เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับงู ตอนที่ 1


งูที่มีพิษต่อระบบประสาท
1. งูเห่าไทย [Cobra ] และงูเห่าพ่นพิษ [Spitting Cobra] เป็นงูพิษที่สำคัญที่สุดและคนไทย รู้จักดีที่สุด เพราะนอกจากจะมีพิษที่ร้ายแรงแล้ว ยังมีอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศอีกด้วย งู เห่าเป็นงูที่สามารถแผ่แม่เบี้ยได้ มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน บนหลังหัวมีเกล็ดแผ่นใหญ่หลาย แผ่นปกคลุมอยู่ มีลักษณะและสีสรรที่แตกต่างกันมากในงูเห่าแต่ละพันธุ์ที่ต่างกัน เช่นสี เหลืองสีนวล สีน้ำตาลไหม้ จนกระทั่งสีดำ พวกที่มีดอกจันกลมอยู่บนหัวจะพบเห็นได้บ่อย ครั้ง ซึ่งเป็นพวกที่พ่นพิษไม่ได้เรียกว่า งูเห่าไทยหรืองูเห่าหม้อ ส่วนพวกที่มีดอกจันเป็นรูป
ตัว V หรือไม่มีดอกจันเลย จะเป็นพวกที่สามารถพ่นพิษได้ บางครั้งพ่นพิษได้ไกลถึง 2 เมตร งูเห่าทั้ง 2 ชนิดล้วนเป็นงูที่มีพิษร้ายแรงถึงตายได้ทั้งสิ้น ในปริมาณพิษที่เท่ากัน งู เห่าจะมีพิษที่ร้ายแรงกว่างูจงอาง แต่งูจงอางจะหลั่งพิษออกมาในปริมาณที่มากกว่างูเห่า หลายเท่า จึงดูเหมือนว่า งูจงอางมีพิษที่ร้ายแรงกว่า งูเห่าทั้ง2 ชนิดออกลูกเป็นไข่
2. งูจงอาง [King Cobra] เป็นงูพิษที่ใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่ยาวที่สุดถึง 5.59 เมตร มีลักษณะคล้ายงูเห่าแต่ตัว โตกว่ามาก รูปร่างเพรียวยาวแผ่แม่เบี้ยได้เหมือนงูเห่า แต่แม่เบี้ยงูจงอางจะเล็กกว่าของงู เห่า เมื่อเทียบกันตามอัตราส่วน บนหลังหัวมีเกล็ดแผ่นใหญ่หลายแผ่นปกคลุม ไม่มีดอก จันบนหัว แต่มีเกล็ดพิเศษคู่หนึ่งเรียกว่า เกล็ดท้ายทอย ซึ่งงูเห่าไม่มี งูจงอางเป็นงูที่ดุ มาก พบว่ามีอยู่ตามป่าในทุกพื้นที่ของประเทศ แต่มีชุกชุมในภาคใต้ งูจงอางเป็นงูที่กินงู เป็นอาหาร ออกลูกเป็นไข่ และเป็นงูที่หวงไข่มากที่สุด โดยจะหากินอยู่ในบริเวณที่วาง ไข่ไว้ไม่ไกลกันมาก และจะชูคอขึ้นมาดูไข่เป็นระยะ วิธีที่จะชิงเอาไข่งูจงอางให้ได้นั้น ต้อง ใช้ม้าเป็นพาหนะในการหนีเพราะงูจงอางเคลื่อนที่ได้เร็วมากไม่เคยมีใครวิ่งได้เร็วกว่างูจง อาง นอกจากม้า เมื่อเอาไข่มาได้แล้ว งูจงอางจะตามทันทีและไม่เลิกจนกว่าจะโยนไข่ทิ้ง งูจงอางเมื่อเวลาฉก จะฉกได้สูงถึงระดับคอคน ดังนั้น ในแถบภาคใต้ซึ่งมีการปลูกยางกัน มาก และเป็นที่อยู่อาศัยของงูจงอาง เมื่อเวลาที่จะออกไปกรีดยางซึ่งเป็นเวลากลางคืน จะ ต้องมีเครื่องป้องกันตัวคือ สวมรองเท้ายางสูงถึงเข่า มีผ้าพันคอซึ่งอาจจะเป็นผ้าขาวม้าก็ได้ และใช้หมวกแข็งเช่นหมวกที่สานด้วยไม้ไผ่หรือหวาย โดยมี ดวงไฟหรือตะเกียงติดอยู่บน หมวก เนื่องจากจุดที่งูจงอางมักจะฉกคือ หัว คอและหัวเข่า ทั้งนี้ ยังเป็นการป้องกันตัว จากงูชนิดอื่นได้อีกด้วย 3. กลุ่มงูสามเหลี่ยม บนหัวจะมีเกล็ดปกคลุมอยู่หลายแผ่น ตามแนวกลางหลังจะมีเกล็ดรูปหกเหลี่ยมต่อกัน เป็นแนวยาวตั้งแต่คอถึงหาง ชอบกินงูเล็กเป็นอาหาร ออกลูกเป็นไข่ ในไทยพบว่ามีงูใน กลุ่มนี้อยู่นี้อยู่ 3 ชนิดคือ 3.1 งูสามเหลี่ยม [Banded Krait] แนวกระดูกสันหลังยกเป็นสันสูง ทำให้มีลำตัวเป็นสัน เหมือนสาม เหลี่ยม มีสีเป็นปล้องดำสลับเหลืองตลอดลำตัว ปล้องสีแต่ละปล้องมีขนาด ใกล้เคียงกันปลายหางกุดทู่เหมือนหางกุด ชอบอยู่ในที่มีความชื้นสูงเช่น ตามแหล่งน้ำ ในตอนกลางวันจะมีความเฉื่อยชา แต่จะว่องไวปราดเปรียวในตอนกลางคืน พบว่ามีอยู่ ชุกชุมในทุกภาคของประเทศไทย 3.2 งูทับสมิงคลา [Malayan Krait] มีรูปร่างลักษณะคล้ายงูสามเหลี่ยมแต่ตัวเล็กกว่าและมี ปล้องเป็นสีดำสลับขาว ปลายหางแหลมไม่ทู่ ชอบอยู่ที่ชื้น พบอยู่ในทุกภาคของประเทศ แต่มีน้อยในภาคเหนือ

3.3 งูสามเหลี่ยมหัวแดง [Red Headed Krait] หัวและหางมีสีแดงสด ลำตัวมีสีดำมะเมื่อม เป็นงูที่พบน้อยมาก ส่วนมากจะพบในบริเวณภาคใต้

 อ่านต่อตอน 2

 
หมายเลขบันทึก: 95335เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2007 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 00:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท