งที่เขาศึกษามา แต่ก็ต้อง train เขาก่อนนะครับเกี่ยวกับการ present

  ดีใจด้วยครับที่ได้โอกาสที่ดี อยากให้อาจารย์รึบกอบโกยความรู้จากฝรั่งให้คุ้มกับที่เสียเงินจ้างมาแพงๆครับ

ชอบบันทึกนี้และเห็นด้วยกับความคิดคุณฉัตรชัยครับ
ขอบคุณครับ ไม่เฉพาะแต่เมืองไทยหรอกครับที่เป็น เมืองจีนก็เป็นครับสอนเด็กเหมือนบ้านเราเปี๊ยบ คือคนรุ่นผมขึ้นไปนี่พูด อังกฤษไม่ได้ แต่ตอนนี้เขาเริ่มเปลี่ยนวิธีการแล้วครับ รู้สึกได้ผลเสียด้วยไม่ต้องจ้างฝรั่งมาก  ขณะที่บ้านเราก็พยายามเปิด English program (ไม่ใช่ inter) แต่ไม่ค่อยได้ผล
ตอนเด็กเบื่อและกลัวไวยากรณ์(ไม่ว่าจะเป็นไทย/อังกฤษ)มาก...แต่คุณครูให้เราเรียนแบบเป็นเกมส์มีเขียนโต้ตอบกับเพื่อนทางจดหมายแต่ใช้เป็นภาษาอังกฤษ..พบว่าได้รู้ศัพท์เพิ่มมากขึ้นแต่ความถูกต้องทางภาษาอยู่ในระดับน่าหดหู่ใจ..คนแถวบ้านมีอยู่คนหนึ่งไปทำงานเป็นแม่บ้านฝรั่งเธอพูดอังกฤษคล่องแคล่วแต่เขียนไม่ได้..ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วเราอยากให้เด็กไทยเราคล่องภาษาแบบใด..เก่งเขียนแต่พูดไม่ได้หรือว่าเก่งพูดแต่เขียนไม่Work

สวัสดีค่ะ

เห็นด้วยกับคุณฉัตรชัย ในเรื่องพูด ตัวเองก็ไม่กลัวเรื่องไวยากรณ์อะไรมากมาย พูดๆไป เดี๋ยวก็คล่อง ผิดๆถูกๆไปก่อน แต่ดิฉันจะอ่านหนังสือภาษาอังกฤษมากนิด เลยพอไปได้และเรียนอักษรศาสตร์ด้วยค่ะ

ไม่ต้องไปกลัวผิดอะไรมากมาย ไม่งั้น ก็ไม่คล่องเสียที

แต่ถ้าเป็ภาษาเขียน ต้องถูกไวยากรณ์ค่ะ ไม่งั้น คุณภาพงานจะไม่ได้

P

อยากให้เด็กไทยเราคล่องภาษาแบบใด..เก่งเขียนแต่พูดไม่ได้หรือว่าเก่งพูดแต่เขียนไม่Work

 ในความเห็นและประสบการณ์ ของดิฉัน ต้องเก่งทั้งคู่ ถ้า เราอยู่ในระดับ นักศึกษาชั้นสูงๆ ไม่ใช่เด็กๆ หรือ เราเป็นคนทำงานแล้ว

 ถ้า เราอยู่ในวงการทำงานนานาชาติ  เวลา เราติดต่องานที่เป็นลายลักษณ์อักษรไปแบบไม่ถูกต้อง  เราจะถูกประเมินระดับการศึกษา ซึ่งจะทำให้เราfeel embarrassed ค่ะ

เด็กไทยต้องพยายามให้คล่องทั้ง 2 แบบค่ะ

สวัสดีครับ

P
seangja
เมื่อ ศ. 18
 

เรามาดู ลำดับความสำคัญดีไหมครับ  การเขียนหรือการพูดสำคัญ เนื่องจากภาษาคือการสื่อสาร ถ้าเราตกอยู่ท่ามกลางฝรั่ง เราต้องเอาตัวรอดนี่เราจำเป็นต้องพูดสั่งอาหาร ถามทางก่อน แต่ถ้าอยู่เมืองไทย งานไม่เจอฝรั่งเลย ทำเอกสารที่มันซ้ำๆมีฟอร์มให้ก็ต้องพอเขียนให้ได้ก็คงพอ แต่ถ้าต้องเขียนโต้ตอบ มันก็แล้วแต่ว่าเป็นทางการอาจมีฟอร์มอยู่ หรือถ้าโต้ตอบ e mail แบบส่วนตัว(หาแฟนฝรั่ง)ก็ต้องพูดได้แล้วนำไปเขียน ถ้าเป็นเขียนตำรา ต้องเก่งมาก  (มีฝรั่งช่วยตรวจด้วย) หรือแม่บ้านนี่ก็พูดอย่างเดียว  มันอยู่ที่ว่า เรา position ตัวเองไปอยู่จุดไหน ที่ยากทีสุดก็คือพวกแต่ง speech ให้นายก ก็ลองดูจุดมุ่งหมายแล้วก็พัฒนาไปจุดนั้น การสอนอันดับแรกเขาจึงมี need analysis คือการวิเคราะห์ความจำเป็นของการใช้ภาษาจริงๆของผู้เรียน แล้วถึงวางเนื้อหาการสอนโดยส่วนตัวคิดว่าพูดสำคัญมาก เพราะมันเป็นสิ่งที่จับต้องได้จริงใช้งานได้อย่างแบบตอนนี้ เดี๋ยวนี้ ลองคิดดูคงอายแย่เลยเรียนภาษามาได้ยังไงพูดกับฝรั่งไม่รู้เรื่องใช่ไหม แต่การเขียนเราก็อาศัยฝรั่งช่วยบ้างถ้าเป็นสิ่งที่จะเป็นวิชาการหรือทางการเพราะไม่มีใครที่มันจะเป๊ะเท่าฝรั่งหรอกครับ(ฝรั่งยังผิดเลย) เราก็ต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ แต่สิ่งที่ตอนนี้เราจำเป็นต้องใช้ทำอะไร

   อันนี้น่าจะสำคัญที่สุด

สวัสดีครับ

ไม่มีรูป
sasinanda
เห็นด้วยครับว่าการเขียนต้องถูกหลักไวยากรณ์ และ สำนวนที่ใช้เฉพาะทางด้วย  คือภาษานี่มันบอกได้เลยว่าใครเรียนมาเท่าไหร่ และเห็นด้วยครับว่าต้องเก่งทั้งการพูดและการเขียน แต่อยากให้หลักสูตรแก้ไข ให้พูดให้ได้ก่อน พอโต้ตอบในชั้นเรียนให้ได้ คือฟังที่ครูสอนพอรู้เรื่องและถามครูเป็นภาษาอังกฤษได้ จึงเน้นทักษะอื่น เพราะที่เป็นปัญหาการเรียนภาษาอยู่ตอนนี้คือเด็กยังพูดไม่ได้ และ class ก็ใช้ภาษาไทยอยู่ต่อให้เด็กไทยเรียนอีกเป็น 15 ปีก็ไม่มีใครสามารถพูดได้ ก็พูดได้แต่ภาษาไทย สำหรับคนทำงาน ถ้าเราไม่เรียนด้านภาษามาโอกาสพูดได้ก็มีน้อย วงจรมันก็ต้องกลับไปเริ่มที่การพูดอีกเพราะถ้าให้เขาเรียนแต่เขียนอย่างเดียวมันเป็นการสื่อสารทางเดียวมันก็ทำให้เขาเหมือนไม่เป็นสักทีใช่ไหมครับ ส่วนคนที่เรียนด้านภาษาอยู่แล้วก็ต้อง integrate เข้ากับฝรั่งให้ได้และพัฒนาด้านการเขียนให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อที่จะใช้สื่อสารในวงกว้างให้ได้ ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมเยียน ถ้ามีโอกาสจะแวะไปทักทายนะครับ

"ฟัง พูด อ่าน เขียน" สำคัญหมด แต่ว่าพอไปเรียน/สอนกันจริงๆ คงไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้ดีหมดทุกอย่าง บางทีพูดไปแล้วน่าอาย ดูไม่มีการศึกษา ก็ยังดีกว่าสื่อสารไม่ได้เลยนะผมว่า   ไม่อยากให้เป็นเหมือนสำนวนโลภมากลาภหายตั้งเป้าสูงเกินไปแล้ว กลับไม่ได้อะไรเลย

แต่ถ้าได้เยอะๆก็ดีเหมือนกัน ก็ต้องหาทางให้มีคน ได้ความรู้เยอะๆด้วย 

 

 สวัสดีครับ

P
บ่าววีร์
เมื่อ ศ. 18 พฤษภาคม

สังเกตุไหมครับคนที่พูดได้คือ คนที่โต้ตอบได้ไม่ใช่แค่นาที แต่นานจนยอมรับว่าเออ เขาพูดได้แฮะ แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะพูดถูกสำนวน หรือภาษาที่ใช้จริงๆ ท่านเรียกว่ามีทักษะในการสื่อสาร ซึ่งไม่ใช่พูดได้อย่างเดียวแต่ฟังได้ หรือแม้แต่เดาอาการประกอบได้ ถ้าเป็น broken English ท่านก็จะตำหนิติเตียน เพราะท่านขอว่านิดนึงนะ  ให้มีระดับหน่อย จะไม่ได้มีฝรั่งแอบอมยิ้ม แต่แค่ฝรั่งรู้เรื่องแล้วก็หัวเราะกันไปมาไม่เดินหนีไปซะก่อนนี่ก็เป็นที่ยอมรับได้ว่าพอตัวเหมือนกัน เพราะไอ้จุดที่หัวเราะกันไปกันมาพุดแล้วฝรั่งเข้าใจ นี่คือลอยน้ำได้แต่ยังว่ายไม่ไป คนที่ฝึกว่ายถ้าลอยไม่ได้นี่มันก็ต้องเริ่มใหม่อยู่อย่างนั้นแหละครับ

สวัดดีค่ะ  ฉันเห็นด้วยกับความคิดของคุณค่ะ

   ฉันพยายามที่จะอ่านเขียนคนเดียวแต่ว่ามันทำให้ฉันได้หน้าลืมหลังฉันพยายามจะวายให้ถึงฝั่งแต่ว่ามันก็ไมถึงสักทีฉันเหนื่อยแต่ทำไมไม่รู้ฉันชอบภาษาอังกฤษจังเวลาเห็นเขาพูดอังกฤษได้เราก็น้อยใจตัวเองเหมือนกันว่าทำไมตัวเองไมได้แบบนั้นบ้างทั้งที่ตัวเองอยากพูดอ่านเขียนเป็นบ้างนะค่ะมีวิธีที่จะทำยังไงบ้างค่ะ

   ฉันเคยเรียนพิเศษเหมือนกันแต่ว่ามันเป็นพวกหลักการเกินไปบางครั้งอ่านอังกฤษให้เราฟังทั้งที่เราไม่รู้เรื่องเลยและก็ให้เราจดคำแปลที่อาจารย์แปลออกมาให้ก็แค่นั้นมันทำให้เวลาการสอนที่น่าเบื่อจบลงอย่างไรความหมายและมันทำให้ฉันเบื่อและง่วงนอนในเวลาที่อาจารย์สอนมันทำให้ฉันไม่รู้เรื่อง

    ฉันอยู่ ปวช. 3 แล้ว แต่ก็ยังอ่านเขียนแปลไม่ข้องเลยบางครั้งอ่านได้แต่แปลไม่ออกค่ะแต่ส่วนมากฉันไม่รู้เรื่องมากกว่า

(ช่วยแสดงความคิดเห็นให้ดูหน่อยนะค่ะจะรอค่ะ)

   ขอบคุณค่ะที่รับความในใจ  แนท

เราจะกลับไป จุดเริ่มต้น ถ้าผมบอกว่าทำไมคุณต้องกินข้าว นั้นก็เพราะอาหารได้หล่อเลี้ยงชีวิต แล้วภาษาล่ะครับคืออะไร คือ ตัวกลางที่จะทำให้คุณสื่อสารกับคนอื่นได้ ถ้าคุณสังเกตุดีๆ สิ่งที่คุณเรียนในห้องเรียนไม่ได้ตอบความสำคัญของภาษาตามความเป็นจริง ที่คุณเรียนมาทั้งหมดมันไม่มีการสื่อสารอย่างแท้จริงเลย มีแต่การเลียนแบบการสื่อสาร ทำให้คุณพูดหรือเขียนออกมาด้วยตัวเองและเป็นอิสระไม่ได้ รวมถึงการฟังและอ่านที่ไม่ใช่ของจริง ของจริงคืออะไร ก็คือการสนทนาจริงๆๆ เหมือนเราพูดภาษาไทย ทำไมเราพูดภาษาไทยได้ก่อนเข้าป. 1 เพราะ เรามีการเรียนรู้อยู่ตลอด เราเรียกการเรียนแบบนี้ว่า acquisition คือได้เข้ามาผ่านบริบท อย่างเช่นถ้าคุณไปภาคเหนือหนึ่งปีคุณจะพูดเหนือได้โดยไม่มีใครสอนคุณ นี่คือของจริง แต่ในห้องเรียนคุณโดนหลอกไม่มีการสื่อสารจริงๆในห้องเรียนภาษาอังกฤษของระบบไทย เพราะ หนึ่งอาจารย์จะพูดไทย ในส่วนที่จริงๆต้องสื่อสารภาษาอังกฤษ เช่น สั่งการบ้าน นักเรียนก็จะถามภาษาอังกฤษไม่ได้ต้องพูดไทย แต่ไปเน้นบทสนทนาซึ่งมันไม่ใช่ของจริง ภาษาไม่ใช่การท่องจำแต่เป็นการสร้างด้วยตัวเอง ในห้องเรียนปัญหาที่ฝรั่งมาสอนแล้วเราไม่ได้เพราะฝรั่งใช้ระดับภาษาที่สูงเกินไปบางทีคุณฟังไม่ออก คุณก็นั่งนิ่งเหมือนฟังข่าว cnn และไม่ได้อะไร นี่คือปัญหาของระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในไทย แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร คุณต้องหาบริบทของการใช้อย่างแท้จริง ต้องเจอฝรั่งให้ได้โดยไม่ใช่ที่ห้องเรียน เพราะหนึ่งมันแพง สองกว่าจะได้ผลก็นาน แล้ว พูด และฟัง สื่อสารกับเขาแบบพูดคุยเรื่องธรรมดา ตอนแรกจะลำบากมาก แต่คุณต้องอดทน สักระยะคุณจะเริ่มมีทักษะในการสื่อสารกับเขา มันเป็นภาษาง่ายๆ แต่จะเป็นพื้นฐานที่ดีต่อไป และทำให้การเรียนภาษาของคุณ เห็นผล เมื่อคุณเริ่มที่พอจะฟังและพูดคุยได้บ้างค่อยไปเรียนคอร์สที่ใช้ฝรั่งและทดลองเรียนดูเลือกคอร์สที่คุณชอบทีนี้คุณจะไปได้ดีและเร็วเพราะคุณใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ซึ่งต่างจากการเรียนแบบเดิมที่ใช้ภาษาไทยสื่อสารเหมือนอยู่เมืองนอก คุณต้องเจาะจงสิ่งที่คุณสนใจเช่นคุณจะพัฒนาการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยว หรือ เน้นการเขียน หรืออะไรก็แล้วแต่ มันจะยิ่งทำให้คุณไปได้ไกลมาก ดีกว่าเรียนแบบไม่มีเป้าหมาย แล้วคุณจะหาฝรั่งได้ไง คุณควรไปที่โบสถ์ฝรั่ง แต่เขาจะสอนศาสนาคุณด้วยต้องคำนึงถึงจุดนี้ ถ้ามีเพื่อนฝรั่งแลกเปลี่ยนภาษาจะดีมากเอาที่ไว้ใจได้

ผมอยู่จังหวัดนนท์ครับ ใครอยู่นนท์ ปทุม หรือ กทม.มีเพื่อนที่ทำงานหรือคนรู้จักเป็นชาวต่างชาติบ้าง ถ้าเขายอมสละเวลามาพูดคุยกับเรา สักเดือนละครั้ง ผมว่าจะวิเศษมาก อาจช่วยกันออกเงินซื้อของมาทำกินกัน แล้วสังสรรค์กัน หรืออาจเป็นการเล่นเกม ตามสวนสาธารณะต่าง ๆ เพราะจุคนได้เยอะ ไม่เสียค่าพื้นที่ ไม่ต้องไปจองรีสอร์ทหรือจัดค่ายภาษาอังกฤษอะไร ส่วนเรื่องกิจกรรม หรือ เกมที่จะไปทำกัน ก็มาช่วย ๆ กันคิด ให้เราเอาตัวไปเจอกับฝรั่งจริง ๆ พูดคุยกะเขาแบบอิสระเหมือนอย่างที่คุณฉัตรชัยบอก พูด และฟังในสถานการณ์จริง ไม่ใช่ท่องบทสนทนาไปพูด

เช่น ไปเจอกันที่สวนลุม เล่นเกม สัมภาษณ์ พูดคุยกะเขา เราเล่าเรื่องของเรา เขาเล่าเรื่องเขา และถามตอบกันในสถานการณ์จริง ๆ ตรงนั้นเลย ชวนฝรั่งเล่นเกม การละเล่นของไทยมั่งก็ได้

ถ้าใครมีเพื่อนที่ทำงาน หรือคนรู้จัก ลองถาม ๆ เขาดูซิว่าวันเสาร์ หรือ อาทิตย์ เขาอยากสังสรรค์ พบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนไทยหรือเปล่า ฝรั่งบางคนเขาก็ต้องการมีเพื่อนมาก ๆ รู้จักคนเยอะ ๆ เก็บเกี่ยวประสบการณ์ มากกว่าที่จะมุ่งไปที่การสอนภาษาเอาเงินอย่างเดียว

หรือใครอยู่ที่โรงเรียน ลองแย๊บ ๆ เพื่อนครูฝรั่งที่โรงเรียนดู ขอเวลาเขาสักอาทิตย์ละวัน เดือนละครั้งสองครั้งก็พอ มาช่วยกันพัฒนาภาษาอังกฤษให้คนในชุมชน

ใครเห็นด้วย อยากทำตรงนี้ เพื่อช่วยพัฒนาภาษาอังกฤษให้คนไทย มีเพื่อน มีคนรู้จักอยู่ ขอให้บอกนะครับ หวังว่า เราคงได้มีโอกาสได้ทำสิ่งดี ๆ ให้สังคมบ้าง ใครมีเพื่อน มีคนรู้จักเป็นคนต่างชาติอยู่แล้ว อย่าเก็บไว้คนเดียว มาช่วย ๆ กันครับ

จากผู้รอคอยความหวัง ที่จะเรียนภาษานอกห้องเรียน

B

ปล. สวนสาธารณะในกรุงเทพและปริมณฑลมีมากมาย เน้นประหยัด เพื่อจัดได้บ่อยครั้ง ดีกว่าจัดค่ายไปพักต่างจังหวัดเสียเงินเยอะ ๆ แต่ไปได้ไม่บ่อย เพราะยิ่งทำบ่อย ทำถี่ ก็ยิ่งได้ผล ผมสมมติว่า ในกรุงเทพ มี 1 คน นนทบุรี มี 1 คน แต่ละคนมาแค่เดือนละครั้ง เราก็ได้เดือนละ 2 ครั้งแล้ว และถ้ามีฝรั่งใจดีมาสัก 3-4 คน ลองคิดดูซิว่า ทุกอาทิตย์ เราจะได้ไปพูดคุย ในบรรยากาศเป็นกันเองกับฝรั่งตัวเป็น ๆ ยิ่งเพิ่มความตื่นเต้นและกระตือรือร้น ที่จะขวนขวายหาศัพท์หาประโยคไปพูดกะเขาใหญ่เลย

ผมอยากให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นจริง ๆ หวังว่าฝันของผมคงได้เป็นจริงนะครับ ใครช่วยได้อย่าลืมบอกชื่อ ที่อยู่ อีเมล์ติดต่อไว้นะครับ เราจะได้ช่วยกันสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นให้ได้

เป็นกำลังใจให้ครับ เชื่อไหมครับเมื่อก่อนผมเรียนภาษาอังกฤษ ไม่รู้เรื่องรู้ราวกับเขาว่าเขาเรียนอย่างไร ไปเข้าสถาบันสอนภาษาต่างๆ เขาก็ใช้ฝรั่งสอนนะครับ เอ แต่ทำไมเราคุยกับเขาไม่ได้ บางทีฟังเขาไม่ออก เหมือนเรียนไม่พอสักที ให้เล่นแต่เกม หรือไม่ก็ทำงานกลุ่มหรือ พูดกับเพื่อนที่เป็นคนไทย

พอเรียนจบ ป โท ถึงได้รู้ว่่าถูกหลอก เพราะ class หนึงคนมันเยอะ โอกาสพูดกับฝรั่งได้สักกี่ประโยคในห้าสิบนาที แถมภาษาในหนังสือ เป็นภาษาที่บางครั้งมัน เนื่อหามันไม่ใช่สิ่งที่เราจำเป็นต้องใช้ เชื่อไหมครับ เด็กบางคนเรียนระดับมหาลัยแล้วผมถามว่าจะถามฝรั่งว่ากินข้าวหรือยัง หรือว่า ไปไหนมา แม้แต่ รู้สึกไม่สบายหรือเปล่ายังตอบไม่ได้เลย แต่ เรียน course book ระดับ intermediate นะ มันเหมือนกับเอาเด็กอนุบาลมาเรียน calculas แล้วมหาลัยแก้ปัญหาอย่างไร ใช้สูตร s+have to+ v1 ....+so+s+will+....

สูตรเป็นประโยคเพื่อให้นักเรียนสอบผ่าน

กลับมาที่ฝรั่งแบบนอกห้องเรียนเพื่อแก้ปัญหาที่คนไทยประสบอยู่ตอนนี้คือ ไม่กล้าพูด ไม่มีแรงจูงใจที่จะเรียน เพราะเมื่อคุณสื่อสารกับฝรั่งได้เล็กๆน้อยๆในตอนเริ่มต้นจะทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะพูดให้มากขึ้น

แต่ปัญหาคือจะหาฝรั่งยังไง แล้วฝรั่งจะสนใจเรานานๆได้อย่างไร นี่เป็นเหตุผลว่า แฟนฝรั่ง

จึงได้เปรียบ ผมเคยมีประสบการณ์เรียนจีน เราก็ set กันเป็นกลุ่มนี่แหละครับ แต่ปัญหาคือ ถ้าแต่ละคนรู้สึกว่าไม่ได้อะไร มันจะ fail ฝรั่งก็ต้องการอะไรเหมือนกัน มันอาจจะไม่ใช่เงิน ถ้า set กิจกรรมต้องมันเป็นสิ่งที่ทุกคนสนใจจริงและพิเศษ เขาถึงจะมีแรงจูงใจนานๆ ไม่ต้อง

แบบเรียนภาษาชัดเจนอาจกิจกรรมอื่นๆ ถ้ามันสนุกผ่ิอนคลาย หรือได้ความสุขทางใจ

ตอนผมเรียนภาษาจีน ผมเลือกแลกเปลี่ยนภาษากับคนๆเดียว เพราะผมไม่ชอบคนมาก เป็นคนที่เขาไม่ใช่แค่ต้องการรู้ภาษาไทยจแต่มันจำเป็นสำหรับประกอบอาชีพของเขา

จริงๆ แล้ว set เวลาเรียนแน่นอน ผมชอบอะไรที่เป็นระบบแบบแผนแน่นอน ไม่ต้องรอใคร ผมจะเลือกคนที่มีอายุ และเป็นผู้ใหญ่ เพราะส่วนมากจะไม่สายหรือไม่รับผิดชอบ แล้วคุยกันวางเป้าหมายชัดเจน ว่าเราจะเดินไปอย่างไรวิธีสอนที่ทำให้คุณพูดได้ผมก็ได้เป็นอย่างไร ครับ

เข้ามาอ่านหลายหัวข้อที่อาจารย์เขียน ตรงใจมากเลยมีคว่มรู้มากจะลองไปปรับใช้ค่ะ

english is easy to learn and to speak

ไม่ยากครับหากตั้งใจเรียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท