มีคำถามว่า “เราไม่ทำตามกฎกระทรวงฯที่ประกาศไว้ได้หรือไม่?”


สิ่งที่หนึ่งในการทำงานของผมเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ผมต้องคำนึงถึง คือ กฎระเบียบต่างๆ ที่มีผลกับมหาวิทยาลัย ในฐานะที่หน่วยงานมีสังกัด ซึ่งสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 

กฎระเบียบที่ผมยึดเป็นที่ตั้งของแนวการทำงาน คือ

<link> พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545...โดยเฉพาะหมวด 6 มาตราที่ 47-51   

<link> พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ...กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่ออกตามมาจากการกำหนดของ พรบ.การศึกษา ข้างต้น

<link> กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2546...ออกโดยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้นลงนามโดยท่านปองพล อดิเรกสาร และยังเป็นแนวทางที่ใช้จนถึงทุกวันนี้

ทำไม่ผมถึงบันทึกนี้ขึ้นมา ก็เพราะมักมีคำถามจากผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพของคณะ/หน่วยงาน โดยเฉพาะที่ผู้มารับผิดชอบใหม่ เช่น

-เราทำการประกันคุณภาพไปทำไม ไม่ทำได้หรือไม่?

-ในเมื่อมีทั้ง ระบบTQA หรือ PMQA หรือจากของ ก.พ.ร. หรือ สมศ. แล้วตั้งหลายระบบ ทำไมไม่เลือกเอาตามที่หน่วยงานคิดว่ามันดีที่สุด?

สำหรับคำตอบส่วนใหญ่ของผมก็ตอบแบบง่ายๆไม่ต้องต่อล้อต่อเถียงกันต่อ คือ....

จริงอยู่ครับที่ตอนนี้มหาวิทยาลัยเราต้องรับระบบคุณภาพเข้ามาทำก็มากอยู่พอสมควร ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้น ผมก็เข้าใจในจุดนี้ครับ แต่ทำงัยได้หล่ะในเมื่อเราเป็นสถาบันอุดมศึกษา ที่ชื่อว่ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการ เราคงปฏิเสธ กฎ หรือ ระเบียบ ที่ประกาศออกมาไม่ได้ เขาให้เราทำอะไรเราก็ต้องทำเช่นนั้น เราไม่ใช่หน่วยงานอิสระที่ไม่ได้สังกัดใครเลย อย่างนั้นเราก็คงอยู่ไม่ได้หรอกครับ อย่างผม อย่างอาจารย์ก็ได้รับเงินเดือนจากภาษีของประชาชนเช่นกัน เราจะทำเหมือนแข็งเมือง อย่างเมืองขึ้นที่ต้องการประกาศเอกราช คงทำเยื้องนั้นได้ไม่ ก็คงต้องร่วมด้วยช่วยกันทำงานกันต่อไปครับ ผมก็คงตอบได้เช่นนั้น

ในช่วงการเข้ามาทำงานประกันคุณภาพภาพตั้งแต่แรกๆ ผมได้รับคำถามเหล่านี้มามากมาย รวมถึงเสียงบ่นตามหลังพอสมควร ก็เปลืองตัวอยู่มาก แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป 3-4 ปี ทุกคนเริ่มเข้าใจถึง ระบบ กลไก ของการประกันคุณภาพแล้ว โดยเพราะเกิดผลอย่างเห็นได้ชัดเกี่ยวกับการพัฒนาหน่วยงาน

แต่อย่างไรเชื่อแน่ว่าในอนาคต 3 องค์กรยักษ์ใหญ่ที่มีผลกระทบกับมหาวิทยาลัย คือ สกอ. สมศ. และ กพร. จะจับมือกันเพื่อสร้างระบบกลไก ให้กระชับ ลดภาระของผู้ปฏิบัติได้ ไม่ช้าก็เร็ว ถึงจะไม่ทั้งหมด ก็ขอแค่ส่วนหนึ่งก็พอ 

อย่างที่เห็นเป็นรูปธรรมตอนนี้ คือ ทาง สกอ. ได้จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ 44 ตัวบ่งชี้ โดยส่วนหนึ่งของตัวบ่งชี้สามารถรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก จาก สมศ. ซึ่งเป็นนิมิตรหมายที่ดี

ดังนี้สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา ต้องยึด 9 องค์ประกอบ ตามที่ สกอ. กำหนดไว้ และที่สำคัญ กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดไว้ชัดเจน 

บันทึกนี้จึงแค่อยากบอกว่า ทำไมเราต้องมีระบบการประกันคุณภาพภายใน ที่ต้องสอดคล้องกับ สกอ. ด้วย เพราะมันเป็นกฎหมายครับ ถ้าใครจะต้องมารับผิดชอบงานประกันคุณภาพ โดยเฉพาะผู้บริหารของหน่วยงาน กฎหมายทั้ง 3 ที่ผมลิงค์ไว้ให้ ลองศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้นะครับ จะทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีจุดหมายและไม่มีความคาใจว่า ทำไปทำไม่ ทำเพื่ออะไร

 KPN


ความเห็น (6)
  • ถ้าเป็นระเบียบ
  • เราเป็นข้าราชการ พนักงานของมหาวิทยาลัย
  • ก็ต้องปฏิบัติตามอยู่ดีครับ
  • ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลดีแก่หน่วยงานมากที่สุดครับ
  • ขอบคุณครับผม

ขอบคุณท่านอาจารย์ขจิต

ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ส่วนมากเกิดขึ้นจากหน่วยงานที่มีผู้บริหารสูงสุดไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพ หรือไม่เข้าใจหลักการของมัน

โดยมีความเชื่อเก่าที่ว่า มันเป็นภาระเพิ่ม

  • ระบบการประกันคุณภาพของแต่ละคณะของ มน. หลายคณะหลายภาควิชายังขาดความเข้าใจและขาดความรู้ แม้จะมีบางคณะที่สามารถทำได้เป็นเลิศ แต่บางหน่วยก็ยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
  • ทำอย่างไรดีครับพี่แจ็ค
ระบบประกันคุณภาพการศึกษาก็เพื่อการพัฒนาค่ะ ขอแสดงความยินดีกับรางวัล คุณลิขิตค่ะ

ขอบคุณน้องบีเวอร์

P

วิธีที่ มมส. ใช้แต่เมื่อครั้งก่อนที่เกิดปัญหาเหล่านี้ ใช้กลยุทธ์หลายอย่างครับ เช่น

  • แบบตีป่าล้อมเมือง เมื่อทุกหน่วยงาน ทุกคณะทำแล้ว ยังงัยคนที่ยังรับระบบไม่ได้ ก็ต้องยอมรับระบบเอง แต่วิธีนี้ต้องใช้เวลาพอสมควร
  • การบังคับ ผ่านทางที่ประชุมต่างๆ เช่น ที่ประชุมรองอธิการบดีฯ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร แต่วิธีนี้จะทำให้ผิดใจกันบ้างเล็กน้อยในระยะแรก
  • การทำความเข้าใจ ซึ่งถือเป็นวิธีแบบกัลยาณมิตร คุยกันดีๆด้วยเหตุและผล ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมว่า ทำแล้วจะได้อะไร ซึ่งวิธีนี้ต้องเป็นระดับผู้บริหารคุยกับผู้บริหารด้วยกันครับ
ขอบคุณครับ

P

 

ไม่ว่าจะเป็นระบบประกันคุณภาพภายใน ตาม สกอ. (หน่วยงานต้นสังกัด), ระบบประกันภายนอก ตาม สมศ., ระบบประกันคุณภาพ ตามแบบ ของ ก.พ.ร., หรือระบบ TQA หรือ PMQA, ISO, 5ส เป็นต้น ระบบเหล่านี้มีเจตนาเพื่อพัฒนาคุณภาพของหน่วยงานทั้งนั้นแต่อย่างไรหน่วยงานต้องเลือกที่จะนำมาใช้ ต้องพิจารณาจากความพร้อม สภาพแวดล้อม หรือปัญหาที่มีอยู่ เพื่อนำมาใช้ให้เหมาะสม เกิดความคุ้มค่า ทั้งค่าใช้จ่าย เวลา และเกิดผลจริงๆทั้งนี้ทั้งนั้นทุกคนในหน่วยงานต้องมีส่วนในการเลือกนำมาใช้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท