ธรณีวิทยาแนวพุทธเหตุแผ่นดินไหว ใน ‘พระไตรปิฎก’


จากแผ่นดินไหวและสึนามิ (สมุทฺทูมิ) ที่ภาคใต้ สู่ สติปัญญาและความดีงาม โดย พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวํโส

อาจจะดูเหมือนว่าเป็น “ลาง” หรือ “สิ่งบอกเหตุ” ที่เกิดขึ้นเมื่อ ๑-๒ คืน  ก่อนหน้าที่จะเกิดมหันตภัยพิบัติร้ายจากกรณีธรณีพิโรธครั้งประวัติศาสตร์ของโลก ภายหลังการฉลองในค่ำคืนวันคริสต์มาส ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่รุนแรงระดับ ๘.๙ ริกเตอร์ ในมหาสมุทรอินเดีย นอกชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ในช่วงเช้าของวันอาทิตย์ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ และในอีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมา คลื่นทะเลยักษ์ที่เกิดจากแผ่นดินไหวได้ปรากฏขึ้นเคลื่อนตัวถาโถมเข้าใส่ชายหาดในหลายพื้นที่ ของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตอนล่าง และส่งผลไปไกลถึงบางประเทศในทวีปแอฟริกา และคาดว่าจะคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปเป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งอาจจะมากกว่าหนึ่งแสนคน และถ้ารวมถึงจำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบอาจจะมีมากกว่า ๓ แสนคนก็เป็นได้  ..ซึ่ง “ลาง” หรือ “สิ่งบอกเหตุ” ที่ว่านี้ อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต้องมีความขวนขวายศึกษาและแบ่งเวลาเป็นพิเศษให้กับบทความฉบับนี้

จับสารัตถะจาก “พระไตรปิฎก” ให้เป็น “พลังแห่งชีวิต” ที่แท้

เมื่อ ๑-๒ คืน ก่อนหน้าเหตุการณ์ภัยพิบัตินี้  ได้มีเหตุ ”พอดี” ให้อ่านมหาปรินิพพานสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวรรค และได้มีโอกาสอ่านถึงเนื้อหาที่น่าสนใจมากตอนหนึ่ง ตอนที่พระอานนท์ได้ประสบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ และเป็นเหตุให้พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้แผ่นดินไหว ไว้ถึง ๘ ประการ  เนื้อหาที่ปรากฎในมหาปรินิพพานสูตรนั้น มีความน่าสนใจมาก น่าอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง และน่าจะได้อัญเชิญมาเป็นธรรมบรรณาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพื่อประดับสติปัญญา ตลอดจนมองเหตุการณ์ที่ถือกันว่าเลวร้าย ไม่ดี ไม่เป็นมงคล เป็นวิกฤตนี้ ให้กลับกลายเป็นโอกาสแห่งการเรียนรู้ เปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดี จับสารัตถะไว้ให้ได้เพื่อแปรเปลี่ยนให้เป็นกำลัง เป็น “พลังแห่งชีวิต” อันเกิดจากจิตใจที่เป็นบุญกุศล เกิดสติปัญญา ช่วยเหลือกันแก้ปัญหา เยียวยา และป้องกันภยันตราย ทั้งในระยะเฉพาะหน้า ระยะกลาง และระยะยาวต่อไป

เนื้อความที่พระองค์ได้ตรัสแสดงไว้นั้น เป็นจริง เป็นสัจจธรรม ทรงแจกแจงไว้ได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุด เกินกว่าใคร ๆ ไม่ว่าจะเทพเจ้าหรือเครื่องมือใด ๆ ในโลก ตลอดสากลจักรวาลทั้งสิ้น จะเทียบเทียมพระองค์ได้ แสดงถึงพระสัพพัญญุตญาณอันยอดเยี่ยมของพระพุทธองค์ ผู้ทรงเป็นที่พึ่งอันประเสริฐแก่มวลมนุษยชาติ เทวดาและสรรพสัตว์ทั้งหลาย อย่างแท้จริง

.. สาธุ สาธุ สาธุ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

หากเราจะตั้งคำถามว่า “เหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวนั้น เกิดจากอะไร?” กับคนในยุคปัจจุบัน ถ้าถามนักวิทยาศาสตร์ ก็คงจะตอบว่าเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  ถ้าถามศาสนิกชนที่นับถือศาสนาที่มีพระเจ้า ก็คงตอบว่าเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า หรือเทพยดาดลบันดาล  ถ้าถามผู้คนทั่วไปที่มีความเชื่อต่าง ๆ กันไป ก็คงตอบตามตำนานความเชื่อที่ถือสืบ ๆ กันมา ว่าเป็นเพราะปลาอานนท์พลิกตัวบ้าง ผู้มีฤทธิ์แสดงฤทธิ์บ้างเป็นต้น  แต่ถ้าถามชาวพุทธล่ะ ชาวพุทธจะตอบว่าอย่างไร? แล้วถ้าหากพระพุทธองค์จะต้องทรงเป็นผู้ตอบล่ะ พระพุทธองค์จะตรัสตอบว่าอย่างไร? ลองไปติดตามกันดู…

เหตุการณ์ครั้งนั้น พระอานนท์ได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลี ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้วพระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์ไปนั่งบริเวณใกล้กับปาวาลเจดีย์ ณ ที่นั้น พระอานนท์ได้ประสบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ มีเสียงกึกก้องกัมปนาทอันน่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง จึงเกิดความสงสัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนั้น พระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ และได้กราบทูลถามถึงสาเหตุของแผ่นดินไหว

ที่มาและเนื้อหาบทความ

  • เหตุแผ่นดินไหว ๘ ประการจากพระไตรปิฎก
  • วิเคราะห์เหตุปัจจัยทั้ง ๘ ประการ
  • บทเรียนแรกที่ได้จากพระอานนท์
  • อุปนิสัย “ใฝ่รู้” กับหมั่นคบหา “กัลยาณมิตร” แบบอย่างที่ชาวพุทธควรดำเนินตาม
  • ธรณีวิทยาของโลก จากพระไตรปิฎก
  • (อากาส) โลก ในมุมมองพุทธ สอดคล้องกับมุมมองวิทยาศาสตร์
  • พระไตรปิฎกให้คำตอบ เกิดแผ่นดินไหวได้อย่างไร?
  • อรรถกถาจารย์รู้หลักวิทยาศาสตร์ลึกซึ้ง
  • พระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ ยอดยิ่ง แต่มิได้มีไว้สอนธรณีวิทยา
  • ..สู่ “นักวิทยาศาสตร์แนวพุทธ”
  • จิตตานุภาพแนวพุทธ ศึกษาและพิสูจน์ได้แบบวิทยาศาสตร์
  • ใช้ฤทธิ์ไม่ถูก จะถูกฤทธิ์ของกิเลสใช้
  • ไม่ควรดูหมิ่นความเชื่อของศาสนิกอื่น
  • แต่ควรย้อนกลับมามองตนเอง --> เพื่อเรียนรู้จักความจริง และความดีงาม
  • บทอุทิศ

 

หมายเลขบันทึก: 95742เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2007 01:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ตอนที่ ๒ ชื่อตอนว่า
อูมิภัย (ภัยจากคลื่น) ใน ‘พระไตรปิฎก’
จากสึนามิ (สมุทฺทูมิ) ที่ภาคใต้ สู่ ความรักของมวลมนุษยชาติ

  • 'สึนามิ' อสูรร้าย หรือ ทูตแห่งสันติภาพ
  • จาก "สึนามิ" สู่ "สมุทฺทูมิ"
  • จากอุทกภัย สู่ "อูมิภัย"

ดาวน์โหลดบทความ TsunamiEarthquake_Buddhism.zip

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท